All Blog
คุมเข้ม ! อหิวาต์​แอฟริกา​ตั้งวอร์รูมทุกจังหวัดชายแดน
"ปศุสัตว์"ตั้งวอร์รูมทุกจังหวัดตลอดแนวชายแดน คุมอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกรย ปูพรมตรวจเข้มทุกด่าน มีใบเคลื่อนย้ายสุกรพร้อมแจ้งที่หมายปลายทางในประเทศ เฝ้าระวังซากลูกสุกร นิยมทำหมูหัน​ ต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน​ ป้องกัน​ลักลอบนำเข้า​

นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวภายหลังเป็นประธา​นการประชุมกับผู้ประกอบการเลี้ยงสุกร ว่า​เตรียมความพร้อมมาตรการเผชิญเหตุ​ หากมีการระบาดระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร​ (ASF)

หลัง​จากองค์กร​โรคระบาด​สัตว์​ระหว่าง​ประเทศ​ (OIE) ประกาศ​พบการระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)​ ทั้งนี้​ได้ร่วมกันพิจารณาถึง​แนวทางป้องกัน​โรคไม่ให้เข้าประเทและเตรียมรับมือในกรณีพบการระบาดของโรคในประเทศไทย


รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า​ ได้สั่งการให้เพิ่มเข้มงวดในการป้องกันโรคดังนี้​ การเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรให้ตรวจสอบระบบการออกใบเคลื่อนย้ายภายในจังหวัดที่มีการประกาศเขตเฝ้าระวังโรคระบาด โดยให้ออกใบ ร.3 หรือ ร.4

รวมถึง​ต้องแจ้งปลายทางก่อนเคลื่อนย้าย อีกทั้งให้ตรวจสอบการเคลื่อนย้ายซากลูกสุกรที่นิยมมาทำหมูหัน​ โดยต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน​เพื่อ​ป้องกัน​การลักลอบนำเข้า​จากประเทศ​เพื่อนบ้าน​ ซึ่งต้องเชือดโดยโรงเชือดถูกกฎหมาย งระบุการเคลื่อนย้ายซากลูกสุกรเป็นจำนวนตัวเร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรรายย่อยในจังหวัดที่มีความเสี่ยงในการระบาดของโรค


สำหรับมาตร​การควบคุมการส่งออกอาหารสัตว์และวัตถุดิบไปยังประกัมพูชาและลาวให้กองควบคุม​อาหาร​และยาสัตว์​รวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการแล้วจัดประชุม​ปรับวิธีการขนส่ง โดยไม่ให้รถขนส่งเข้าสู่ฟาร์มที่มีการระบาด​

ให้สถาบัน​สุขภาพ​สัตว์​แห่งชาติ​เร่งอบรมการใช้เครื่อง​ตรวจ​สารพันธุกรรม​แบบเคลื่อนที่​ (Portable PCR) เพื่อ​ให้ตรวจ​วินิจฉัย​โรคได้เร็วในพื้นที่​เสี่ยง​ สำหรับ​การปราบปรามโรคเชือดเถื่อนและโรงเชือดที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นได้กำชับ​ให้มีพนักงานตรวจโรคก่อนเข้าเชือดเพื่อป้องกันการนำสุกรที่ป่วยเข้าเชือด


รองอธิบดี​กรมปศุสัตว์​ กล่าวว่า มาตรการตรวจสอบตลาดสดและเขียงขายเนื้อหมูทุกแห่ง​ต้องมีใบอนุญาตค้าซากและรับซากจากแหล่งที่ถูกต้องและปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณพรมแดน​

นอกจาก​นี้ต้องประชุมติดตามสถานการณ์​ของ​โรคที่ศูนย์​ปฏิบัติการ​ (War Room) ในจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับลาวและกัมพูชาเพื่อให้เกิดการตื่นตัวและสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน​ ขอให้ผู้ประกอบการร่วมมือสำรวจประชากรสุกรรอบๆ​ ฟาร์มในรัศมี 5-10 กิโลเมตร​เพื่อเป็นพื้นที่กันชนและช่วยเหลือไม่ให้เกิดโรคในฟาร์มเหล่านั้น


รวมทั้งให้ติดต่อ​ปศุสัตว์จังหวัดเพื่อขอทราบแผนปฏิบัติป้องกันโรคในพื้นที่สิ่งสำคัญ​ที่เน้นย้ำแก่ปศุสัตว์จังหวัดตามแนวชายแดน​คือ​ ให้ประสานงานกับแขวงต่างๆ​ ของ​ลาวเพื่อช่วยเหลือและร่วมมือและควบคุม​โรคในลาว​

"ล่าสุดทางการลาวได้แสดงความขอบคุณกรม​ปศุสัตว์​ไทยที่จัดส่ง​ยาฆ่าเชื้อและอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ASF ที่ด่านชายแดนระหว่างประเทศ"นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ กล่าว


ทั้งนี้สถานการณ์ระบาดในสปป.ลาวยังมีอย่างต่อเนื่องในเขต Toumlan จังหวัด Salavane หลัง​พบโรคครั้ง​แรกในเดือนมิถุนายน 2562 โดย Dr. Syseng KHOUNSY อธิบดีกรมปศุสัตว์และการประมงของลาวระบุว่า จะช่วยลดความเสี่ยงของการระบาดไปยังจังหวัดอื่นๆ

ทั้งนี้ได้แก่ Savannakhet Champasak Sekong และ Attapua ทั้งนี้​ไทยมอบอุปกรณ์บังคับสุกรชนิดสั้น 50 ชิ้น อุปกรณ์บังคับสุกรชนิดยาว 50 ชิ้น เครื่องพ่นชนิดสะพายหลัง 30 เครื่อง เครื่องพ่นยาขนาดใหญ่ 10 เครื่อง น้ำยาฆ่าเชื้อ 200 ลิตร


รวมทั้งเครื่องช็อตทำสลบไฟฟ้า 200 เครื่อง​ ทั้งนี้หากเกษตรกร ผู้ประกอบการ​ หรือสมาคม​ผู้เลี้ยง​สุกรต้องการ​สิ่งใด​เพิ่ม​กรมปศุสัตว์ไทยยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ตามหลักการความร่วมมือของภาครัฐ​และเอกชน​ระหว่าง​ประเทศ​


 




 



Create Date : 25 มิถุนายน 2562
Last Update : 25 มิถุนายน 2562 22:11:40 น.
Counter : 898 Pageviews.

1 comment
คนแรกของประเทศ ! นายกฯสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย
“ฉัตรกมล มุ่งพยาบาล”คว้านายกฯสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย คนแรกของประเทศ กษ.พร้อมเตรียมเจาะตลาดใหม่ส่งออกทุเรียนจากตลาดจีนเป็นหลัก รองรับผลผลิตมากขึ้นหลังเพิ่มพื้นที่ปลูก 32 จว.กว่า 8.3 แสนไร่ 

flowers-icon (87)นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพจัดการเลือกตั้งนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย  คนแรกของประเทศไทย โดยมีกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และกลุ่มปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ทั่วประเทศเข้าร่วม เปิดเผยว่าผลจากการเลือกตั้ง

ปรากฏว่า นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล จังหวัดชุมพร ได้รับการแต่งตั้ง  เป็นนายกสมาพันธ์คนแรก ที่มีสโลกแกน วิสัยทัศน์ สร้างความเข้มแข็ง มั่นคง และประสานประโยชน์ความร่วมมือเพื่อชาวสวนทุเรียนให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพส่วนอุปนายก มี 3 คน ประกอบด้วย นายธีรภัทร อุ่นใจ จ.จันทบุรี นายสัมฤทธิ์ ม่วงประเสริฐ จ.ศรีสะเกษ และนายประโยชน์ พรหมสุวรรณ จ.ประจวบคีรีขันธ์



 





 




 



 
 
flowers-icon (87)อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ทุเรียนเป็นราชาผลไม้ไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ มีความสำคัญต่อภาคเกษตรไทยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก กระแสความนิยมของการปลูกทุเรียนในปัจจุบันนับว่ามีทิศทางที่สูงขึ้น เห็นได้จากการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งประเทศขณะนี้มีมากถึง 32 จังหวัด (ข้อมูลเอกภาพสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2561)

ข้อมูลสถานการณ์การผลิตทุเรียนทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 – 2561 พบว่า เนื้อที่ยืนต้นเพิ่มขึ้นจาก 666,505 ไร่ เป็น 839,725 ไร่ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.62 เนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจาก 570,567 ไร่ เป็น 654,509 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.82 เมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจาก 631,774 ตัน เป็น 737,065 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.29


flowers-icon (87)ขณะที่มูลค่าและปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2561 เป็นเงิน 35,333 ล้านบาท ปริมาณ 530,226 ตัน ซึ่งเพิ่มจากปี 2560 ที่มีมูลค่า 24,847 ล้านบาท ปริมาณ 513,883 ตัน และจากข้อมูล 4 ปีที่ผ่านมา (2558 – 2561) ประเทศไทยส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีประเทศจีนเป็นตลาดหลักในการส่งออก

กรมฯในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ตระหนักถึงแนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งประเทศ ในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557 - 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 655,505 ไร่ เป็น 839,725 ไร่ โดยมีเกษตรกรที่มีความสามารถโดดเด่นเป็นเกษตรกรต้นแบบที่ดี (best practice) พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่ปลูกทุเรียน ซึ่งกระจัดกระจายหลายภาคทั่วประเทศ


flowers-icon (87)การจัดตั้งสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยครั้งนี้ จะทำให้เกิดการผลิตทุเรียนคุณภาพสร้างมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อให้ทุเรียนเป็นต้นแบบการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ด้วยความสามารถขององค์กรเกษตรกรเอง มีการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดรวมทั้งมองถึงการแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาตลาดผูกขาดอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทุเรียนในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนจะได้ปรับเปลี่ยนการผลิต มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนในการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น มีการวางแผนที่ดีลดความเสี่ยงการผลิตสินค้าซึ่งมากเกินความต้องการ ถือเป็นการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศ ด้วยวิถีทาง แห่งนวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามนโยบายเกษตร 4.0




 






 



Create Date : 24 มิถุนายน 2562
Last Update : 24 มิถุนายน 2562 19:11:36 น.
Counter : 779 Pageviews.

1 comment
ส่อระบาดวงกว้าง"ปศุสัตว์"ตั้งวอร์รูมอหิวาต์แอฟริกาเตือนเกษตรกร
"ปศุสัตว์"ตั้งวอร์รูมอหิวาต์แอฟริกาเตือนเกษตรกร ฟาร์มเลี้ยง พบอาการผิดปกติรีบแจ้งทันทีตลอด24ชม.แนวโน้มระบาดวงกว้าง ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร 11 ชนิด 19 ประเทศ

NB4นายสัตวแพยท์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF) โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ฟาร์มสุกร สามารถดาวน์โหลดแอพพิเคชั่นDLD4.0 ของกรมปศุสัตว์ได้ตลอด 24 ชม.หรือแจ้งสายด่วนโทร06-3225-6888

ทั้งนี้เพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านปศุสัตว์และกรณีได้รับผลกระทบด้านปศุสัตว์จากน้ำแล้ง ภัยแล้ง แจ้งการเกิดโรคระบาด แจ้งเบาะแสการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ต่างๆที่กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบ แจ้งเฝ้าระวังทางอาการโรคระบาด


NB4นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งในเอเซียและยุโรป รวม 19 ประเทศ ซึ่งเป็นโรคไวรัสที่ระบาดในสุกร เมื่อเกิดโรคจะทำให้ตายเป็นจำนวนมาก ยังไม่มีวัคซีนและวิธีการรักษาที่จำเพาะ แม้ไม่ติดต่อสู่คนแต่สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือซากได้นานหลายเดือน

ประเทศที่มีการระบาดจะมีผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทยยกระดับมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นวาระแห่งชาติ ร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้า เพื่อเร่งดำเนินการไม่ให้โรคเข้าไทย ดังนั้นผู้เลี้ยงสุกรต้องเฝ้าระวังโรคใกล้ชิด สังเกตอาการสัตว์เลี้ยง


NB4หากพบผิดปกติรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีเข้าทำลายฝั่งกลบ เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือชดเชยตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ โดยอาการของโรค ตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแตก มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำ เฉพาะใบหู ท้อง ขาหลัง และมีอาการทางระบบอื่น

ทั้งนี้ช่นทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร การแท้งในทุกช่วงของการตั้งท้อง จะพบได้ทุกกลุ่มและทุกช่วงอายุ อัตราป่วย 100% อัตราตาย 30%-100% ส่วนในลูกสุกรอัตราการตาย 80-100% ภายใน 4 วัน เมื่อพบสุกรป่วยตายผิดปกติ หรือมีอาการตามนิยามโรค มาตรการป้องกัน เข้มงวดระบบการป้องกันโรค เช่น รู้แหล่งที่มาของสุกร ห้ามคนนอกเข้าฟาร์ม


NB4ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อเร่งดำเนินการช่วยเหลือ หรือติดต่อcall center หรือผ่านแอพพิเคชั่นDLD4.0แจ้งการเกิดโรคระบาด ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรออกจากฟาร์มนายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าส ถานการณ์แนวโน้มของโรคระบาดยังแพร่กระจายเป็นวงกว้าง เช่นประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนประเทศไทยยังไม่เคยพบการระบาดของโรคนี้

โดยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทุกหน่วยงานบูรณาการ วางมาตรการคุมเข้มห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสุกร เข้าประเทศอย่างเด็ดขาด จากประเทศที่มีการระบาด เช่นกุนเชียง ไส้กรอกทุกชนิด มั้มหรือหม่ำ หรือซาลามี แหนม หรือจิ้นส้ม แฮมทุกชนิด เบคอนทุกชนิดเนื้อหมูรมควัน เนื้อหมูดอง เนื้อหมูเบอร์เกอร์ เนื้อหมูหมักเกลือ เนื้อหมู


NB4โดยมีระยะฟักตัวของโรค 5-15วัน ซี่งสุกร มีการติดต่อของโรคจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของสุกรป่วย การหายใจเอาเชื้อเข้าไป การกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน โดนเห็บที่มีเชื้อกัด เสื้อผ้าอุปกรณ์ปนเปื้อนเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไวรัสได้




 


























 

 
 




 



Create Date : 24 มิถุนายน 2562
Last Update : 24 มิถุนายน 2562 18:54:34 น.
Counter : 949 Pageviews.

1 comment
"ลาว"ขอบคุณไทยส่งอุปกรณ์ฆ่าเชื้ออหิวาต์
"อธิบดีกรมปศุสัตว์"สปป.ลาวขอบคุณไทยช่วยส่งอุปกรณ์การฆ่าเชื้อและอุปกรณ์สำหรับการตอบสนองการระบาดของ อหิวาห์แอฟริกาในสุกร ลดความเสี่ยงแพร่กระจายจาก สะหวันนะเขต ไปจังหวัดอื่นในลาว
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าดร.ศรีแสง ขุนศรี อธิบดีกรมปศุสัตว์และการประมง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสันติภาพเอกภาพความเจริญรุ่งเรืองกระทรวงเกษตรและป่าไม้ ได้ส่งหนังสือขอบคุณเรื่อง การขออุปกรณ์สนับสนุนสำหรับการระบาดของโรค ASF ในจังหวัด Salavane

กรมปศุสัตว์และการประมง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขอแสดงความขอบคุณ กรมปศุสัตว์ของประเทศไทยในการให้ยาฆ่าเชื้อและอุปกรณ์ในการป้องกัน ASF ณ ด่านชายแดนระหว่างประเทศเนื่องจากการระบาดอย่างต่อเนื่องของ ASF ในเขต Toumlan จังหวัด Salavane เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2562


 
เราจึงขอการสนับสนุนเพื่อการควบคุมการระบาดของ ASF จากกรมปศุสัตว์แห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการฆ่าเชื้อและอุปกรณ์สำหรับการตอบสนองการระบาดของ ASF เพื่อลดความเสี่ยง การระบาดของโรคนี้แพร่กระจายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ สะหวันนะเขต Champasak, Sekong และ Attapua ดังนี้

อุปกรณ์บังคับสุกรชนิดสั้น 50 ชิ้น อุปกรณ์บังคับสุกรชนิดยาว 50 ชิ้น เครื่องพ่นชนิดสะพายหลัง 30 เครื่อง เครื่องพ่นยาขนาดใหญ่ 10 เครื่อง น้ำยาฆ่าเชื้อ 200 ลิตรและเครื่องช๊อตทำสลบไฟฟ้า 200 ลิตร 


 




 



Create Date : 23 มิถุนายน 2562
Last Update : 23 มิถุนายน 2562 8:07:22 น.
Counter : 781 Pageviews.

0 comment
"อหิวาต์ระบาด"ปศุสัตว์ห้ามนำเข้าหมูลาว
ด่วน ! อธิบดีกรมปศุสัตว์ ออกประกาศห้ามนำเข้าสุกร หมูป่า ซากสุกร ซากหมูป่า จากสปป.ลาว 90 วัน คุมโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาสุกร หลังลามหนักในลาวกว่า7จุดสุกรป่วยตายแล้วเกือบ 2 พันตัว  


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าได้ออกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องชะลอการนำเข้า หรือนำผ่าน ราชอาณาจักร ซึ่งสุกร หมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ.2562 ด้วยองค์การสุขภาพสัตว์โลก(โอไออี.)

ได้รายงานสภานการณ์โรคการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร ในหมู่บ้าน ณ แขวงสาละวัน สปป.ลาว ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวสามารถแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางได้ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค

หรือซากของสัตว์ซึ่งป่วยหรือตายโดยโรคระบาดดังกล่าวไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวมีโอกาส แพร่กระจายเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อกระทบต่ออุตสาหกรรมการการเลี้ยงดูสุกร และหมูป่าในประเทศ



 


 
 
ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา6 ประกอบมาตรา33แห่ง พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ ที่มีแหล่งกำเนิดจากสปป.ลาว ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับใช้เป็นเวลา90วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกบา ประกาศณ วันที่21มิ.ย.2562

นายสัตวแพท์สรวิศ กล่าวว่าประกาศโรคASFครั้งแรกในสปป.ลาว โดยข้อสั่งการ เนื่องจากความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ขอให้ทุกจังหวัดในเขต3 4 5 เฝ้าระวังอย่างสูงสุด เข้มข้นที่สุด โดยนำเอาคำแนะนำที่แจ้งในการปฏิบัติงาน อย่างเคร่งครัด


และมีการรายงานตามระบบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และขอให้นำเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมการจังหวัดในวันประชุมประจำเดือนด้วย

 

 

 
 
“โอไออี ประกาศการเกิดโรค ASF ระบาดในประเทศลาว ซึ่งเป็นการระบาดในประเทศครั้งแรก โดยพบการระบาด 7 เคส ที่จังหวัดสาละวัน เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดฟาร์มเลี้ยงสุกรน้อยสุด จำนวน 80 กว่าตัว และขนาดฟาร์มที่มีการเลี้ยงใหญ๋สุดตอนนี้ประมาณ 400 ตัว" 

ในขณะที่ประกาศนี้ พบการป่วยและการตาย จำนวนอย่างละเท่าๆ กันทุกฟาร์ม คือ จำนวนหมูในฟาร์มที่พบจะเป็นจำนวนหมูป่วยครึ่งหนึ่ง และตายครึ่งหนึ่ง จุดเกิดเหตุที่เกิดการระบาดในครั้งนี้ นับระยะทางห่างจากชายแดนจังหวัดอุบลราชธานีเพียง 170 กิโลเมตร

ทำให้เกิดความน่าเป็นห่วงกับพื้นที่การเลี้ยงสุกรในภาคอีสาน วันนี้ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันผนึกกำลังเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดอย่างเข้มงวด”อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

 
 

 
 
 
ทั้งนี้ล่าสุดสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร( ASF)ลาว ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2562 โดย OIE ประกาศการเกิด ASF ในประเทศลาว (ซึ่งเป็นการระบาดในประเทศครั้งแรก) จำนวน 7 เคส ใน

1)ตำบล Samakkhixay อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 394 ตัว ป่วย 194 ตัว ตาย 194 ตัว
2)ตำบล DineDak
อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 398 ตัว ป่วย 194 ตัว ตาย 194 ตัว
3)ตำบล Phonengam อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 95 ตัว ป่วย 36 ตัว ตาย 36 ตัว
4)ตำบล Kaenghang
อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 82 ตัว ป่วย 34 ตัว ตาย 34 ตัว
5)ตำบล Nalachang อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 111 ตัว ป่วย 81 ตัว ตาย 81 ตัว
6)ตำบล Houava
อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 323 ตัว ป่วย 59 ตัว ตาย 59 ตัว
7)ตำบล Nahong Gnai อำเภอ Toumlan จังหวัด สาละวัน ฟาร์มนี้เลี้ยงสุกร 788 ตัว ป่วย 375 ตัว ตาย 375 ตัว



 



 

 



Create Date : 22 มิถุนายน 2562
Last Update : 23 มิถุนายน 2562 8:07:08 น.
Counter : 1001 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments