Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
28 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

เลี้ยงลูกแบบ หมอเด็ก

เลี้ยงลูกแบบ หมอเด็ก

พญ. พัฏ โรจน์มหามงคล เป็นกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ ที่ให้คำปรึกษาไขข้อข้องใจเรื่องลูกกับคุณพ่อคุณแม่
ขณะเดียวกัน ก็รับบทเป็นคุณแม่ น้องโห่วไจ๋ - ด.ช. เพชร โรจน์มหามงคล ลูกชายวัยเตาะแตะ (อายุ 1 ปี 7 เดือน)
เรามาฟังหมอเด็กเล่าเรื่องลูกกันบ้างค่ะ


เมื่อหมอเป็นคุณแม่มือใหม่
“โชคดีมากๆ ค่ะ ที่หัวหน้างาน พี่ๆ ที่ทำงาน อยากให้เราให้นมลูกได้เต็มที่ ให้ลาคลอดได้ 6 เดือน
บวกกับเราเองก็เป็นห่วงลูกด้วย เพราะน้องโห่วไจ๋ตัวเล็กมาก ยิ่งช่วงแรกที่ให้นมน้ำนมก็มีน้อยมากค่ะ
แต่ก็พอที่จะให้กิน หมอให้นมลูกมาตลอด แม้ว่าหลัง 6 เดือนต้องกลับไปทำงาน
ตอนกลางวันก็จะปั๊มนมเก็บเป็นสต๊อกเอาไว้ พอกลับมาบ้านก็เอาให้กิน
ตอนนี้ก็เริ่มดูดน้อยลงแล้วค่ะ ได้กินอาหารที่หลากหลายขึ้น ความต้องการเรื่องนมแม่ก็น้อยลง
และน้ำนมของเราก็น้อยลงด้วย เป็นไปตามธรรมชาติ

สำหรับการเป็นแม่มือใหม่รู้สึกได้เลยว่าการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปมาก
ในช่วงลาคลอด จากที่เคยทำงานตรวจคนไข้ ก็ต้องอยู่บ้านเพื่อเลี้ยงลูก ช่วงแรกรู้สึกเหนื่อย เพราะลูกร้องงอแง
เดาไม่ถูกเลยว่าร้องเพราะอะไร ห่วงกังวลไปหมดว่าน้ำนมจะเพียงพอมั้ย จะอิ่มรึเปล่า
ลืมเวลาส่วนตัว เรื่องของตัวเองไปเลย ขนาดกินข้าวยังไม่ทันอิ่ม พอลูกร้องก็ต้องวิ่งมาดูก่อน
แต่อีกความรู้สึกหนึ่งก็รู้สึกรัก และมีความสุขที่ได้ดูแลเห็นลูกเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้น
ทำอะไรได้มากขึ้น ความรู้สึกที่ว่าเหนื่อยหายไปเป็นปลิดทิ้งเลยค่ะ”


ตารางเวลาทำงาน เรื่องลูก และส่วนตัว
ถ้าเป็นวันทำงานจะให้พี่เลี้ยงช่วยดูแล
ช่วงแรกที่หมอไปทำงานก็มีร้องไห้ตามค่ะ แต่ก็ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ พาไปดูรถ ดูต้นไม้
ตอนนี้สิ่งที่ลูกชอบมากๆ คือเห็ดที่ขึ้นอยู่ข้างต้นไม้ ทำให้หยุดร้องไห้ไปได้
จากนั้นหมอกับคุณพ่อก็ออกไปทำงาน กลับมาช่วงเย็นก็เป็นเวลาของเรา

หมอจะดูความสะดวกเรื่องของลูกเป็นหลักก่อน อย่างวันหยุดเนี่ย ก็จะเล่นกันในห้องก่อน
เมื่อถึงมื้ออาหารก็พามากินข้าว อาบน้ำ แต่งตัว หลังจากนั้นถ้าง่วงก็กินนม นอนกลางวัน
พอช่วงบ่ายตื่นก็เล่นกันต่อ จนถึงช่วงเย็นก็กินข้าวกันอีกรอบ

ส่วนวันหยุดก็ไม่ค่อยไปไหนเท่าไหร่ บางทีเราคิดว่าสนุก แต่เด็กอาจจะไม่สนุกก็ได้ เพราะต้องเปลี่ยนเวลากินข้าว
เวลานอน เวลาขับถ่าย มีหลายครั้งที่ลูกกำลังหลับสบายๆ ในรถ ปรากฏว่าเดินทางถึงจุดหมายพอดี
ต้องอุ้มออกมาด้วย ทำให้ตื่นเลยนอนได้ไม่เต็มที่ หมอเลยคิดว่า การอยู่บ้านน่าจะสะดวกกว่า มีกิจกรรมทำกับลูก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหมอไม่เอาลูกไปไหนเลย ก็มีพาไปออกข้างนอกบ้างตามโอกาสค่ะ


สไตล์การเลี้ยงลูกของหมอพัฏ
ถึงเป็นหมอ ก็ไม่ได้มีรูปแบบการเลี้ยงลูกตายตัวอะไรหรอกค่ะ หมอเลี้ยงแบบธรรมชาติ
สังเกตว่าชอบสนใจอะไรบ้าง คอยสนับสนุนในสิ่งนั้น พยายามให้เวลากับลูกให้มากที่สุด
คืออะไรที่ทำให้มีความสุข หมอก็จะประยุกต์ปรับเข้ากับการเลี้ยงดู
อีกอย่างที่สำคัญก็คือ พยายามเปิดโอกาสให้ทำสิ่งต่างๆ หลากหลาย ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้เป็นอันตราย
เพื่อหมอและลูกจะได้รู้ว่า ทำได้หรือไม่ได้ ถ้าทำได้เราก็ชื่นชม ให้กำลังใจ ชมเชย
ถ้าทำไม่ได้ เราก็จะให้กำลังใจ ค่อยๆ ฝึกฝนให้ลูกเรียนรู้

ช่วงนี้โหว่ไจ๋เข้าใจอะไรได้มากขึ้น และช่วงนี้เริ่มพูดได้หลายคำ เราก็ชื่นใจ รู้สึกว่าเสียงลูกช่างน่ารักเหลือเกิน
ขณะเดียวกันก็ควบคู่มากับการเป็นตัวของตัวเองค่ะ เวลาไม่ได้อะไรดั่งใจก็ร้องไห้
อย่างเมื่อก่อนแค่หมออุ้มไปที่อื่นก็จบเรื่อง แต่ตอนนี้ไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ต้องใช้กลยุทธ์ต่างๆ เข้าช่วย
ยิ่งช่วงนี้พูดเก่ง กำลังจดจำ สิ่งที่หมอทำก็คือ หากิจกรรมที่เหมาะกับวัย ชวนเล่นชวนคุย
อย่างเวลาพาไปไหนเจออะไร ก็จะพูดจะบอก เช่น
ถ้าเจอแมว หมอก็บอกว่านี่คือแมวนะลูก แมวร้องเหมียวๆ หรือลูกชอบรถ ก็บอกว่านี่เรียกว่ารถกระบะ รถแท็กซี่
สอนให้เรียนรู้ จำแนกความแตกต่างได้ โดยดึงความสนใจมาเป็นหลักในการสอน

หมอเรียนรู้จากลูกได้มากเลยค่ะ การที่เราเป็นหมอ ก็เอาวิชาการความรู้มาดูแลเรื่องสุขภาพ การเจ็บป่วย วัคซีน
การเจริญเติบโต และพัฒนาการ แต่การที่หมอมีลูกเองก็ทำให้เรียนรู้อีกทางได้ว่า ข้อมูลวิชาการจากตำราที่เรียนมา
ก็ไม่สามารถใช้กับลูกเราได้ทั้งหมด เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปตามพื้นฐานนิสัย การเลี้ยงดูด้วย
บางทีก็ต้องประยุกต์ปรับใช้เอา หรือสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน
รู้สึกว่าการมีลูกเหมือนลูกมาเติมเต็มการทำงาน รู้ว่าชีวิตจริงเป็นอย่างไร ทำให้เข้าใจพ่อแม่ของเด็กที่เราดูแลค่ะ


คำแนะนำถึงคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยเตาะแตะ
เด็กวัยเตาะแตะมีพัฒนาการหลายด้านที่ดีขึ้น ทำอะไร ได้เก่งขึ้น โลกของเขากว้างขึ้นและอยากทำอะไรด้วยตนเอง
อยากตัดสินใจเอง บางครั้งจึงดูเหมือนดื้อมากขึ้น ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ยอมรับในความเป็นตัวของตัวเอง
และเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองทำในสิ่งที่ต้องการ และไม่เป็นอันตราย
ในขณะเดียวกันควรได้เรียนรู้จักขอบเขตว่า สิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะควบคู่ไปด้วย

โดยเฉพาะยุคสมัยนี้สื่อค่อนข้างมีอิทธิพลกับเด็ก ยิ่งเด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยที่กำลังเลียนแบบ
ไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี หมอจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่กำกับดูแลเรื่องนี้ให้มาก
และเลือกสื่อที่มีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับเด็กค่ะ


ข้อมูลลโดย :Mother & Care Vol.5 No.52 April 2009
ที่มา : //www.motherandcare.in.th


สารบัญแม่และเด็ก




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 21:06:36 น.
Counter : 1065 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.