Group Blog
 
<<
มีนาคม 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 มีนาคม 2567
 
All Blogs
 
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร - วัดอาวาสใหญ่, วัดช้างรอบ, วัดสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณกำแพงเพชร ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสามารถติดต่อกับที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านในท้องที่จังหวัดพิจิตรและพิษณุโลกได้และยังต่อเนื่องไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นภูเขา จากลักษณะทางภูมิประเทศดังกล่าว พบว่ามีความเหมาะสมในการตั้งชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สามารถใช้ติดต่อกับชุมชนในพื้นที่ราบได้สะดวก และเป็นชุมชนพักสินค้าเพื่อเปลี่ยนแบบแผนการคมนาคมจากที่ราบสู่เขตภูเขาที่ขึ้นไปทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตกต่อไป

เมืองโบราณกำแพงเพชรมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางตัวเป็นแนวขนานไปกับแม่น้ำปิง กำแพงเมืองแต่เดิมมีลักษณะเป็นคันดินและคูน้ำสามชั้น ต่อมาได้มีการพัฒนากำแพงเมืองชั้นในเป็นกำแพงก่อด้วยศิลาแลง เชิงเทินตอนบนก่อเป็นรูปใบเสมาและมีป้อมประตูโดยรอบ

กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่เมืองโบราณกำแพงเพชรมาอย่างต่อเนื่องทั้งการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถานรวมทั้งการก่อตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรขึ้น แล้วจึงมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยขอบเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในปัจจุบันพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมดรวม 2,114 ไร่ หรือ 3.34 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่

1. เขตกำแพงเมือง มีพื้นที่ 503 ไร่ ตั้งอยู่ในขอบเขตของเมืองกำแพงเพชรโบราณบนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง มีคูเมืองและกำแพงเมืองศิลาแลงรอบล้อม

2. เขตอรัญญิก มีพื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรัง นอกเขตกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พุทธศักราช 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์มรดกโลกด้านวัฒนธรรม จำนวน 2 ข้อ ดังนี้

- เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

วัดอาวาสใหญ่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดอาวาสใหญ่ไม่ปรากฏแนวขอบเขตกำแพงวัด คงมีเฉพาะกำแพงแก้วที่แสดงขอบเขตพุทธาวาส ด้านหน้าก่อเจดีย์รายรูปทรงต่าง ๆ บนฐานขนาดใหญ่ข้างละ 8 องค์ ถัดเข้าข้างในเป็นวิหารใหญ่ยกพื้นสูง มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานวิหารตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่ชั้นหนึ่ง ด้านหลังวิหารเป็นฐานเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม กว้างด้านละ 6 เมตร รองรับฐานหน้ากระดานย่อมุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ส่วนยอดเจดีย์พังลงหมด สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง นอกกำแพงแก้วออกไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นเขตสังฆาวาส ซึ่งมีฐานกุฏิสงฆ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งพบร่องรอยของอาคารศาลา บ่อน้ำ และห้องส้วม (เวจกุฎี) ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เรียกว่า บ่อสามแสน
.




















ไม่ได้ไปครบทุกวัดนะคะ 











บริเวณที่เคยเป็นสระน้ำขุดลงไปถึงชั้นศิลาแลง








วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเนินเขาลูกรังในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร มีความสูง 98 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผังวัดมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กลุ่มโบราณสถานสำคัญภายในวัดได้แก่ อุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด มีใบเสมาทำจากหินชนวนปักบนพื้นดินโดยรอบ 8 ทิศ วิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ทางด้านทิศตะวันตกของวิหาร เป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 31 เมตร ส่วนฐานประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัว จำนวน 68 เชือก โดยมีการตกแต่งด้วยเครื่องทรงและเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากประติมากรรมรูปช้างที่ล้อมรอบฐานเจดีย์แห่งอื่นในวัฒนธรรมสุโขทัย เช่น เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 และเจดีย์ประธานวัดสรศักดิ์ เมืองสุโขทัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20

สามารถกำหนดอายุเจดีย์ประธานวัดช้างรอบได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบลวดลายเครื่องประดับของประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างที่มีความคล้ายคลึงกับลวดลายชายผ้านุ่งของเทวรูปพระอิศวรสำริดปรากฏจารึกที่ฐานประติมากรรม ระบุศักราช พ.ศ. 2053 รวมถึงลวดลายดอกบัว และเทพพนม ที่ปรากฏบนกระเบื้องเชิงชาย ซึ่งพบจากการดำเนินการทางโบราณคดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับลายบนกระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา อาทิเช่น พระราชวังหลวง วัดสุวรรณาราม วัดพลับพลาชัย และตำหนักมเหยงคณ์ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
 













เดินขึ้นมาด้านบนค่ะ



มองลงไปข้างล่าง















บูรณฆฏะ หมายถึง หม้อแห่งความดีงาม อุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม ความสุข ความร่มเย็น และมีสติปัญญา































มาต่อกันเลยค่ะ บริเวณนี้มีวัดติด ๆ กัน















อยู่ใกล้กับวัดสี่อิริยาบถค่ะ


























Create Date : 14 มีนาคม 2567
Last Update : 14 มีนาคม 2567 19:27:50 น. 0 comments
Counter : 659 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtuk-tuk@korat, คุณThe Kop Civil, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณmultiple, คุณสองแผ่นดิน, คุณดาวริมทะเล, คุณทนายอ้วน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณtoor36, คุณปรศุราม, คุณปัญญา Dh, คุณhaiku, คุณหอมกร, คุณดอยสะเก็ด, คุณkae+aoe, คุณpeaceplay, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณกะว่าก๋า, คุณSweet_pills, คุณkatoy, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณnewyorknurse


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.