All Blog
"เกษตร"ชงประกันรายได้สวนยางเฟส2เข้าครม.พรุ่งนี้
นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ดกยท.) เปิดเผยว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ในกรอบงบประมาณ 30,000 ล้านบาท ประกันรายได้จากยาง 3 ชนิด โดยกำหนดราคายางแผ่น 60 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) น้ำยางสด 57 บาทต่อ กก. ยางก้อนถ้วย 46 บาทต่อ กก.


 



 
มีระยะเวลาการประกันรายได้ 5 เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ เริ่มโครงการเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2563 เกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลกับกยท.ภายในวันที่ 15 พ.ค. 2563 จำนวนประมาณ1.8 ล้านคน ในพื้นที่เปิดกรีด 18 ล้านไร่ เงินชดเชยจะจ่ายเป็น 5 งวด(เดือนละครั้ง) โดยโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงให้เจ้าของสวนยาง 60% และคนกรีดยาง 40% โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯนำเข้าครม.พิจารณา วันที่ 30 มิ.ย.นี้




 




 



Create Date : 29 มิถุนายน 2563
Last Update : 29 มิถุนายน 2563 16:11:07 น.
Counter : 1048 Pageviews.

1 comment
"ธรรมนัส"ลุยโค่นต้นปาล์มน้ำมันปรับพื้นที่สร้าง“กระบี่สมาร์ทซิตี้ เมืองทันสมัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เป็นประธานในการโค่นสับล้มต้นปาล์มน้ำมัน และปรับพื้นที่ ในพื้นที่เป้าหมายตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 36/2559 แปลงNo.601 ณ ต.กระบี่น้อย อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่


 



 
พร้อมกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้รองรับการจัดที่ดินชุมชนให้กับเกษตรกรตามนโยบายรัฐบาล โดยพื้นที่เป้าหมายที่ยึดคืนจากผู้ถือครองที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และทางส.ป.ก.กระบี่ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนดเพื่อยึดคืนพื้นที่ โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2562 ผู้ครอบครองที่ดินได้มีหนังสือส่งมอบพื้นที่กลับคืนแล้ว และได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่

“ที่ดินแปลงนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีการถือครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีเนื้อที่ประมาณ 973 ไร่ จะทำการยึดคืนพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ ตามแนวทาง“กระบี่สมาร์ทซิตี้ เมืองทันสมัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม” รองรับการจัดที่ดินทำกินให้แก่ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า ภายหลังจากการล้มและสับปาล์มน้ำมัน และปรับพื้นที่แปลง No.601 แล้วนั้น ทาง ส.ป.ก. จะดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในแนวคิด “กระบี่สมาร์ทซิตี้ เมืองทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

โดยมีแนวทางการดำเนินงาน แบ่งพื้นที่เป็น 4 โซน ได้แก่ 1. โซนที่อยู่อาศัย จะทำการจัดที่ดินให้เกษตรกรรายละไม่เกิน 2 งาน โดยมีที่อยู่อาศัยและแปลงเกษตรกรรม 2. โซนแปลงเกษตรกรรม จะแบ่งออกเป็น ผลิตพืช,แปลงใหญ่เพื่อการค้า,ผลิตปศุสัตว์ และด้านประมง 3. โซนอนุรักษ์และการท่องเที่ยว 4. โซนพื้นที่ส่วนกลาง จะให้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการสหกรณ์และศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอาชีพ



 



 
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จะปฏิบัติงานตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดินอย่างเต็มความสามารถ ผ่านวิธีการปฏิรูปที่ดินที่มุ่งหมายจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต รวมถึงการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น





 


 



Create Date : 29 มิถุนายน 2563
Last Update : 29 มิถุนายน 2563 15:37:00 น.
Counter : 623 Pageviews.

0 comment
"เกษตรฯ"วางแผนรับมือลิ้นจี่-ลำไย"เพิ่มขึ้น
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคเหนือ เพื่อรับทราบรายงานผลการจัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิตผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่และลำไย) ครั้งที่ 3/2563 สถานการณ์การเก็บเกี่ยว

รวมทั้งแผนบริหารจัดการลิ้นจี่และลำไย ปีการผลิต 2563 จากคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจ สำหรับลิ้นจี่ใน 4 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่าน ผลผลิตปีนี้มีจำนวน 28,676 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งมีผลผลิตรวม 26,278 ตัน



 



 
ขณะนี้ผลผลิตเก็บเกี่ยวใกล้หมดแล้วภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลัก วางแผนบริหารจัดการเชิงปริมาณ แบ่งเป็น กระจายผลผลิตภายในประเทศ 24,029 ตัน ได้แก่ ล้งในประเทศ วิสาหกิจชุมชน ส่งตลาดภายในจังหวัด/สถานที่ท่องเที่ยว สหกรณ์การเกษตร ตลาดอื่น ๆ

อาทิ รถเร่ รถขนส่งสินค้านิคมอุตสาหกรรม ตลาดไท ตลาดต่างจังหวัด Modern Trade จำหน่ายผ่านไปรษณีย์ไทยและตลาดออนไลน์ แปรรูป 2,854 ตัน เป็นลิ้นจี่กระป๋อง น้ำลิ้นจี่ และอื่น ๆ เช่น ลิ้นจี่อบแห้ง และลิ้นจี่แช่แข็ง และส่งออก 1,793 ตัน การจัดการเชิงคุณภาพเน้นส่งเสริมผลิตตามมาตรฐาน GAP การห่อผลลิ้นจี่ก่อนเก็บเกี่ยว การให้คำแนะนำทำลิ้นจี่คุณภาพ

ส่งเสริมการดำเนินงานในรูปแบบแปลงใหญ่ ให้ความรู้ด้านการจัดการผลผลิตและเชื่อมโยงตลาด ประชาสัมพันธ์ลิ้นจี่คุณภาพ รวมทั้งสร้างเว็บเพจซื้อขายออนไลน์ โดยเฉพาะปีนี้การขายผ่านออนไลน์มียอดสั่งซื้อผ่านไปรษณีย์ไทยสูงขึ้น

เนื่องจากเป็นช่วงที่ประชาชนต้องอยู่บ้านตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบกับผลผลิตมีคุณภาพดี เกษตรกรมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (packaging) พร้อมจัดเรียงผลผลิตเพื่อป้องกันความเสียหายได้ดีขึ้น  


ส่วนลำไยแหล่งผลิตหลักอยู่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง แพร่ และตาก คาดการณ์ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดรวม 635,394 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 620,379 ตัน หรือร้อยละ 2.42 แบ่งเป็นผลผลิตในฤดู 386,065 ตัน (ร้อยละ 60.76) และผลผลิตนอกฤดู 249,329 ตัน (ร้อยละ 39.24)

โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดช่วงเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 35.41 ของผลผลิตทั้งปี ด้านผลผลิตต่อไร่ของลำไยเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสม โดยช่วงที่ลำไยติดดอกมีความหนาวเย็นพอเหมาะ ส่งผลให้ลำไยปีนี้ออกดอกและติดผลมากกว่าปีที่แล้ว

สำหรับแผนบริหารจัดการลำไยจังหวัดได้วางแผนการบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพตั้งแต่ระยะก่อนเก็บเกี่ยวจนถึงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต


ได้แก่ โครงการรณรงค์การผลิตลำไยคุณภาพ ปี 2563 โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP ส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีที่สำคัญ 5 ด้าน คือ การเตรียมต้นให้สมบูรณ์ การตัดแต่งช่อผล การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย และการปรับปรุงคุณภาพสีผิว

รวมทั้งการจัดทำแปลงเรียนรู้ ส่งเสริมการรวมกลุ่มพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการตลาด ถ่ายทอดความรู้การผลิตลำไยคุณภาพในรูปแบบแปลงใหญ่ จนถึงคำแนะนำการเตรียมต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ส่วนเชิงปริมาณลำไยภาคเหนือจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน ช่วงที่ให้ผลผลิตมาก (ช่วง Peak) ต้องเฝ้าระวังในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคม ซึ่งทั้ง 8 จังหวัดได้เตรียมการบริหารจัดลำไยในฤดูรวม 386,065 ตันแล้ว


ทั้งการประชุมเชื่อมโยงตลาดลำไยล่วงหน้า การสนับสนุนให้มีจุดรวบรวมและคัดคุณภาพลำไยและกระจายผลผลิต จัดเตรียมข้อมูลความต้องการรับซื้อผลผลิตของผู้ประกอบการลำไยโดยประสานความร่วมมือกับพาณิชย์และอุตสาหกรรมจังหวัด


 



 
สำหรับการบริหารจัดการผลผลิตมีดังนี้ บริโภคสดภายในประเทศ 69,102 ตัน ด้วยวิธีกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ตลาดภายในจังหวัดและท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้ง Modern Trade และตลาดออนไลน์/ไปรษณีย์ แปรรูป 269,021 ตัน ด้วยวิธีการอบแห้งทั้งเปลือก อบแห้งเนื้อสีทอง แปรรูป

เช่น การทำน้ำลำไยสกัดเข้มข้น ลำไยกระป๋อง และการส่งออกลำไยสด 47,942 ตัน ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวได้เตรียมเสนอแนวทางการกำกับ ติดตาม เฝ้าระวังผลผลิตลำไยปริมาณมาก (ช่วง Peak) ปี 2563 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ให้ความเห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือต่อไป       







 


 



Create Date : 29 มิถุนายน 2563
Last Update : 29 มิถุนายน 2563 15:15:01 น.
Counter : 739 Pageviews.

1 comment
ยึดกฏ ! WTOกำชับสมาชิกใช้มาตรการห้ามส่งออกช่วงโควิด
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการเกษตร (Committee of Agricultural: COA) สมัยพิเศษในรูปแบบ Virtual Meeting ซึ่งจัดโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)  มี Ms. Christiane Daleiden ประธานคณะกรรมการด้านเกษตรขององค์การการค้าโลก เป็นประธานการประชุม 
 
ที่ประชุมให้ความสำคัญในเรื่องการค้าสินค้าเกษตรของโลกภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากจะทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลกแล้ว ยังส่งกระทบในด้านอื่นๆ



 



 
อาทิ ด้านการสาธารณสุขที่เกิดการขาดแคลนผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ด้านการคมนาคมทางอากาศที่มีการห้ามการเดินทางเข้าออกนอกประเทศ ด้านห่วงโซ่อุปทานของโลกที่ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเนื่องจากการหยุดกิจกรรมทางด้านการผลิต

ปัญหาข้างต้นส่งผลให้บางประเทศได้ประกาศใช้มาตรการทางการค้าที่อาจขัดแย้งกับกฎระเบียบของ WTO เช่น การห้ามการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันรักษาโรค COVID-19 เพื่อบรรเทาภาวะความขาดแคลนสินค้าในประเทศของตน



 



 
จึงจำเป็นต้องกำชับให้ประเทศสมาชิกWTO ร่วมกันหาแนวทางสำหรับการใช้มาตรการต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดเป็นอุปสรรคทางการค้าของโลกโดยไม่จำเป็น เพราะการใช้มาตรการเช่นนี้ อาจทำให้อุปทานสินค้าอาหารของโลกลดต่ำลง ราคาสินค้าสูงขึ้น จนเกิดผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการค้าสินค้าเกษตร และเกิดการขาดแคลนสินค้าอาหารที่สำคัญ  อันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกในที่สุด

โอกาสนี้ กลุ่มประเทศต่างๆ อาทิ กลุ่ม Cairns Ottawa  และ EU ได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงจุดยืนในการใช้มาตรการทางการค้าในช่วงระหว่างสถานการณ์ COVID-19 โดยเน้นย้ำว่า การใช้มาตรการต้องสอดคล้องกับกฎ WTO และควรมีการบังคับใช้เป็นการชั่วคราว มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้เกิดการค้าที่เปิดกว้าง และคาดการณ์ได้ (open and predictable trade)



 



 
โดยประเทศสมาชิก ได้ร่วมกันตรวจสอบมาตรการที่เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ประเทศสมาชิกได้แจ้งต่อ WTO เช่น เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ที่ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกข้าว ส่วนอียิปต์ และฮอนดูรัส ได้ห้ามส่งออกพืชตระกูลถั่ว ขณะที่คาซัคสถาน รัสเซีย และคาจิกิสถาน จำกัดการส่งออกข้าวสาลี เป็นต้น  

สำหรับประเทศไทยได้แจ้งให้ประเทศสมาชิกรับทราบเกี่ยวกับการใช้มาตรการห้ามการส่งออกไข่ไก่ โดยประกาศใช้เป็นการชั่วคราวเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 30 เมษายน 63 ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามหลักการของ WTO  



 



 
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประเทศสมาชิก WTO นำประเด็นข้อจำกัดในช่วงสถานการณ์ COVID-19 มาเป็นเหตุอ้างเพื่อนำมาตรการต่างๆ มาใช้เป็นอุปสรรรคทางการค้าที่ไม่จำเป็น องค์การการค้าโลกในฐานะผู้ควบคุมการใช้มาตรการของประเทศสมาชิก ควรเร่งแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการเร่งรัดสร้างกฎ กติกา และแนวทางสำหรับการใช้มาตรการต่างๆ

รวมถึงการสร้างช่องทางในการสื่อสารเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการค้า และติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์






 



Create Date : 29 มิถุนายน 2563
Last Update : 29 มิถุนายน 2563 14:36:31 น.
Counter : 994 Pageviews.

1 comment
"ประภัตร"ลุยอีสานมอบปัจจัยการผลิตฟื้นฟูอาชีพหลังน้ำท่วม
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ จ.อุบลราชธานี จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ จ.กาฬสินธุ์ จ.มหาสารคาม และ จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 26-28 มิ.ย. 63 เพื่อส่งมอบพันธุ์สัตว์ปีกและปัจจัยการผลิต ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี พ.ศ.2562 

นายประภัตร กล่าวว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล และพายุคาจิกิ ทำให้เกิดอุทกภัย พื้นที่ทำการเกษตรของได้รับความเสียหาย ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และประมงเป็นจำนวนมาก



 



 
กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย โดยเกษตรกรแจ้งความจำนงเพื่อเลือกสัตว์ปีก 1 ชนิด จาก 3 ชนิด ดังนี้ 1. ไก่ไข่เพศเมีย 10 ตัว พร้อมปัจจัยการผลิต 2. เป็ดไข่เพศเมีย 10 ตัวพร้อมปัจจัยการผลิต และ 3. ไก่พื้นเมืองคละเพศ 10 ตัว พร้อมปัจจัยการผลิต

ภารกิจในครั้งนี้ ได้เดินทางมอบพันธุ์สัตว์ปีกพร้อมปัจจัยการผลิต ได้แก่ มุ้งตาข่าย อาหารสัตว์และอุปกรณ์ให้แก่เกษตรกร โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการจัดซื้อและมอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในมิถุนายน 2563 นี้

นายประภัตร กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2563 โดยช่วงปลายเดือนมิ.ย.-ก.ค. จะมีปริมาณฝนตกน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบ

จึงได้อนุมัติเงินจำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง กรมปศุสัตว์ กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย

โดยสนับสนุนการจัดการตลาดผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์สร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์ จำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร บรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ



 



 
ส่งเสริมอาชีพทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม สามารถจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ มีตลาดรองรับ รวมกลุ่มวิสาหกิจอย่างน้อย 7 คน มีอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อไม่เกินกลุ่มละ10 ล้านบาท  หรือดอกเบี้ยล้านละ 100 บาท/ปี ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 62 - 30 พ.ย. 65

“ปัจจุบันความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการของคนในประเทศ นักท่องเที่ยว และต่างประเทศ โดยความต้องการโคเนื้อของต่างประเทศมีมากถึง 500,000 - 1,000,000 ตัวต่อปี ส่วนไก่พื้นเมือง โดยเฉพาะตลาดประเทศกัมพูชาต้องการไม่น้อยกว่า 50,000 ตัวต่อวัน และแพะมีความต้องการ 200,000 - 300,000 ตัวต่อปี รัฐบาลจึงหวังให้อาชีพการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมเพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าว ทดแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีปัญหาด้านการตลาด” นายประภัตร กล่าว




 






 



Create Date : 27 มิถุนายน 2563
Last Update : 27 มิถุนายน 2563 19:13:58 น.
Counter : 581 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments