All Blog
ใต้นำร่องแปลงทดสอบควบคุมโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมัน
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำแปลงทดสอบเทคโนโลยีการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน สาเหตุจากเชื้อรา Ganoderma sp. (เชื้อรากาโนเดอร์มา) เป็นโรคสำคัญทางเศรษฐกิจ
พบระบาดในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทางภาคใต้ และกำลังกลายเป็นปัญหาลุกลามส่งผลต่อผลผลิตในระยะยาว หากไม่ได้รับการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Ganoderma sp. โดยเชื้อราจะเข้าทำลายจากรากสู่ลำต้นผ่านทางท่อลำเลียงอาหารและน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อภายในลำต้นเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล อาการผิดปกติภายนอกที่พบ คือ ใบมีสีซีดจางกว่าปกติ ทางใบแก่ล่างจะหักพับทิ้งตัวห้อยลงรอบๆ ลำต้น



 



 
ยอดที่ยังไม่คลี่มีสีเหลือง หรือมีจำนวนมากกว่าปกติ ในระยะรุนแรงเชื้อราจะพัฒนาและเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้น รากและเนื้อเยื่อภายในลำต้นจะเปื่อยแห้งเป็นผง จนเกิดเป็นโพรงในที่สุด ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันยืนต้นตายหรือหักล้มลง การระบาดเกิดจากการแพร่กระจายทางลมของสปอร์ดอกเห็ดที่เกิดบริเวณโคนต้น

ตอหรือซากปาล์มเก่า หรือจากการสัมผัสกันของรากต้นที่เป็นโรคและรากของต้นปกติในดินที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยการวินิจฉัยโรคในแปลงปลูกต้องอาศัยการสังเกตลักษณะอาการภายนอกของต้นปาล์มน้ำมันและต้นข้างเคียง รวมถึงประวัติการเกิดโรคลำต้นเน่าในแปลง และเมื่อพบต้นเป็นโรคแล้วต้องรีบดำเนินการควบคุมโดยทันที



 



 
การจัดการโรคสามารถใช้วิธีการเขตกรรม เช่น การหมั่นสำรวจและทำความสะอาดแปลงอยู่เสมอ การกำจัดซากต้นปาล์มเก่า การเผาทำลายต้นที่เกิดโรคและดอกเห็ด การจัดการระบายน้ำในแปลง และการใช้สารเคมี หรือชีววิธี เช่น การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma sp. (เชื้อราไตรโคเดอร์มา) เป็นต้น

เนื่องจากที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน จะทำในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้น ยังไม่ได้ลงสู่การทดสอบในสภาพแปลงปลูกจริง ดังนั้น จึงได้นำวิธีการที่ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติแล้วว่าได้ผล นำมาทดสอบในสภาพแปลงปลูกจริง เพื่อหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับนำไปถ่ายทอด ให้ความรู้ และส่งเสริมใช้เป็นคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรเพื่อใช้จัดการควบคุมโรคในพื้นที่อย่างเหมาะสม และง่ายต่อการปฏิบัติ ดำเนินการทดสอบ จำนวน 5 จุด ดังนี้



 



 
จุดที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลคลองยา อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

จุดที่ 2 ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่

จุดที่ 3 ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลนากระตาม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

จุดที่ 4 ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 12 ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

จุดที่ 5 ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ประกอบด้วยวิธีการควบคุม 3 วิธี ได้แก่ 1) การใช้สารเคมี 2) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ท้องถิ่น 1 ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ และ 3) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ท้องถิ่น 2 ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์



 



 
ทำการเก็บข้อมูลโดยนำตัวอย่างดินบริเวณโคนต้นส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณเชื้อรากาโนเดอร์มาและเชื้อราไตรโคเดอร์มากับห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และบันทึกลักษณะอาการของต้นปาล์มน้ำมันที่เกิดโรคทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างต้นที่ดำเนินการควบคุมและต้นที่ไม่ได้ดำเนินการควบคุม

ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการจัดทำแปลงทดสอบในครั้งนี้เสร็จเรียบร้อย คาดว่าจะได้แนวโน้มการจัดการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการปลูกในสภาพแปลงของพื้นที่ และถูกนำไปพัฒนาหรือใช้ในการจัดทำแปลงต้นแบบเพื่อการส่งเสริมและเผยแพร่สู่เกษตรกรในอนาคตต่อไป







 



Create Date : 11 กันยายน 2563
Last Update : 11 กันยายน 2563 16:09:34 น.
Counter : 1710 Pageviews.

1 comments
  
โดย: สมาชิกหมายเลข 2876811 วันที่: 11 กันยายน 2563 เวลา:18:17:15 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments