All Blog
มกอช.หนุนเกษตรกรผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ติดสติกเกอร์ Organic Thailand
นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ปี 2564 และพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์และสติกเกอร์เครื่องหมายรับรองสินค้าเกษตรให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

โดยมีนายครรชิต สุขเสถียร รองเลขาธิการ มกอช. คณะผู้บริหาร  และผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เข้าร่วมในงานดังกล่าว ณ ห้องประชุม มกอช. นายพิศาล กล่าวว่า การจัดสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรในครั้งนี้

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP พืชอาหาร (มกษ.9001-2556) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกษ.9000 เล่ม 1) และมาตรฐานหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร GMP (มกษ.9023-2550)ให้สามารถใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน Q และ Organic Thailand ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเครื่องหมายสัญลักษณ์ดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่าได้เป็นอย่างดี 




 





 
นอกจากนี้ มกอช. ยังได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ดีจีทีฟาร์ม (DGT Farm) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการโดยการขยายทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตสินค้าเกษตรผ่านระบบออนไลน์

รวมทั้งให้ผู้บริโภคสามารถตามสอบแหล่งที่มาของผลผลิตได้โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดระบบตามสอบสินค้าเกษตรและอาหาร (Qr trace) โดยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างแท้จริง 

ที่ผ่านมา มกอช.มีการขับเคลื่อนด้านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรหลายด้าน อาทิ การส่งเสริมให้คำปรึกษาในการใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า โดยมีการสร้างพี่เลี้ยง (Q อาสา และ Organic อาสา) คอยให้คำแนะนำสนับสนุนทั้งความรู้ เทคโนโลยี จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับส่งเสริมด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ สร้างการรับรู้ในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานต้องมีตราสัญลักษณ์ Q หรือ Organic Thailand เท่านั้น





 




 





 





 
เลขาธิการ มกอช.และคณะยังได้ลงพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเราเกษตรอินทรีย์ หนองเสือ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นต้นแบบในการปฏิบัติมาตรฐานสินค้าเกษตรเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (มกษ.9000 เล่ม 1) และมีผลตรวจสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตรปลอดภัยตามที่มาตรฐานกำหนด รวมทั้งสามารถแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด 
   
เลขาธิการ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเราเกษตรอินทรีย์ พบว่ากลุ่มนี้มีสมาชิกทั้งหมด 12 ราย มีจำนวน 2 รายที่ผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร สามารถใช้เครื่องหมาย Organic Thailand ติดกับตัวผลิตภัณฑ์ได้แล้ว ที่เหลืออีก 10 ราย มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP สามารถใช้เครื่องหมาย Q ได้

คาดว่าในระยะเวลาอันใกล้สมาชิกทั้งหมดจะสามารถปรับเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ครบ 100% ซึ่ง วันนี้ มกอช.ได้นำป้ายรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และสติกเกอร์ Organic Thailand มามอบให้กับเกษตรกรที่ผ่านมาตรฐาน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคและตลาดทราบว่าผู้ผลิตรายนี้ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งข้าว พืชผัก ผลไม้ที่ติดสติกเกอร์ Organic Thailand เป็นผลิตผลอินทรีย์แท้ๆ ที่ผ่านมาตรฐานตามหลักสากล มีคุณภาพ ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้




 

 



Create Date : 10 มีนาคม 2564
Last Update : 10 มีนาคม 2564 16:30:55 น.
Counter : 449 Pageviews.

0 comment
“ประภัตร”เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรสุพรรณฯเลี้ยงจิ้งหรีดส่งนอก
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการอบรมส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร แก้วิกฤตโควิด-19 ซึ่ง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับกรมปศุสัตว์ จัดขึ้น

โดยมีนายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช. นายอาชว์ ชัยชาญ อธิบดีกรมการข้าว นายพิทักษ์ ชายสม ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์ และนายชนวัฒน์ สิทธิธูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายระหว่างประเทศ กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ปศุสัตว์จังหวัด หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมต้อนรับ ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี




 




 
นายประภัตร กล่าวว่า รัฐบาลได้ตระหนักและมีความเป็นห่วงเกษตรกร และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งอุทกภัยและภัยแล้งตลอดจนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จึงมีนโยบายเร่งด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน ให้สามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้ ซึ่งวันนี้อาชีพหนึ่งที่น่าส่งเสริมมากที่สุด คือ การเลี้ยงจิ้งหรีด เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และมีคุณประโยชน์ทางด้านโปรตีน ใช้ต้นทุนเพียง 4,500-5,000 บาท และปัจจุบันนจิ้งหรีดเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ได้แก่ สหรัฐฯ เม็กซิโก นิวซีแลนด์ และประเทศในยุโรป 




 





 
ดังนั้น จึงได้มีการจัดอบรมเกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นอาชีพเสริม ในพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ อำเภอวังน้ำทรัพย์ อำเภอวังยาง อำเภอดอนเจดีย์ และอำเภอสามชุก จำนวน 300 คน พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ในการเลี้ยงฟรี อาทิ ลังเลี้ยงจิ้งหรีด ไข่จิ้งหรีด

รวมทั้งเปิดรับซื้อจิ้งหรีดคืนจากเกษตรกรกิโลกรัมละ 80 บาท นอกจากนี้ มีการสร้างโรงงานแปรรูปจิ้งหรีดผง เพื่อส่งออกจำหน่ายให้กับตลาดต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรเชื่อมั่นว่าเลี้ยงแล้วมีตลาดรองรับที่แน่นอน




 





 
นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า การส่งออกจิ้งหรีดไปยังประเทศต่างๆ ฟาร์มจิ้งหรีดจะต้องได้การรับรองมาตรฐาน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช. ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ.8202-2560) เป็นมาตรฐานทั่วไป

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความปลอดภัยของผลิตผลจากจิ้งหรีด โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจรับรอง ดังนั้น เกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน และสามารถยื่นขอการรับรองมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีด GAP ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เมื่อผ่านการรับรองมาตรฐานแล้วก็สามารถส่งจิ้งหรีดไปยังโรงงานแปรรูป ทำให้กระบวนการส่งออกง่ายขึ้น เพราะดำเนินการตามเกณฑ์คู่ค้าต้องการ รวมทั้งเป็นการขยายตลาดจิ้งหรีดของไทยไปทั่วโลก




 



Create Date : 07 มีนาคม 2564
Last Update : 7 มีนาคม 2564 20:09:36 น.
Counter : 542 Pageviews.

0 comment
"ประภัตร"สั่งช่วยเหลือช้างชรา
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังการดำเนินงานของมูลนิธิบ้านช.ช้างชรา (Elephants World) ต.วังดง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี  ซึ่งมีเนื้อที่ 130 ไร่ เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551

โดยได้เล็งเห็นสภาพปัญหาของช้างเลี้ยงที่เกิดขึ้น ทั้งปัญหาช้างบาดเจ็บ ช้างชราที่ประสบปัญหาในการดูแลสุขภาพ ช้างเร่ร่อน ซึ่งเป็นช้างด้อยโอกาสไม่สามารถทำงานได้ จึงได้ดำเนินการจัดทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่เลี้ยงดูช้างชรา เพื่อให้ช้างไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปัจจุบัน บ้านช.ช้างชรา มีช้างอยู่ในความดูแลทั้งหมด 11 เชือก




 





 
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว ขาดรายได้ ซึ่งปัญหาหลักๆ คือ พืชอาหารช้าง อาหารเสริม และเวชภัณฑ์ เป็นต้น

จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าช่วยเหลือ โดยกรมปศุสัตว์สนับสนุนอาหารสัตว์ ลดต้นทุน ตลอดจนสร้างแหล่งน้ำ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและน้ำให้กับช้าง ปรับปรุงการเลี้ยงช้างให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ แก้ไขปัญหาการทารุณกรรมช้าง ตลอดจนยกระดับมาตรฐานปางช้างไทย




 
         




 
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 เห็นชอบให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างเป็นมาตรฐานบังคับ

โดยใช้บังคับกับปางช้างทุกขนาด และมีผลบังคับใช้นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติที่ดีในการจัดการเลี้ยงช้างที่ถูกต้องและเหมาะสม ให้เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ แก้ไขปัญหาการทารุณกรรมช้าง รวมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานปางช้างไทย




 





 
สำหรับมาตรฐานฉบับนี้มีขอบข่ายกำหนดการปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง ครอบคลุมองค์ประกอบปางช้าง การจัดการปางช้าง บุคลากร สุขภาพช้าง สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม การจัดการด้านความปลอดภัย และการบันทึกข้อมูล

จะมีการรับฟังความคิดเห็นของตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียก่อนสรุปความคิดเห็นเสนอคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรพิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรี ออกกฎกระทรวง รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ผลิต จัดเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานทั้งภาครัฐเอกชนต่อไป




 

 



Create Date : 05 มีนาคม 2564
Last Update : 5 มีนาคม 2564 19:31:50 น.
Counter : 336 Pageviews.

0 comment
เตรียมพบกับ“มหกรรมอาหารที่มีส่วนผสมของพืชกัญชา”
นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปางได้จัดประชุม ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการนำใบกัญชามาใช้ในการประกอบอาหารและต่อยอดเพิ่มมูลค่ากระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายจำลักษณ์ กันเพ็ชร์ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  จังหวัดลำปาง  สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเมืองเขลางค์นคร และผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดลำปาง จำนวน 20 ร้าน และภาคีเครือข่าย

มีมติเห็นชอบจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว ประชาชน ผู้สนใจ ได้ชิม ชอปปิง  ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ได้ลองลิ้มรสกัน ในงาน “มหกรรมอาหารที่มีส่วนผสมของพืชกัญชา” วันที่ 19 มีนาคม 2564 ณ บริเวณลานรถม้า เซ็นทรัลพลาซ่าลำปาง  โดยภายในงานจะมีเมนูอาหารพื้นเมืองอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง ที่สร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน เช่น ไส้อั่วที่มีส่วนผสมของกัญชา  ซี่โครงหมูรมควันผสมใบกัญชา  เป็นต้น  




 





 
ร้านอาหารที่เข้าร่วมออกบูธจะผลิตเมนูเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะของแต่ละร้าน จำนวน 1-2 รายการ เพื่อนำไปแสดงให้นักชิม นักท่องเที่ยว ประชาชน ผู้สนใจทั้งในจังหวัดลำปางและต่างจังหวัดได้รับประทาน  นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปางจัดบูทวิชาการด้านการแพทย์ เพื่อเป็นการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนโดยทั่วไป และผู้บริโภค   เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้การผลิต (ปลูก) กัญชา จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ประชาชน ผู้สนใจเข้าร่วมงานกิจกรรมดังกล่าว 

หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศปลดล็อกสมุนไพรพืช “กัญชา” อนุญาตให้ใช้ใบ ส่วนประกอบของกัญชา ที่ไม่ใช่ยาเสพติดปรุงอาหารได้ในร้านอาหารทั่วไปโดยไม่ต้องอบรม ไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติมอีกทำได้เลย แต่จะต้องใช้ใบจากแปลงกัญชาที่ได้รับอนุญาตปลูกเท่านั้น  ซึ่งฤดูกาลนี้การผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะยังปลูกกันได้น้อยอยู่ รอบการผลิตฤดูกาลหน้าปีถัดไปจะมีการขออนุญาตปลูกและผลิตมากขึ้น  

ตอนที่สภาเกษตรกรแห่งชาติผลักดันเรื่องนโยบายกัญชาเสรีเราคาดหวังว่าจะได้ไปไกลกว่านี้ แต่มาถึงบัดนี้ในรอบปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าเราพึงพอใจที่กระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ตั้งใจในการผลักดันจนสามารถปลดหลายส่วนของสมุนไพรพืชกัญชาออกมาให้พี่น้องเกษตรกร ประชาชนได้ใช้สร้างเศรษฐกิจครัวเรือนของตัวเอง ทั้งใบ ต้น ราก ที่ไม่ใช่ดอกหรือเมล็ด ต้องขอขอบคุณ




 




 
ถือเป็นการปรับตัวก้าวใหญ่ที่ทำให้สามารถนำกัญชามาสร้างเศรษฐกิจสมดังศักยภาพของเขาที่ควรจะเป็นหลังจากถูกปิดกั้นมาช้านาน เชื่อมั่นได้ว่าหลังจากนี้ไปจะมีคนปลูกกันมากขึ้น รวมทั้งจะมีนักลงทุนปลูกในพื้นที่ใหญ่ๆเพื่อจะส่งออกมากขึ้น เพราะน้ำมัน CBD นั้นตลาดโลกยังต้องการอยู่  และกัญชงก็ไม่ได้เป็นพืชเสพติดอีกต่อไป สามารถลงทุนเศรษฐกิจใหญ่ๆเพื่อการส่งออกได้  

โดยคาดว่าปีหน้าจะมีการลงทุนมากขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จะขับเคลื่อนมากขึ้น เศรษฐกิจฐานรากก็ได้รับอานิสงส์ด้วย พี่น้องเกษตรกรก็จะได้ปลูกทั้งกัญชงและกัญชาเพิ่มมากขึ้น จนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆได้หลากหลายมากขึ้น และต่อไปเชื่อมั่นว่าปีหน้าเราจะเห็นแรงกระเพื่อมเศรษฐกิจจากพืชสมุนไพรกัญชงและกัญชาใหญ่กว่านี้ และจากกัญชงน่าจะขยายตัวอาจเป็นหลักหมื่นล้านด้วยซ้ำไป 

อย่างไรก็ตาม เสียดายที่ภาคราชการยังไม่ได้กล่าวถึงแผนการท่องเที่ยว Cannabis tourism ซึ่งไม่ทันการณ์ฤดูกาลนี้ แต่อยากให้เตรียมแผนสำหรับฤดูกาลถัดไป  ซึ่งมั่นใจว่านักท่องเที่ยวจะตื่นตาตื่นใจจากกิจกรรมต้องห้ามในอดีตที่บัดนี้สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้และผลิตภัณฑ์ที่สามารถซื้อกลับไปได้ รวมทั้งอยากให้มีการเชิญนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาด้วย รายได้จากต่างประเทศจะได้ไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น         
 
 
                                       
 
                                 



Create Date : 02 มีนาคม 2564
Last Update : 2 มีนาคม 2564 15:58:10 น.
Counter : 524 Pageviews.

0 comment
มกอช.แนะเกษตรกรปลูกพืชอินทรีย์ตั้งศูนย์เรียนรู้ Smart ฟาร์มเกษตรทฤษฎีใหม่
มกอช. ลงพื้นที่จ.มหาสารคาม แนะนำเกษตรกรปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ Smart ฟาร์มเกษตรทฤษฎีใหม่

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มอบหมายให้นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองเลขาธิการ มกอช. ลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เพื่อตรวจเยี่ยม พบปะเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ปลูกข้าวและผักอินทรีย์ ในพื้นที่ตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนแนวคิดการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ และแนวทางสนับสนุนด้านวิชาการ รวมถึงการส่งเสริมช่องทางการตลาด




 




 
นอกจากนี้ รองเลขาธิการ มกอช. ได้ประชุมหารือแผนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ Smart ฟาร์มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยผสมผสานงานด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร และระบบ Smart Farm เพื่อเป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติ ให้แก่เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม  ขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง




 





 
 
โดยมีนายชนวัฒน์ สิทธิธูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายระหว่างประเทศ กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มกอช. และผู้แทนจาก กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดมหาสารคาม และขอนแก่น ร่วมประชุมหารือ และลงพื้นที่ศึกษาการจัดการแปลง Smart Farm ณ จังหวัดมหาสารคาม




 



Create Date : 01 มีนาคม 2564
Last Update : 1 มีนาคม 2564 15:31:00 น.
Counter : 408 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments