อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ

เมนูหรู! อกเป็ดรมควันจิ้มแจ่ว อาหารไทยสุดแซบ!

เมนูหรู! อกเป็ดรมควันจิ้มแจ่ว อาหารไทยสุดแซบ!

อาหารไทยหลาย ๆ ชนิดสามารถนำไปประยุกต์เป็นเมนูเด็ด ๆ ร่วมกับอาหารชาติอื่นได้มากมาย แถมอร่อยอย่าบอกใครเชียว ก็เช่นเดียวกับเมนูอกเป็ดรมควันจานนี้จาก เฟซบุ๊ก iCooK กินคู่กับน้ำจิ้มแจ่ว ใครเบื่อคอหมูย่าง หรือไก่ย่างแล้ว ก็ลองมาทำ อกเป็ดรมควันจิ้มแจ่ว จานนนี้กินกันดู

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. อกเป็ดรมควัน

2. ไม้ปลายแหลม สำหรับเสียบ อกเป็ด

3. มะเขือเทศสีดา สำหรับตกแต่ง

4. น้ำจิ้มแจ่ว

5. ข้าวเหนียว

6. แตงกวา

7. ถั่วฝักยาว

8. ใบโหระพา

9. แครอท

10. กรีนโอ๊ค และเรดโอ๊ค


วิธีทำ 

1. สไลซ์อกเป็ดตามแนวยาวให้ได้ 5 ชิ้นต่อ 1 จาน จากนั้นนำไปย่างในกระทะเทฟล่อนแค่พออุ่น (ระวังอย่าให้อกเป็ดแห้งจนเกินไป) 

2. นำมะเขือเทศสีดามาเสียบไม้ ตามด้วยอกเป็ด

3. แต่งด้วยกรีนโอ๊ค และเรดโอ๊ค เสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียว น้ำจิ่มแจ่ว แตงกวา ถั่วฝักยาว ใบโหระพา และแครอท




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2557    
Last Update : 28 ตุลาคม 2557 9:30:53 น.
Counter : 2293 Pageviews.  

วิญญาณหัวขาดสุดเฮื้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ

วิญญาณหัวขาดสุดเฮี้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ


ต้อนรับเทศกาลฮาโลวีน กับเรื่องราววิญญาณหัวขาดสุดเฮี้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ ที่ถูกเล่าขานมาอย่างยาวนาน ว่าวิญญาณของพระนางยังคงวนเวียนสร้างความเฮี้ยนอยู่บนหอคอยลอนดอน โดยการถือศีรษะเดินผ่านไปมาให้ผู้คนพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง…วันนี้ทีนเอ็มไทยจะขอเปิดกรุเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของพระนางให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน แต่เรื่องราวอาจะยาวไปสักหน่อย อย่าเพิ่งเบื่อนะคะ

Ann_big

วิญญาณหัวขาดสุดเฮี้ยน ของแอนน์ โบลีน ราชินีอังกฤษ

แอนน์ โบลีน (Anne Boleyn) ถือได้ว่าเป็นดวงวิญญาณที่มีความเฮี้ยนมากที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีตำนานที่เป็นเรื่องจริงเป็นเครื่องการันตี โดยภาพที่ผู้คนมักได้เห็นความสยดสยองก็คือ ร่างขององค์ราชินิที่ไม่มีศรีษะนั่งอยู่บนรถม้าที่ไม่มีหัวหรือไม่ก็ปรากฎอยู่บนหอคอยลอนดอน

โดยเรื่องราวเริ่มต้นจาก พระนางแอนน์ โบลีน (Anne Boleyn) เป็นบุตรีของเซอร์ทอมัส โบลีน กับเลดีเอลิซาเบธ โบลีน และได้เป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และเป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้าหญิงอลิซาเบธ (ต่อมาเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1) พระองค์มีพี่น้องอยู่ 5 คน เสียชีวิตแต่เล็ก 2คน เหลือพี่สาวของแอนน์คือ แมรี โบลีนและน้องชายของแอนน์คือ จอร์จ โบลีน

Anne_boleyn

แอนน์ โบลีน (Anne Boleyn)

ในปี พ.ศ. 2064 พระนางถูกบิดา สั่งให้แต่งงานกับญาติของพระนางคือ เจมส์ บัทเลอร์แต่เจมส์ก็เสียชีวิตเสียก่อน แอนน์ โบลีนจึงได้ถูกส่งเข้าราชสำนักเพื่อรับใช้สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน

หลังจากนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษได้ทรงเบื่อพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอน เนื่องจากโดยเวลานี้พระนางแคทเทอรีนประสบปัญหาจากการมีบุตร และพระนางแคทเทอรีนนั้นมีพระชนมายุสูงวัยกว่าพระเจ้าเฮนรี

ทำให้ในปี พ.ศ. 2068 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษเกิดตกหลุมรักแอนน์ โบลีนและต้องการนาง ทำให้พระเจ้าเฮนรีหาเหตุที่ว่าพระนางแคทเทอรีนเคยอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอาเทอร์นั้นเป็นการผิดบัญญัติแห่งพระเจ้า พระองค์ต้องการหย่ากับพระนางแคทเทอรีน  และทรงถูกขับไล่ออกไปจากพระราชวัง

640px-Hans_Holbein_d._J._049

พระเจ้าเฮนรีที่ 8

ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราว พระราชอำนาจหลังพระราชบัลลังก์ฉายเด่นชัดจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ “คนของพระราชา” และ “คนของพระราชินี” แม้จนเมื่อท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จะทรงมีชัยชนะเหนือพระมเหสี สามารถสำเร็จโทษพระนางได้ ด้วยการกล่าวหาว่าพระนางสมสู่กับน้องชายแท้ๆ ของพระนางเอง แต่ความแตกร้าวก็ยังคงมีอยู่ไม่รู้จบ พระองค์ถูกกล่าวขานถึงว่า “ราชินีแห่งอังกฤษที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมี”

ในช่วงแรกชีวิตคู่ก็มีความสุข แต่พอนานๆ เข้าความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียด พระเจ้าเฮนรีทรงไม่ชอบท่าทางของแอนน์ที่ทำเพื่อตนเองและชอบโต้แย้งกับพระองค์ หลังจากการล้มเหลวจากการได้บุตร พระเจ้าเฮนรีมองการล้มเหลวเป็นการทรยศพระองค์ ในวันคริสต์มาสพระเจ้าเฮนรีได้สนทนากับทอมัส เครนเมอร์ และ ทอมัส ครอมเวลล์ในเรื่องการขับไล่พระนางแอนน์ โบลีน และให้พระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนกลับมา

796143-img-1407807266-3

พระราชินีแอนน์

พระนางแอนน์ไม่เกรงกลัวต่ออันตรายใดๆ ทรงใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย พระนางพยายามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง และได้มีการสั่งประหารศัตรูของพระนาง ผู้ซึ่งต่อต้านนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์

ต่อมาในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2079 ข่าวการสวรรคตของพระนางแคทเทอรีนก็ได้ทราบถึงพระเจ้าเฮนรีและพระนางแอนน์ ทั้งคู่ได้ทรงฉลองพระองค์สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่ไม่เป็นมงคลสำหรับสเปนจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ หลังจากมีการชันสูตรพระศพของพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนได้พบว่า หัวใจของพระนางกลายเป็นสีดำ บางคนเชื่อว่าไม่พระเจ้าเฮนรีก็พระนางแอนน์ได้ลอบวางยาพิษพระนางแคทเทอรีน แต่บ้างก็ว่าพระเจ้าเฮนรีทรงเสียพระทัยในการจากไปของพระนางแคทเทอรีนอย่างมาก

หลังจากนั้นพระนางแอนน์ทรงพระครรภ์อีกครั้ง ในเดือนต่อมาพระเจ้าเฮนรีได้ทรงตกม้าจากการแข่งขันทำให้ทรงบาดเจ็บมาก ดูเหมือนว่าพระองค์อาการหนักมาก เมื่อข่าวล่วงรู้ถึงพระนางแอนน์ ทำให้พระนางตกพระทัยเป็นอันมากจนถึงขนาดทรงแท้งทารกชายในครรภ์ที่มีอายุเพียง 15 สัปดาห์ เหตุการณ์ครั้งนี้บังเกิดขึ้นในวันฝังพระศพของพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอน จึงทำให้พระนางแอนน์มีบุตรีคนเดียวคือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ และเหตุการ์ณต่างๆ เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อนางเจน เซมัวร์นางสนองโอษฐ์ในพระราชาเข้ามาอยู่ในราชวังและแล้วเรื่องการคบชู้สู่ชาย การร่วมประเวณีกับผู้ใกล้ชิด และการทรยศ ก็เกิดขึ้น

ในวันสุดท้ายของเดือนเมษายน นักดนตรีชาวเฟลมมิชที่พระนางแอนน์เรียกไปรับใช้ชื่อว่า มาร์ก สเมียตัน ได้ถูกจับกุมและทรมานร่างกาย เพราะได้ถูกตั้งข้อหาว่าคบชู้กับพระราชินีแต่ระหว่างการทรมานเขาได้สารภาพผิด ต่อมาชาวต่างชาติ เฮนรี นอร์ริส ได้ถูกจับในเดือนพฤษภาคมแต่เนื่องจากเขาเป็นชนชั้นสูงจึงไม่ถูกทรมาน เขาได้ปฏิเสธและสาบานว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ 2 วันต่อมาเซอร์ฟรานซิส เวสตันได้ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาเดียวกัน วิลเลียม แบร์ตันบ่าวรับใช้ของพระเจ้าเฮนรีก็ถูกจับกุมในข้อกล่าวหานี้เช่นกัน สุดท้ายก็มีการจับกุมพระอนุชาของพระนางแอนน์ จอร์จ โบลีนในข้อหาคบชู้กับสายเลือดเดียวกัน

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 พระนางแอนน์ได้ถูกจับกุมและส่งไปหอคอยแห่งลอนดอน นักโทษคนอื่นได้รับการปลดปล่อยเหลือแต่พระนางแอนน์และจอร์จ โบลีน 3 วันต่อมาแอนน์ได้ถูกกล่าวหาว่าได้คบชู้สู่ชายกับสายเลือดเดียวกัน และทรงเป็นผู้ทรยศ

หลังจากการตัดสิน จอร์จ โบลีนพระอนุชาได้ถูกประหารในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 แอนโทนี คิงส์ตันผู้เป็นยามเฝ้าประตูได้บันทึกไว้ว่า พระนางแอนน์นั้นดูมีความสุขและเตรียมตัวเตรียมใจที่จะได้รับการประหาร พระเจ้าเฮนรีได้ทำตามคำขอของพระนางแอนน์เป็นครั้งสุดท้ายโดยได้จ้างเพรชฆาตจากฝรั่งเศสมาทำการประหารโดยใช้ดาบตามธรรมเนียมฝรั่งเศส เนื่องจากพระนางแอนน์กลัวการประหารด้วยขวานทื่อๆตามธรรมเนียมอังกฤษ ในเช้าของวันที่ 19 ทหารได้มาเชิญพระนางเข้ารับการประหาร แอนโทนี คิงส์ตันได้เขียนบันทึกเป็นภาษาอังกฤษว่า พระนางแอนน์ได้ทรงฉลองพระองค์สีแดง พระเกศารวบด้วยผ้าลินินสีขาวซึ่งเป็นธรรมเนียมฝรั่งเศส พระนางทรงมีนางสนองโอษฐ์ 4 คนเดินตามจนถึงแท่นประหาร

anne-boleyns-execution-by-jan-luyken-c-1664-1712

การประหาร

พระนางแอนน์รู้สึกดีขึ้นกับการประหารในแบบฝรั่งเศส พระนางได้สวดครั้งสุดท้ายว่า “แด่พระเยซูคริสต์ ข้ายินดีที่จะมอบวิญญาณของข้า องค์เยซูโปรดรับวิญญาณข้า” นางสนองโอษฐ์ได้นำผ้ามาปิดพระเนตรของพระนาง เพชรฆาตนั้นตื่นเต้นและพบว่าการประหารครั้งนี้สำเร็จยากเนื่องจากพระศอของพระนางนั้นสั้น เพื่อเป็นการเบนความสนใจพระนาง เพชรฆาตได้ตะโกนเสียงดังว่า “ดาบข้าอยู่ไหน” และได้ทำการบั่นพระเศียรของพระนางโดยที่พระนางไม่รู้ตัวว่าดาบมาเมื่อไร การประหารนี้เป็นการประหารอย่างรวดเร็วและเป็นการประหารในดาบเดียว และเมื่อชูหัวของนางที่ไร้ร่างขึ้นมา ก็พบว่าดวงตากลมโตของนางยังคงเบิดโพลงอยู่ ปากยังคงขมุบขมิบคล้ายกำลังสาปแช่ง จากนั้นจึงให้นางกำนัลนำศพมาใส่ในหีบธนู ศพอยู่ในสภาพงอเข่าคู้ หัวซุกอยู่ที่อก

พระเจ้าเฮนรีไม่สามารถหาโลงพระศพที่ดีเยี่ยมให้แอนน์ โบลีนได้ ดังนั้นจึงต้องนำร่างและพระเศียรของพระนางใส่หีบ และฝังโดยมิได้สวมหน้ากากให้ ฝังไว้ในห้องสวดมนต์ของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา ร่างของพระนางได้มีการระบุชื่อในระหว่างการปฏิสังขรณ์โบสถ์ในสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และได้มีการสวมหน้ากากให้พระศพของพระนาง ปัจจุบันหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระนางแอนน์ไปเกือบ 500 ปี มีคนเสนอให้รัฐบาลอังกฤษยกโทษให้พระนางแอนน์อย่างเป็นทางการเพื่อจะได้เคลื่อนย้ายพระศพจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา ไปยังมหาวิหารเวสมินเตอร์เหมือนพระราชวงศ์อื่นๆแต่ได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาล อ้างว่าคดีนี้เก่าจนไม่สามารถหาหลักฐานมาได้ว่าพระนางทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ พระศพจึงถูกฝังที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา เช่นเดียวกับพระศพของ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน ฮาวเวิร์ดและสมเด็จพระราชินีนาถเจน เกรย์ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน

796143-img-1407807266-1

หอคอยแห่งลอนดอน

กล่าวกันว่าหลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ประหารชีวิตพระนางแอนน์ โบลีน ด้วยการตัดพระเศียร (ทรงจ้างเพชรฆาตมือหนึ่งและดาบที่คมที่สุดจากฝรั่งเศสตามคำขอของพระนางแอนน์ โบลีน ซึ่งโดยปรกติแล้วการประหารชีวิตในอังกฤษจะใช้ขวานทื่อๆในการตัดคอ) แล้วที่Tower Green ดวงวิญญาณของพระนางก็ยังคงสิงสถิตอยู่ที่นั่น กล่าวคือ มีทหารยามพบเป็นสตรีสวมผ้าคลุมศีรษะออกมาเดินเล่นริมระเบียงที่ถูกปิดตาย เพียงแต่สตรีผู้นั้นได้ถือศีรษะของตนออกมาเล่นด้วย ไม่ก็พระนางจะลากโซ่ตรวนในห้องประหารแล้วกรีดร้องเสียงดัง และเห็นพระนางแอนน์ โบลีน นำทหารในสมัยนั้นและเลดี้หรือสตรีระดับสูงเข้ามาในโบสถ์ที่หอคอยแห่งลอนดอน จนเงาพวกนั้นค่อย ๆ หายไป แล้วปล่อยให้โบสถ์นั้นเงียบสงัดไปดื้อ ๆ เป็นต้น จนบัดนี้เหตุการณ์แปลกๆที่ว่านี้ก็ยังมีให้เห็นทุกคืน

ข้อมูล วิกิพีเดีย





 

Create Date : 28 ตุลาคม 2557    
Last Update : 28 ตุลาคม 2557 9:27:29 น.
Counter : 1632 Pageviews.  

การกําเนิดของศาสนาพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ คือ อินเดีย มีผู้นับถือที่เรียกว่าศาสนิกชนฮินดู ส่วนมากที่ประเทศอินเดีย นอกนั้นจะมีบ้างเป็นส่วนน้อยตามประเทศต่างๆ เช่น ลังกา บาหลี อินโดนีเสีย ไทย แอฟริกาใต้ สถิติผู้นับถือประมาณกว่า 475 ล้านคน

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีอายุกว่า 4,000 ปี เนื่องจากศาสนานี้มีวิวัฒนาการอันยาวนานผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์หลายขั้นตอนตั้งแต๋โบราณกาลถึงปัจจุบัน จึงเป็นการยากในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆ ไม่มีใครกำหนดได้ว่าศาสดาคือใคร จนต้องถือว่าไม่มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา คิดว่าเกิดจาการได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา หรือเกิดจากประสบการณ์ทางศาสนาของชาวฮินดูร่วมกัน เกิดเป็นคำสอน เป็นคำภีร์ขึ้นจนผู้นับถือศาสนา มีความเชื่อและแนวทางปฏิบัติต่างกันมากมาย ทั้งในสมัยเดียวกันและสมัยต่างกัน แม้แต่ชื่อของศาสนาเอง ก็ยังเรียกต่างกันไปตามกาลเวลา เช่น

  1. สนตนธรรมแปลว่า “ศาสนาสนต” หมายความว่า เป็นศาสนาที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีวันเสื่อมสูญ
  2. ไวทิกธรรมแปลว่า “ธรรมที่ได้มาจากพระเวท”
  3. อารยธรรมแปลว่า “ธรรมอันดีงาม”
  4. พราหมณธรรมแปลว่า “คำสอนของพราหมณาจารย์”
  5. ฮินทูธรรม หรือฮินดูธรรมแปลว่า “ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสาหรือศาสนาฮินดู”

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิดศานานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศานาเสื่อลงระยะหนึ่งและได้มาฟื้นฟูปรับปรุงเป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรม คำสอนให้ดีขึ้น คำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง ในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ ลงไป แลัวเรียกศาสนาของพวกนี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศานาพราหมณ์จึงมีอีกชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้

ศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู เป็นศาสนาเก่าแก่ที่ยากแก่การศึกษาเรื่องราวให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นเพราะ

1.เนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของลัทธิเกิดจากแนวคิดและมโนคติที่ลึกซึ้งและสูงยิ่ง

2.มีวิวัฒนาการที่เกิดจากการผสมผสาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหลายซับหลายซ้อน จนยากแก่การจำแนกแจกแจงขั้นตอนให้เห็นเด่นชัด

3.เอกสาร (คัมภีร์ต่าง ๆ) อันเป็นหลักฐานสำคัญของศาสนานี้ แม้จะมีมากและมีมานานนับเวลาพันปีแต่ก็มิได้รับการเผยแพร่เพราะถูกสงวนไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของพราหมณ์แต่ละตระกูล คงมีการถ่ายทอดให้แก่ทายาทผู้สืบเชื้อสายเท่านั้น เอกสารเหล่านั้น เพิ่งจะมีผู้นำมารวบรวมเป็นคัมภีร์เมื่อประมาณ พ.ศ. 1750 แต่ก็เป็นหลักฐานที่มิได้มีการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมาก่อน เพราะศาสนานี้ไม่มีศาสดาที่เป็นมนุษย์คำสอนทั้งปวงพราหมณือ้างว่าได้ยินได้ฟังมาจากเสียงสวรรค์ จากโอษฐ์ของพระเจ้าโดยตรง

อย่างไรก็ตาม คำสอนอันเป็นแก่นแท้ของศาสนาพราหมณ์ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ก็เป็นพื้นฐานให้เกิดศาสนาอื่นที่สำคัญ ๆ หลายศาสนา เป็นหลักฐานที่สนใจศึกษากันในหมู่นักปรัชญาทั่วไปในสมัยปัจจุบันยิ่งกว่านั้นคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาลของศาสนานี้ยังมีความสอดคล้องและท้าทายข้อพิสูจน์ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาล ที่นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันกำลังศึกษาค้นคว้ากันอยู่อีกด้วย

สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจากอักษร อ อุ และ ม หมายถึงเทพยิ่งใหญ่ทั้งสาม อักษร “อ” แทนพระวิษณุ อักษร “อุ” แทนพระศิวะ และอักษร “ม” แทนพระพรหม สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเรียกว่า “สวัสติหรือสวัสติกะ”

การแบ่งยุคสมัยของศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู แบ่งตามวิวัฒนาการตามลำดับเหตุการณ์ ได้ดังนี้คือ

1. สมัยอริยกะ

ระยะเวลาประมาณ

950 ปีก่อนพุทธกาล

2. สมัยพระเวท

“

957-475 ก่อนพุทธกาล

3. สมัยพราหมณ์

“

257 ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ.43

4. สมัยฮินดูเก่า(ฮินดูแท้)และอุปนิษัท

“

57 ปีก่อน พ.ศ.-ต้นพุทธกาล

5. สมัยสูตร

“

พ.ศ.60-พ.ศ.360

6. สมัยอวตาร

“

พ.ศ. 220-พ.ศ.660

7. สมัยเสื่อม

“

พ.ศ. 861-พ.ศ.1190

8. สมัยฟื้นฟู

“

พ.ศ. 1200-พ.ศ. 1740

9. สมัยภักติ

“

พ.ศ. 1740- พ.ศ. 2300




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2557    
Last Update : 28 ตุลาคม 2557 9:17:38 น.
Counter : 1304 Pageviews.  

ลิ้นบอกโรค?/

ลิ้นบอกโรค การอ่านลิ้นของแพทย์แผนจีน เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยด้วยการดู สังเกตการเปลี่ยนแปลงของลักษณะลิ้นและฝ้าบนลิ้น เป็นส่วนสำคัญในการตรวจโรคของแพทย์แผนจีน โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า เส้นลมปราณของอวัยวะภายในร่างกายล้วนแล้วเดินผ่านบริเวณลิ้นกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ลิ้นจึงสะท้อนถึงสภาวะภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี จากการดูลิ้นสามารถรู้ได้ถึงความสมดุลภายในร่างกาย ซึ่งแพทย์แผนจีนมองว่า ลิ้นเปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนถึงภาวะสมดุลและไม่สมดุลในร่างกาย ว่าในร่างกายมีสิ่งใดผิดปกติอย่างไร โดยลักษณะของตัวลิ้นสามารถสะท้อนถึงอวัยวะภายในทั้งห้า(ปอด หัวใจ ม้าม ตับ ไต) ฝ้าบนลิ้นสามารถสะท้อนถึงอวัยวะกลวงทั้งหก(กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ถุงน้ำดี และซานเจียว)

ลิ้น1

ความสัมพันธ์ระหว่างลิ้นกับอวัยวะภายในมีดังนี้

  • ปลายลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของหัวใจ และปอด เช่นปลายลิ้นแดงเป็นแผล แสดงว่าหัวใจมีความร้อนมาก
  • กลางลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของม้ามและกระเพาะอาหาร ถ้าลิ้นมีฝ้าหนา โดยเฉพาะบริเวณกลางลิ้น แสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดี เกิดความชื้น หรือมีเสมหะสะสมอยู่ในร่างกาย
  • โคนลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของไต ถ้าฝ้าที่โคนลิ้นลอกออกจนเห็นผิวลิ้น แสดงว่าไตหยินพร่อง
  • ด้านข้างขอบลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของตับและถุงน้ำดี เช่นด้านข้างขอบลิ้นมีจุดม่วงคล้ำ แสดงว่าลมปราณ(ชี่)ที่ตับติดขัด เลือดไหลเวียนไม่ดีการอ่านลิ้น ประกอบด้วยการดูสีลิ้น รูปร่างลักษณะของลิ้น การเคลื่อนไหวของลิ้น ลักษณะและสีของฝ้าบนลิ้น

การดูสีลิ้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 6 สี

  • ลิ้นสีแดงอ่อน – พบในคนปกติ หรืออาการป่วยยังเบา
  • ลิ้นสีขาวซีด – ลมปราณ(ชี่)และเลือดพร่อง หยางพร่อง
  • ลิ้นสีแดง — มีอาการร้อนแกร่ง หยินพร่องเกิดไฟ
  • ลิ้นสีแดงเข้ม — มีความร้อนอยู่ภายใน มีอาการหยินพร่อง
  • ลิ้นสีม่วง — ลมปราณ(ชี่)และเลือดไหลเวียนไม่คล่อง

การดูรูปร่างลักษณะของลิ้น

  • ลิ้นหยาบ — ผิวลิ้นหยาบด้าน สีลิ้นค่อนข้างคล้ำ แสดงว่าอาการป่วยเป็นอาการแกร่ง ภูมิต้านทานยังดีอยู่
  • ลิ้นอ่อน — ผิวลิ้นละเอียด ลิ้นบวม สีซีดอ่อน แสดงว่าอาการป่วยเป็นอาการพร่อง เช่นเลือดลมน้อย พลังหยางน้อย
  • ลิ้นบวมใหญ่ — ลิ้นบวมใหญ่และหนา เวลาแลบลิ้นจะเต็มปาก แสดงว่ามีความชื้นสะสมอยู่ภายใน
  • ลิ้นเล็กบาง — ลมปราณ(ชี่)และเลือดน้อย หยินพร่องเกิดไฟ
  • ลิ้นมีจุดแดงหรือเป็นจุดเหมือนหนามเล็กๆนูนอยู่บนลิ้น — อวัยวะภายในมีความร้อนอยู่มาก หรือในชั้นเลือดมีความร้อนอยู่มาก
  • ลิ้นมีรอยแตก — มีความร้อนมาก หยินน้อย เลือดน้อย ม้ามพร่อง
  • ลิ้นมีรอยหยักของฟัน — ม้ามพร่อง ภายในร่างกายมีความชื้นมาก

การดูลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวลิ้น

  • ลิ้นอ่อนแรง —ชี่และเลือดพร่อง หยินพร่อง
  • ลิ้นแข็งทื่อ —ความร้อนเข้าสู่เหยื่อหุ่มหัวใจ หรือมีไข้สูง หรือมีลมและเสมหะอุดตันอยู่ที่เส้นลมปราณลั่ว
  • ลิ้นเอียงเฉ —มักเป็นอาการล่วงหน้าหรือพบในผู้ที่มีเส้นเลือดสมองตีบ หรือเส้นเลือดสมองแตก
  • ลิ้นสั่น —เป็นอาการเกิดลมในตับ หรืออาจเกิดจากหยินพร่อง เลือดน้อย หยางแกร่ง มีความร้อนมาก

การอ่านตัวลิ้น นอกจากดูผิวลิ้น ลักษณะของลิ้นแล้ว ยังสามารถดูเส้นเลือดที่อยู่ใต้ลิ้นได้อีก ถ้าเส้นเลือดใต้ลิ้นใหญ่ยาว มีสีแดงเข้ม หรือสีเขียว หรือสีม่วง หรือสีดำ ล้วนสะท้อนให้เห็นว่ามีเลือดคั่งอยู่ภายในแต่ถ้าเส้นเลือดใต้ลิ้นสั้นและเล็ก สีของตัวลิ้นก็ซีดขาว แสดงว่าลมปราณ(ชี่)และเลือดน้อย

การดูลักษณะของฝ้าบนลิ้นมีดังนี้

  • ฝ้าบาง — พบในคนปกติ หรืออาการป่วยที่ยังอาการเบา
  • ฝ้าหนา — มีความชื้นสะสมอยู่ในร่างกาย อาหารตกค้าง หรือร้อนใน
  • ฝ้าชื้น — พบในคนปกติ หรืออาการป่วยที่ยังไม่ลุกลามถึงระบบน้าในร่างกาย เช่น ไข้หวัดจากลมหนาว อาหารไม่ย่อย เลือดคั่ง
  • ฝ้าแห้ง — อาการป่วยลุกลามถึงระบบน้ำในร่างกาย เช่น มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายท้อง
  • ฝ้าเหนียว — มีความชื้นสะสมอยู่ภายใน
  • ฝ้าร่อน — ฝ้าหนา แต่เมื่อขูดจะหลุดร่อนง่าย แสดงถึงอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีเสมหะสะสมอยู่ภายใน
  • ฝ้าหลุดลอก — ฝ้าบนลิ้นหลุดลอกเป็นบางบริเวณหรือทั่วลิ้น บริเวณที่ฝ้าหลุดลอกไป จะเห็นตัวเนื้อลิ้นเกลี้ยงไม่มีฝ้า แสดงถึงชี่ที่กระเพาะอาหารน้อย หยินในกระเพาะอาหารมีน้อยขาดแคลน ชี่และเลือดพร่อง ร่างกายอ่อนแอ
  • ฝ้าเต็มลิ้น — มีความชื้น เสมหะติดขัดอยู่ภายใน
  • ฝ้าไม่เต็มลิ้น — ฝ้ามีอยู่บางส่วนของลิ้น เช่น มีฝ้าอยู่เพียงบริเวณปลายลิ้น หรือโคนลิ้น หรือส่วนซ้าย หรือส่วนขวาของลิ้น ส่วนใดของลิ้นมีฝ้าแสดงว่าอวัยวะที่สังกัดบริเวณมีอาการผิดปกติ เช่น มีฝ้าอยู่บริเวณด้านข้างของลิ้น แสดงให้เห็นว่ามีความชื้นร้อนอยู่บริเวณตับและถุงน้ำดี
  • ฝ้าจริง — ฝ้าขึ้นจากตัวลิ้น ขูดออกยาก เมื่อขูดออกแล้วจะมีรอยฝ้าอยู่ เห็นผิวลิ้นได้ไม่ชัดเจน ถ้าป่วยเป็นเวลานาน ฝ้าลิ้นเป็นฝ้าจริง แสดงว่าพลังชี่ที่กระเพาะอาหารยังมีอยู่
  • ฝ้าหลอก — ฝ้าไม่ติดกับตัวลิ้นนัก เหมือนทาอยู่บนผิวลิ้น ฝ้าขูดลอกออกง่าย และเห็นผิวลิ้นชัดเจน ถ้าป่วยเป็นเวลานาน ฝ้าลิ้นเป็นฝ้าหลอก แสดงว่าอาการป่วยน่าวิตก

ลิ้น2

การดูสีของฝ้า สีของฝ้าแบ่งเป็นหลักๆได้ 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีเทาดำ

  • ฝ้าสีขาว — สามารถพบได้ในคนปกติ และในกลุ่มอาการภายนอก(เปี่ยวเจิ้ง) อาการหนาวเย็น มีความชื้นอยู่ภายใน และกลุ่มอาการร้อน
  • ฝ้าสีเหลือง — มักพบในกลุ่มอาการร้อน และเป็นอาการป่วยอยู่ภายใน
  • ฝ้าสีเทาดำ — บอกถึงมีความหนาวเย็นหรือมีความร้อนอยู่ภายในมาก

การดูลิ้นต้องดูทั้งตัวลิ้นและฝ้าบนลิ้นควบคู่กันไป เช่น ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองและแห้ง บ่งบอกถึงมีอาการร้อนแกร่ง ถ้าลิ้นแดงและผอม มีฝ้าน้อยหรือไม่มีฝ้า บ่งบอกถึงมีหยินพร่องและมีความร้อนอยู่ภายใน ถ้าลิ้นม่วง ฝ้าขาวเหนียว บ่งบอกถึงชี่และเลือดไหลเวียนติดขัด มีเสมหะหรือความชื้นสะสมอยู่ภายใน

จากข้างต้น เราได้อธิบายลักษณะการดูลิ้นให้ท่านได้ทราบกันแล้ว ทั้งนี้ลักษณะลิ้นที่ปกติควรเป็นอย่างไร เรามาเฉลยกันค่ะ ลักษณะลิ้นที่ปกติคือ ตัวลิ้นอ่อน เคลื่อนไหวได้คล่อง สีลิ้นเป็นสีแดงอ่อน และมีความชุ่มชื้นพอเหมาะ ฝ้าบนลิ้นบางขาวและกระจายทั่วลิ้น รู้เช่นนี้แล้ว หมั่นตรวจสุขภาพลิ้นกันนะค่ะ และขอให้ทุกท่านมีสุขภาพลิ้นแข็งแรงค่ะ

ขอบคุณที่มาและรูปภาพจาก : คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2557    
Last Update : 27 ตุลาคม 2557 10:03:14 น.
Counter : 2254 Pageviews.  

ที่มาของคําว่า "บางกระปิ"

ในการตั้งชื่อสถานที่เป็น "บาง" แล้วมีคำต่อท้ายนั้น ส่วนมากมักมีที่มาโดยสามารถจัดกลุ่มสาเหตุของการตั้งชื่อบางต่างๆ ได้ดังนี้

1. ใช้ชื่อที่มาจากภาษาเขมรเดิม ประกอบด้วย บางเชือกหนัง (ฉนัง) บางระนาด บางรางนอง บางบำหรุ เป็นต้น

2. ใช้ชื่อบุคคล เช่น บางขุนนท์ บางขุนศรี บางขุนพรหม เป็นต้น

3. ใช้ชื่อคำจากตำนาน เช่น บางเขน บางซื่อ บางซ่อน รวมถึงบางในเขตเมืองนนทบุรี เป็นต้น

4. ใช้ชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ เช่น บางคอแหลม บางด้วน เป็นต้น

5. ใช้สิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นมา หรือจากสัตว์ที่มีมากในบริเวณนั้น เช่น บางโพงพาง บางยี่เรือ บางกระบือ เป็นต้น

6. ใช้ผัก ผลไม้ หรือสภาพของพื้นที่ ที่มีธรรมชาติแวดล้อมมาเป็นชื่อ เรียกท้องที่ของตัวเอง เช่น บางแค บางลำพู บางจาก บางไผ่ บางหว้า บางอ้อ บางบอน เป็นต้น ซึ่งในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีการตั้งชื่อจำนวนมากที่สุด

ส่วนที่มาของคำว่า "บางกะปิ" นั้น มี 3 ข้อสันนิษฐาน คือ

1. มาจากชื่อ "กะปิ" ที่เป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ ด้วยกุ้งเล็กๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก

2. มาจากคำว่า "กระบี่" ที่แปลว่าลิง เพราะพื้นที่นี้เคยเป็นป่าทึบ และมีลิงมาก

3. มาจากชื่อหมวก "กะปิเยาะห์" ของชาวมุสลิม เนื่องจากพื้นที่นี้มีชาวมุสลิม อาศัยอยู่มาก ซึ่งการแต่งกายของชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะสวมหมวกคลุมหัวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "กะปิเยาะห์" จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อ "บางกะปิ"ได้เช่นกัน


ที่มา: หนังสือ 100 ปี เขตบางกะปิ : ย้อนรอยตำนาน ร้อยอดีต 100 ปี เขตบางกะปิ, ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง บรรณาธิการ (หน้า 45)




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2557    
Last Update : 27 ตุลาคม 2557 10:00:09 น.
Counter : 1100 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.