All Blog
"คูโบต้า”จัดแคมป์เกษตรยุคใหม่
“สยามคูโบต้า”ชวนน้องมาลองใช้นวัตกรรมกับแคมป์เกษตรยุคใหม่KUBOTA Smart Farmer Camp 2019: FARMNOVATION นวัตกรรมทำได้จริง

NB101มนุษย์ได้พัฒนาและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่อการใช้ชีวิตอยู่เสมอ จึงทำให้เทคโนโลยีกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่เว้นแม้แต่ในภาคเกษตรกรรมที่ได้ผ่านเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรหันมาพึ่งเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ด้วยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร และช่วงอายุเฉลี่ยของเกษตรกรที่สูงขึ้น

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคตในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


NB101ควบคู่กับการพัฒนาด้านการศึกษาและเยาวชน จึงได้เกิดโครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม พร้อมกับสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเยาวชนรุ่นใหม่

 



 
นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ในโครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp น้องๆ จะได้รับความรู้ด้านนวัตกรรมทางการเกษตรจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ฝึกลงมือปฏิบัติจริง ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากรและเพื่อนๆ

NB101ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและต่อยอดการเกษตรของไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 ภายใต้แนวคิด FARMNOVATION นวัตกรรมทำได้จริง ตอบโจทย์เกษตร 4.0 ที่ใช้นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่มาช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งสยามคูโบต้าได้คัดเลือกน้องๆ จำนวน 120 คน จากผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2,005 คน มาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลา 4 วัน 3 คืน

ในวันแรกน้องๆ เริ่มทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่จากทั่วประเทศผ่านกิจกรรมต่างๆ ก่อนจะแบ่งออกเป็นทีมเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันตลอดทั้งค่าย ซึ่งในวันนี้ พี่โอ๋ - ธรรมศักดิ์ ลือภูวพิทักษ์กุล อดีตนักร้องวง P2WARSHIP ที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเจ้าของ ‘ฮิพอินทรีย์ ฟาร์มวิลล์พอเพียง’ ได้ ซึ่งเป็นคนแรกที่มา



 



 
เริ่มสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ

NB101สำหรับวันต่อมา น้องๆ ทุกคนต่างตื่นเต้น เพราะว่าจะได้สนุกกับกิจกรรมทั้ง 4 ฐาน ที่ KUBOTA Farm ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ บนเนื้อที่กว่า 220 ไร่ในจังหวัดชลบุรี ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างครบวงจร

โดยเริ่มจากฐาน Smart Farmer น้องๆจะได้เรียนรู้การจัดการแปลงผักตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่รายได้สูง เริ่มตั้งแต่การเลือกเมล็ด เพาะกล้าลงถาด ทดลองขับแทรกเตอร์ต่อพ่วงโรตารี่ยกร่อง ขับรถปลูกผัก พร้อมกับทำระบบน้ำอัตโนมัติสำหรับแปลงผัก ตลอดจนการทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ซึ่งสามารถทำไว้ใช้เองหรือทำขายก็ได้


NB101ฐานที่ 2 Smart Design น้องๆจะได้ดีไซน์ฟาร์มเกษตรในฝัน ผ่านโมเดลต้นแบบจาก KUBOTA Farm โดยนำความรู้จากการแบ่งพื้นที่ เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร มาออกแบบการบริหารจัดการฟาร์มแบบครบวงจร ฐานที่ 3 Smart Tech


 



 
เน้นเรื่องนวัตกรรมในการปลูกข้าวเป็นหลัก น้องๆจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การดำนาไปจนถึงขั้นตอนการดูแลข้าวผ่านเทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองขับรถดำนาอัตโนมัติด้วยระบบ GPS ทดลองบังคับโดรนพ่นปุ๋ย ฝึกใช้เครื่องวัดสีใบข้าว เพื่อให้น้องๆ รู้สึกว่าการทำนาไม่ใช่เรื่องยาก

NB101ฐานสุดท้าย Smart Drive ที่มีพี่วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเครื่องจักรกลการเกษตร วิธีการใช้ที่ถูกต้อง และน้องๆ จะได้ลองขับแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว และรถขุดขนาดเล็ก ซึ่งเป็น เครื่องจักรกลสำคัญของการทำเกษตรกรรม ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความตื่นเต้นและสนุกสนาน สังเกตได้จากรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความตั้งใจร่วมกิจกรรมในแต่ละฐานของน้องๆ แม้แสงแดดจะร้อนระอุ

เปื้อนดินบ้าง ก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด

น้องโจโจ้ - นายไกรวิชญ์ คู่พิทักษ์ขจร อายุ 20 ปี นิสิตจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงเหตุผลที่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ว่า มองเห็นโอกาสในการได้รับความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาบ้านเกิดที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย



 


 
NB101อยากให้คนในชุมชนมีรายได้หมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อีกทั้งยังรู้สึกดีใจที่ได้เจอกลุ่มคนที่มีความคิดเหมือนกัน มั่นใจว่าภาคการเกษตรจะดีขึ้น นอกจากนี้ยังอยากฝึกงานต่อที่คูโบต้า เพราะรู้สึกชอบวัฒนธรรมองค์กรแบบญี่ปุ่นที่ดูดีและทันสมัย

น้องวัน - นางสาวตะวัน ทาพิลา อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล่าให้ฟังว่า ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิตอย่างการขับแทรกเตอร์ ได้เห็นนวัตกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่สามารถไปปรับใช้กับไร่อ้อยของที่บ้าน มุมมองการทำเกษตรและธุรกิจควบคู่กันไป และที่สำคัญอยากพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าการเรียนคณะเกษตรศาสตร์ จบมาไม่จำเป็นต้องทำนาเสมอไป


NB101นอกจากนี้ในโครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp 2019 ยังได้เชิญพี่ๆศิษย์เก่าที่อาสามาเป็นพี่เลี้ยงร่วมแชร์ประสบการณ์ ทำให้ตลอดการทำกิจกรรมเวิร์กช้อป เต็มไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์ และสนุกสนานมากยิ่งขึ้น


 



 
รวมถึงได้รับฟังข้อคิดดีๆ จากวิทยากรรับเชิญ พี่จัง - ศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์ เจ้าของกิจการ ‘ปลูกปั่น’ ธุรกิจเดลิเวอรี่น้ำผักผลไม้ปั่นสดที่ส่งด้วยจักรยานและบรรจุภัณฑ์แบบรักษ์โลก

NB101พี่เอิน - อุกฤษ  อุณหเลขกะ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอจาก Ricult (รีคัลท์) สตาร์ทอัพเพื่อพัฒนาภาคการเกษตร ปิดท้ายด้วยกิจกรรมเวิร์คช้อป Farm Innogame ให้น้องๆ รู้จักการวางแผนบริหารจัดการฟาร์มรูปแบบเกมจำลองเสมือนจริง (board game) สร้างประสบการณ์วางแผนปลูกพืช ซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร โดยระหว่างการเล่นจะมีโจทย์ที่ต้องอาศัยทีมเวิร์คร่วมกันเพื่อให้ผ่านอุปสรรคต่างๆ ไปได้

นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆจากสยามคูโบต้า เพราะน้องๆ กลุ่มนี้จะเติบโตขึ้นมาเพื่อเป็นอีกแรงสำคัญในการพัฒนาการเกษตรของประเทศ โดยมีระบบนวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรลการเกษตรที่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการเพิ่ม  ประสิทธิภาพการทำเกษตรแม่นยำอย่างยั่งยืนและรอบด้านมากขึ้น



 


 
 






 



Create Date : 30 มิถุนายน 2562
Last Update : 30 มิถุนายน 2562 10:51:20 น.
Counter : 1124 Pageviews.

0 comment
"ชาวนาภาคกลาง"แห่ปลูกข้าว กข 43
"ชาวนาภาคกลาง"แห่ปลูกข้าว กข 43 พบราคาพุ่งโรงสีรับซื้อราคาประกันตันละ12,500บาท ชี้ตลาดเปิดกว้างคนไทยรักสุขภาพนิยมบริโภคข้าวน้ำตาลต่ำ

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของนาแปลงใหญ่ หรือ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร

ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรได้รวมกลุ่มกันผลิต และยกระดับให้เป็นสินค้าตลาดเฉพาะของกลุ่มคนรักสุขภาพ การผลิตข้าวเพื่อสุขภาพ กข43 ให้มีคุณภาพ ต้องมีการควบคุมการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกจนกระทั่งแปรรูป
 
กรมการข้าวจึงรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ เพื่อผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP และสีแปรเป็นข้าวสารโดยโรงสีข้าวที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP เท่านั้น จึงจะได้ข้าวสารที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Q

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า นาแปลงใหญ่เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกร ที่สามารถผลิตข้าว กข43 ได้ตามมาตรฐาน GAP ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง


ข้าว กข43 เป็นข้าวพันธุ์ใหม่ที่น่าสนใจ ได้รับการตอบรับที่ดีจากเกษตรกรในการทดลองปลูกในปี 2561 ที่ผ่านมา ปัจจุบันจะพบแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ กข43 อยู่ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่

 


 
เนื่องจากข้าว กข43 ควรปลูกในพื้นที่นาชลประทาน พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน หรือพื้นที่ที่เกษตรกรมีเวลาทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่นๆ รวมไปถึงในพื้นที่ที่มีปัญหาวัชพืชระบาดในนาข้าวก็เหมาะจะปลูกข้าว กข43 ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้เพราะข้าว กข43 มีอายุสั้นเพียง 95 วัน ทนทานต่อโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นข้าวเจ้าที่ผสมระหว่างข้าวสุพรรณบุรี กับสุพรรณบุรี 1 มีการรับรองพันธุ์ มีการปลูกกันมากที่จังหวัดสุพรรณบุรี คุณสมบัติพิเศษคือ ปริมาณดัชนีน้ำตาลต่ำ ถึงปานกลาง

จะเห็นว่าคนไทย ห่วงใยและใส่ใจสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น นอกจากจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการออกกำลังกายแล้ว เรื่องของการเลือกรับประทานข้าว ก็เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักที่เราต้องรับประทานอยู่เป็นประจำ


ซึ่งข้าว กข43 ในข้าวขัดขาวนั้น มีค่าดัชนี้น้ำตาลอยู่ที่ 57.5 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ ถึงปานกลาง และนอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นที่ถูกอกถูกใจคนรักสุขภาพแล้ว ข้าว กข43 เมื่อหุงสุกแล้วยังเป็นข้าวที่ให้ความนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกับข้าวหอมมะลิอีกด้วย

ปัจจุบันเกษตรกรมีการพัฒนาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากว่าโรงสีข้าวเอกชนมีการประกันราคาข้าว กข43 อยู่ที่ 12,500 บาทต่อตัน ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3,200-3,500 บาทต่อไร่ อายุการเก็บเกี่ยวสั้นลง


 

 
ต่างจากข้าวหอมปทุมหรือปทุมธานี 1 ซึ่งมีราคาการรับซื้ออยู่ที่ 8,000-9,000 บาท/ตัน ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3,000-4,000 บาทต่อไร่ อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าข้าว กข43 เกษตรกรยังมีการพัฒนาตลาดข้าว กข43

โดยการรวมกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นข้าวสารอัดสุญญากาศในรูปแบบหลากหลาย ทั้งในแบบ 1 กิโลกรัม 50 บาท 5 กิโลกรัม 200 บาท 15 กิโลกรัม 600 บาท และแบบกระสอบใหญ่ 2,000 บาท จำหน่ายในชุมชน


ตลอดจนงานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร และผู้บริโภคที่มีการสั่งซื้อล่วงหน้า สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่น้อยกว่า 20,000–30,000 บาท ส่งผลให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าว กข43 และมีแนวโน้มหันมาปลูกกันมากยิ่งขึ้น

 


 



Create Date : 29 มิถุนายน 2562
Last Update : 29 มิถุนายน 2562 19:49:56 น.
Counter : 1064 Pageviews.

1 comment
สานต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามโครงการอพ.สธ.
นายประยูร อินสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สำหรับโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมแกรนด์แปซิฟิก  ซอฟเฟอริน รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
วัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมดังกล่าวเพื่อเสริมความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ



 



 
เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคนิค การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทั้งได้ไปศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง และอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและอนุรักษ์พลังงาน ค่ายพระรามหก

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์ เจ้าหน้าที่นิคมสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสิงห์บุรี เจ้าหน้าที่ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการ หุบกะพงและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 120 คน



 


 
กรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยเริ่มดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่นิคมสหกรณ์พนม จังหวัดนครสวรรค์ ในพื้นที่ของสำนักพระราชวัง ภายใต้แผนแม่บท อพ.สธ

กรมฯได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในโครงการ จำนวน 53 แห่ง ประกอบด้วย นิคมสหกรณ์ 59 แห่ง ศูนย์สาธิตโครงการหุบกะพง จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสิงห์บุรี รวม 32 จังหวัด พื้นที่ 541 ไร่ และมีพันธุ์พืชบันทึกในระบบฐานข้อมูลกว่า 1,400 พันธุ์ 



 


 
ในการนี้ ดร.ปิยรัษฎ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ สำนักพระราชวัง ให้เกียรติมาร่วมบรรยายและแนะนำข้อเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร

กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร รวบรวมข้อมูลดิบ ทรัพยากรต่างๆ ทั้งหมด ที่ดำเนินการ   ในแต่ละพื้นที่นิคมสหกรณ์ กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร รวบรวมผลงานสนองพระราชดำริของสหกรณ์นิคมทุกแห่งมาบรรจุผลงานความก้าวหน้าในเว็บไซต์ เพื่อประชาสัมพันธ์งานสนองพระราชดำริได้อย่างชัดเจน 



 



 
  
 



Create Date : 26 มิถุนายน 2562
Last Update : 26 มิถุนายน 2562 12:34:16 น.
Counter : 953 Pageviews.

1 comment
เร่งเติมน้ำเขื่อน-รับมือฝนเพิ่ม
ทุกภาคยังแล้ง -ฝนตกหนัก เร่งเติมน้ำเขื่อน 13 แห่งช่วยพื้นที่เกษตร ชลประทานทุกแห่งพร้อมรับมือฝนเพิ่มขึ้น 25-27มิ.ย.นี้


นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 หน่วยทั่วประเทศ เร่งช่วยเหลือพื้นที่เกษตรประสบภัยแล้งจากการเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำกินใช้ พื้นที่ลุ่มรับน้ำที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าร้อยละ 30 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ได้ขึ้นบินทำฝนหลวง ทำให้มีฝนตกจ.เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร สุรินทร์ นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สระบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา
 
เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำกุดตาเพ็ชร อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำลาด อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง อ่างเก็บน้ำบ้านลานคา อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำห้วยยาง และอ่างเก็บน้ำห้วยตะเคียน รวมถึงเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบันกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ออกประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้ง ยังคงมีจำนวน 5 จังหวัด รวม 23 อำเภอ 93 ตำบล 786 หมู่บ้าน เช่น จ.เชียงราย ศรีสะเกษ มหาสารคาม ตราด และชลบุรี

 



 



 
นอกจากนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 22 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 171 แห่ง โดยเป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับข้อมูลจากการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 13/2562 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.สถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อน อ่างฯ หลายแห่งยังคงมีปริมาณน้ำน้อย

 



 



 
กรมชลประทานจึงมีความต้องการขอรับการสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงให้กับเขื่อน อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์ต่ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ซึ่งมีจำนวน 13 แห่ง รวมถึงบริเวณพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะภัยแล้ง ได้แก่ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำมูลบน จ.นครราชสีมา เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี เขื่อนลำนางรอง อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จ.บุรีรัมย์ อ่างเก็บน้ำห้วยเหล่ายางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.หนองบัวลำภู อ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง จ.นครพนม      
 


อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จ.อำนาจเจริญ อ่างเก็บน้ำห้วยถ้ำแข้ จ.อุบลราชธานี อ่างเก็บน้ำห้วยเทียน จ.กาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยองโดยทางกรมฝนหลวงฯ จะเร่งดำเนินการวางแผนช่วยเหลือพื้นที่ดังกล่าวต่อไป ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ด้แสดงแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก ได้แก่ พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งทางกรมฝนหลวงฯจะนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจวางแผน  การขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงร่วมด้วย

 



 



 
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการพยากรณ์สภาพอากาศของ กรมอุตุนิยมวิทยา ว่าในช่วงวันที่ 25-27 มิ.ย. 2562 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย นั้น


สภาพน้ำท่าในแม่น้ำสายหลักต่างๆ ทั่วประเทศ ยังสามารถรองรับน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำต่างๆในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ ยังคงมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย

 



 



 
กรมชลประทาน ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่ง เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมไปถึงการตรวจสอบระบบและอาคารชลประทาน ให้สามารถรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ การกำจัดวัชพืชไม่ให้กีดขวางทางน้ำ และบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นตามแต่ละช่วงเวลา


ที่สำคัญได้กำชับให้เตรียมพร้อมทางด้านเครื่องจักรเครื่องมือ และกำลังเจ้าหน้าที่ประจำไว้ตามจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ ที่พร้อมจะเข้าไปปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิดด้วยทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถติดตามสถานการณ์น้ำได้ทาง https://www.rid.go.th และ wmsc.rid.go.th หรือติดตามข่าวสารได้ทางสื่อสังคมออนไลน์ FB : เรารักชลประทาน และ FB : ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ หรือโทรศัพท์สายด่วน กรมชลประทาน หมายเลข 1460 หรือ ติดต่อสอบถามได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน

 



 



Create Date : 25 มิถุนายน 2562
Last Update : 25 มิถุนายน 2562 23:23:20 น.
Counter : 884 Pageviews.

1 comment
"กยท."ฟันธงราคายางทะลุเกิน 60 บาทต่อกก.
"กยท."ดันโครงการถนนยางทุกชุมชนดูดซับยางพาราได้ปีละกว่าล้านตัน ยกเป็นผลงาน”กฤษฏาโมเดลการตลาดนำการผลิต  ชัวร์ราคายางทะลุเกิน 60 บาทต่อกก.

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่าจากนโยบายการตลาดนำการผลิต ของนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ ส่งผลแนวโน้มสถานการณ์ราคายางพาราในครึ่งปีหลังดีขึ้น

โดยกยท.ใช้มาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางด้วยการเข้าไปประมูลยางแผ่นรมควัน เพื่อดูดซับปริมาณยางส่วนเกินในตลาดกลางยางพาราของ กยท. ทำให้ปริมาณยางส่วนเกินลดลง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น



 






 
ส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์คู่แข่งยางธรรมชาติปรับราคาสูงขึ้นด้วย ตลาดผู้ใช้ยางจึงหันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้นด้วย ราคายางต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยางแผ่นดิบอยู่ที่ 55.99 บาทต่อกกิโลกรัม ยางแผ่นรมควันอยู่ที่ 59.75 บาทต่อกกิโลกรัม
 
"ส่วนราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา ยางแผ่นดิบอยู่ที่ 56.23 บาทต่อกิโลกรัม ราคายางแผ่นรมควันเฉลี่ยอยู่ที่ 60.05 บาทต่อกิโลกรัม"


 



 

 
 
รักษาการผู้ว่าฯกยท.กล่าวว่า สำหรับมาตรการเพิ่มการใช้ยางในประเทศนั้น ได้เดินหน้าโครงการสร้างถนนผสมยางพารา 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ล่าสุดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศใช้งบทำถนนพาราซอยซีเมนต์แทนถนนลูกรังปีละประมาณ 50,000 กิโลเมตร

ทั้งนี้ ถนน 1 กิโลเมตร ใช้ยางพารา 1.3 ตัน แต่ละปีจะใช้ปริมาณยางสร้างถนนไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านตัน ที่สามารถดูดซับปริมาณยางในตลาดได้จำนวนมาก ประกอบกับปัจจัยทางการเมืองที่รัฐบาลชุดใหม่ เน้นนโยบายสำคัญเรื่องยางพารา ต้องมีมาตรการสร้างเสถียรภาพราคาให้สูงขึ้น ส่งผลให้ราคายางครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะยางแผ่นรมควันราคาทะลุ 60 บาทต่อกิโลกรัมแน่นอน



 



 



 



Create Date : 25 มิถุนายน 2562
Last Update : 25 มิถุนายน 2562 22:29:05 น.
Counter : 804 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments