All Blog
เตรียมตั้งธนาคารกุ้งมังกร
"กรมประมง"เตรียมตั้งธนาคารกุ้งมังกร ดันเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ หลังตีตลาดท่องเที่ยวสร้างเม็ดเงินมหาศาล 

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ บ้านท่าฉัตรไชย อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้พูดคุยกับชาวประมงพื้นบ้านถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวประมงพื้นบ้านจากการใช้มาตรการต่างๆ พร้อมติดตามการดำเนินการธนาคารปูม้าบ้านท่าฉัตรไชย และเยี่ยมชมการเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง และมอบพันธุ์กุ้งมังกร จำนวน 100,000 ตัว ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อนำไปปล่อยลงในแหล่งอนุรักษ์


 




 
ซึ่งภายในปีนี้ จะจัดตั้งธนาคารกุ้งมังกร และผลักดันให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจของไทยในอนาคต ทั้งเรื่องของการดำเนินการธนาคารปูม้าบ้านท่าฉัตรไชย ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ หลังดำเนินงานมา 2 ปีกว่า ชุมชนได้มีการติดตามสังเกต พบว่า ปูม้าในบริเวณบ้านท่าฉัตรไชยที่จับได้ภายหลังการปล่อยลูกปูไปมีจำนวนมากขึ้น สัตว์น้ำมีความสมบูรณ์ขึ้น ยังมีธนาคารปูม้า ที่มีความเข้มแข็งแบบนี้อีก 3 แห่ง คือที่บ้านปากบาง บ้านแหลมทราย และบ้านบางโรง และมีแนวโน้มที่จะมีการขยายเพิ่มธนาคารปูม้าไปยังชุมชนประมงท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ตอีกหลายแห่ง พร้อมกับเยี่ยมชมการเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชังของเกษตรกรบ้านท่าฉัตรไชย 
 
รวมทั้งจังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งที่มีการบริโภคกุ้งมังกรเจ็ดสีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีการนำเข้าจากต่างประเทศผ่านด่านศุลกากรภูเก็ตมากกว่า 5 พันกิโลกรัม/ปี มูลค่าสูงกว่า 18 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2560) กุ้งมังกรเจ็ดสีเป็นที่นิยมบริโภคของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากทั้งในตัวจังหวัดภูเก็ตเองและจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงกรุงเทพฯด้วย ถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม อยู่ที่ราคาประมาณ 3,500 – 3,800 บาท/กิโลกรัม


 




 
ดังนั้น จึงอยากจะผลักดันให้กุ้งมังกรเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย เริ่มต้นด้วยการสร้างให้มีลูกพันธุ์กุ้งมังกรที่พอเพียงต่อการนำมาเลี้ยงต่อในกระชัง ทำให้การเลี้ยงมีความต่อเนื่องในทางการตลาด รวมถึงมาตรการอนุรักษ์กุ้งมังกรในธรรมชาติด้วย
โดยเบื้องต้นภายในปี 2562 นี้ เตรียมจัดตั้งธนาคารกุ้งมังกร ณ บริเวณบ้านท่าฉัตรไชย และบ้านป่าหล่าย เพื่อสร้างให้เป็นแหล่งกระจายลูกพันธุ์กุ้งมังกร ไปสู่ในธรรมชาติ โดยทางสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ตได้มีการวางแผนจัดทำเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์กุ้งมังกรควบคู่ไปด้วยที่บริเวณเกาะทะนาน อำเภอเมือง และเกาะงำ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


 




 
นอกจากนี้ ยังได้หารือกับประธานเครือข่ายองค์กรชุมชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต และตัวแทนชุมชนประมงท้องถิ่น ของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 10 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย  ชุมชนบ้านบางโรง ชุมชนบ้านปากบาง ชุมชนบ้านป่าหล่าย ชุมชนบ้านราไวย์ ชุมชนบ้านบางเทา ชุมชนบ้านรายัน ชุมชนบ้านแหลมหลา ชุมชนบ้านแหลมหิน ชุมชนบ้านด่านหยิก เกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้านที่ชุมชนได้รับ
หลังจากที่ทางภาครัฐได้ใช้มาตรการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ไอยูยู ซึ่งพบว่าชาวประมงพื้นบ้านต่างพอใจกับผลผลิตที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด สัตว์น้ำที่เคยหายไปก็มีกลับมา  สัตว์น้ำที่เคยจับได้น้อยก็กลับมาจับได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านดีขึ้น อีกทั้ง ชาวประมงพื้นบ้านยังชื่นชมถึงแนวทางการบริหารจัดการการทำประมงของประเทศไทยเพื่อให้เกิดยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำอีกด้วย


 




 
อธิบดีกรมประมง มอบพันธุ์กุ้งมังกร จำนวน 100,000 ตัว ให้กับผู้แทนชาวประมงพื้นบ้านชุมชนบ้านป่าหล่าย เพื่อนำไปปล่อยลงในแหล่งอนุรักษ์พันธุ์กุ้งมังกร ที่บริเวณเกาะทะนาน บ้านป่าหล่าย อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้ง ได้ร่วมกันปล่อยลูกปูม้า จำนวน 500,000 ตัว ลงสู่ทะเลด้วย

 



 





 

 
 



 





 



Create Date : 11 มิถุนายน 2562
Last Update : 11 มิถุนายน 2562 21:18:37 น.
Counter : 1079 Pageviews.

0 comment
"ม็อบประมง"เตรียมบุกกรุงทวงสัญญา
"ม็อบประมง"ทั่วประเทศนัด 28 มิ.ย.นี้ พร้อมนอนหน้ากระทรวง ทวงสัญญา พรรคการเมืองใดรับปากไว้จะช่วยเหลือทันทีได้นั่งรัฐมนตรีเกษตร-แรงงาน หลังเดือดร้อนทำประมงเจ๊งมา 5 ปี ร้องเร่งเยียวยาผลกระทบจากไอยูยู

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าวันที่ 28 มิ.ย.นี้ ได้นัดสมาชิกสมาคม ฯประชุมใหญ่วิสามัญสมาชิกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยที่ห้องประชุมตลาดทะเลไทย ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.เป็นต้นไป

พร้อมให้ชาวประมง ที่ได้รับผลกระทบ มีความเดือดร้อนจากกฏหมายประมงใหม่ เข้าร่วมเสนอปัญหา จากที่ภาครัฐได้ออกกฏหมายหลายฉบับมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามเงื่อนไข ไอยูยู ของสหภาพยุโรป ส่งผลทำให้ชาวประมง ประสบความเดือดร้อนมา5ปี หลายรายต้องเลิกอาชีพ โดยจะนำปัญหาต่างๆ มาเสนอพร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาลชุดใหม่
 
“ชาวประมงทั่วประเทศ จะมานำเสนอปัญหา แนวทางแก้ไข รวมทั้งผู้ที่ได้ รับผลกระทบ ในการแก้ไขปัญหา IUU ในประเด็น ต่างๆให้มานำเสนอประเด็นปัญหา และแนวทางเยียวยา โดยเร็วหลังที่ทำไปเจ๊งไป ยังขาดแคลนแรงงานด้วย ต้องจอดเรือเป็นจำนวนมาก อีกทั้งค่าปรับ สูงมาก และบทลงโทษ รุนแรงเกินไป”ที่ปรึกษาสมาคมประมง กล่าว


 



 
นายมงคล กล่าวว่าในเบื้องต้นได้รับผลกระทบจากปัญหากฎหมาย กฎ ระเบียบ ต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับการทำประมงของไทย รวมทั้งบทลงโทษที่รุนแรง เกินไป การขาดแคลนแรงงานในภาคประมง การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาIUUในช่วง4-5ปีที่ผ่านมา และปัญหาราคาสิ้นค้าสัตว์น้ำตกต่ำ เนื่องจากการนำเข้า สิ้นค้าจากต่างประเทศ แบบไม่มีการควบคุมดูแล
 
“โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่รับปากกับชาวประมง หากใครมานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็ขอให้รักษาคำสัญญา หากไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาเชื่อว่าชาวประมงก็คงไม่ยอม ซึ่งในวันดังกล่าวที่มีประชุมใหญ่วิสามัญหากที่ประชุมมีมติเช่นไร ทางสมาคมและกรรมการจะปฏิบัติตาม เชื่อว่าทุกคนมีเป้าหมายอย่างเดียวกันก็ขอให้สมาชิกทุกคนพร้อมกันในเวลาที่นัดหมาย โดยถ้าไม่มีการแก้กฏหมาย ชาวประมง จะเข้ากรุงเทพไปนอนหน้ากระทรวง ”นายมงคล กล่าว

 




 



Create Date : 11 มิถุนายน 2562
Last Update : 11 มิถุนายน 2562 20:07:01 น.
Counter : 713 Pageviews.

0 comment
"กรมประมง"ประกาศปิดอ่าวตัว ก
"กรมประมง"ประกาศปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ฤดูวางไข่ ปี 62 ฟื้นฟูสัตว์น้ำในพื้นที่ 8 จังหวัด ห้ามใช้เครื่องมือและวิธีทำประมงผิดกฏหมาย ช่วง15 มิ.ย. – 15 ส.ค.และ 1 ส.ค.-30ก.ย.นี้ ชี้ปิดสองช่วง หลังปริมาณ ปลาทูในอ่าวไทยไม่เพิ่มขึ้น 
 
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าจะประกาศปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี 2562 ระหว่าง วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคมของทุกปี และระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายนของทุกปี  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตามแผนที่แนบท้ายของประกาศฯ จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ โปรดปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของประเทศให้เกิดความยั่งยืน
 
จากเมื่อปีที่ผ่านมา (ปี 2561) กรมประมงได้มีการปรับปรุงกฎหมายปิดอ่าวไทยรูปตัว ก จากประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประกาศกรมประมง ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของพื้นที่ 8 จังหวัด ของอ่าวไทยรูปตัว ก ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ วงจรชีวิตสัตว์น้ำ และสอดคล้องกับมาตรการปิดอ่าวไทย 
 
“ผลของการใช้กฎหมายปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ฉบับใหม่ว่า การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำหลังปรับปรุงกฎหมายปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ในปีที่ผ่านมา ผลการจับสัตว์น้ำก่อนมาตรการฯ (เมษายน-พฤษภาคม 2561) มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 2,417 กิโลกรัม/วัน ระหว่างมาตรการปิดด้านตะวันตก (15มิถุนายน-15สิงหาคม 2561) มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 1,258.10 กิโลกรัม/วัน


 



 
ระหว่างมาตรการปิดด้านเหนือ (1 สิงหาคม-30กันยายน 2561) มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 2,350.77 กิโลกรัม/วัน และหลังมาตรการฯ (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2561) มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 2,863.28 กิโลกรัม/วัน จึงแสดงให้เห็นว่า มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงฤดูการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก สามารถฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างเหมาะสม มีผลผลิตของสัตว์น้ำสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มปลาผิวน้ำ เช่น ปลาสีกุนเขียว  ปลาหลังเขียว และปลาตะเพียนน้ำเค็ม  
 
อย่างไรก็ตาม ปลาทู สัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควรจะเป็น ถึงแม้ว่าผลผลิตโดยรวมจะสอดคล้องกับผลการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสัตว์น้ำที่อพยพตามห้วงเวลาในแต่ละพื้นที่ ที่พบว่าในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี จะเป็นห้วงเวลาที่มีสัตว์น้ำขนาดก่อนเริ่มสืบพันธุ์อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก โดยวัดได้จากการสำรวจพบปลาทูในเขตอ่าวไทยรูปตัว ก ฝั่งตะวันตก (พื้นที่ปิดอ่าวช่วงที่ 1) มีขนาดเฉลี่ย 13 – 14 เซนติเมตร หรือ ที่ชาวประมงเรียก ปลาสาว ยังไม่สามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้  

ซึ่งปลาทูกลุ่มนี้จะอพยพเข้ามาอาศัยในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก ตอนเหนือ (พื้นที่ปิดอ่าวช่วงที่ 2) และพบว่ามีขนาดเฉลี่ย 16-18 เซนติเมตร ถือว่าเป็นแม่ปลาที่พร้อมผสมพันธุ์และจะกลับลงไปวางไข่ในบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง (มาตรการปิดอ่าวไทย) ในปีถัดไป ดังนั้น จึงควรมีการคุ้มครองสัตว์น้ำเหล่านี้มิให้ถูกจับหรือทำลายก่อนวัยอันควร และเป็นการเพิ่มทั้งขนาดและมูลค่ารวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญจะช่วยให้ปลาทูกลับฟื้นคืนความสมบูรณ์ดังเดิม

 




 
อธิบดีกรมประมง กล่าวว่ากำหนดใช้เครื่องมือที่ถูกต้องตามกฏหมายและวิธีทำการประมง อาทิ เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียว ขนาดต่ำกว่า 20 ตันกรอส ให้สามารถทำการประมงได้ในเวลากลางคืนและบริเวณนอกเขตทะเลชายฝั่ง เครื่องมืออวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกล ขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ให้ใช้เครื่องมืออวนที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวอวนไม่เกิน 2,000 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทั้งนี้ห้ามทำการประมงโดยวิธีล้อมติดตา หรือวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน เครื่องมืออวนติดตาชนิด อวนปู อวนกุ้ง อวนหมึก เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

สำหรับกรณีการใช้เครื่องมือลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป และใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ สามารถทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ กรณีการใช้เครื่องมือลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบ ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป และใช้ทำการประมงเกินกว่า 300 ลูก ต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง เครื่องมือลอบหมึกทุกชนิด ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง เครื่องมือคราดหอย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯที่เกี่ยวข้องด้วย เครื่องมืออวนรุนเคย


 



 
โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ที่เกี่ยวข้องด้วยจั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า โดยใช้เครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือทำการประมงบางประเภทที่ถูกกำหนดเป็นประมงพาณิชย์ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ และต้องมิใช่การใช้เครื่องมือทำการประมงอวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตักที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) รวมทั้งเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ

หากไม่ปฏิบัติตามที่กำหนด และเครื่องมือที่ใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 67 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  โดยในส่วนของบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 30 ล้านบาท ตามขนาดของเรือประมง หรือปรับ 5 เท่า ของมูลค่าสินค้าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า และเครื่องมือ สัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สินค้าสัตวน้ำ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ในการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิดจะถูกริบ

 


 
 
 

 



Create Date : 10 มิถุนายน 2562
Last Update : 10 มิถุนายน 2562 18:39:32 น.
Counter : 743 Pageviews.

0 comment
"สภาเกษตร"ชงปลูกกัญชาอินทรีย์
"สภาเกษตร"ชงปลูกกัญชาอินทรีย์ เสิร์ฟฟรี ! กรมการแพทย์แผนไทย 20 ไร่ 4 จังหวัด

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมหารือร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ตัวแทนภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจากโรงพยาบาลทั้ง 4 ภูมิภาค จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับทางกรมการแพทย์แผนไทย

โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติจะปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้นส่งให้กับกรมการแพทย์แผนไทย เพราะทำอาหารต้องปลอดภัยมาก ทำเป็นยายิ่งต้องปลอดภัยมากยิ่งกว่า จึงเสนอการปลูกกัญชาแบบเกษตรอินทรีย์แบบลงทุนให้ฟรีเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง นำร่อง 4 จังหวัด คือ ลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และสุราษฎร์ธานี ด้วยพื้นที่ 2 X 2 เมตร 400 ต้น/ไร่ จังหวัดละ 5 ไร่


ปลูกทั้งแบบในโรงเรือนและนอกโรงเรือนซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบ วิเคราะห์ทุกขั้นตอน เหตุที่เลือก 4 จังหวัดนำร่องดังที่กล่าวไปเพราะมีตัวแทนเกษตรกรที่อาสาสมัครเข้ามาและมีความพร้อม พร้อมทั้งในแง่ของหัวใจ ทุนทรัพย์  ด้วยการปลูกนำร่องนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นใดให้เลย

ทุกคนต้องลงทุนควักกระเป๋าเอง อย่างน้อยที่สุดคนละ 1 ล้านบาท ลงทุนฟรีให้กับราชการจะได้เงินหรือไม่ได้เงินคืนมาไม่ทราบได้ ที่อาสาปลูกเพราะต้องการความรู้และความสำเร็จเพื่อประกาศให้คนไทยทั้งประเทศรู้ว่าเกษตรกรก็สามารถปลูกได้  ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพไม่ต้องพึ่งต่างชาติมากเกินไปเหมือนเช่นปัจจุบันนี้
 


 



 
 






 
อย่างไรก็ตาม จากการที่สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดเวทีโครงการ “ประชุมสัมมนาขับเคลื่อนการพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” 6 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สกลนคร นครศรีธรรมราช อุทัยธานี ตรัง กระบี่ มีผู้สนใจเข้าร่วมงาน 3,238 คน  และจากการสำรวจออนไลน์เรื่องความสนใจการใช้กัญชาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562  มีผู้สนใจทำแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 6,195 คน  

ประกอบอาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 72.95% อาชีพอิสระ ร้อยละ 8.58%  ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.45% รับราชการ 4.57% พนักงานเอกชน ร้อยละ 2.89%  เป็นต้น โดยสนใจใช้เพื่อรักษาโรค เหตุผล รักษาตนเอง 3,449 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7% , รักษาคนในครอบครัว/คนรู้จัก 2,488 คน คิดเป็นร้อยละ 40.2% , เพื่อความรู้ 2,988 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2% และสนใจปลูกกัญชา 3,624 คน คิดเป็นร้อยละ 58.5% 
 
 
“ขณะนี้การปลูกกัญชาในเชิงพาณิชย์ยังไม่อนุญาต หากเกษตรกรปลูกไปก่อนก็ขายไม่ได้และอาจจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สภาเกษตรกรฯจึงขอเริ่มต้นจากพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน ปลูกในเชิงการวิจัยและต้องสละทั้งเงิน เวลา บุคลากรที่จะต้องทุ่มเทให้สำเร็จให้ได้  

เพราะฉะนั้นขอให้อดใจรอจนกว่าสังคมจะเปิดกว้างกว่านี้ กฎหมายผ่อนปรนมากกว่านี้  ขอให้สภาเกษตรกรฯกรุยทางให้เดินก่อนแล้วเกษตรกรค่อยเดินตามหลังมา อดใจรอ 4 จังหวัดนำร่องปลูกไปก่อน และหากเป็นไปได้ก็อยากผลักดันกฎหมายให้ขยายผลการปลูกออกไปได้ทุกพื้นที่จังหวัดในอนาคต ” นายประพัฒน์ กล่าว



 


 
 
 



Create Date : 10 มิถุนายน 2562
Last Update : 10 มิถุนายน 2562 18:32:36 น.
Counter : 919 Pageviews.

1 comment
ธ.ก.ส.คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตร
ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตร เดือนมิถุนายน 2562ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตร เดือนมิถุนายน 2562
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว น้้าตาลทรายดิบ สุกร มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นด้านข้าวเปลือกเจ้า ยางพาราแผ่นดิบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปาล์มน้้ามัน มันส้าปะหลัง กุ้งขาวแวนนาไมมีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง


นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เปิดเผยถึงการคาดการณ์สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตร เดือนมิถุนายน 2562 ที่จัดท าโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ซึ่งสินค้าเกษตรที่จะมีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ คาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.22-0.50อยู่ที่ราคา15,735-15,780 บาท/ตัน ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.24-1.69อยู่ที่ราคา 11,250-11,300 บาท/ตัน เนื่องจากความกังวลจากภาวะภัยแล้งที่คาดว่าจะทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ผู้ประกอบการค้าข้าวจึงต้องการเก็บข้าวไว้ในสต็อกเพิ่มขึ้น น้้าตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.50-5.00 อยู่ที่ราคา 11.84-12.13 เซนต์/ปอนด์ (8.32-8.52 บาท/กก.)


 



 





 

 
โดยคาดการณ์ว่าในเดือนมิถุนายนจะมีฝนตกชุกในพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของบราซิลซึ่งอาจส่งผลให้มีการชะลอการเก็บเกี่ยวอ้อยออกไป ประกอบกับคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ าตาลโลกในปี2562 ถึง 2563 จะลดลงร้อยละ 1.9 คงเหลือ 182.2 ล้านตัน โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลผลิตน้ าตาลของประเทศไทยและประเทศอินเดียที่คาดว่าจะลดลง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของโลกลดลงเช่นกัน และสุกร ราคาจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 – 2.82 อยู่ที่ราคา 71.00 – 73.00 บาท/กก.เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งจากในและต่างประเทศ ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตช้า ทำให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดลดลง

ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% คาดว่าราคา จะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.47-1.24อยู่ที่ราคา 7,753-7,813 บาท/ตัน เนื่องจากค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะสงครามการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ยางพาราแผ่นดิบ ราคาจะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.21 – 3.78 อยู่ที่ราคา 45.27 - 46.48 บาท/กก.

เนื่องจากตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม เกษตรกรจะเริ่มทำการกรีดยาง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางพาราจะทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาจะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.15-1.00 อยู่ที่ราคา 7.21-7.28 บาท/กก. เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สะสมค่อนข้างมากตั้งแต่กลางเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ขณะที่ภาคเอกชนมีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เพิ่มขึ้น ปาล์มน้้ามัน ราคาจะลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.85 – 11.11 อยู่ที่ ราคา 1.75 - 1.60 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันยังคงออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่สต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศมีปริมาณสูงเกินกว่าความต้องการใช้ในประเทศ ประกอบกับไทยยังไม่สามารถระบายสต๊อกผ่านช่องทางการส่งออกได้ มันส้าปะหลัง ราคาจะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.59 -9.57 อยู่ที่1.85 - 1.70 บาท/กก. เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งต่อเนื่องในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญทำให้เกษตรกรยังคงต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อลดภาวะการขาดทุน ส่งผลให้ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดไม่ได้คุณภาพ

ประกอบกับจีนลด ปริมาณการนำเข้ามันเส้น และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาจะลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.36 – 0.72 อยู่ที่ราคา137.00 – 138.00 บาท/กก. เนื่องจากกำลังซื้อทั่วโลกที่ลดลง และผลกระทบจากความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยนทำให้การส่งออกกุ้งของไทยลดลง ประกอบกับในช่วงเดือนมิถุนายน คาดว่าจะมีผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมจากอินเดียและเวียดนามออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคากุ้งขาวแวนนาไมทั่วโลกและไทยมีแนวโน้มลดลง

 





 


 



Create Date : 06 มิถุนายน 2562
Last Update : 6 มิถุนายน 2562 17:05:47 น.
Counter : 616 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments