All Blog
ด่วน ! ยกระดับคุมเข้ม"ลัมปี สกิน"
"อธิบดีกรมปศุสัตว์"ทำหนังสือด่วนถึงผู้ว่าราชจังหวัด ร่วมยกระดับควบคุมเข้มการระบาดของโรคลัมปี สกิน พื้นที่ใกล้ผืนป่า ป้องกันไม่ให้ระบาดสู่สัตว์ป่า เร่งจัดสรรวัคซีน 5 ล้านโดสแล้ว มั่นใจโรคสงบใน 3 เดือนหลังฉีดวัคซีนครอบคลุม
 
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือยกระดับการควบคุมการระบาดของโรคลัมปี สกิน โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้เขตป่า หลังจากที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชรายงานพบกระทิงที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ติดโรคลัมปี สกิน โดยจะประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดร่วมเฝ้าระวังด้วย

โดยสั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอเตรียมเข้าฉีดพ่นสารกำจัดแมลงพาหะบริเวณคอกโค-กระบือของชาวบ้านเพื่อไม่ให้บินไปกัดสัตว์ป่าได้แก่ กระทิง วัวแดง และควายป่า รวมทั้งแนะนำให้เกษตรกรกางมุ้งที่คอกสัตว์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการป้องกันโรคในสัตว์ที่เลี้ยงไว้ด้วย

ขณะเดียวกันยังจะเร่งจัดสรรวัคซีน 5 ล้านโดสที่ครม. อนุมัติงบกลางให้จัดซื้อตามแผนบริหารจัดการที่วางไว้เพื่อควบคุมโรค โดยจะจัดสรรให้ปศุสัตว์เขต 1 จำนวน 224,100 โดส ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง





 






 
ปศุสัตว์เขต 2 จำนวน 130,100 โดสประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ และสระแก้ว ปศุสัตว์เขต 3 จำนวน 1,623,300 โดส ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ปศุสัตว์เขต 4 จำนวน 1,127,900 โดส ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี ปศุสัตว์เขต 5 จำนวน 405,600 โดส ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน

ปศุสัตว์เขต 6 จำนวน 376,600 โดส ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ปศุสัตว์เขต 7  นวน 563,400 โดส ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรีราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี

ปศุสัตว์เขต 8 จำนวน 341,300 โดส ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี และปศุสัตว์เขต 9 จำนวน 207,700 โดส ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล

อธิบดีกรมปศุสัตว์ย้ำว่า แผนกระจายวัคซีนเป็นไปตามหลักวิชาการอย่างทั่วถึงเป็นธรรม โดยครอบคลุมประชากรโค-กระบือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชากรสัตว์กลุ่มเสี่ยงทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีโค-กระบือรวม 10,249,349 ตัว แบ่งเป็นโคเนื้อ  7,969,519 ตัว โคนม 811,688 ตัว กระบือ 1,568,042 ตัว ซึ่งการฉีดวัคซีนลัมปี สกิน ของกรมปศุสัตว์นั้น ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ จากเกษตรกรทั้งสิ้น
 
ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดล่าสุด มีสัตว์ที่ป่วยทั้งหมด 430,181 ตัว โดยเป็นโคนม 5,075 ตัวโคเนื้อ 422,679 ตัว กระบือ 2,427 ตัว ตายสะสม รวม 24,922 ตัว โคนม 226 ตัว โคเนื้อ 24,515 ตัว กระบือ 181 ตัว  หายป่วยสะสมรวม 201,886 ตัว โคนม 1,364 ตัว โคเนื้อ 199,552 ตัว กระบือ 970 ตัว

ปัจจุบันสถานการณ์พบสัตว์ป่วยใหม่มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก มั่นใจว่า เมื่อดำเนินการฉีดวัคซีนตามเป้าหมาย โรคจะสงบได้ภายใน 3 เดือน ส่วนกรณีของการเยียวยาโค-กระบือที่ป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เพื่อช่วยเกษตรกรให้มากที่สุด






 




 



Create Date : 16 กรกฎาคม 2564
Last Update : 16 กรกฎาคม 2564 14:43:02 น.
Counter : 564 Pageviews.

0 comment
"ฟรุ้ทบอร์ด"ลุยแก้ปัญหาผลไม้ 1.5 ล้านตัน ฝ่าวิกฤตโควิด-19  
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด ( คพจ. )

เป็นกลไกแกนหลักของฟรุ้ทบอร์ดเร่งทำงานเชิงรุกดูแลผลไม้ภาคใต้และลำไยภาคเหนือ ภายใต้แผนปฏิบัติการปี 2564 ของฟรุ้ทบอร์ดโดยเฉพาะในช่วงพีคของฤดูกาลผลิตปีนี้โดยให้ขับเคลื่อนแผนการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศและให้ใช้แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกที่เพิ่งผ่านมาเป็นตัวอย่าง

ทั้งเรื่องราคาและตลาดจากการทำงานเชิงรุกและเพิ่มกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ เช่น ระบบสั่งซื้อล่วงหน้า (Pre-order) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในการส่งออกทุเรียนไปตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังได้ย้ำเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด





 






 
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 4/2564 ผ่านระบบ ZOOM ร่วมกับ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชน

ได้มีการพิจารณาประเด็นสำคัญ อาทิ การเพิ่มครัวเรือนเป้าหมายโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563  ผลการบริหารจัดการผลไม้ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม - มิถุนายน) ในพื้นที่ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) และภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) การประเมินสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2564 (ภาคเหนือ และภาคใต้)

โดยได้เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564 แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 และการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหามะม่วงของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดชัยภูมิ พร้อมทั้งพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ดูแลตามห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Value chain) ตามพื้นที่การผลิต (Areas -Products base) และคณะทำงานด้านระบบข้อมูลโลจิสติกส์ และคณะศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าเช่นลำไยด้วยเพื่อแก้ปัญหาทั่งระบบด้วย





 






 
สำหรับโครงการเยียวยาชาวสวนลำไย ฤดูกาลผลิตปี 2563  ได้ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนเงินให้เกษตรกร ที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 154 ราย

ขณะนี้มีเกษตรกรจำนวน 201,986 ราย ได้รับเงินเยียวยากว่า 2,858,355,450 บาท แล้วส่วนผลการบริหารจัดการผลไม้ ฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม - มิถุนายน) ภาคเหนือ ผลผลิตลิ้นจี่ มีปริมาณผลผลิตทั้งหมด 27,952 ตัน ในภาพรวมส่วนใหญ่มีการบริโภคในประเทศ 23,620 ตัน หรือร้อยละ 84.51 แปรรูป 2,131 ตัน หรือร้อยละ 7.62 และ ส่งออก 2,201 ตันหรือร้อยละ 7.87 ในส่วนของภาคตะวันออก ที่มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 900,126 ตัน

ประกอบด้วย ทุเรียน 575,542 ตัน มังคุด 106,796 ตัน เงาะ 197,708 ตัน และลองกอง 20,080 ตัน มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วรวมทั้งหมด 830,870 ตัน คิดเป็นร้อยละ 92.31 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2564) ซึ่งขณะนี้ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาล โดยมีการเน้นการป้องปรามทุเรียนอ่อน โดยจังหวัดได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อนไม่ให้ออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อช่วยสกัดกั้นทุเรียนอ่อน โดยใช้บทลงโทษทางกฎหมาย





 






 
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่ การเชื่อมโยงตลาด ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีโดยAICและหน่วยงานส่งเสริมต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลไม้และผลไม้อัตลักษณ์ตลอดจนการจัดทำแปลงเรียนรู้การส่งเสริมการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และ GI

การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ สหกรณ์ และศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน การตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้ QR Code เป็นต้นขณะเดียวกันที่ประชุมได้ร่วมหารือแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564-2565 มีการประเมินผลผลิตที่ 683,435 ตัน ใช้บริโภคสดภายในประเทศ 101,543 ตัน แปรรูป 438,420 ตัน ส่งออก 143,472 ตัน

ขณะนี้ราคาลำไยสดช่อเกรด AA เท่ากับ 32 บาท/กิโลกรัม เกรด AA+A เท่ากับ 31 บาท/กิโลกรัม โดยกระจายผลผลิตผ่านล้งภายในประเทศ วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ห้าง Modern Trade ระบบของไปรษณีย์ไทย การตลาดออนไลน์และตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจัดจำหน่ายตรงผู้บริโภค การบริโภคในครัวเรือน เป็นต้น





 






 
ที่ประชุมได้มีมติให้เร่งรัดดำเนินการด้านแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 รวมปริมาณทั้งสิ้น 824,728 ตัน โดยเป็นทุเรียน 554,459 ตัน มังคุด 165,838 ตัน เงาะ 62,510 ตัน ลองกอง 41,921 ตัน

มีแนวทางการกำกับ ติดตาม เฝ้าระวังช่วงปริมาณผลผลิตออกมาก (Peak) ปี 2564 และแจ้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) บริหารจัดการเชิงรุกผลไม้ในพื้นที่พร้อมกำกับดูแลในพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนแรงงานและราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกปริมาณมาก (Peak) 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด19 ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้รับผลกระทบ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยกับชาวสวนมะม่วงที่ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับชาวนา และชาวสวนลำไย

เสนอขอชดเชยไร่ละ 2,000 บาท คนละไม่เกิน 25 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท และการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ตกต่ำในพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 8,920  ครัวเรือน พื้นที่ 15,057 ไร่ ผลผลิต 11,292 ตัน โดยประสงค์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อชดเชยราคาผลผลิตมะม่วง จำนวน 535,930,250 บาท

เป็นการขับเคลื่อนตามโมเดลเกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต โดยบูรณาการทุกภาคส่วน และใช้เทคโนโลยีในการผลิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรต่อไปอย่างยั่งยืน




 



 



Create Date : 12 กรกฎาคม 2564
Last Update : 12 กรกฎาคม 2564 17:10:58 น.
Counter : 444 Pageviews.

0 comment
สุดปัง ! ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ GI สร้างกำไรเกือบสองแสนต่อไร่
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ GI" สร้างกำไรเกษตรกรปีละ 185,570 บาท คาดปีนี้ ผลผลิตกว่า 4,200 ตันเตือนเกษตรกร-พ่อค้า ห้ามแอบอ้างชื่อทุเรียนฯ หากฝ่าฝืนจะมีโทษ  

นางประเทือง วาจรัต รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่าจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการโดยการบูรณาการร่วมกันทุก ๆ ภาคส่วน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ประชาชน มีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
 
โดยประกาศเป็นวาระจังหวัดศรีสะเกษ 10 วาระ ซึ่ง“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”เป็นหนึ่งในวาระการขับเคลื่อนประเด็นเกษตรบูรณาการ โดยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมีชื่อเสียงทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผู้ค้า ในด้านของคุณภาพและความปลอดภัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ณ เมษายน 2564 มีเนื้อที่ปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ 8,404 ไร่ เนื้อที่ให้ผล 3,479 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4,213 ตัน/ปี โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร (ข้อมูล ณ เมษายน 2564) จำนวน 1,220 ราย มีพื้นที่ปลูกครอบคลุมใน 3 อำเภอ 
 
ทั้งนี้ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ ขุนหาญ และศรีรัตนะ ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินมีลักษณะเหนียว สีแดง ระบายน้ำดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า 50-100 เมตร ในการให้น้ำผลไม้ 
 
ส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน ผลผลิตทุเรียน  จึงมีรสชาติดี เนื้อทุเรียนแห้งและนุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะ สำหรับสายพันธุ์ทุเรียนที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ พันธุ์หมอนทอง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สศท.11 ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์ผลิตทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 18,430 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 5) เกษตรกรปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนพฤษภาคม -สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัม/ไร่/ปี(ทุเรียน 1 ลูก มีน้ำหนักเฉลี่ย 2 – 4กิโลกรัม) 
 
เกษตรกรได้ผลตอบแทน 204,000 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 185,570 บาท/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 160 – 180 บาท/กิโลกรัม (ขายแบบคละทั้งหมด) สำหรับปีนี้ ผลผลิตได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และจะออกต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดทั้งหมด กว่า 4,200 ตัน  

ด้านตลาดทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 70 จำหน่ายให้กับล้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ได้แก่อุบลราชธานี ยโสธร และสุรินทร์ รองลงมาร้อยละ 26 จำหน่ายที่สวนให้กับ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือนักท่องเที่ยวทั่วไป และผลผลิตอีกร้อยละ 4 จำหน่ายผ่านทางออนไลน์ ได้แก่ https://www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com และ https://www.lavadurian.com

ในส่วนของจังหวัดศรีษะเกษ ได้มีนโยบายในการสนับสนุนด้านการเพาะปลูก การตลาด การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตลอดจนมาตรฐานของสินค้าเพื่อให้ผลผลิตของเกษตรกร มีคุณภาพ ตลอดทั้งการปลูกพืชหลากหลาย เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และส่งเสริมเกษตรกรขายผ่านตลาดออนไลน์มากขึ้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เกษตรกรและผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของทุเรียน และอย่าตัดทุเรียนอ่อนหรือด้อยคุณภาพออกจำหน่าย รวมถึงทางจังหวัดได้มีการประกาศห้ามแอบอ้างใช้ชื่อทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ โดยจังหวัดได้แต่งตั้งสารวัตรทุเรียนคอยตรวจอย่างเข้มงวด 
 
หากผู้ซื้อหรือผู้บริโภครายใดได้รับความเดือดร้อนจากการซื้อทุเรียนด้อยคุณภาพจากแหล่งกำเนิดในจังหวัดศรีสะเกษ โปรดแจ้งความดำเนินคดีได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง หรือร้องเรียน ร้องทุกข์ ผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดศรีสะเกษ สายด่วน 1567 ท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตทุเรียนดินภูเขาไฟศรีสะเกษ สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีษะเกษ โทร 0 4561 1397 และ สศท.11 อุบลราชธานี โทร 0 4534 4654 หรืออีเมล zone11@oae.go.th
 
 
 
 

 



Create Date : 09 กรกฎาคม 2564
Last Update : 9 กรกฎาคม 2564 18:04:48 น.
Counter : 409 Pageviews.

0 comment
"Fruit Board"สรุปแผนบริหารจัดการผลไม้เหนือ-ใต้ทยอยสู่ตลาด
"กรมส่งเสริมการเกษตร"ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เผยสรุปผลการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 พร้อมแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) และภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลการบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม – มิถุนายน) ภาคเหนือ ฤดูกาลผลิตลิ้นจี่ ปี 2564 มีปริมาณผลผลิตทั้งหมด 30,716 ตัน 
 
ขณะนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ผลการบริหารจัดการลิ้นจี่ของทั้ง 4 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่าน ผลผลิตมุ่งเน้นกระจายออกสู่ตลาด ซึ่งมีปริมาณผลผลิตทั้งหมดคงเหลือ 27,952 ตัน น้อยกว่าข้อมูลประมาณการผลผลิต 2,764 ตัน 
 
เนื่องจากประสบภาวะพายุฤดูร้อนช่วงเดือนพฤษภาคม ในภาพรวมส่วนใหญ่มีการบริโภคในประเทศ 23,620 ตัน หรือร้อยละ 84.51 แปรรูป 2,131 ตัน หรือร้อยละ 7.62 และ ส่งออก 2,201 ตันหรือร้อยละ 7.87  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ส่วนผลการบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และจังหวัดตราด ปริมาณรวมทั้งสิ้น 900,126 ตัน ในฤดูกาลผลิตตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วรวมทั้งหมด 830,870 ตัน คิดเป็นร้อยละ 92.31 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2564) 
 
ขณะนี้ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาลผลิตและคาดว่าจะมีการประชุมสรุปผลในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2564  โดยทุเรียน มีปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วทั้งหมด 567,215 ตัน คิดเป็นร้อยละ 98.55 
 
ปริมาณผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดมากที่สุด ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2564 จำนวน 68,796 ตัน คิดเป็นร้อยละ 12.13 ของปริมาณทั้งหมด  มังคุด มีปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วทั้งหมด 80,665 ตัน คิดเป็นร้อยละ 75.53 ปริมาณ
 
ผลผลิตมังคุดออกสู่ตลาดมากที่สุด ระหว่างวันที่ 14 – 20 มิถุนายน 2564 จำนวน 11,163 ตัน คิดเป็นร้อยละ 13.84 ของปริมาณทั้งหมด เงาะ มีปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วทั้งหมด 174,499 ตัน คิดเป็นร้อยละ 88.26 ปริมาณผลผลิตเงาะออกสู่ตลาดมากที่สุด ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2564 จำนวน 23,504 ตัน คิดเป็นร้อยละ 13.47 ของปริมาณทั้งหมด ลองกอง มีปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วทั้งหมด 8,491 ตัน คิดเป็นร้อยละ 42.29 ซึ่งในขณะนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยังไม่ถึงร้อยละ 50
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
ขณะนี้เป็นช่วงที่ลำไยทางภาคเหนือและผลไม้ทางภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) กำลังทยอยให้ผลผลิตออกสู่ตลาด  ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ที่มีนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้อนุมัติแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564 จำนวน 683,435 ตัน ของ 8 จังหวัดภาคเหนือ 
 
ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง แพร่ และจังหวัดตาก ซึ่งผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน และแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 รวม 824,728 ตัน ของ 14 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา กระบี่ พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส 
 
โดยแผนบริหารจัดการในฤดู ให้มีการกระจายภายในประเทศ ด้วยวิธีการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านผู้ประกอบการ (ล้งภายในประเทศ) วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร Modern Trade ไปรษณีย์/ตลาดออนไลน์ ตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจำหน่ายตรงผู้บริโภค การบริโภคภายในครัวเรือน การจัดงานประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ เช่น รถเร่ ตลาดริมทาง ฯลฯ รวมถึงให้มีการแปรรูปและส่งออก

ทั้งนี้ แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) และแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 นั้น ให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 - 2566 ตามมติคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2564 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กล่าวคือจังหวัดวางแผนการบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2558 – 2564 และในเชิงปริมาณเน้นการจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน ครอบคลุมระยะก่อนเก็บเกี่ยว ระยะเก็บเกี่ยว และระยะหลังเก็บเกี่ยว ในทิศทางเดียวกัน
 
 
 
 
 
 
 
 


 



Create Date : 09 กรกฎาคม 2564
Last Update : 9 กรกฎาคม 2564 17:38:19 น.
Counter : 650 Pageviews.

0 comment
"มนัญญา"ดึงสหกรณ์บรรพตพิสัยนำร่องปลูกฟ้าทะลายโจร แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
"มนัญญา"ดึงสหกรณ์บรรพตพิสัยนำร่องปลูกฟ้าทะลายโจร แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มพร้อมส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพรไทยมากขึ้น

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการส่งเสริมอาชีพของสหกรณ์การเกษตร ณ ตลาดกลางสหกรณ์การเกษตรบรรพตพิสัย จำกัด ต.บ้านแดน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เพื่อติดตามนโยบายในการปฏิบัติงาน 

ทั้งนี้ นางสาวมนัญญา กล่าวว่าการลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามงานในการผลักดันให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สหกรณ์การเกษตรบรรพตพิสัย จำกัด เป็นศูนย์กลางในการสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต 
 
โดยขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสหกรณ์ดังกล่าวมีการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจร เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยและมีความต้องการของตลาดสูง สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 27 ราย พื้นที่ปลูกใน ต.บ้านแดน 7 ไร่ และ ต.บึงปลาทู 7 ไร่ สหกรณ์ฯ ทำหน้าที่รวบรวมและแปรรูป 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จัดสรรแปลงสหกรณ์ (แปลงกลาง) ควบคุมการปลูกแบบอินทรีย์ ใช้ระบบสหกรณ์ และให้ความรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน จัดสรรแนวเขตรอบแปลงป้องกันละออง สารเคมี ควบคุมคุณภาพสระน้ำของสหกรณ์ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวรอบแรก 3 – 4 เดือน มีผลผลิตจำนวน 14,164 กก. มูลค่า 169,968 บาท (ปี 2563/2564)
 
รวบรวมและคัดคุณภาพพร้อมอบแห้ง รวมทั้งยังรับซื้อฟ้าทะลายโจรสดจากสมาชิก และจัดหาตลาดขณะเดียวกันยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ “เจลแอลกอฮอลล้างมือฟ้าทะลายโจร” สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรด้วย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทำให้สมุนไพรไทยฟ้าทะลายโจรได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และขาดตลาด และพบว่ามีสารสำคัญชนิดหนึ่ง คือ สารแอนโดรกราโฟไลด์ สรรพคุณช่วยลดไข้ บรรเทาหวัด เจ็บคอ 
 
กระทรวงเกษตรฯ จึงต้องการส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ เกษตรกรหันมาปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมากขึ้น ซึ่งจะมีการส่งเสริมนำร่องที่สหกรณ์การเกษตรบรรพตพิสัย จำกัดเป็นแห่งแรกในการส่งเสริมการปลูกและแปรรูปโดยผ่านขบวนการสกรณ์และจะขยายโครงการไปทั่วประเทศ ส่งเสริมให้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน และที่ผ่านมาได้มอบนโยบายให้กรมวิชาการเกษตร เร่งวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ และสอนวิธีการปลูก การดูแลให้แก่สมาชิกสหกรณ์ เกษตรกรต่อไป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สำหรับสหกรณ์การเกษตรบรรพตพิสัยมีปริมาณธุรกิจแปรรูปดำเนินงานได้สูงกว่าเป้าหมาย 82.86 % และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีศักยภาพด้านการรวบรวมและแปรรูป และมีมูลค่าการแปรรูปสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.38 มีสมาชิกทั้งสิ้น 2,171 คน คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในอำเภอบรรพตพิสัย
 
รมช.เกษตรฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัด และเครือข่ายสหกรณ์ในจังหวัดนครสวรรค์ อาทิ นิทรรศการผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร) นิทรรศการและจำหน่ายสินค้าโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพการเกษตร จังหวัดนครสวรรค์ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 116 คน
 
โครงการซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ ฯ ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตรไพศาลี จำกัด 2) สหกรณ์เพื่อการตลาด ลูกค้า ธ.ก.ส. จำกัด และ 3) สหกรณ์การเกษตรศาลเจ้าไก่ต่อ จำกัด
 
 
 
 
 
 

 



Create Date : 09 กรกฎาคม 2564
Last Update : 9 กรกฎาคม 2564 16:06:04 น.
Counter : 514 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments