All Blog
หนุนประกันภัยแม่โค
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นโยบายด้านการประกันภัยภาคเกษตรเป็นนโยบายสำคัญภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับพี่น้องเกษตรกรทุกสาขาอาชีพ

ปัจจุบันรัฐบาลมีเครื่องมือช่วยเหลือในยามฉุกเฉินแต่ก็ไม่เพียงพอกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้สนับสนุนให้มีการประกันภัยที่เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรโดยแท้จริง สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา ตนในฐานะกำกับดูแลกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ประสานทุกภาคส่วนเพื่อตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าว  



 




 
โดยในส่วนที่ทำไปแล้วและกำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ก็คือ “โคขุน” ตามโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์ กับ ธ.ก.ส. (โคขุนกู้วิกฤต COVID-19) ที่ได้ผลักดันเรื่องการประกันภัยโคขุนเพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้หารือร่วมกับผู้แทนฟาร์มโคนม และบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด เพื่อหาแนวทางร่วมกันเพื่อเป็นช่วยเหลือดูแลเกษตรกรที่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงโคนม ทำอย่างไรไม่ให้รับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาคธุรกิจประกันภัย ในการดำเนินโครงการ “ประกันภัยโคนม” เพื่อร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร พร้อมยกระดับมาตรฐานธุรกิจโคนมในประเทศไทย ในฐานะสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังได้มอบแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งซึ่งขณะนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่เชื้อโควิด-19 รวมไปถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก และหมู เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ซึ่งประกันภัยจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานศึกษารายละเอียดต่อไป 

สำหรับสถานการณ์การเลี้ยงโคนมของประเทศไทยในปัจจุบัน ปี 2563 ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 20,174 ราย ผ่านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (ฟาร์มโคนม GAP) 6,475 ฟาร์ม จำนวนโคนม 707,236 ตัว โดยเป็นแม่โครีดนม 320,613 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบที่มีการทำข้อตกลงการซื้อขาย (MOU) ระหว่างศูนย์รวมนมและผู้ประกอบการจำนวน 3,547 ตัน/วัน








 
ทั้งนี้ 1,000 ตัน ใช้ภายใต้โครงการ “อาหารเสริม (นม) โรงเรียน” ปริมาณนมส่วนที่เหลือเป็นนมพานิชย์ที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมให้คนไทยได้บริโภค นอกจากนี้ การจัดทำ MOU เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ และเป็นอาชีพพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมของไทยนับเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน อีกด้วย

ส่วนความคุ้มครองที่เกษตรจะได้รับจากการทำประกันภัยโคนม ประกอบด้วย ความคุ้มครองที่เกิดจากการเจ็บป่วยของโคนม, ความคุ้มครองการตายจากการบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ, ความคุ้มครองการตายจากภัย เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า น้ำท่วม ลมพายุ ที่ได้รับการรับรองจากสัตวแพทย์ โดยเกษตรกรที่ซื้อประกันภัยโคนมในโครงการจะได้รับค่าสินไหมทดแทนประมาณ 30,000 บาทต่อตัว (เงื่อนไขตามกรมธรรม์)



 
 

 



Create Date : 29 ธันวาคม 2563
Last Update : 29 ธันวาคม 2563 18:26:14 น.
Counter : 479 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments