All Blog
ผุดบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 สร้างความมั่นคงทางอาหาร
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสำหรับวิกฤตในครั้งนี้พบปัญหาการกระจายสินค้าและความมั่นคงทางอาหารเพื่อการบริโภคในระดับครัวเรือน ทำให้เกิดการกักตุนสินค้าเพื่อการบริโภคอุปโภคตามมาเป็นปัญหาต่อเนื่อง

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้น้อมนำ“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร มีแหล่งอาหารภายในชุมชน มีความมั่นคงทางอาหาร



 


 
เพื่อเป็นการสร้างรากฐานภาคเกษตรให้เข้มแข็งและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำ"โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

มีพืชอาหารและพืชสมุนไพรสำหรับการบริโภคภายในชุมชน ดำเนินการผลิตต้นพันธุ์พืชผักสมุนไพร รวมทั้งสิ้น 3,634,464 ต้น และเพื่อถ่ายทอดความรู้การปลูกพืชผักและสมุนไพรให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ ต้นพันธุ์พืชผักและสมุนไพร จำนวน 7 ชนิด รวมทั้งสิ้น 3,634,464  ต้น

แบ่งเป็นพืชผักและสมุนไพรหลัก จำนวน 4 ชนิด รวม 2,271,540 ต้น ได้แก่ ฟ้าทลายโจร มะละกอ พริก และมะเขือ และพืชผักและสมุนไพรเสริม จำนวน 3 ชนิด รวม 1,362,924 ต้น ได้แก่ มะรุม ผักหวานบ้าน และแคบ้าน  


โดยมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 34 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช จำนวน 10 ศูนย์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จำนวน 18 ศูนย์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง) จำนวน 6 ศูนย์ จัดส่งต้นพันธุ์ที่พร้อมปลูกให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน 882 อำเภอ

โดยสำนักงานเกษตรอำเภอเป็นผู้กำหนดสถานที่รับพันธุ์พืช จำนวน 1 จุด/อำเภอ หลังจากนั้นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านจะคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติและความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 225,390 ครัวเรือน



 
 

 
โดยสำนักงานเกษตรอำเภอ จะส่งมอบต้นพันธุ์พืชที่พร้อมปลูกให้กับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เพื่อแจกจ่ายและกระจายต้นพันธุ์พืชผักสมุนไพรสนับสนุนให้กับเกษตรกร และผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เริ่มภายในเดือนมิถุนายน 2563

พร้อมจัดทำจุดเรียนรู้การปลูกพืชผักและสมุนไพรในครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบบริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม อำเภอละ 1 จุด ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็น “ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน” ได้ในอนาคตเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป 



 

 



Create Date : 12 พฤษภาคม 2563
Last Update : 12 พฤษภาคม 2563 16:32:12 น.
Counter : 932 Pageviews.

0 comment
ฤกษ์ดีฝนตกวันแรกนาขวัญ พระยาแรกนา หว่านข้าวในแปลงนาสาธิต
“ฤกษ์ดีฝนตกในวันแรกนาขวัญ ประธานองคมนตรีเป็นประธาน พระยาแรกนา หว่านข้าวในแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา สร้างขวัญกำลังใจเกษตรกรทั่วประเทศ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานไปในพิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา โดยมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้หว่านข้าว ณ บริเวณแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา

เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีพุทธศักราช 2564 ด้วย โดยมีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯน.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรฯ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ และนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯ พร้อผู้บริหาร ข้าราชกระทรวงเกษตรฯร่วมพิธี ซึ่งในช่วงทำพิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวได้มีฝนตกมา ถือเป็นฤกษ์ดีที่เกษตรกรเริ่มฤดูเพาะปลูกในวันแรกนาขวัญ



 



 
ทั้งนี้แปลงนาในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมการข้าวจัดทำขึ้นเพื่อเก็บเกี่ยวเป็นพันธุ์ข้าว ทรงปลูกพระราชทานสำหรับไว้ใช้ในงานพระราชพิธีฯ โดยเฉพาะ ซึ่งในปี 2563 นี้ เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธี มีทั้งหมด 5 พันธุ์ น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 1,458 กิโลกรัม

ประกอบด้วย ขาวดอกมะลิ105 ปทุมธานี 1 กข79 กข43 และ กข6 ส่วนหนึ่งใช้หว่านในระหว่างพิธี และจัดเป็น “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” บรรจุใส่ซองขนาดเล็กเพื่อจัดส่งให้จังหวัดต่าง ๆ

สำหรับใช้แจกจ่ายแก่เกษตรกรรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพตามพระราชประสงค์ และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือทั้งหมด กรมการข้าวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำไปปลูกไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลปี 2563 เพื่อเป็นต้นตระกูลของพืชพันธุ์ดีเผยแพร่สู่เกษตรกรต่อไป   



 



 
สำหรับในปี 2563 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้จัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องจากประเทศไทยและนานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งมีมาตรการและข้อปฏิบัติทางสาธารณสุขหลายประการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยงดการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้ จากเดิมที่สำนักพระราชวังได้กำหนดให้ประกอบพระราชพิธีในวันอาทิตย์ที่ 10 และวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563

โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563 โดยนำพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานในฤดูทำนาปี 2562 และพันธุ์พืชต่าง ๆ มาเข้าประกอบพิธี



 



 
พร้อมทั้งพิธีหว่านข้าวในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ในวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทุกสาขาทั่วประเทศ 

โดยในปี 2563 นี้ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีทั้งหาบทองและหาบเงิน จะทำการคัดเลือกจากบรรดาข้าราชการหญิงโสด ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป

สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเทพีในแต่ละปีจะดูที่ความเหมาะสมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่เป็นทางการ คือ โสดและได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ที่ไม่เป็นทางการ คือ อายุพอสมควร สุขภาพดี ส่วนสูงพอเหมาะหรือสูงใกล้เคียงกัน



 



 
สำหรับในปีนี้ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวณัฐชยา ศรีสุขสวัสดิ์ นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนางสาวอาทิตยา ทองแกมแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร

เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวกันยารัตน์ เศวตนันทิกุล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

สำหรับพระโคที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ นั้น กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการคัดเลือกพระโคตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวของลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร

โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกันผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่าย ไม่ดุร้าย เขามีลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงาม มีขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวาและขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะที่ดี กีบและข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างของลำตัวจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม งานพระราชพิธี ฯ ทุกปีจะเตรียมพระโคไว้ 2 คู่ 





 





 



Create Date : 11 พฤษภาคม 2563
Last Update : 11 พฤษภาคม 2563 19:10:56 น.
Counter : 852 Pageviews.

0 comment
เช็กด่วน ! มาตรการช่วยเกษตรกรปลุกกล้วยไม้
NB40นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 14,556 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 64,188 ไร่ แบ่งเป็น ไม้ดอก 9,289 ครัวเรือน พื้นที่ 40,123 ไร่ และไม้ประดับ 5,267 ครัวเรือน พื้นที่ 24,065 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 เม.ย. 2563)

จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ เชียงใหม่ ปราจีนบุรี สระบุรี นครนายก เลย อุบลราชธานี และอุดรธานี ชนิดไม้ดอกที่มีการปลูกมาก ได้แก่ กล้วยไม้ตัดดอก มะลิเด็ดดอก รัก บัวหลวง ดาวเรือง จำปี-จำปา กุหลาบ สร้อยทอง และพุด

สำหรับประมาณการพื้นที่และผลผลิตกล้วยไม้ ปี 2563 พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยวรวมทั้งประเทศมี 19,512 ไร่ ลดลงจาก ปี 2562 จำนวน 2,009 ไร่ (ปี 2562 จำนวน 21,521 ไร่) หรือลดลง ร้อยละ 9.34 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 32,644 ไร่ ลดลง 16,150 ไร่ หรือลดลง ร้อยละ 33.10


NB40จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้กระทบต่อปริมาณการส่งออก โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลาดภายในประเทศทั้งการท่องเที่ยว การจัดประชุม สัมมนา การจัดงานต่าง ๆ หยุดชะงัก

ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรซึ่งผลผลิตล้นตลาด มีผลผลิตส่วนเกินเหลือทิ้ง และราคาผลผลิตลดลง สำหรับเกษตรกรได้มีการปรับตัวโดยปรับลดจำนวนการผลิตลง ชะลอการปลูกรอบใหม่ ไม้ตัดดอกลดจำนวนครั้งการตัดดอก รื้อแปลงปลูก/ตัดดอกทิ้ง

การให้ผู้ซื้อมาเก็บผลผลิตด้วยตนเองที่แปลง ลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นสารเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่วนไม้ต้นชะลอการจำหน่าย และมีการขายตรงถึงผู้บริโภคด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขายแบบออนไลน์ เป็นต้น


NB40ทั้งนี้ สมาคม-สหกรณ์-สมาพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับให้ข้อมูลว่า ตลาดยังมีความต้องการอยู่ แต่เนื่องจากมาตรการ Lock down ทำให้การขนส่งทางรถ เครื่องบิน มีจำนวนเที่ยวลดลง ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้นกว่าช่วงปกติมาก

ซึ่งการขนส่งทางรถไปจีน ต้องเปลี่ยนค่าคนขับ เปลี่ยนหัวลาก เปลี่ยนรถขน เมื่อข้ามประเทศตามมาตรการของแต่ละประเทศ ส่วนการขนส่งทางเครื่องบินมีเที่ยวบินลดลง พื้นที่ระวางสินค้ามีจำกัด

รวมทั้งการปรับหลักเกณฑ์การคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ และการขนส่งภายในประเทศในพื้นที่ห่างไกลถูกจำกัดด้วยการประกาศ Lock down ระหว่างจังหวัด และการกำหนดช่วงเวลาเคอร์ฟิว


NB40ดังนั้น คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ใน 2 มาตรการ ดังนี้ 1. มาตรการกระจายผลผลิต ประกอบด้วย 1) การกระจายผลผลิตผ่านเครือข่ายสหกรณ์ กรณีสหกรณ์ผู้ประกอบการเลี้ยงกล้วยไม้

กรมส่งเสริมสหกรณ์จะประชาสัมพันธ์ไปยังสหกรณ์ทั่วประเทศให้สั่งสินค้าในลักษณะ pre-order 2) เพิ่มช่องทางตลาดใหม่ โดยจำหน่ายตรงสู่ผู้บริโภค ได้แก่ การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการโครงการส่งเสริมตลาดออนไลน์

ร่วมกับลาซาด้า กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมมือกับ 24 Shopping และไปรษณีย์ไทย จำหน่ายสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์ม รวมทั้งจัดทำเว็บไซต์ https://www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com และมอบหมายสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาสถานที่จำหน่าย


NB40โดยให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายเอง ณ บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ตลาดเกษตรกร เป็นต้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรกรผ่านสื่อโซเชียล โดยมีหน่วยงานภาครัฐอำนวยความสะดวก การประสานงานเปิดรับ pre order สินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น

นอกจากนี้ จะเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดช่วงเคอร์ฟิว การขอความร่วมมือทุกหน่วยงานสนับสนุนสินค้าไทย เช่น ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ อาหารไทย โดยมีหน่วยงานภาครัฐอำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้า การลดต้นทุนค่าขนส่งทางเครื่องบิน เช่น การระวางเครื่องบินไปประเทศญี่ปุ่น ไม่เกิน ก.ก.ละ 65 บาท ปรับหลักเกณฑ์การคำนวณค่าระวางเครื่องบิน เป็นต้น  

2. มาตรการทางการเงิน สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี สำหรับสหกรณ์ผู้ประกอบการกล้วยไม้ไทย จำกัด ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำและสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้กู้ยืมใหม่ และปรับโครงสร้างหนี้


NB40สนับสนุนสินเชื่อเสริมสภาพคล่องสำหรับลูกหนี้เดิม ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบหลายมาตรการอย่างต่อเนื่อง เช่น พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย พักชำระหนี้เงินต้น ลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้ เป็นต้น 




 




 



Create Date : 06 พฤษภาคม 2563
Last Update : 6 พฤษภาคม 2563 14:11:02 น.
Counter : 495 Pageviews.

0 comment
เช็กด่วน ! มาตรการช่วยเกษตรกรปลุกกล้วยไม้
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 14,556 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 64,188 ไร่ แบ่งเป็น ไม้ดอก 9,289 ครัวเรือน พื้นที่ 40,123 ไร่ และไม้ประดับ 5,267 ครัวเรือน พื้นที่ 24,065 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 เม.ย. 2563)

จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ เชียงใหม่ ปราจีนบุรี สระบุรี นครนายก เลย อุบลราชธานี และอุดรธานี ชนิดไม้ดอกที่มีการปลูกมาก ได้แก่ กล้วยไม้ตัดดอก มะลิเด็ดดอก รัก บัวหลวง ดาวเรือง จำปี-จำปา กุหลาบ สร้อยทอง และพุด

สำหรับประมาณการพื้นที่และผลผลิตกล้วยไม้ ปี 2563 พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยวรวมทั้งประเทศมี 19,512 ไร่ ลดลงจาก ปี 2562 จำนวน 2,009 ไร่ (ปี 2562 จำนวน 21,521 ไร่) หรือลดลง ร้อยละ 9.34 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 32,644 ไร่ ลดลง 16,150 ไร่ หรือลดลง ร้อยละ 33.10

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้กระทบต่อปริมาณการส่งออก โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลาดภายในประเทศทั้งการท่องเที่ยว การจัดประชุม สัมมนา การจัดงานต่าง ๆ หยุดชะงัก

ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรซึ่งผลผลิตล้นตลาด มีผลผลิตส่วนเกินเหลือทิ้ง และราคาผลผลิตลดลง สำหรับเกษตรกรได้มีการปรับตัวโดยปรับลดจำนวนการผลิตลง ชะลอการปลูกรอบใหม่ ไม้ตัดดอกลดจำนวนครั้งการตัดดอก รื้อแปลงปลูก/ตัดดอกทิ้ง

การให้ผู้ซื้อมาเก็บผลผลิตด้วยตนเองที่แปลง ลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นสารเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่วนไม้ต้นชะลอการจำหน่าย และมีการขายตรงถึงผู้บริโภคด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การขายแบบออนไลน์ เป็นต้น

ทั้งนี้ สมาคม-สหกรณ์-สมาพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับให้ข้อมูลว่า ตลาดยังมีความต้องการอยู่ แต่เนื่องจากมาตรการ Lock down ทำให้การขนส่งทางรถ เครื่องบิน มีจำนวนเที่ยวลดลง ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้นกว่าช่วงปกติมาก

ซึ่งการขนส่งทางรถไปจีน ต้องเปลี่ยนค่าคนขับ เปลี่ยนหัวลาก เปลี่ยนรถขน เมื่อข้ามประเทศตามมาตรการของแต่ละประเทศ ส่วนการขนส่งทางเครื่องบินมีเที่ยวบินลดลง พื้นที่ระวางสินค้ามีจำกัด

รวมทั้งการปรับหลักเกณฑ์การคำนวณค่าระวางสินค้าทางอากาศ และการขนส่งภายในประเทศในพื้นที่ห่างไกลถูกจำกัดด้วยการประกาศ Lock down ระหว่างจังหวัด และการกำหนดช่วงเวลาเคอร์ฟิว

ดังนั้น คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ใน 2 มาตรการ ดังนี้ 1. มาตรการกระจายผลผลิต ประกอบด้วย 1) การกระจายผลผลิตผ่านเครือข่ายสหกรณ์ กรณีสหกรณ์ผู้ประกอบการเลี้ยงกล้วยไม้

กรมส่งเสริมสหกรณ์จะประชาสัมพันธ์ไปยังสหกรณ์ทั่วประเทศให้สั่งสินค้าในลักษณะ pre-order 2) เพิ่มช่องทางตลาดใหม่ โดยจำหน่ายตรงสู่ผู้บริโภค ได้แก่ การจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการโครงการส่งเสริมตลาดออนไลน์

ร่วมกับลาซาด้า กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมมือกับ 24 Shopping และไปรษณีย์ไทย จำหน่ายสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์ม รวมทั้งจัดทำเว็บไซต์ //www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com และมอบหมายสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาสถานที่จำหน่าย

โดยให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายเอง ณ บริเวณหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ตลาดเกษตรกร เป็นต้น รวมทั้งประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรกรผ่านสื่อโซเชียล โดยมีหน่วยงานภาครัฐอำนวยความสะดวก การประสานงานเปิดรับ pre order สินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น

นอกจากนี้ จะเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดช่วงเคอร์ฟิว การขอความร่วมมือทุกหน่วยงานสนับสนุนสินค้าไทย เช่น ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ อาหารไทย โดยมีหน่วยงานภาครัฐอำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้า การลดต้นทุนค่าขนส่งทางเครื่องบิน เช่น การระวางเครื่องบินไปประเทศญี่ปุ่น ไม่เกิน ก.ก.ละ 65 บาท ปรับหลักเกณฑ์การคำนวณค่าระวางเครื่องบิน เป็นต้น  

2. มาตรการทางการเงิน สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี สำหรับสหกรณ์ผู้ประกอบการกล้วยไม้ไทย จำกัด ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำและสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้กู้ยืมใหม่ และปรับโครงสร้างหนี้

สนับสนุนสินเชื่อเสริมสภาพคล่องสำหรับลูกหนี้เดิม ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบหลายมาตรการอย่างต่อเนื่อง เช่น พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย พักชำระหนี้เงินต้น ลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้ เป็นต้น 





 




 



Create Date : 06 พฤษภาคม 2563
Last Update : 6 พฤษภาคม 2563 13:54:24 น.
Counter : 378 Pageviews.

0 comment
ด่วน ! กยท.ผลิตหุ่นช่วยชีวิตฝึกการฟื้นคืนชีพ
กยท.จัดโครงการนวัตกรรมยางพาราเพื่อสังคม กิจกรรมผลิตหุ่นช่วยชีวิตสำหรับฝึกการหายใจ  จำนวน 100 ตัว พร้อมส่งต่อหน่วยงานทางการแพทย์ – ศูนย์กู้ชีพ เพียงแจ้งความประสงค์ขอรับกับ กยท. หวัง เป็นการใช้ยางพาราสร้างประโยชน์แก่สังคม ควบคู่กับการส่งเสริมการใช้ยางในประเทศอีกทางหนึ่ง


 

 


การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ผลิตหุ่นยางพาราเพื่อฝึกช่วยการฟื้นคืนชีพ (CPR : Cardiopulmonary Resuscitation) สำหรับใช้ฝึกปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้บุคลากรทางการแพทย์ หรือประชาชนทั่วไป

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้อง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเฉพาะหน้า จะสามารถช่วยชีวิตคนในนาทีสำคัญนั้นสำเร็จ เป็นประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้


 



 
กยท.ใช้วัตถุดิบน้ำยางพาราธรรมชาติ 100% ของสถาบันเกษตรกรมาแปรรูปผลิตเป็นหุ่นยางพารา ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มีรูปร่าง สรีระ ความยืดหยุ่น และผิวสัมผัสคล้ายร่างกายมนุษย์ทุกประการ ราคาถูกกว่าหุ่นฝึกที่นำเข้าจากต่างประเทศหลายเท่าตัว อายุการใช้งานยาวนานเพราะทำจากยางพารา 100% ผู้ฝึกที่ได้ทำ CPR กับหุ่นเสมือนจริงนี้จะเกิดความชำนาญมากกว่า

"หน่วยงานทางการแพทย์ ศูนย์กู้ชีพ หรือสถานศึกษาด้านการพยาบาลที่มีการเรียนการสอนปฐมพยาบาลช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หากสนใจขอรับหุ่นยางพาราฝึกช่วยชีวิต สามารถติดต่อขอรับหุ่นยางพาราเพื่อฝึกช่วยการฟื้นคืนชีพ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การยางแห่งประเทศไทย (โครงการนวัตกรรมยางพาราเพื่อสังคม) หมายเลขโทรศัพท์ 0-2433-2222 ต่อ 291"






 




 



Create Date : 06 พฤษภาคม 2563
Last Update : 6 พฤษภาคม 2563 13:42:47 น.
Counter : 868 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments