อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ

ข้าวผัดปลาทูสมุนไพร

ข้าวผัดปลาทูสมุนไพร


เมนูอาหารไทยวันนี้ ข้าวผัดปลาทูสมุนไพร สำหรับคนรักสุขภาพ เมนูข้าวผัดถือว่าเป็นอาหารที่ทำได้ง่าย อีกทั้งหากเรามีข้าวเหลือจากมื้อก่อนหน้า ก็เอามาอุ่นโดยทำเป็นข้าวผัดทานก็อร่อยไปอีกแบบ จะผัดกับหมู เนื้อ ไก่ หรือใส่ไข่ก็ได้ สำหรับคนที่ชอบปลาแล้วละก็ ลองนำเมนูข้าวผัดสมุนไพรใส่ปลาทู สูตรนี้ไปลองทำทานกัน...^^

ข้าวผัดปลาทูสมุนไพร

ส่วนประกอบและเครื่องปรุง
  • ข้าวสวย 1 จาน
  • ปลาทูทอด 1 ตัว (ใช้แค่ซีกเดียวก็ได้)
  • ตะไคร้ 
  • หอมแดง 
  • ต้นหอม 
  • ผักชี
  • พริกชี้ฟ้า 
  • พริกขี้หนูตำ
  • มะนาว 
  • กระเทียม
  • ซอสปรุงรส 
  • น้ำมันพืช
วิธีทำ
  1. ตักข้าวสวยใส่จาน ทิ้งไว้ให้เย็น เวลาผัดข้าวจะได้เป็นเม็ดสวย
  2. แกะปลาทูที่ทอดแล้ว เอาแต่เนื้อ 
  3. หั่นพริกชี้ฟ้าเฉียงๆ รวมทั้งตะไคร้ หอมแดง ต้นหอม ผักชีหั่นรอไว้
  4. กระเทียมทุบหรือบุบหยาบ ๆ ก็พอ
  5. เริ่มผัด โดยตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช จากนั้นใส่พริกขี้หนูตำ และกระเทียมลงไปพัดเจียวให้พอหอม
  6. ใส่เนื้อปลาทูที่แกะลงไปผัดให้หอมอีกครั้ง 
  7. ใส่ข้าวสวยลงผัดให้เข้ากัน ตามด้วยตะไคร้ซอย หอมแดงซอย ปรุงรสด้วยซอสนิดหน่อย (ปลาทูจะเค็มอยู่แล้ว อย่าใส่น้ำปลามากเด๋ยวจะเค็มเอา)
  8. ผัดให้เข้ากัน ใส่ต้นหอม พริกชี้ฟ้าหั่นเฉียง (หรือจะเปลี่ยนเป็น ใบโหระพา หรือสาระแหน่ ก็ได้)
  9. ผัดคลุกเคล้า...กลิ่นหอมโชยเข้าจมูกแล้ว ก็ปิดไฟได้
  10. ตักใส่จาน ปรุงรสด้วยมะนาว เป็นอันเสร็จ
ข้อแนะนำ
สูตรข้าวผัดสมุนไพรนี้ อาจใช้หมู เนื้อ หรือไก่ แทนปลาทูก็ได้ แล้วแต่ชอบ


ขอบคุณสูตรจากคุณ Kuky@bloggang.com




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2557    
Last Update : 19 ธันวาคม 2557 8:21:22 น.
Counter : 1873 Pageviews.  

5 ท่านผุ้หญิง หรือ เลดี้ ของไทย ที่ไม่รุ้จัก ไม่ได้

ท่านผู้หญิง คือ คำนำหน้านาม ของ สตรีสามัญชนที่สมรส หรือเคยสมรส และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ตั้งแต่ ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ถึงปฐมจุลจอมเกล้า จึงจะมีคำนำหน้านามว่า “ท่านผู้หญิง” เทียบได้กับคำว่า ” เลดี้ ” ตามฐานันดรศักดิ์ของอังกฤษ หากสตรีสามัญชนที่มิได้สมรส หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นใดก็ตามจึงใช้คำนำหน้านามว่า ” คุณ ” ลองมาทำความรู้จักกับท่านผู้หญิง ทั้ง 5 ท่านของไทย ที่คุณ ไม่รู้จักไม่ได้!

ท่านผู้หญิง ทัศนาวลัย

1..ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สกุลเดิม: รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) – พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยจึงได้สานต่อพระกรณียกิจให้ลุล่วง เช่น การดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพิเศษของกองทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น

ท่านผู้หญิง วิระยา ชวกุล

2.ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล  กรรมการมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการ และเลขาธิการมูลนิธิบำรุงขวัญทหาร ตำรวจ อาสาสมัครชายแดน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประธานกรรมการมูลนิธินพรัช-รัตนโกสินทร์ กรรมการมูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร

ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์

3.ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย เป็นธิดาเพียงคนเดียวของหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตองคมนตรี กับหม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์ (สกุลเดิม กิติยากร) พระขนิษฐาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นภรรยาของศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

ปัจจุบันท่านลาออกจากราชการมาเป็นนักวิชาการอิสระ และก่อตั้งมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านวิชาการที่มุ่งดำเนินการศึกษาและวิจัยโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำไปสู่การจัดการที่ดีและมีความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ท่านผู้หญิง อรนุช

4. ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ และผู้อำนวยการฝ่ายจัดจำหน่าย มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นภริยานายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการพระราชวัง สำนักพระราชวัง

พลตรีหญิง ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี

5.พลตรีหญิง ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี (เดิมคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ) อดีตพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา)

เรียบเรียงโดย Women MThai Team
ภาพจากนิตยสาร LIPS และ wikipedia

facebook




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2557    
Last Update : 19 ธันวาคม 2557 8:18:35 น.
Counter : 1551 Pageviews.  

พม่าแถลงเชื่อ 2 แรงงานไม่ได้ฆ่า 2 ฝรั่งบนเกาะเต่า

เจ้าหน้าที่สอบสวนของทางการเมียนมา เชื่อว่า แรงงานหนุ่ม 2 รายที่ถูกกล่าวหาฆ่านักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ 2 คนที่เกาะเต่าของไทยเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่พยานที่เห็นเหตุการณ์ไม่กล้าให้ปากคำ เพราะกลัวตำรวจไทย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คณะเจ้าหน้าที่สอบสวนของเมียนมาแถลงที่กรุงย่างกุ้ง ว่า พวกเราเชื่อว่าชายชาวเมียนมา 2 คน ที่ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ 2 คนในประเทศไทยเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ผู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งอาจสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของพวกเขานั้นจะไม่ให้ปากคำเพราะพวกเขากลัวเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย

586603-01

ทั้งนี้ นางสาวฮันนาห์ วิเทริดจ์ วัย 23ปี และ นายเดวิด มิลเลอร์ วัย 24 ปี ถูกพบเป็นศพเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมาบนชายหาดแห่งหนึ่งที่เกาะเต่าภาคใต้ของไทย ซึ่งจากผลการชันสูตรศพพบว่า ทั้งสองคนได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง และ นางสาววิเทริดจ์ ถูกข่มขืนด้วย

แรงงานชาวเมียนมา 2 คน คือ นายซอลิน และ นายเวพิว วัย 21 ปีทั้งสองคน เบื้องต้นยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุฆาตกรรมแต่ในเวลาต่อมากลับคำรับสารภาพ โดยกล่าวว่าพวกเขาถูกทำร้ายและข่มขู่จากตำรวจไทยให้รับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าว

innnews
: , , , , , ,




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2557    
Last Update : 19 ธันวาคม 2557 8:15:44 น.
Counter : 1064 Pageviews.  

เจาะลึกนาซ่า องค์การด้านอวกาศเพื่อมวลมนุษย์ชาติ



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nasa.gov , topwalls.net

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ประเด็นดาวเคราะห์ อวกาศ อุกกาบาต ยูเอฟโอ และดวงอาทิตย์ ดูเหมือนจะกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้งตามหน้าสื่อ เพราะมีปรากฏการณ์แปลกประหลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก ยิ่งล่าสุด จู่ ๆ อุกกาบาตลูกหนึ่งก็พุ่งตกลงมาจากฟ้าในรัสเซีย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บไปหลายร้อย และนั่นทำให้ชื่อของ "องค์การนาซา" ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงซะจนชินหู แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักองค์กรนี้เท่าไหร่นัก วันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยขอนำเรื่องราวว่าด้วยบทบาทหน้าที่ขององค์การนาซามาฝากกัน

องค์การนาซา หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration: NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามพระราชบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการที่รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร โดยเกิดขึ้นจากเงื่อนไขด้านความมั่นคง ในช่วงที่สหรัฐฯ ทำสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องอวกาศนั้นถือเป็นหน้าเป็นตาและเป็นการเสริมบารมีให้ประเทศ

จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งองค์การนาซา เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมุ่งมั่นในการวิจัยชั้นบรรยากาศและพัฒนาอากาศยาน เพื่อให้มั่นใจว่าอเมริกาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ต่อมา ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศปรับปรุงแผนการโคจรของดาวเทียมวิทยาศาสตร์ และรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้สหภาพโซเวียตรีบประกาศแผนปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรบ้าง

โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โซเวียตชิงส่งยานสปุตนิก 1 สู่อวกาศตัดหน้า สภาคองเกรสรู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคงและภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตน ทำให้สหรัฐฯ เร่งเดินเครื่องอย่างจริงจัง โดยก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร

และในที่สุด วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงนามในกฎหมายการบินและอวกาศแห่งชาติ ค.ศ. 1958 เพื่อก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นนาซาประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ที่โอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี

โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินไปพร้อมแรงกดดันจากการแข่งขันกับสหภาพโซเวียตในระหว่างสงครามเย็น นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศด้วยโครงการเมอร์คิวรีในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นักบินอวกาศ อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับยานฟรีดอม 7 ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้นจอห์น เกล็นน์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ ยานเฟรนด์ชิป 7


สำหรับภารกิจหลักขององค์การนาซาในปัจจุบัน คือ การบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ โดยแบ่งการทำงานเป็นโครงการสำรวจอวกาศ และศูนย์วิจัย ซึ่งโครงการสำรวจอวกาศออกเป็น 2 โครงการใหญ่ ๆ คือ

1. การบินอวกาศปราศจากมนุษย์ขับคุม (Unmanned Space Flight) เป็นโครงการสำรวจอวกาศด้วยยานอวกาศและดาวเทียมชนิดต่าง ๆ ที่ไม่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วย เช่น ยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ส่วนดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกมากมายหลายดวง ล้วนมีจุดประสงค์ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์

2. การบินอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม (Manned Space Flight) การบินอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม มีการตระเตรียมส่งมนุษย์ขึ้นไปในห้วงอวกาศมาตั้งแต่ปี 2520 โดยประกาศรับสมัครบุคคลที่จะเข้าฝึกเป็นมนุษย์อวกาศชุดแรกในโครงการเมอคิวรี (Mercury) จนกระทั่งวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ได้ส่งมนุษย์อวกาศคนแรกของสหรัฐอเมริกา ชื่อ อลัน บี. เชพพาร์ด ขึ้นไปกับยานเมอคิวรี ที่มีชื่อว่า ฟรีดอม 7 (Freedom 7) ปฏิบัติการทดลองขึ้นสู่อวกาศในช่วงเวลาเพียง 15 นาที ก็กลับลงสู่โลก (มนุษย์อวกาศคนแรกของโลก ชาวรัสเซียชื่อ ยูริ กาการิน ขึ้นสู่อวกาศกับยานวอสตอก 1 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504)



ส่วนศูนย์วิจัยหลัก ซึ่งมีภารกิจหน้าที่และดูแลครอบคลุมงานต่าง ๆ นั้น แบ่งเป็น 10 ศูนย์ ดังนี้

1. ศูนย์การบินอวกาศกอดเดิร์ด (Goddard Space Flight Center) Greenbelt, Maryland : การควบคุมยานสำรวจอวกาศของนาซา และการติดตามความคืบหน้าในการสำรวจโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ

2. ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลล์ (Marshall Space Flight Center) Huntsville AL, Madison County : การพัฒนาระบบขนส่งทางอวกาศและระบบขับดัน

3. ศูนย์การบินอวกาศสเตนนิส (Stennis Space Flight Center) Mississippi : การวิจัยและทดลองระบบขับดันของจรวด Satturn V และการควบคุมระบบการขับเคลื่อนยานอวกาศ

4. ศูนย์วิจัยเกลนน์ (Glenn Research Center) Cleveland, Ohio : การพัฒนาระบบขับดัน และเทคโนโลยีการสื่อสาร

5. ศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) Mountain View, California : การพัฒนาระบบไอที การออกแบบและสร้างอากาศยาน การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอวกาศ

6. ศูนย์วิจัยแลงลีย์ (Langley Research Center) Hampton, Virginia : การวิจัยด้านอากาศยานและอวกาศ

7. ศูนย์วิจัยการบินไดรเดน (Dryden Flight Research Center) Los Angeles County, California : การวิจัยการบิน

8. ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) Florida : ศูนย์วิจัยจรวดเพื่อส่งยานสำรวจ

9. ศูนย์อวกาศจอห์นสัน (Johnson Space Center) Houston, Texas : การฝึกนักบินอวกาศและผู้ควบคุมกระสวยอวกาศ

10. ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน (Jet Propusion Labolatory) Pasadena, California : การควบคุมยานสำรวจอวกาศในระบบสุริยะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา , nasa.gov , nstda.or.th




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2557    
Last Update : 19 ธันวาคม 2557 8:11:43 น.
Counter : 997 Pageviews.  

สปาเกตตีมะเขือเทศ กระเทืยม และโหระพา

สปาเกตตีมะเขือเทศ กระเทียม และโหระพา

เมนูอาหารนี้เหมาะกับคนชอบเส้นโดยเฉพาะเส้นสปาเก็ตตี (Spaghetti) หรือ พาสตา (pasta) ทานกับซอสมะเขือเทศ สูตรนี้ที่ทำไม่ยาก เครื่องปรุงหรือส่วนประกอบไม่มากนัก แต่อร่อยแซ่บเว่อร์เลยที่เดียว

สปาเกตตีมะเขือเทศ กระเทียม และโหระพา
สปาเกตตีมะเขือเทศ กระเทียม และโหระพา
สปาเกตตีมะเขือเทศ กระเทียม และโหระพา Photo credit: //www.pillsbury.com
เครื่องปรุงและส่วนประกอบ
  • สปาเกตตี 200 หรือ 220 กรัม ก็ได้
  • น้ำมันมะกอก 5 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียมกลีบใหญ่ แกะเปลือกหั่นบาง ¼ ถ้วย
  • มะเขือเทศปลอกเปลือก เอาเมล็ดออก หั่นบางตามยาว 5-6 ลูก (หรือใช้มะเขือเทศกระป๋องสับหยาบ พร้อมน้ำในกระป๋อง 1 กระป๋อง)
  • เกลือสมุทร 1 ช้อนชา
  • พริกไทยดำป่น ½ ช้อนชา
  • เปลือกพริกป่น (ปาปริก้า) 1 ช้อนชา
  • โหระพาเด็ดใบ 1/3 ถ้วย
  • ยอดโหระพาสำหรับตกแต่ง
วิธีทำ
  1. ต้มน้ำในหม้อใบใหญ่จนเดือดจัด ใส่เกลือป่นเล็กน้อย ใส่เส้นสปาเกตตีลงต้มจนสุกแบบ al dente ตักเส้นขึ้นให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสม เคล้าด้วยน้ำมันมะกอกเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เส้นติดกัน
  2. ใส่น้ำมันมะกอก 4 ช้อนโต็ะ (หรือประมาณ ¼ ถ้วย) และกระเทียมลงในกระทะ เปิดไฟกลาง ผัดพอกระเทียมเริ่มเหลือง ใส่เนื้อมะเขือเทศ ผัดพอน้ำงวดปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทยป่น และเปลือกพริกป่น ผัดด้วยไฟอ่อนจนมะเขือเทศเละ และมีน้ำมันแยกออกมา ใส่ใบโหระพา ผัดต่อสักครู่ ใส่น้ำมันมะกอกที่เหลือ ปิดไฟ
  3. ใส่สปาเกตตีลงเคล้ากับซอสที่ผัดในกระทะให้เข้ากัน ตักใส่จาน ตกแต่งด้วยยอดโหระพา เสิร์ฟ (สำหรับ 2-3 คนรับประทาน)
เคล็ดลับ
แนะนำว่า ซอสมะเขือเทศ กระเทียม และโหระพา สำหรับเคล้าเส้นสปาเกตตีนั้น ต้องผัดเคี่ยวจนซอสมีลักษณะข้น และเนื้อมะเขือเทศค่อนข้างเละ เน้นกระเทียมซอยให้มากเป็นพิเศษ รสชาติจะเข้มข้น อร่อยยิ่งขึ้น




 

Create Date : 16 ธันวาคม 2557    
Last Update : 16 ธันวาคม 2557 8:33:21 น.
Counter : 1490 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.