Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
4 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

เผย เคล็ดวิธีเลี้ยงลูก ให้สมองพัฒนา อย่างเต็มศักยภาพ

แม่และเด็ก

สมองของมนุษย์เรามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
แต่ช่วงเวลาที่สำคัญของพัฒนาการที่ดีมีคุณภาพนั้น จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบปีแรก
คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ความเข้าใจในการเริ่มพัฒนาสมองของลูกรัก ในช่วงวัยที่สำคัญนั้น
เพื่อให้สมองของลูกพัฒนาได้ อย่างเต็มศักยภาพ

สถาบันครอบครัวรักลูกได้จัดเสวนาพิเศษ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกในช่วงวัย 0-6 ปี เมื่อเร็วๆ นี้
ในหัวข้อ “พัฒนาสมองลูกรักด้วยสองมือพ่อแม่” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมดิเอมเมอร์รัลด์

พญ.สุวรรณี พุทธิศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า
การพัฒนาสมองของลูกมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างของเด็กจะต้องผ่านสมองเป็นหลัก
เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น สมองก็จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
พฤติกรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น จะต้องผ่านกระบวนการของสมองที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม

“การที่เด็กคนหนึ่งเรียนรู้ที่จะร้องไห้เพื่อให้แม่เข้ามาอุ้มนั้น
แปลว่าเด็กคนนั้นจะต้องสามารถได้ยินเสียงของคุณแม่ และรู้ว่าแม่มาแล้ว ซึ่งตรงนี้สมองเป็นตัวรับ
เด็กสามารถร้องไห้ได้ ส่วนนี้สมองก็ต้องทำหน้าที่รับและกำหนดพฤติกรรมการร้องไห้ของเด็ก
และเมื่อเด็กร้องไห้แล้วคุณแม่เข้ามาอุ้ม เด็กก็จะเรียนรู้ว่าเมื่อร้องแล้วคุณแม่ก็จะเข้ามาอุ้ม
ตรงนี้จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า ถ้าร้องไห้แล้วแม่จะต้องเข้ามาอุ้ม เป็นต้น
ดังนั้นสมองคือตัวที่อยู่เบื้องหลังของการเรียนรู้ทั้งหมด” พญ.สุวรรณี กล่าว

ด้านการพัฒนาของสมองและการทำให้สมองยังคงอยู่ได้นั้น
การเรียนรู้จะเป็นตัวกระตุ้น และช่วยให้สิ่งที่เข้ามาพัฒนาสมองยังคงอยู่ ไม่ถูกทำลาย
ถึงแม้ว่าเด็กจะไม่มีการเรียนรู้ สมองก็ยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่สมองบางส่วนจะถูกทำลาย
ดังนั้นการพัฒนาสมองของลูกจะต้องเป็นไปพร้อมๆ กันคือ จากการพัฒนาภายในของเด็กที่มีอยู่ตลอดเวลา
ร่วมกับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย ซึ่งคนที่จะให้ข้อมูลเด็ก เข้าใจเด็กได้ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่

สำหรับการสร้างเซลล์สมองและการพัฒนาของสมองลูกนั้น พ.ญ.สุวรรณี กล่าวว่า
การสร้างเซลล์สมองเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์) จนกระทั่ง 6 ปี
แต่ถ้าจะให้เจาะจงว่าช่วงไหนสำคัญนั้นอาจจะบอกไม่ได้
เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละส่วนมีความสำคัญที่แตกต่างกัน

โดยในช่วงขวบปีแรก การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การสร้างความผูกผัน มีความสำคัญ
ในช่วงปีที่ 2 ควรพัฒนาความคิดริเริ่มและความเป็นตัวของตัวเอง
ทั้งนี้การพัฒนาสมองในแต่ละส่วนในแต่ละวัยจะแตกต่างกัน จึงทำให้ไม่มีช่วงไหนที่สำคัญที่สุด
แต่เซลล์สมองจะพัฒนาเต็มที่ในช่วง 3 ขวบปีแรกของชีวิต และหลังจากนั้นก็จะมีการพัฒนาที่ช้าลง
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ทิ้งลูกในช่วง 3 ขวบปีแรก เป็นการทิ้งโอกาสทองที่สำคัญของลูก
ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยเสริมให้พัฒนาการของสมองได้เต็มศักยภาพนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้คือ

* พันธุกรรม ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของพัฒนาการของสมองของเด็ก
หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 50% ของการพัฒนาสมองทั้งหมด

* อาหาร การเชื่อมของเซลล์สมองในส่วนต่างๆ จะต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอ
สารอาหารที่สำคัญในการสร้างเซลล์สมองได้อย่างรวดเร็วคือ “ไขมัน” ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าโปรตีน

* ประสบการณ์ หมายความว่าการเชื่อมโยงหรือการเพิ่มเซลล์สมองให้คงอยู่นั้น
ประสบการณ์ที่เด็กได้สัมผัส จะทำให้สมองในแต่ละส่วนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันนั้นคงอยู่ตลอดไป

* บรรยากาศและโอกาสการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาสมองของลูก
ดังคำกล่าวที่ว่า “ชีวิตไม่ได้เกิดมาเพื่อเรียนรู้ แต่ชีวิตคือการเรียนรู้”
คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้โอกาสในการเรียนรู้กับลูก
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในการเรียนรุ้อย่างพอดี มีการกระตุ้นให้ลูกเกิดการเรียนรู้
ที่สำคัญที่อยากจะบอกคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคือ อย่าตัดโอกาสการเรียนรู้ของลูกในช่วง 0-6 ปี

# การกระทบกระเทือนต่อสมอง อาจเกิดได้จากอุบัติเหตุ
เด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 1-5 ปี จะเป็นช่วงที่เด็กได้รับอุบัติเหตุมากที่สุด แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องระวังจนเกินไป
อาจจะตัดโอกาสการเรียนรู้ของลูกและไม่ได้รับประสบการณ์ด้วยตัวเอง
ถ้าจะให้ดี ควรให้เขาเล่นบ้าง แต่ก็ต้องคอยระวังอยู่ใกล้ ๆ

ทั้งนี้สมองส่วนต่างๆ ไม่ได้พัฒนาไปพร้อมกัน แต่จะมีช่วงในการพัฒนาที่แตกต่างกันและต่อเนื่องกัน
ทำให้เกิดช่วงทองของการเรียนรู้ ซึ่งพัฒนาการด้านต่างๆ จะอยู่ในช่วงวัยที่ต่างกัน ดังนี้

แม่และเด็ก
พัฒนาการด้านต่างๆ จะอยู่ในช่วงวัยที่ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม พญ.สุวรรณี กล่าวทิ้งท้ายว่า
การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทและพัฒนาการของสมองในช่วงวัยต่าง ๆ มีลำดับ ดังนี้
เด็กในช่วงอายุ 2 เดือน สมองบริเวณที่ควบคุมการทำงานด้านต่างๆ
3 เดือนสมองส่วนการควบคุมการมอง
8-9 เดือนสมองส่วนความจำ
6-12 เดือน สมองส่วนความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เริ่มสุขุม คิดล่วงหน้า
และ 7-12 เดือน สมองบริเวณเชื่อมโยงความรู้สึกและการรับรู้ด้านภาษา
ช่วงนี้เด็กจะยังรับภาษาที่มีชีวิต (มีอารมณ์) ไม่ได้

แม่และเด็ก

“เด็กในช่วงขวบปีแรกยังไม่รู้คำสั่งที่ลึกซึ้ง ยังไม่เข้าใจเหตุผลที่ยากๆ
หากคุณพ่อคุณแม่ให้ข้อมูลในส่วนนั้นก็จะไม่เกิดความหมาย
แต่หากให้ข้อมูลเหล่านี้เมื่อลูกอยู่ในช่วงอายุ 3-4 ขวบ จะเกิดความหมายกับเด็กมากกว่า
และที่สำคัญที่จะพัฒนาให้เด็กฉลาดคือโอกาส ควรเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้เอง ให้เด็กกระทำเอง
เพราะการเรียนรู้ผ่านการฟัง จะผ่านเข้าไปถึงวงจรสมองเพียงเส้นเดียว
แต่การเรียนรู้ผ่านการกระทำด้วยตัวเอง จะเป็นการตอกย้ำวงจรนั้นให้เข้มข้นขึ้น
” พญ.สุวรรณี กล่าว


ที่มา : //www.manager.co.th


สารบัญแม่และเด็ก





 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 12 พฤษภาคม 2553 22:18:05 น.
Counter : 1000 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.