All Blog
ขับเคลื่อนเกษตรวิชญา สานต่องานพระราชดำริ ช่วยเกษตรกรยั่งยืน
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังร่วมการประชุมคณะกรรมการโครงการเกษตรวิชญา ครั้งที่ 2/2563 เพื่อหารือและขับเคลื่อนโครงการเกษตรวิชญา ว่า ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้า มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านกองแหะ ม.4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ทอดพระเนตรสภาพพื้นที่เป็นเขาหัวโล้น ราษฎรทำการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย ทรัพยากรป่าไม้เสื่อมโทรม


 



 
ทรงมีพระราชดำริให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางแผนการใช้ที่ดิน พัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรทำการเกษตรได้ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ พร้อมพระราชทานที่ดิน (ส่วนพระองค์) เนื้อที่ 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรฯนำไปดำเนินการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยราชการ สถานศึกษา และราษฎร  พร้อมทั้งได้พระราชทานนามศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรบ้านกองแหะว่า “เกษตรวิชญา”

ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการเกษตรวิชญาให้ไปเป็นตามพระบรมราโชบาย และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการดำเนินงานที่เป็นปัจจุบัน จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการเกษตรวิชญา โดยมี นายจรัลธาดา กรรสูต องคมนตรี เป็นประธานที่ปรึกษา พลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการองคมนตรี เป็นที่ปรึกษา



 



 
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ และอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นกรรมการและเลขานุการ และเพื่อรับทราบภาพรวมของโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเกษตรวิชญาในระยะที่ผ่านมารวมถึงกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ และพิจารณาแผนการปฏิบัติงานโครงการเกษตรวิชญาในระยะต่อไป

"เกษตรวิชญา"นั้นหมายถึง ปราชญ์แห่งการเกษตร จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ออกเป็น 5 พื้นท่ี ได้แก่ 1.พื้นที่ทรงงาน 2.พื้นท่ีส่วนราชการ 3.พื้นที่ทำการเกษตร 4.พื้นที่ธนาคารอาหารชุมชน และ5.พื้นที่ป่า โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่โครงการให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรบนพื้นที่สูงและขยายผลสู่เกษตรกร

เป็นต้นแบบในการทำงานบูรณาการระหว่างหน่วยงานและชุมชนให้เป็นการเกษตรแบบยั่งยืน ให้เกษตรกรทำกิน รายละ 1 ไร่ ให้มีรายได้จากการทำการเกษตร 1.5 แสนบาทต่อปี และเป็นต้นแบบการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ป่าเป็นแหล่งผลิตอาหาร และมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน






 




 



Create Date : 10 สิงหาคม 2563
Last Update : 10 สิงหาคม 2563 17:48:07 น.
Counter : 474 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments