All Blog
"เฉลิมชัย"เร่งแก้ปัญหาขยะเมืองประจวบฯ-แรงงาน
"เฉลิมชัย' ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด แก้ปัญหาความเดือดร้อนจำเป็นเร่งด่วน ทั้งปัญหาขยะในพื้นที่ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างจริงจัง และผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมให้ความสำคัญทั้งในส่วนของภาคการเกษตรและการท่องเที่ยวที่จะช่วยฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินการตามแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ร่วมเป็นกรรมการ




 




 
โดยได้มีการประชุมและเห็นชอบประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัด และได้สรุปปัญหาหลักที่สำคัญและเป็นปัญหาความเดือดร้อนจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ 1) ปัญหาขยะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างจริงจัง และ 3) ปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโรนา (Covid-19)

รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้มาช่วยดูแลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความคุ้นเคยและรับรู้ปัญหาในเบื้องต้น ซึ่งรัฐบาลอยากให้มีตัวแทนมารับทราบปัญหาได้โดยตรง หากดำเนินการแก้ไขระดับจังหวัดได้ให้รีบดำเนินการ

หากเกินกว่าการแก้ไขระดับจังหวัดก็จะนำประเด็นปัญหาไปนำเรียนนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งใน 3 ประเด็นหลักที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนนั้น ในส่วนของปัญหาขยะ ได้มอบหมายให้มีการประสานความร่วมมือกันในพื้นที่ พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน




 




 
สำหรับในส่วนการบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างจริงจัง กระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบหมายกรรมมาธิการด้านการเกษตรตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากฎหมาย พร้อมทั้งแก้ไข พ.ร.บ. ประมง โดยได้มีการเชิญทุกภาคส่วนมาให้ข้อคิดเห็น ทั้งในส่วนของประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ และจะนำไปสู่สภาผู้แทนราชฎรต่อไป อย่างไรก็ต้อง รัฐบาลต้องดู IUU เป็นหลัก แต่ต้องดูแลคนไทยเป็นหลักด้วย

จึงสามารถสังเกตได้ว่าจะมีมาตรการเยี่ยวยาที่ช่วยเหลือพี่น้องชาวประมง ซึ่งเป็นการสื่อให้เห็นถึงความห่วงใยของรัฐบาล และอยากขอให้ในพื้นที่มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อพี่น้องประชาชน อีกทั้งในเรื่องแรงงานประมง ได้มีการประสานกับกระทรวงแรงงานอย่างต่อเนื่อง พี่น้องชาวประมงสามารถสอบถามความคืบหน้าได้ทั้งจากประมงจังหวัดและประมงอำเภอ

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่องหนี้นอกระบบ ปัญหาที่ดิน และปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งน้ำนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยว จึงต้องดูให้ครอบคลุมและมีการบริหารจัดการน้ำ โดยได้มอบหมายกรมชลประทานบริหารจัดการทั้งระบบ ทั้งการอุปโภค-บริโภค ภาคการเกษตร รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย อย่างไรก็ตาม พยายามที่จะเพิ่มน้ำต้นทุนและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า




 




 
ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องการโควิด-19 อยากขอให้พี่น้องประชาชนมีการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ประเทศไทยจะสามารถป้องกันได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ต้องไม่ประมาท มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลมีนั้นต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และการล้างมือ เป็นต้น

จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และขอเป็นตัวแทนรัฐบาลขอบคุณข้าราชการ ที่มุ่งมั่นทำงานอยากหนัก และพี่น้องประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมาโดยตลอด หากเราตั้งหลักได้ก่อนประเทศอื่น ก็จะเป็นจุดแข็งของประเทศไทย จึงให้ความสำคัญทั้งในส่วนของภาคการเกษตรและการท่องเที่ยวที่จะช่วยฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจของจังหวัดได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ อยากขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้เหมือนคนในครอบครัว เพราะจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันต่อไป






 

 



Create Date : 04 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2563 16:31:08 น.
Counter : 425 Pageviews.

0 comment
เตือน ! ชาวสวนยางหน้าฝนระวัง"โรคไฟทอปโธรา"
ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่าตามธรรมชาติของต้นยางพาราเป็นพืชที่สามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้พอสมควร ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน โดยขึ้นอยู่กับอายุของต้นยาง ระดับน้ำและความยาวนานของน้ำที่ท่วมขัง

โดยต้นยางที่มีอายุน้อยจะทนต่อการท่วมขังของน้ำได้น้อยกว่าต้นยางที่โตแล้ว เช่น ยางพาราที่มีอายุ 2-8 เดือน สามารถทนน้ำท่วมได้ไม่เกิน 15 วัน และหากน้ำท่วมยอด ต้นยางจะตายภายใน 7 วัน เมื่อต้นยางถูกน้ำท่วมจะส่งผลให้ก๊าซออกซิเจนในดินต่ำลง ทำให้พืชขาดก๊าซออกซิเจนที่นำไปใช้หายใจ

อาจเกิดการเสียสมดุลของธาตุอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก อะลูมินัม อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นยางพาราโดยตรง สังเกตจากต้นยางจะมีลำต้นแคระแกรน ใบเหลืองซีด บางครั้งพบปลายยอดแห้งตาย รากเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งรากฝอย หากท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้ต้นยางยืนต้นตายหรือต้นยางโค่นล้มเนื่องจากดินบริเวณโคนอ่อนตัว




 




 
ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกษตรกรชาวสวนยางหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการฟื้นฟูสวนยางให้ดีขึ้นหลังจากน้ำลดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด กยท. แนะนำเกษตรกรสำรวจความเสียหายสภาพสวนยาง เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูและจัดการสวนยางหลังจากถูกน้ำท่วม กรณีน้ำท่วมสวนยางเกินกว่า 30 วัน เกษตรกรควรเร่งระบายน้ำออกจากสวน หากน้ำบริเวณรอบสวนยางมีระดับสูงกว่า ไม่สามารถระบายออกได้ ให้ขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยาง เพื่อให้น้ำระบายไปอยู่ในร่องที่ขุดไว้ โดยใช้แรงงานคนและเครื่องจักรขนาดเล็กเท่านั้น

จากนั้นรอให้น้ำแห้งและดินแข็งตัวก่อนจึงเข้าไปปฏิบัติงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายรากโดยเฉพาะรากฝอยที่เจริญขึ้นมาใหม่ และที่สำคัญไม่ควรใส่ปุ๋ยใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพในขณะที่ดินยังไม่แห้ง เพราะจะทำให้ธาตุไนโตรเจนที่อยู่ในรูปไนเตรท และยูเรียเปลี่ยนรูปเป็นไนไตรท์  ซึ่งเป็นพิษต่อต้นยาง เนื่องจากต้นยางทรุดโทรมจากระบบรากที่ขาดก๊าซออกซิเจนอยู่ จะทำให้ต้นยางเสียหายมากขึ้น ทำให้ต้นยางฟื้นตัวได้ช้าและต้นที่อ่อนแออาจจะตายได้

นอกจากนี้การใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยคอก จะไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดินซึ่งมีการหายใจมากขึ้นส่งผลให้รากยางขาดออกซิเจนเพิ่มขึ้น ดังนั้น เกษตรกรไม่ควรใส่ปุ๋ยทันที ต้องรอให้ยางฟื้นตัวและแข็งแรงเสียก่อน โดยให้รีบใส่ปุ๋ยบำรุงทันทีในช่วงต้นฤดูฝนปีถัดไ

กยท.ยังมีความกังวลถึงโรคยางพาราที่มากับช่วงหน้าฝน โดย ดร. กฤษดา ได้กล่าวว่าโรคในต้นยางพาราที่มักจะมาในช่วงฤดูฝนคือ โรคใบร่วงไฟทอฟธอรา ซึ่งมักจะระบาดในสวนยางพารา เนื่องจากโรคนี้แพร่ระบาดโดยน้ำฝน ลม ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก เชื้อไฟทอฟธอรานั้นจะอาศัยน้ำและความชื้นในการขยายพันธุ์

หากสภาพอากาศชื้นสูงต่อเนื่องติดกัน มีน้ำท่วมขัง หรือต้นยางรับแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน พันธุ์ยางที่ปลูกอ่อนแอไม่ต้านทานโรค ก็เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดการติดโรคนี้ได้ ลักษณะอาการสามารถสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อมักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เอง

ทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่ายต่างจากการร่วงโดยธรรมชาติ บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบหรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง นอกจากนี้ยังพบว่า เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้นไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมาได้




 




 
นางอารมณ์ โรจน์สุจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวเพิ่มเติมถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอฟธอราว่า เกษตรกรควรบำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์โดยใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน เพื่อสร้างความทนทานแข็งแรงให้ต้นยาง

เกษตรกรในรายที่ปลูกพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อ เช่น ส้ม ทุเรียน พริกไทย ปาล์ม โกโก้ เป็นพืชแซมยาง ควรดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากอาจนำเชื้อมาระบาดสู่ต้นยางได้ กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเท ให้แสงแดดส่องได้สะดวกทั่วถึง เพื่อลดความชื้นในสวนยาง

หากเกษตรกรชาวสวนยางพบว่าต้นยางติดโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-aluminium อัตราส่วน 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบยางอ่อนเมื่อพบการระบาดทุก ๆ 7 วัน ในต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงเกิน 50 % ควรหยุดกรีดยางทันที และบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์ หรือสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่การยางแห่งประเทศไทย ในพื้นที่ได้ในวันและเวลาทำการ




 

 

 



Create Date : 03 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2563 16:16:17 น.
Counter : 545 Pageviews.

0 comment
เปลี่ยน‘ปลูก’ ให้ ‘ใช่’สู่พืชเศรษฐกิจ...รายได้สูงตลาดต้องการนำร่อง..กล้วยหอมทอง
ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า ภาคเกษตรมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยที่ผ่านมา ได้ยึดหลัก “ตลาดนำการเกษตร” ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่หลากหลายอย่างเหมาะสมเพื่อให้ก้าวทันยุคสมัย ซึ่งนอกจากการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแล้ว สินค้าเกษตรต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปลอดภัย และแน่นอนว่า

สิ่งสำคัญที่ถือเป็นหัวใจหลักของการผลิต คือการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมให้เหมาะสม โดยผลักดันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่พืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) ที่ตลาดมีความต้องการสูง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เตรียมวางแนวทางเพื่อดำเนินโครงการ เปลี่ยน ‘ปลูก’ ให้ ‘ใช่’ เพื่อให้เกษตรกรหันมาผลิตสินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่มีตลาดรองรับแน่นอน ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และยังให้ผลตอบแทนที่สูง คุ้มค่าแก่เกษตรกร 




 




 
โดยจะบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตร และรับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป รวมถึงยังลดความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร ด้วยการร่วมมือกับบริษัทประกันภัยสินค้าเกษตร รองรับกรณีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น อันเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร 

นอกจากนี้ ยังดำเนินการควบคู่ไปกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สามารถคงคุณภาพด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อยืดอายุของสินค้าเกษตร สร้างโอกาสในการส่งออกไปสู่ตลาดโลก อีกทั้งยังก่อเกิดการจ้างแรงงานภาคเกษตรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยปัจจุบัน มีสินค้าเกษตรหลายชนิดที่ผลผลิตไม่เพียงพอและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ  อาทิ กล้วยหอมทอง โกโก้ กระเจี้ยบเขียว ถั่วลันเตา ข้าวโพดฝักอ่อน มะปราง มะยงชิด




 




 
การดำเนินโครงการดังกล่าว ขณะนี้ได้มีการศึกษาและเริ่มนำร่องแล้วในพืชเศรษฐกิจ กล้วยหอมทอง เป็นชนิดแรก กำหนดพื้นที่เป้าหมายจำนวน 300 ไร่ อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ตามแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) เหมาะสมกับการเพาะปลูกกล้วยหอมทอง

เบื้องต้นมีการหารือร่วมกับกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมทอง เกษตรกรแปลงใหญ่ Young Smart Farmer  ผู้ประกอบการ และเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่ที่สนใจปรับเปลี่ยนการผลิตสู่กล้วยหอมทองร่วมกัน ซึ่งพบว่า พื้นที่ดังกล่าว สามารถให้ผลผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน




 




 
ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 64 ราย พื้นที่รวม 167 ไร่  กลุ่มเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 21,077 บาท/ไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในเดือนที่ 9 - 11 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 2 ปี) มีการจำหน่ายตามเกรดต่างๆ ของผลผลิต โดยเกรด A ราคาที่เกษตรกรขายได้จะอยู่ที่ 14 บาท/กก. ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 4,160 กก./ไร่ สร้างรายได้ 54,080 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 33,000 บาท/ไร่

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า สำหรับผลผลิตกล้วยหอมทองที่ได้ นอกจากจำหน่ายในประเทศแล้ว ด้วยคุณลักษณะที่โดดเด่น ทั้งรสชาติ และคุณประโยชน์ จึงทำให้กล้วยหอมทองไทย เป็นที่ต้องการของตลาดส่งออกต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น




 




 
ล่าสุดได้ประสานความร่วมมือกับบริษัทธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น Beisia Supermarkets ที่มีความต้องการกล้วยหอมทองเฉลี่ย 1,125 ตัน/เดือน หรือ 13,500 ตัน/ปี นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังร่วมกับทาง Beisia  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเพาะปลูก ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ เทคนิคการปลูก การเก็บเกี่ยว

นำเทคโนโลยีน้ำนาโน  (Fine Bubble Technology) ที่มีการพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น เพื่อรักษาสภาพและยืดอายุของสินค้าเกษตรในการส่งออกอีกด้วย เบื้องต้นคาดว่าจะมีการลงนามความร่วมมือ MOU ร่วมกันระหว่างกลุ่มเกษตรกร Beisia Supermarkets  และ บริษัทประกันภัย ในช่วงต้นปี 2564 




 




 
กระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้ดำเนินการหลักในการประสานความร่วมมือ MOU ดังกล่าว และหลังจากนั้นจะขยายผลการดำเนินโครงการไปยังกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ Young Smart Farmer กลุ่มวิสาหกิจที่มีศักยภาพในการผลิตพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ในระยะต่อไป

กระทรวงเกษตรฯ จะยังคงขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตร อย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างจริงจัง ควบคู่กับการทำเกษตรสมัยใหม่  ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big data และ Agri – Map Online  เพื่อให้เกษตรกรมีการวางแผนและเลือกเพาะปลูกพืชได้อย่างเหมาะสม ได้ผลตอบแทนสูง 

อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยยังคงเน้นการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ผ่านตลาดออนไลน์เพื่อให้สอดรับยุค New Normal เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน GDP ภาคเกษตรเติบโต อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ และความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตร ตลอดจนภาคเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างมั่นคง และมีเสถียรภาพร่วมกัน


 






Create Date : 03 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2563 15:58:58 น.
Counter : 639 Pageviews.

0 comment
แนะสินค้าทางเลือก Future Crop ‘โกโก้ - กาแฟ’ สร้างรายได้เกษตรกร จ.ตราด
 


 
นางธีรารัตน์ สมพงษ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงแนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรสำคัญในระดับพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) ซึ่ง สศท.6 ได้ศึกษาสินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top10) ของพื้นที่จังหวัดตราด เรียงลำดับตามมูลค่าสินค้ากลุ่มด้านพืชดังนี้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรดโรงงาน ข้าวนาปี และมะพร้าว

โดยปี 2562 เกษตรกรมีการปลูกกลุ่มพืชดังกล่าวในพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) พบว่า จากการผลิตยางพารา เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 425 บาท/ไร่/ปี ปาล์มน้ำมัน ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,415 บาท/ไร่/ปี สับปะรดโรงงาน ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 6,854 บาท/ไร่/ปี ข้าวนาปี ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,123 บาท/ไร่/ปี และมะพร้าว ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,937 บาท/ไร่/ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยของการผลิตยางพารามีมูลค่าต่ำที่สุด  




 





 
หากพิจารณาสินค้าทางเลือกให้แก่เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม พบว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราในจังหวัดตราด ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าทางเลือกหลายชนิด โดย สศท.6 ได้ศึกษาสินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ที่น่าสนใจคือ โกโก้ มีต้นทุนการผลิต 4,362 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 และเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี)

ต้นโกโก้มีอายุเฉลี่ยถึง 60 ปี นิยมปลูกช่วงต้นฤดูฝน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวหลังจากให้ผลแล้วทุก 15 วัน ซึ่งต้นโกโก้ที่มีอายุเฉลี่ย 2-5 ปี จะให้ผลผลิตผลสดเฉลี่ย 889 กก./ไร่/ปี และถ้าอายุต้นเฉลี่ย 2-15 ปี จะให้ผลผลิตผลสดเฉลี่ยสูงถึง 1,593 กก./ไร่/ปี เกษตรกรได้ผลตอบแทน 16,447 บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 12,085 บาท/ไร่/ปี ราคารับซื้อเฉลี่ย 18.5 บาท/กก.




 




 
ปัจจุบันมีหลายบริษัททำสัญญาซื้อในราคาประกันระยะยาวและมีบริษัทมารับซื้อผลผลิตของเกษตรกรถึงที่สวน ซึ่งในส่วนของจังหวัดตราดได้มีการส่งเสริมสินค้าโกโก้ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ได้สนับสนุนจุดเรียนรู้โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้ความยั่งยืน ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง ถ่ายทอดองค์ความรู้ตั้งแต่การปลูก ดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

สำหรับสินค้าทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่จังหวัดตราดสามารถผลิตได้ และเกษตรกรสามารถสร้างจุดแข็งและขยายผลต่อยอดเพิ่มมูลค่าในการแปรรูป คือ กาแฟ (โรบัสต้า) โดยมีต้นทุนการผลิต 10,910 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4) นิยมปลูกช่วงต้นฤดูฝนระยะเวลาเก็บเกี่ยว 150 - 180 วัน ให้ผลผลิตผลสดเฉลี่ย 1,561 กก./ไร่/ปี เกษตรกรได้ผลตอบแทน 23,415 บาท/ไร่/ปี ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 12,505 บาท/ไร่/ปี ปัจจุบันราคารับซื้อเฉลี่ย 15 บาท/กก.




 




 
จุดเด่นของกาแฟ (โรบัสต้า) สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น เมล็ดกาแฟ และกากกาแฟ นอกจากทำเครื่องดื่มแล้ว สามารถทำชาจากดอกกาแฟได้ด้วย และปรุงแต่งขนมหวานต่าง ๆ กาแฟอัดเม็ด ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ และเครื่องสำอาง สำหรับการส่งเสริมสินค้ากาแฟภายในจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาตราด ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนสินเชื่อตามห่วงโซ่มูลค่าสินค้าเกษตรสู่สินเชื่อ SME เกษตร และส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่

โดยจัดหาวิทยากรมาถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟสามารถรวมกลุ่มกันผลิตและขายได้ และสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด สนับสนุนเรี่องการรวมกลุ่ม จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขนำตนต้นน้ำ ต.หนองบอน อ.บ่อไร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดหลักในการรับซื้อผลผลิตกาแฟของจังหวัดตราด




 




 
ในส่วนของ สศท.6 ได้จัดทำการศึกษาความเหมาะสมเชิงเศรษฐกิจของการปลูกกาแฟในสวนผลไม้ในจังหวัดตราด และร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสินค้าทางเลือกทั้งโกโก้และกาแฟของจังหวัดตราด และจัดประชุมหารือการจัดทำสินค้าทางเลือกของภาคตะวันออก

ภายใต้โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) เพื่อระดมความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน หากท่านใดที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคตะวันออก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. 038 351 261 หรืออีเมล zone6@oae.go.th





 

 



Create Date : 03 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2563 15:16:48 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comment
ดันฟื้นฟูอาชีพเลี้ยงแพะ หลังวิกฤตโควิด-19
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมฟาร์มแพะเสรี ของนายเสรี บุญยรักษ์ ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้ส่งเสริมการวางระบบและคุณภาพฟาร์มแพะเนื้อ คือ ฝึกอบรมการพัฒนาจัดการฟาร์มแพะและสุขภาพแพะ และการช่วยเหลือด้านสุขภาพเบื้องต้น การค้นหาควบคุมโรค

ทั้งนี้ ได้ส่งเสริมการพัฒนาผลิตสินค้าเกษตรหลักของภาคและสร้างความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด และมีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม




 





 
สำหรับ ฟาร์มแพะเสรี มีแพะจำนวน 300 ตัวสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต ได้มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยการพัฒนาฟาร์ม ปัจจุบันได้รับการรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เหมาะสม (GFM) เพื่อให้ได้รับการรับรองฟาร์มที่มีการปฎิบัติการทางการเกษตรที่ดี (GAP)(มาตรฐานฟาร์ม) และเป้าหมายเพิ่มแม่พันธุ์แพะให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตแพะขุนปีละไม่น้อยกว่า 600 ตัว สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 240,000 บาท ภายในปี 2564

จากวิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยได้รับผลกระทบโดยตรง รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรฯ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีรายได้ และอาชีพทางเลือกที่ใช้น้ำน้อย ผ่านโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ (โคขุน กู้วิกฤต Covid-19




 




 
เป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มีตลาดรองรับที่แน่นอน มีการประกันราคา สำหรับการสนับสนุนเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรอละสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท/ปี

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ จะดูแลด้านการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การจัดการด้านอาหารสัตว์ การจัดการด้านระบบประกันภัยสัตว์ การจัดการ ด้านเครือข่ายและตลาดรับซื้อเพื่อการส่งออกต่างประเทศ เป็นต้น โดยกำหนดชนิดของสัตว์ที่ส่งเสริม ให้เกษตรกรเลี้ยงมี 4 ชนิด ได้แก่ โคเนื้อขุน กระบือเนื้อ แพะเนื้อ และไก่พื้นเมือง การดำเนินการส่งเสริมและเลี้ยงสัตว์ภายใต้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาระหนี้สิน เป็นการเพิ่มทางเลือกและ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร






 

 



Create Date : 02 พฤศจิกายน 2563
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2563 18:03:32 น.
Counter : 489 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments