All Blog
"เกษตรฯ"เร่งขับเคลื่อนแปลงใหญ่ตามแผนเข้มงวด
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ ผ่านระบบ VDO Conference (Zoom) โดยมีผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว กรมหม่อนไหม การยางแห่งประเทศไทย กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมการประชุม




 





 
ที่ประชุมได้รับทราบและเห็นชอบแผนการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการฯ ของแปลงใหญ่ที่ได้รับการอนุมัติโครงการ จำนวน 3,381 แปลง และมีแปลงใหญ่ที่มีแผนดำเนินการเบิกจ่ายหลังวันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 280 แปลง

ได้เร่งรัดให้หน่วยงานรับผิดชอบทั้งหมด ควบคุม กำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนอย่างเข้มงวด โดยกำหนดการเบิกจ่ายงบประมาณของแปลงใหญ่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 นี้ และดำเนินการทุกกิจกรรมให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ซึ่งจะมีการติดตามผลเป็นระยะทุกเดือนผ่านการทำงานเชิงบูรณาการ ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ อันจะสร้างประโยชน์ในการขับเคลื่อนพัฒนาเกษตรกรแปลงใหญ่ของประเทศต่อไป





 



Create Date : 17 สิงหาคม 2564
Last Update : 17 สิงหาคม 2564 18:15:59 น.
Counter : 378 Pageviews.

0 comment
เกษตรกรชื่นใจ เฮรับ 2 เด้ง โครงการส่งเสริม-พัฒนาอาชีพ
"เกษตรกร"ชื่นใจ เฮรับ 2 เด้ง โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินฯช่วยให้มีที่อยู่ที่ทำกิน มีอาชีพ สร้างรายได้ยั่งยืน

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สศก. ได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร มาอย่างต่อเนื่อง

โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ภายใต้การใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้มีความกินดี อยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน




 







 
จากการลงพื้นที่เพื่อประเมินผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ในพื้นที่ ส.ป.ก. จ.สระแก้ว ที่ได้ดำเนินการจัดที่ดินให้ผู้ยากไร้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา พบว่า มีเนื้อที่ประมาณ 1,960 ไร่ เป้าหมายในการจัดเกษตรกรเข้าใช้ประโยชน์ 313 ราย

ขณะนี้ มีเกษตรกรเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่แล้ว 156 ราย เป็นการจัดสรรที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์รายละ 6 ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยรายละ 1 ไร่ และเป็นที่ทำกินรายละ 5 ไร่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทุกรายเป็นสมาชิกสหกรณ์ทางการเกษตรที่ได้จัดตั้งขึ้นในพื้นที่


นอกจากนี้ เกษตรกรได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างบ้าน มูลค่ารายละ 40,000 บาท ขณะนี้เกษตรกรมีการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ที่ได้รับ เช่น  ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งเลี้ยงสัตว์  (โคเนื้อ) ในพื้นที่บริเวณบ้าน ส่วนที่ทำกิน 5 ไร่





 










 
ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเพาะปลูกมันสำปะหลังเป็นหลัก ควบคู่กับการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารสัตว์ ทั้งนี้ มีเกษตรกรบางรายเพาะปลูกข้าวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนด้วย

ด้านผลสำรวจรายได้ ปีเพาะปลูก 2563/64 พบว่า เกษตรกรที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเฉลี่ย 2,968 บาทต่อไร่ สำหรับการเพาะปลูกข้าวและหญ้าเลี้ยงสัตว์นั้น เกษตรกรไม่ได้มีการจำหน่าย แต่นำข้าวมาบริโภคในครัวเรือน และนำผลผลิตจากหญ้าเลี้ยงสัตว์ใช้เป็นอาหารสำหรับโคเนื้อ ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลงได้เฉลี่ย 4,657 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ทั้งนี้ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้รวม 2.015 ล้านบาทต่อปี





 




 

ภาพรวมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พึงพอใจการดำเนินโครงการเป็นอย่างมาก เกษตรกรสามารถทำการเกษตรเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ รู้สึกถึงความมั่นคงในที่ดิน เนื่องจากเป็นการให้สิทธิ์ในการเข้าใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐได้เท่าเทียมกับพื้นที่อื่น

ในระยะถัดไป นอกเหนือจากการจัดที่ดินและส่งเสริมพัฒนาอาชีพทางการเกษตรในพื้นที่แล้ว ควรส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานของการรวมกลุ่มสหกรณ์เพื่อการผลิตและการตลาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่องซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างเต็มที่




 

 



Create Date : 17 สิงหาคม 2564
Last Update : 17 สิงหาคม 2564 18:08:00 น.
Counter : 345 Pageviews.

0 comment
"เกษตรกรปลื้ม"โครงการสร้างความเข้มแข็งเพิ่มรายได้กว่า 30% ต่อเดือน
โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี 64ช่วยเกษตรกรรวมกลุ่ม เพิ่มเครือข่าย มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ต่อเดือน

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตาม ผลการดำเนินงานโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งปีงบประมาณ 2564 มีเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1,723 กลุ่ม เกษตรกร 26,201 ราย รวม 77 จังหวัด

โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่าย สามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างยั่งยืน  พร้อมกับส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรด้วยการถ่ายทอดความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ได้มาตรฐาน




 





 
พัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่โครงการให้มีศักยภาพ มีความเหมาะสมในการผลิตพืช และใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการปีนี้ มีกรมหม่อนไหม กรมพัฒนาที่ดิน และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก         

จากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ปีงบประมาณ 2564 สำรวจตัวอย่างเกษตรกร 629 ราย  55 จังหวัด พบว่า เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมเกือบร้อยละ 100  สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการทำการเกษตรของตนเอง อาทิ การปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต  การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า

การออกแบบลวดลายผ้าไหม การฟอกย้อมสีจากธรรมชาติ และการทำแผนการผลิตของตนเองและกลุ่มเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม เป็นต้น เกษตรกรเพียงร้อยละ 1 ไม่ได้นำความรู้ไปใช้ เนื่องจากเห็นว่าอยู่ในช่วงของการระบาดโควิด-19 เศรษฐกิจไม่ดี การขายผลผลิตอาจไม่ดีตาม จึงยังไม่ได้นำไปปรับใช้





 










 
ด้านรายได้ พบว่า เกษตรกรมีรายได้ 9,396 บาทต่อเดือน จากที่ก่อนเข้าร่วมโครงการ มีรายได้ 7,045 บาทต่อเดือน (เพิ่มขึ้น 2,351 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33) โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เช่น เส้นไหม พืชผักสวนครัว กล้วย ผักกาด กะหล่ำ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยและจากเห็ด เป็นต้น

ในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร ยังช่วยให้เกษตรกรมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรถึงร้อยละ 92 เห็นว่าการเข้าร่วมโครงการส่งผลให้กลุ่มของตนเองมีการประสานงานเครือข่ายสะดวกยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าของกลุ่ม การจัดจำหน่าย ตลอดจนการได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่างๆ ร่วมกันซึ่งจะส่งผลต่อเกษตรกรในระยะยาว

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งเสริมและพัฒนาในพื้นที่ทำได้ยาก บางกิจกรรมต้องมีการรวมตัวของผู้สูงอายุ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ประกอบกับข้อจำกัดในบางพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้เข้าไปรวมตัวกันภายในชุมชน

เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโดยยังมีกลุ่มเกษตรกร ที่มีความต้องการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกกลุ่ม ซึ่งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายหรือเหมาะสมแล้ว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ในทันที




 



Create Date : 16 สิงหาคม 2564
Last Update : 16 สิงหาคม 2564 17:19:36 น.
Counter : 702 Pageviews.

0 comment
"ปชป."แจกต้นพันธุ์ฟ้าทะลายโจรหนุนปลูกต้านโควิค
ที่สำนักงานนายทินกร อ่อนประทุมประชาธิปัตย์ร้อยเอ็ดเขต 2 นายทินกร อ่อนปทุม คณะทีมงานที่ปรึกษารมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดที่ทำการเพื่อแจกจ่ายพันธุ์กล้าต้นพันธุ์ห้าทะลายโจร ให้กับประชาชน โดยมีเกษตรกรตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน "พืชสัตว์เศรษฐกิจใหม่และสมุนไพรทางการแพทย์ บ้านหมูม้น หมู่ 8" นำโดยนางราตรี พันทวีและนางวราลักษณ์ ยุระไชยเป็นตัวแทนมารับมอบต้นกล้าฟ้าทลายโจรเพื่อนำไปมอบให้หับประชาชน ในพื้นที่ได้ปลูกคนละ 10 ต้น




 





 
นายทินกร กล่าวว่า เบื้องต้น ได้มอบให้กับตัวแทนชาวบ้าน เพื่อส่งต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป โดยจะได้ครัวเรือนละ 10 ต้นเพื่อนำไปปลูกขยายเป็นพืชสมุนไพรประจำบ้านในต้าน ต้านโควิค ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้ต่อไป



 





 
โดยผู้ได้รับพันกล้าทั้งหมดจะต้องทำตามกะติการเพื่อเร่งรัดในการขยายพันธุ์ซึ่งมีกะติกาคือนำไปปลูกดูแลให้ได้เมล็ด(ห้ามตัดต้นขาย).แล้วนำเมล็ดไปเพาะต้นกล้ารุ่น 2 พร้อมทั้งนำต้นกล้า รุ่น 2 ส่วนหนึ่ง 70% ไปปลูกในแปลงของวิสาหกิจชุมชนเอง ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ ให้เป็นกิจการของกลุ่มเพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูกให้ได้มากที่สุด

ขณะเดียวกันก็จะต้องแบ่งต้นกล้ารุ่น 2 ส่วนหนึ่ง 30 % กลับส่วนกลาง เพื่อจะนำต้นกล้าไปมอบให้ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน-ตำบล นั้นๆ เพื่อขยายต่อไปเพื่อให้ครอบคุมในพื้นที่อย่างรวดเร็วเพื่อจะลดภาวะการขาดแคลนสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระยะยาวต่อไป

 


 
 


 



Create Date : 13 สิงหาคม 2564
Last Update : 13 สิงหาคม 2564 17:24:50 น.
Counter : 640 Pageviews.

0 comment
“ฟรุ้ทบอร์ด”เดินหน้าช่วยต่อเนื่องรองรับผลผลิตสิ้นฤดูกาล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำที่กระทรวงเกษตรได้เร่งแก้ปัญหาต่อเนื่องโดยเฉพาะมังคุด ภาคใต้ ที่ เร่งกระจายสินค้า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board) 

โดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ได้ออกมาตรการเชิงรุกทุกแพลตฟอร์มตามแผนบริหารจัดการผลไม้ประจำปีการผลิต2564 รวมทั้งการปรับกลยุทธ์ใหม่เน้นการบริโภคภายในประเทศทดแทนการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการโควิด19




 

 





 

 

จนสามารถดึงมังคุดออกจากแหล่งผลิตจนถึงวันนี้ได้กว่า 20,000 ตันทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 13-15 บาท สำหรับมังคุดเกรดคละและมังคุดเกรดคุณภาพ ราคาใกล้แตะที่กิโลกรัมละ 50 บาทแม้ว่ามีรายงานล่าสุดของกรมการค้าภายในว่าเป็นช่วงพีคที่มีผลผลิตมังคุดออกมามากที่สุดถึง 60,000 ตันภายในเดือนสิงหาคมจากยอดรวมผลผลิตมังคุดภาคใต้รวมทั้งฤดูกาล 1.5 แสนตัน แต่ก็สามารถยกระดับราคาได้เกินเป้าหมายจากมาตรการหลักมาตรการเสริมใหม่ๆและการแก้ไขปัญหาไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานดังกล่าวมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นมาตรการการเชื่อมโยงและกระจายมังคุดออกนอกแหล่งผลิต โดยสนับสนุนค่าบริหารจัดการแก่ศูนย์กระจายในจังหวัดแหล่งผลิต กก.ละ 3 บาท เพื่อกระจายมังคุดจำนวน 16,950 ตัน ออกนอกแหล่งผลิตโดยเร็ว มาตรการสนับสนุนค่าขนส่งและค่ากล่อง





 





 

โดยกรมการค้าภายในร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทยสนับสนุนกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีสติกเกอร์ติดกล่องทั้งกล่องฟรีและส่งฟรีผลไม้ทั่วประเทศจำนวน 200,000 กล่องๆ ละ 10 กก. เพื่อช่วยกระจายผลไม้ 2 ล้านกิโลกรัม มาตรการการกระจายมังคุดผ่านระบบร้านค้าส่ง-ค้าปลีก ร้านธงฟ้า และเครือข่ายบริษัมน้ำมันเช่นบริษัท พีทีจี เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) 

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เครือข่ายทายาทร้านค้าส่ง-ค้าปลีก (YTS) กว่า 100 สาขาทั่วประเทศบริษัทสยามแม็คโคร โลตัส เซ็นทรัล เดอะมอลล์ บิ๊กซี ซีพีออลล์ มากกว่า 1 ล้านกิโลกรัม ขณะเดียวกันสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น และสถานีการน้ำมันบางจาก ยังมีการแจกมังคุดให้ผู้บริการเติมน้ำมันในเขตกรุงเทพฯด้วย



 

 





 

ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ทั่วระบบล่าสุดนายเฉลิมชัย ได้สั่งการให้ฟรุ้ทบอร์ดเร่งช่วยเหลือชาวสวนลำไยและเงาะที่มีราคาลดลงในช่วงกลางฤดูผลิตและลองกองอีกกว่า4หมื่นตันที่กำลังจะออกมาเป็นการล่วงหน้าโดยด่วนด้วยพร้อมกันนี้ยังได้ขอบคุณและเชิญชวนทุกภาคส่วนช่วยกันสนับสนุนซื้อผลไม้ไทยเพื่อช่วยชาวสวนให้ได้ราคาที่เป็นธรรมมีรายได้เพิ่มขึ้นจนกว่าจะสิ้นสุดฤดูกาลผลไม้ปี2564

ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ.เช่นกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)เร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลไม้และระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)

รวมทั้งมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19(COVID Free)ตามยุทธศาสตร์เกษตรปลอดภัยและให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจภายใต้ฟรุ้ทบอร์ดจัดทำแผนปฏิรูปการบริหารจัดการผลไม้เชิงโครงสร้างทั้งระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาวภายใน90วันโดยมอบหมายให้ตนเป็นประธานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากทุกปีต่อไปด้วย



 




Create Date : 11 สิงหาคม 2564
Last Update : 11 สิงหาคม 2564 16:34:40 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments