Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
 
19 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

การเจ็บครรภ์คลอด & คลอดก่อนกำหนด



การคลอดก่อนกำหนดถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญ เพราะเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย
เป็นที่รู้กันดีว่าการดูแลทารกน้ำหนักน้อยซึ่งมีสาเหตุหนึ่งมาจากการคลอดก่อนกำหนด
ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงซึ่งเป็นภาระทางเศรษฐกิจต่อถึงครอบครัว สังคม รวมถึงระบบสาธารณสุขของประเทศ

ดังนั้นการตรวจระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยให้รู้ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะต้องได้รับการดูแลเพิ่มอย่างไรหรือไม่
หรือหลังคลอดแล้วคุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ว่าควรจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างไรบ้าง


เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
หมายถึง การเจ็บครรภ์คลอดที่มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
ยิ่งมีผลทำให้เกิดการบางตัวลงและมีการขยายตัวของปากมดลูกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์

คำถามที่ตามมาคือ ถ้ามีอาการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจะคลอดแล้ว ?
ถ้าคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์ แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
สูติแพทย์จะถือว่าเป็นการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดคุกคาม


ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคำนิยามของสูติแพทย์จะถือว่า
ทารกคลอดก่อนกำหนด หมายถึงทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
โดยการคำนวณอายุครรภ์จะนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
โดยถือว่าการเกิดมีชีพเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ เป็นต้นไป
แต่การคำนวณอายุครรภ์จากประจำเดือนก็มีโอกาสผิดพลาดสูงถึงร้อยละ 20
ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าคุณแม่จำประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ การคาดคะเนอายุครรภ์ก็อาจผิดพลาด
จึงต้องใช้การตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงช่วย ตั้งแต่ในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ครับ


น้ำหนักของทารก
เมื่อการคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอนเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงนิยมใช้น้ำหนักของทารกแรกเกิดเป็นเกณฑ์
แต่ใช้คำว่าทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
ส่วนทารกที่มีน้ำหนักน้อยมาก คือทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม
อย่างไรก็ตามการใช้น้ำหนักทารกแรกเกิดเป็นดัชนีบอกถึงการคลอดก่อนกำหนดนั้นไปได้ยาก
ผลที่ได้มักจะไม่แน่นอนเพราะการที่ทารกน้ำหนักน้อยนี้
อาจเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือทารกครบกำหนดที่มีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ก็ได้


เกณฑ์วินิจฉัยเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ในความเป็นจริงคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีความยากลำบากในการแยกระหว่างการเจ็บครรภ์จริง กับการเจ็บครรภ์หลอก
โดยเฉพาะก่อนที่ปากมดลูกจะบางตัวลง หรือการขยายตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งการวินิจฉัยโดยใช้การหดรัดตัวของมดลูกอย่างเดียวอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
โดยเฉพาะการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอนี้ ที่ทำให้เจ็บปวดเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้


โดยคำจำกัดความตามราชวิทยาลัยสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (America college
of Obstetricians and Gynecologists ACOG)
ได้เสนอกฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไว้ดังนี้ครับ

1.คุณแม่ต้องมีการหดรัดตัวขอมดลูกสม่ำเสมอ 4 ครั้งใน 20 นาที
ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง

2.ปากมดลูกเปิดมากกว่าหรือเท่ากับ 1 เซนติเมตร

3.ปากมดลูกบางตัวลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 (ปกติเวลาปากมดลูกเปิดหมด จะเท่ากับ100%)




แม่กลุ่มเสี่ยง
คุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้แก่ กลุ่มคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี หรือน้อยกว่า
20 ปี คุณแม่ครรภ์แรก คุณแม่สูบบุหรี่ หรือใช้สิ่งเสพติดอื่นๆ เช่น โคเคน เฮโรอีน น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์
และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในระหว่างตั้งครรภ์ ทำงานหนัก ภาวะเครียด ปัจจัยทางพันธุกรรม

คุณแม่มีประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ไม่ดี เช่น การแท้ง การคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน
การมีเลือดออกในระหว่างการตั้งครรภ์ในอดีต การตั้งครรภ์แฝด การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
ภาวะความดันเลือดสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำมากหรือน้อยกว่าปกติ

คุณแม่ที่มีการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่หักโหม
อาจช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไว้
แต่การออกกำลังกายอย่างหักโหม ในช่วงอายุครรภ์ 29-40 สัปดาห์ ก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น

ภาวะเครียด ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่หลายอย่างและปัจจุบันเชื่อว่า
คุณแม่ที่มีภาวะเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมากขึ้น

ครรภ์แฝด พบประมาณร้อยละ 2 ของการคลอดทั้งหมด
และพบว่าร้อยละ 50 ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะคลอดก่อนกำหนด
สำหรับคุณแม่ที่อยากตั้งครรภ์แฝดคงจะต้องระวังเรื่องคลอดก่อนกำหนดด้วยนะครับ
ปัจจุบันพบสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดอันเนื่องมาจากครรภ์แฝดมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ
เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ภาวะเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า
ภาวะแท้งคุกคามในช่วงไตรมาสแรกหรือต้นไตรมาสที่ 2 มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 เท่าต่อภาวะนี้ครับ

การประเมินสภาพของปากมดลูก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการบางตัวและการขยายของปากมดลูกนี้
น่าจะเกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งการตรวจภายในสามารถบ่งบอกได้ แต่มีความไม่แน่นอน เพราะขึ้นกับ
ประสบการณ์ของผู้ตรวจเป็นหลัก ปัจจุบันมีการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการวัดความยาวของปากมดลูก


ที่มา นิตยสารรักลูก




 

Create Date : 19 มีนาคม 2552
4 comments
Last Update : 19 มีนาคม 2552 10:09:57 น.
Counter : 3096 Pageviews.

 

ขอบคุณกับข้อมูลดีๆนะคะ...กำลังจิตตกอยู่เชียว

 

โดย: BabyBravo 19 มีนาคม 2552 17:16:39 น.  

 

ขอบคุณนะคะ
น่าสนใจมากค่ะ

 

โดย: Ping_me IP: 124.120.1.244 19 มีนาคม 2552 20:31:28 น.  

 

ได้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่ดีมากๆ เลย ขอบคุณนะคะ

 

โดย: Aussie angel 11 มกราคม 2553 15:53:45 น.  

 

ตอนนี้เจอกับตัวเองแล้วค่ะตอนนี้ท้องแฝดได้7เดือนแล้วเจ็บท้องหมอแนะนำให้นอนรอดูอาการที่โรงบาลกังวลมากว่าลูกจะเป็นไรไหมเพราะหมอบอกต้องอบ

 

โดย: แม่ลูกแฝด IP: 110.169.2.246 27 ตุลาคม 2553 15:42:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.