All Blog
เกษตรกรเฮ ! “เฉลิมชัย”สั่งเตรียมเยียวยากว่า 7 ล้านราย
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมาเรื่องการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 
 
โดยมอบหมายให้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นในสองเดือนนี้ นั้นในส่วนของกระทรวงเกษตรนั้น 
 
ล่าสุดนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เตรียมความพร้อมในการเยียวยาเกษตรกรเพื่อความรวดเร็วทันทีที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร 

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ในฐานะนายทะเบียนตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนในโครงการเยียวยาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกษตรกรเกือบ 8 ล้านรายได้รับเงินเยียวยารายละ 15,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย - ส.ค. 
 
 
 
 
 
 
 
 
โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ ยังมอบนโยบายให้เกษตรกรรายใหม่และที่ตกหล่นสามารถลงทะเบียนได้ครบถ้วนโดยต้องครอบคลุมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบความถูกต้อง

สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด19 ในปี 2563 สศก. ในฐานะนายทะเบียนจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและได้ตรวจสอบแล้ว ให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรกว่า 1 แสนล้านบาท 
 
ประกอบไปด้วย เกษตรกรกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มชาวไร่อ้อย และกลุ่มชาวไร่ยาสูบ โดย 2 กลุ่มหลังขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังตามลำดับโดยส่งทะเบียนเกษตรกรผ่าน สศก. ก่อนส่งให้ ธกส. โอนตรงให้เกษตรกร

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ โดยนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ได้พัฒนาปฏิรูปการบริหารและการบริการด้วยเทคโนโลยี เช่น จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ มีบิ๊กดาต้าทำให้มีฐานข้อมูลเกษตรกร พร้อมดำเนินการในทุกภารกิจโดยเฉพาะการเยียวยาเกษตรกรกลางปีที่แล้วสามารถส่งฐานข้อมูลเกษตรกรให้ ธกส. ภายใน 5 วันทำการหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเยียวยาเกษตรกร โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ มีความห่วงใยเกษตรกรอย่างมากจากผลกระทบโควิด19 และย้ำให้ช่วยเหลือเยียวยาถึงมือเกษตรกรให้เร็วที่สุด
 

 
 
 
 
 



Create Date : 06 มกราคม 2564
Last Update : 6 มกราคม 2564 17:38:51 น.
Counter : 717 Pageviews.

0 comment
สศก.ร่วมเวทีออนไลน์ UNFCCC Climate Change Dialogues
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ร่วมประชุมออนไลน์ United Nation Framework Convention on Climate Change Dialogues หรือ UNFCCC Climate Change Dialogues ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนการดำเนินงานของรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ 
 
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงประเด็นด้านการเกษตร โดยการประชุมดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนประเด็นด้านการเกษตร 2 ประเด็น ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่ทุกประเทศทั่วโลกเผชิญอยู่  ได้แก่ ประเด็นการปรับปรุงระบบการจัดการด้านปศุสัตว์และระบบการผลิตหญ้าอาหารสัตว์ และประเด็นมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางอาหารของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคเกษตร

จากการรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) คาดการณ์ว่า การบริโภคโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ทั่วโลก จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น เป็นร้อยละ 50  ในปี 2593  
 
 
 
 
 
 
 
 
ปัจจุบัน ภาคปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง ดังนั้น หลายประเทศ จึงได้ปรับปรุงระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ เช่น การปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์ที่ให้เนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในฟาร์ม การคิดค้นนวัตกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคปศุสัตว์

สำหรับความมั่นคงอาหารและระบบอาหาร เป็นอีกประเด็นท้าทายของโลก สถาบันวิจัยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพอทสดัม (Porsdam Institute for climate change impact research : PIK) ระบุว่า ระบบการผลิตอาหารในปัจจุบัน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 30 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก 
 
การเพิ่มขึ้นของประชากรจะทำให้ต้องผลิตอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการวางแผนระบบการผลิตอาหารที่มีความสมดุลของมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะช่วยสามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการ  ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
 
 
 
 
 
 
 
 
จากการหารือร่วมกันในที่ประชุมหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย รวมถึงไทย แอฟริกาและละตินอเมริกา ยังคงต้องการความช่วยเหลือมิติด้านการเงิน องค์ความรู้ ทักษะต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงระบบปศุสัตว์ในประเทศให้สามารถผลิตสินค้าปศุสัตว์ ให้เพียงพอต่อความต้องการและคำนึงถึงมิติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย  
 
ได้นำเสนอแนวทางการสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตอาหารและการรับมือจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการทำเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดขยะอาหาร เป็นต้น   

ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการเกษตร 2 ประเด็นข้างต้น กำหนดไว้ใน Koronivia Roadmap ภายใต้ “การทำงานร่วม Koronivia” (Koronivia Joint Work on Agriculture: KJWA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขอการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคเกษตร 
 
 
 
 
 
 
 
 
โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ยังคงให้ความสำคัญกับการเรียกร้องให้เกิดความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนภาคเกษตร โดยเน้นการสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพด้านการปรับตัวของภาคเกษตร 
 
การดำเนินการตาม Roadmap ของ KJWA จะสิ้นสุดลงในปี 2020 ดังนั้น จะต้องมีการเจรจาในประเด็นที่ต้องการผลักดันในอนาคตของ KJWA ว่าจะมีทิศทางต่อไปอย่างไร ในการประชุมรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ในช่วงปลายปี 2564 ที่กรุงกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ต่อไป
 
 
 
 
 
 



Create Date : 06 มกราคม 2564
Last Update : 6 มกราคม 2564 15:30:55 น.
Counter : 575 Pageviews.

0 comment
แนะวิธีดูแลรักษาต้นไม้ผลในช่วงฤดูแล้ง
นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ลักษณะอากาศประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน 2564 จะเผชิญกับช่วงฤดูแล้งประกอบกับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้อย ดังนั้น จึงขอความร่วมมือให้เกษตรกรและประชาชนเตรียมการรับมือ และใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 
โดยขอให้พี่น้องเกษตรกรลดการปลูกข้าวรอบที่ 2 และหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช พร้อมดูแลรักษาความชื้นในแปลงปลูกพืช สร้างแหล่งน้ำในไร่นา หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตร เช่น การใช้แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรผสมผสาน เป็นต้น
            
จังหวัด 62 อำเภอ 193 ตำบล พื้นที่รวม 107,729 ไร่ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 12 จังหวัด 48 อำเภอ 146 ตำบล พื้นที่ 104,834 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด 13 อำเภอ 43 ตำบล พื้นที่ 2,162 ไร่ และภาคกลาง 1 จังหวัด 1 อำเภอ 4 ตำบล พื้นที่ 733 ไร่ ซึ่งหากไม้ผลได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตมีขนาดเล็กคุณภาพต่ำ ส่งผลกระทบต่อไม้ผลทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพผลผลิต 
 
 
 
 
 
 
 
 
ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องมีการดูแลสวนไม้ผลเป็นพิเศษ เพราะต้นไม้ผลใช้เวลานานหลายปีกว่าจะออกดอก ติดผล กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ “เกษตรร่วมใจรับมือภัยแล้ง ปี 2564” สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่เกษตรกร เพื่อเตรียมรับมือและดูแลผลผลิตในช่วงฤดูแล้ง โดยมีข้อแนะนำการดูแลไม้ผล ดังนี้
 
1. ปรับปรุงบ่อน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และสูบน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงมาเก็บกักไว้
 
2. คำนึงถึงการใช้น้ำแบบประหยัดที่สุด คือ ให้น้ำต้นไม้ผลภายในบริเวณรัศมีทรงพุ่มเท่านั้น ควรให้น้ำแบบระบบน้ำหยดหรือหัวเหวี่ยงขนาดเล็กจะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่าการใช้สายยางรดน้ำ ให้น้ำครั้งน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อลดการสูญเสียน้ำเปลี่ยนช่วงเวลาการให้น้ำเป็นช่วงกลางคืน เพื่อช่วยให้พืชลดการระเหยน้ำจากการถูกแดดเผา
 
 
 
 
 
 
 
 
3. ตัดแต่งกิ่งที่ไม่จำเป็นเพื่อลดการคายน้ำ สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูแล้ง หลังการเก็บผลแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อลดการระเหยน้ำทางใบ และช่วยให้การออกดอกติดผลในฤดูต่อไปเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 
4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก คลุมโคน ต้นไม้ผลในบริเวณทรงพุ่ม
 
5. กำจัดวัชพืชตั้งแต่ต้นฤดูแล้งใช้วัสดุคลุมโคนต้นไม้ผล โดยคลุมจากโคนต้นไม้ผลจนถึงแนวรัศมีทรงพุ่ม วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นจากต้นไม้ผล ใบตองแห้ง ทางมะพร้าว กาบมะพร้าว หญ้าแห้ง เป็นต้น ซึ่งวัสดุคลุมดินจะช่วยชะลออัตราการระเหยของน้ำจากผิวดินให้ช้าลง และวัสดุเหล่านี้จะค่อย ๆ ผุผังเป็นอินทรียวัตถุ ทำให้ดินร่วนและมีการอุ้มน้ำดีขึ้น 
 
 
 
 
 
 
 
 
กรณีต้นไม้เล็กควรใช้วัสดุช่วยในการพรางแสง เพื่อลดความเข้มแสง หากต้นยังเล็กจะต้องพรางแสงช่วยด้วย  สำหรับไม้ผลบางชนิด เช่น ทุเรียน หากประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงการติดผล อาจทำให้ต้นโทรมและถึงตายได้ หรือมังคุดที่ติดผลแล้ว หากขาดแคลนน้ำผลจะมีขนาดเล็ก ก้นผลจีบ คุณภาพไม่ดี จะต้องรีบทำการตัดทิ้งให้หมด และหาน้ำจากแหล่งอื่นมารดอย่างประหยัดที่สุด

6. สวนไม้ผลที่อยู่ใกล้ทะเล จำเป็นต้องกักน้ำจืดไว้ เพื่อป้องกันน้ำเค็มที่จะเข้ามาในสวน หมั่นตรวจสอบระบบส่งน้ำ ควบคุมอย่าให้น้ำรั่วไหล หากมีวัชพืช เช่น ผักตบชวา จอก แหน หรือสาหร่าย อยู่ในท้องร่องสวนเป็นจำนวนมาก ควรนำขึ้นมาคลุมบริเวณโคนต้นไม้ผลเพื่อช่วยรักษาความชื้น

7. กรณีที่ไม่มีระบบน้ำหรือน้ำสำรองไว้ ควรประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ นำน้ำมารดต้นไม้ผลทันที อย่างน้อย 7 – 10 วันต่อครั้ง เพื่อช่วยให้ต้นไม้ผลมีชีวิตรอดผ่านแล้งไปได้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8. การทำแนวกันไฟรอบสวน ควรกำจัดวัชพืชภายในบริเวณสวนไม้ผลให้โล่งเตียนทันทีหลังหมดสิ้นฤดูฝน เก็บเศษหญ้าแห้ง กิ่งไม้แห้ง และใบไม้แห้ง ออกจากแปลงปลูกเอาไปคลุมดินรอบโคน ตัดใต้บริเวณทรงพุ่มไม้ผล เพื่อป้องกันไฟไหม้สวน เตรียมน้ำ ทราย และอุปกรณ์ดับไฟไว้ให้พร้อม และเก็บไว้ในที่เฉพาะสามารถนำมาใช้งานได้ทันที 
 
ฝึกซ้อมคนงานเพื่อการดับไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากฤดูแล้งอากาศร้อนจัดและมีใบไม้แห้งมาก มีโอกาสเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี  หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่
 
 
 
 
 



Create Date : 06 มกราคม 2564
Last Update : 6 มกราคม 2564 15:03:04 น.
Counter : 864 Pageviews.

0 comment
5 โครงการแก้ปัญหาเกษตรกร-สร้างรายได้อย่างยั่งยืน
นายประภัตร โพธสุธน รมช เกษตรฯ เปิดเผยว่า นโยบายในปี64 ที่คนรับผิดชอบใน 4 หน่วยงานหลัก อันได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค่าเกษตรและอาหารแห่งชาติหรือ มกอชมีแนวทาง นโยบายในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรหลักใน5โครงการหลัก เพื่อ โดยมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งวางไว้ โดยมีทั้งหมดที่ถือเป็นโครงการหลัก 
 
โครงการที่1. คือโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ (โคขุน กู้วิกฤต Covid-19) เป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มีตลาดรองรับที่แน่นอน มีการประกันราคา 
 
สำหรับการสนับสนุนเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท/ปี รวมกลุ่มและสมาชิก 7 คนขึ้นไป ยื่นจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกับเกษตรอำเภอ ดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อผ่านความเห็นชอบต่อไป
 
 
 
 
 
 
 
 
สามารถเป็นแหล่งเงินทุนที่ช่วยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน มีกลุ่มเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการฯ 52 จังหวัด 1,197 กลุ่ม 11,837 ราย ดำเนินการตามแผนธุรกิจ 23 จังหวัด 100 กลุ่ม 1,378 ราย ธ.ก.ส. (โคขุน 90 กลุ่ม, แพะขุน 4 กลุ่ม, กระบือ 2 กลุ่ม, สุกร 3 กลุ่ม และโคต้นน้ำ คอกกลาง 1 กลุ่ม) อนุมัติสินเชื่อแล้วกว่า 396.434 ล้านบาท 
 
เพื่อสร้างได้อย่างครบวงจร จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืชอาหารสัตว์ (หญ้าเนเปียร์แปลงใหญ่) เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์และสามารถนำผลผลิตส่วนเหลือส่งขายให้โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ทั้ง 32 แห่ง
 
โครงการที่2. เป็นโครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว ปี 2563/64 เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ความสามารถทางการค้า และการตลาดข้าวไทย จึงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีแก่เกษตรกรที่ประสบฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัยในฤดูนาปี ปี 2562/63 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกทดแทนข้าวที่เสียหาย และเมื่อได้ผลผลิตสำหรับบริโภคในครัวเรือนแล้วสามารถนำส่วนที่เหลือไปจำหน่าย
 
 
 
 
 
 
 
 
ทำให้มีรายได้ในการดำรงชีพได้ต่อไป ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 63,000 ตัน แบบให้เปล่าแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 827,000 ครัวเรือน ที่ประสบฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัย ในปี 2562 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2562 ในพื้นที่ 6.32 ล้านไร่ 34 จังหวัด
 
โครงการที่3. เป็นโครงการเกษตรอัจฉริยะลดต้นทุนการปลูกข้าว ศึกษาทดลองโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาเมล็ดพันธุ์ จนได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปสู่เกษตรกร ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 
 
รวมทั้งเกษตรกร จัดทำแปลงเรียนรู้ด้านข้าว พื้นที่แปลงนากว่า 138 ไร่ ที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ จากการศึกษาและการทดลองเทคโนโลยีแปลงนาอัจฉริยะ พบว่า ต้นทุนในการปลูกข้าว ไม่เกิน 3,000 บาท/ไร่
 
 
 

 
 
 
 
โครงการที่ 4 คือโครงการผลักดันและส่งเสริมการแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรให้มีเครื่องหมาย Q โดยเกษตรกรที่ได้รับการรับร้อง GAP จะแสดงเครื่องหมาย Q เพื่อสร้างวความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ตลอดจนจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากกว่า 20 รายได้ 
 
อาทิ ทะลายปาล์มมันสำปะหลัง เผือก ถั่วเขียว กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ ยางพารา มาตรฐานฟาร์มโคนม คอกสุนัข แมว ปางช้าง รวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

โครงการที่ 5 เป็นโครงการ ปรับปรุงท่าเทียบเรือและตลาดประมง เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงทั้ง 18 แห่ง ทั่วประเทศให้มีศักยภาพ นำร่องไปแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ สะพานปลากรุงเทพ สมุทรปราการ ชลบุรี และภูเก็ต ให้ได้มาตรฐานเป็นศูนย์กลางสัตว์น้ำที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย
  

อย่างไรก็ตามทั้ง5โครงการนั้นนายประภัตร นืนยันว่าจะเร่งรัดดำเนินการให้เกิดผลที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมในปี2564 เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างความเขื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วย

 
 
 
 



Create Date : 04 มกราคม 2564
Last Update : 4 มกราคม 2564 17:12:32 น.
Counter : 663 Pageviews.

0 comment
"ประภัตร"กำชับกรมปศุสัตว์วางนโยบายเข้มป้องกันการแพร่ระบาดโรค ASF
นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า  ได้สั่งการให้ทางกรมปศุสัตว์วางมาตรการตรวจเข้ม และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรตASF อย่างต่อเนื่อง หลังจากตนได้มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการวางมาตรการการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ภาครัฐและภาคเอกชน สามารถผนึกกำลังป้องกันโรค ASF ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ประเทศไทยยังคงสถานะปลอดการระบาด และสามารถสร้างการส่งออกสุกรไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด
 
ทั้งสุกรขุน สุกรพันธุ์ และสุกรแปรรูป จากอดีตจนถึงปัจจุบัน การเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพเกษตรกรแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกอบอาชีพของเกษตรไทย มีความแน่นอนของผลผลิต เกิดการสร้างอุปสงค์ให้กับห่วงโซ่ต่อเนื่องในกลุ่มของผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นพืชอาหารสัตว์ของไทย เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ผลพลอยได้จากข้าว เช่น ปลายข้าว รำข้าว ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 
 
 
 

 
 
 
 
นอกเหนือจากการเป็นอาหารโปรตีนหลักของคนในชาติ อุตสาหกรรมสุกรยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมแล้วกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ภาคเกษตรปศุสัตว์จึงถือเป็นหนึ่งของภาคเกษตรที่มีรากฐานของประเทศและมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 
 
ปัจจุบันภาคการเลี้ยงสุกรของไทยมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษามากยิ่งขึ้น ในส่วนนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในสุกร กำชับให้กรมปศุสัตว์ตรวจสอบเข้มข้นต่อเนื่องในสัตว์อื่น ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นวัว และม้าและสัตว์ปีกอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสัตว์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 
 
 
 
 
 
 
 
 
โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือและการบูรณาการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และเกษตรกร เพื่อสร้างความตระหนักรู้ กระตุ้นให้เกิดการปรับตัว เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้ภาคเกษตรให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
 
ปีที่ผ่านมาถือว่าเราทำงานอย่างหนักมาทั้งปีในฐานะที่กำกับดูแลกรมปศุสัตว์โดยตรงเพื่อวางมาตรการการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่ม้า  วัว ควาย และมาจนถึงสุกร ก็ถือว่าค่อนข้างได้ผล ในปี64 นี้ได้มีการสั่งการให้กรมปศุสัตว์ทำงานอย่างต่อเนื่องต่อไป 
 
 
 
 
 
 
 
 
โดยสั่งการให้มีการตรวจเข้มตามแนวชายแดน อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสัตว์และเนื้อสัตว์ผิดกฎหมายที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแพร่ระบาดได้ โดยปี64ผมได้สังการให้มีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและเกษตรกรผู้เลี้ยงในประเทศด้วย
 
 
 
 
 
 



Create Date : 04 มกราคม 2564
Last Update : 4 มกราคม 2564 15:24:32 น.
Counter : 555 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments