All Blog
เปิดแจ้งบัญชีเกษตรกรเพาะปลูกรอบใหม่ไม่เกี่ยวเยียวยาโควิด
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งแก่เกษตรกรทั่วประเทศให้ขึ้นและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรประจำปี 2563 หลังเพาะปลูกแล้ว 15 วัน โดยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

หากเกษตรกรไม่ต้องการเดินทางมายังสำนักงานเกษตรอำเภอสามารถแจ้งการเพาะปลูกในสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน Farmbook ซึ่งดาวน์โหลดได้ทั้งระบบแอนดรอยด์และ iOS เข้าใช้งานด้วยเลขทะเบียนเกษตรกร 12 หลักที่อยู่หน้าแรกของสมุดทะเบียนเกษตรกร (เล่มเขียว)  

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน Farmbook พัฒนาขึ้น เพื่อบริการเกษตรกรในการติดตามและตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ติดตามสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งการขอรับความช่วยเหลือกรณีเกิดพิบัติภัย ทำให้พืชผลเสียหาย



 



 
สำหรับการแจ้งการเพาะปลูกประจำปีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการรับสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกรจากผลกระทบจากของโควิด-19 ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลทะเบียนเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ไปก่อนหน้านี้ โดยจ่ายเงินเยียวยาให้แล้ว 2 งวด ส่วนงวดที่ 3 ของเดือนกรกฎาคมคาดว่าจะจ่ายตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยจะจ่ายครบภายในสิ้นเดือน

นายอาชว์ชัยชาญ  เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้มีเกษตรกรดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Farmbook กว่า 2.5 ล้านเครื่อง จากเกษตรกรทั้งหมด 7.5 ล้านครัวเรือน ในช่วงเดือนพฤษภาคมปิดเมนูการแจ้งปลูกผ่านแอปพลิเคชันชั่วคราว

เนื่องจากมีการปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์การช่วยเหลือจากการระบาดของโควิด-19 พร้อมกันจำนวนมากทั้งผ่านแอปพลิเคชันและที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งผลให้การปรับปรุงข้อมูลของเจ้าหน้าที่และการใช้งานแอปพลิชันเกิดความล่าช้าและอาจเกิดความผิดพลาดของข้อมูลในการแจ้งปลูกได้ จึงได้ปิดเมนูการแจ้งปลูกผ่านแอปพลิเคชั่น Farmbook เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่สามารถดำเนินการได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว



 



 
จากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาว่าจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จึงขอให้เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานและไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่เลื่อนการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปก่อน และเริ่มปลูกข้าวกลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งปริมาณฝนจะตกใกล้เคียงค่าปกติ

อีกทั้งควรปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวเป็นการปลูกข้าวแบบหว่านแห้ง (หว่านสำรวย) ซึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินแห้งเหมาะสมกับพื้นที่นอกเขตชลประทาน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงแปลงแล้วรอฝนตกลงมาเมล็ดข้าวจะงอก จากนั้นดูแลรักษาต่อไปจนเก็บเกี่ยว สำหรับพืชอื่น ๆ ให้เกษตรกรรักษาความชื้นในแปลงปลูกพืชและลดการคายน้ำของพืช เช่น การรดน้ำให้กับพืชในช่วงเช้าและเย็นเพื่อลดการระเหยของน้ำ ใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นคลุมแปลงหรือหน้าดิน ได้แก่ ฟางข้าว ใบไม้ หรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชื้นในดิน

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรควรเลือกใช้ระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เช่น ไม้ผลให้ใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์  ซึ่งเป็นระบบให้น้ำแบบฉีดฝอยขนาดเล็กเป็นการให้น้ำแก่พืชเป็นวงบริเวณรากพืช



 



 
โดยมีการควบคุมปริมาณน้ำตามความต้องการของพืช น้ำจะถูกพ่นออกจากหัวฉีดฝอย การให้น้ำแบบนี้จึงไม่มีการสูญเสียน้ำระหว่างการส่งน้ำ การสูญเสียน้ำที่ไหลเลยเขตรากพืช หรือไหลนองไปตามผิวดินก็มีน้อย นอกจากนั้นยังสามารถใส่ปุ๋ย หรือสารเคมีลงไปในน้ำระหว่างการให้น้ำพร้อมกันได้

สำหรับ พืชไร่และพืชผัก แนะนำให้ใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นการให้น้ำแก่พืชผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยดที่ติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้าๆ เพื่อรักษาความชื้นของดินบริเวณรากพืชให้อยู่ในระดับที่รากพืชสามารถดูดไปใช้ได้ง่าย ทำให้พืชเจริญเติบโต






 



 

 



Create Date : 23 มิถุนายน 2563
Last Update : 23 มิถุนายน 2563 15:06:50 น.
Counter : 741 Pageviews.

1 comment
แนะเกษตรกรเตรียมพืชและระบบน้ำรับมือฝนทิ้งช่วง
นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า จะมีฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนกรกฎาคม

กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอให้คำแนะนำพี่น้องเกษตรกรที่ต้องการจะเพาะปลูกช่วงนี้ ให้เลื่อนเวลาการปลูกข้าวนาปีออกไปก่อนโดยให้เกษตรกรเริ่มปลูกข้าวกลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งปริมาณฝนจะตกใกล้เคียงค่าปกติ และควรปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวเป็นการปลูกข้าวแบบหว่านแห้ง (หว่านสำรวย)

เป็นการหว่านในสภาพดินแห้งเหมาะสมกับพื้นที่นอกเขตชลประทาน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงแปลงแล้วรอฝนตกลงมาเมล็ดข้าวจะงอกจากนั้นก็ดูแลรักษาต่อไปจนเก็บเกี่ยว สำหรับพืชอื่นๆ ให้เกษตรกรรักษาความชื้นในแปลงปลูกพืชและลดการคายน้ำของพืช



 



 
สามารถทำได้ง่ายด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การรดน้ำให้กับพืชในช่วงเช้าและเย็นเพื่อลดการระเหยของน้ำ และใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นคลุมแปลงหรือหน้าดิน เช่น ฟางข้าง ใบไม้ หรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรควรเลือกใช้ระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เช่น ไม้ผล ให้ใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์ ซึ่งเป็นระบบให้น้ำแบบฉีดฝอยขนาดเล็กเป็นการให้น้ำแก่พืชเป็นวงบริเวณรากพืช

โดยมีการควบคุมปริมาณน้ำตามความต้องการของพืช น้ำจะถูกพ่นออกจากหัวฉีดฝอย การให้น้ำแบบนี้จึงไม่มีการสูญเสียน้ำระหว่างการส่งน้ำ การสูญเสียน้ำที่ไหลเลยเขตรากพืช หรือไหลนองไปตามผิวดินก็มีน้อย นอกจากนั้นยังสามารถใส่ปุ๋ย หรือสารเคมีลงไปในน้ำระหว่างการให้น้ำพร้อมกันได้



 



 
สำหรับ พืชไร่และพืชผัก แนะนำให้ใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นการให้น้ำแก่พืชผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้าๆ เพื่อที่จะรักษาความชื้นของดินบริเวณรากพืชให้อยู่ในระดับที่รากพืชสามารถดูดไปใช้ได้ง่าย ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

อย่างไรก็ตาม การสร้างแหล่งน้ำในไร่นา หรือ การปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วง โดยการสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการเกษตร ให้มีแหล่งน้ำในไร่นา

เช่น การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรผสมผสาน ก็สามารถช่วยลดผลกระทบหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อผลผลิต ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้จากการทำการเกษตร กรณีผลผลิตเสียหายจากการปลูกพืชชนิดเดียว และจะช่วยทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืนได้







 



 



Create Date : 22 มิถุนายน 2563
Last Update : 22 มิถุนายน 2563 19:11:32 น.
Counter : 973 Pageviews.

1 comment
ปิดทองฯรับซื้อทุเรียนใต้หลังโควิดราคาไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกก.
เกษตรกรทุเรียนคุณภาพ 3 จังหวัดชายแดนใต้เฮ  ปิดทองฯเปิดตลาดรับซื้อลอตแรกหลังโควิด  ราคาไม่ต่ำกว่า 100  บาทต่อกก. จับมือเอกชนส่งออกจีนตั้งเป้าปี 63 รายได้ไม่ต่ำ 160 ล้านบาท

นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า จังหวัดพร้อมสนับสนุนสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ พัฒนาทุเรียนคุณภาพตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มนำมาสู่ความมั่นคงของอาชีพเกษตรกร โดยการเปิดตลาดกลางรับซื้อจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่จังหวัดยะลา



 



 
ซึ่งผลผลิตทุเรียนใน  3 จชต.จะทยอยออกช่วงมิ.ย. -ก.ย.  และในส่วนของยะลา คาดว่าจะมีประมาณ 5.3 หมื่นตันผลผลิตออกสู่ ในส่วนของจังหวัดเองมีเป้าหมายพัฒนาเป็นเมืองแห่งทุเรียนเพราะทุเรียนยะลามีรสชาดดี เนื้อแห้งดังนั้นการที่ปิดทองฯและภาคเอกชนมาดำเนินโครงการในพื้นที่จึงถือเป็นการสนับสนุนที่สำคัญ  

นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ  ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ  กล่าวว่า โครงการเข้าสู่ปีที่ 3   โดยใน  3 จังหวัดชายแดนใต้ ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ปีแรก 2561  คัดเลือกเกษตรกรเข้าโครงการ  18 ราย ทุเรียน  336 ต้น มีผลผลิตตจำหน่าย 33 ตันมูลค่าร่วม 2.3 ล้านบาท  ปี 62 เกษตรกรเพิ่มเป็น  664 ราย  

ทุเรียน 2.2 หมื่นต้น ผลผลิต  1.6 ตันมูลค่า  80 ล้านบาท ปีนี้ 63 มีเกษตรกร  625 ราย ทุเรียน 2.9 หมื่นตัน  ผลผลิตคาดว่าจะมีประมาณ  1,778  ตัน และมีเป้าหมายรายได้ปี 63 ประมาณ  160  ล้านบาท เป็นสองเท่าของปี  62  ทั้งหมดจะส่งให้บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ซึ่งได้มีการร่วมมือกันในโครงการมาตลอด  3 ปีส่งออกไปประเทศจีน



 



 
ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของสถาบันฯที่ประจำการในพื้นที่เข้มงวดและดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันปัญหาหนอนเจาะทุเรียน โดยปีที่ผ่านมาพบ 3%  ของผลผลิตที่ส่งออก ดังนั้นในปี  63 ตั้งเป้าว่าต้องไม่มีหนอนเลยหรือเป็นศูนย์  ซึ่งขอให้ช่วยกัน  และทุเรียนของโครงการต้องพัฒนาให้ได้เกรดเอบีมากกว่า 85% ของผลผลิต เพราะจีนเป็นตลาดใหญ่ของทุเรียนไทย

โอกาสทางตลาดยังมีอีกมาก ความสำเร็จของโครงการนี้คือประชาชนที่จะมีรายได้ในมือเพิ่มขึ้นทำให้ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในหลายด้านจากอดีตที่ผ่านมา  ทั้งนี้วันแรก18 มิ.ย.ที่เปิดรับซื้อมีเกษตรกรในโครงการมาขายจำนวน 31 ราย 9,998 กิโลกรัม เป็นเงิน  853,360 บาท ตลาดรับซื้อจะเปิดทุกวันจนทุเรียนโครงการปีนี้หมด  

นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์  กล่าวว่าโอกาสทุเรียนคุณภาพในจีนมีสูงมาก  ในช่วงวิกฤติโควิด 19 เดิมกังวลว่าจะซบเซาปรากฏกว่าตรงกันข้ามเพราะประชาชนอยู่บ้านแต่กลับมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น  ซึ่งปี 62 จากข้อมูลการส่งออกทุเรียนของไทยไปจีนจำนวน  5 แสนตัน ปี 63 คาดว่าประมาณ  8 แสนตันหรือ  85%  ของผลผลิตทั้งประเทศ 9 แสนตันต่อปี   



 



 
โดยทุเรียนใน  3 จังหวัดชายแดนใต้เป็น 40% ของ 9 แสนตัน  โดยทุเรียนที่ซีพีจับมือกับสถาบันปิดทองฯในพื้นที่ถือว่าสัดส่วนยังน้อยมากโอกาสทางตลาดยังมีอีกมาก เพราะทุกฝ่ายต้องการทำทุเรียนคุณภาพช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ หากเกษตรกรรักษามาตรฐานการผลิตที่ปิดทองฯสร้างไว้ได้ ทุเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้จะมีอนาคตเหมือนทุเรียนคุณภาพในพื้นที่ภาคตะวันออก และจะเป็นพืชอนาคตของพื้นที่เพราะคนจีนนิยมทุเรียนหมอนทอง และหมอนทองภาคใต้รสชาติดีมาก

นางทิพวรรณ จันทวงศ์  สมาชิกโครงการกล่าวว่าเข้าโครงการในปี  62   จำนวน  40 ต้นจากพื้นที่  5 ไร่  ได้นำทุเรียนที่ตัดได้ในวันที่  18 มิ.ย. มาขายให้โครงการรวม  575 กก.  เป็นเกรดเอบีถึง  329 กก.  รวมรายได้  50,440  บาท อย่างไรก็ตามยังมีทุเรียนที่ทยอยตัดมาจำหน่ายต่อเนื่อง ซึ่งการแยกเกรดจำหน่ายทำได้มีรายได้เพิ่มเพราะก่อนเข้าโครงการจะขายแบบเหมาสวนทำให้ได้เงินตอบแทนน้อย





 



 



Create Date : 22 มิถุนายน 2563
Last Update : 22 มิถุนายน 2563 18:38:00 น.
Counter : 776 Pageviews.

1 comment
เกษตรกรรุ่นใหม่ตราดร่วม"โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน"
รมช.เกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่เยี่ยมสวนเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดตราด หลังสมัครเข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเวทีแลกแปลี่ยนความเห็นและสอบถามความต้องการเพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตร เน้นการนำเทคโนโลยีทันสมัยและทำเกษตรผสมผสาน ผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยและตลาดต้องการ พร้อมจับมือสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างช่องทางตลาดผ่านสื่อออนไลน์ หวังสร้างรายได้ให้มั่นคง สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้

นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิศิษฐ์  ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการนำลูกหลานเกษตร  กลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ในจังหวัดตราด

โดยได้พบปะตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ของจังหวัดตราดที่สมัคร  ร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ จำนวน 5 ราย เพื่อสำรวจและสอบถามความต้องการ มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับตัวแทนเกษตรกร

 



 
ส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการนี้เป็นเรื่องที่ดีที่ได้ช่วยต่อยอดอาชีพการเกษตรให้กับคนรุ่นใหม่และสนใจกลับมาทำเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ สิ่งที่ต้องการคืออยากให้ภาครัฐช่วยสนันสนุนเรื่องการแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และหาช่องทางตลาดมารองรับ

โดยจะนำข้อมูลกลับไปวางแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรให้กับคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและรักในอาชีพการทำเกษตร ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของพ่อแม่มาสร้างอาชีพให้ที่มั่นคงและมีรายได้พอเพียงสำหรับเลี้ยงครอบครัว

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการนำลูกหลานเกษตร กลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร  จะสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้กลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิดได้กลับบ้านอยู่กับครอบครัว และสานต่ออาชีพการเกษตรของพ่อแม่ และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนากระบวนการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและการตลาด

มีการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เน้นทำน้อยแต่ได้มาก ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ได้ผลกำไรที่คุ้มค่าและเน้นการให้มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยจะสนับสนุนให้สหกรณ์ในพื้นที่เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลแนะนำอาชีพให้คนเหล่านี้  

หลังจากเปิดรับสมัครโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เมื่อวันที่ 1- 31 มกราคม 2563  มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ 7,559 ราย  และมีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ  680 สหกรณ์  

ในวันนี้การลงพื้นที่เยี่ยมชมพื้นที่การทำเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ ทำให้เห็นได้ชัดเลยว่า แต่ละคนมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการทำการเกษตร ยกตัวอย่าง นายสราวุฒิ ไกรสมุทร อายุ 40 ปี ซึ่งเป็นผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ  นำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ เรียนจบด้านช่าง และได้ไปคุมงานก่อสร้างที่กรุงเทพฯ

ขณะที่ครอบครัวของเขาทำสวนผลไม้  แต่ก็หยุดทำไปนานแล้ว แต่เมื่อเขาเห็นโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ ก็มีความสนใจที่จะกลับมาอยู่กับครอบครัวและนำที่ดินของพ่อแม่ประมาณ 8 ไร่ มาปรับสภาพใหม่ เพื่อทำเกษตรแบบผสมผสาน



 



 
ขณะนี้ได้เริ่มปลูกต้นทุเรียนไว้  และตั้งใจจะปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านและพันธุ์หายากอีกประมาณ 37 สายพันธุ์ เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมทุเรียนของจังหวัดตราด รวมทั้งจะปลูกข้าวไร่ในร่องทุเรียนด้วย และยังมีเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก และเน้นทำเกษตรแบบอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี

มีการทำน้ำหมักและปุ๋ยไว้ใช้เอง ในอนาคตยังได้วางแผนจะทำร้านกาแฟเล็ก ๆ ในสวน เป็นแบบท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเปิดให้คนได้มาเที่ยวและชมสวนของเขาด้วย สิ่งนี้เป็นแรงสำคัญและเป็นตัวอย่างที่ต้องผลักดันทำให้สำเร็จ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

นายสราวุฒิ ไกรสมุทร ตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ กล่าวว่า ตนมีความตั้งใจจะกลับมาอยู่บ้านและทำเกษตรบนที่ดินของครอบครัว ขณะนี้ได้มีการพัฒนาปรับสภาพพื้นที่เพื่อวางแผนปลูกพืชผลที่สามารถเก็บขายได้ทั้งปี และจะทำเกษตรแบบปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี

จะเป็นสิ่งที่ดีกับตนเองและผู้ที่ซื้อผลผลิตของสวนแห่งนี้ไปบริโภคซึ่งต้องทำแบบตั้งใจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง พร้อมทั้งจะสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรรายอื่น ๆ ในจังหวัดตราด เพื่อช่วยเหลือและแบ่งปันองค์ความรู้และตลาดร่วมกัน อยากให้ทุกคนมาร่วมกันทำ พร้อมใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทาง ในการสร้างตลาดเพื่อให้คนทั่วไปรู้จักและมีความสนใจผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่เหล่านี้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

สำหรับจังหวัดตราด มีเกษตรกรรุ่นใหม่สนใจเข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ จำนวน 23 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทหรืออาชีพรับจ้างทั่วไป สนใจจะกลับมาทำเกษตรและใช้ที่ดินของครอบครัวที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

สร้างอาชีพและสานต่ออาชีพการเกษตรเลี้ยงพ่อแม่และครอบครัว ขณะนี้เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตราดได้ติดต่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการและได้ออกเยี่ยมเยียนสำรวจความต้องการความรู้ของผู้สมัครแล้ว  



 



 
พบว่ามีความต้องการให้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ในสาขาต่าง ๆ เรียงตามลำดับความสนใจ ได้แก่ เกษตรผสมผสานเกษตรอินทรีย์เทคโนโลยีการเกษตร เกษตรอัจฉริยะ เกษตรแม่นยำการปรับปรุงการผลิตการเกษตร ทักษะการเกษตร และการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตร เป็นต้น

โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ มุ่งหวังให้คนรุ่นใหม่ได้กลับมาอยู่กับครอบครัว มาสืบสานอาชีพ  ทำการเกษตร ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะเข้ามาดูแลและร่วมกับสหกรณ์ในพื้นที่ช่วยวางแผนเพื่อพัฒนาอาชีพตาม ความต้องการ โดยมีหน่วยงานภาคีต่าง ๆ

ทั้งหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร และคาดหวังว่าคนรุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรให้เจริญก้าวหน้า และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำหรือผู้บริหารสหกรณ์การเกษตรในแต่ละจังหวัด นำความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาและดูแลสหกรณ์ให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็งและเป็นที่พึ่งพาของเกษตรกรและคนในชุมชนได้






 




 
 



Create Date : 22 มิถุนายน 2563
Last Update : 22 มิถุนายน 2563 18:41:02 น.
Counter : 867 Pageviews.

1 comment
กยท.เปิดตัว“หมวกยางพารา”กันฝนให้ต้นยาง
กยท.เปิดตัวนวัตกรรมหมวกยางพารากันฝน นำร่อง ติดต้นยางทั่วพื้นที่กว่า 30 ไร่ ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต อ.วังจันทร์ จ.ระยอง หวังต่อยอดทุกพื้นที่ในประเทศ มุ่งเพิ่มผลผลิต
และรายได้ชาวสวนยาง ควบคู่การใช้ยางในประเทศ โดยมี นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน พร้อมผู้บริหารจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในพิธีส่งมอบผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราฯ

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) จัดกิจกรรมเปิดจุดสาธิตการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก



 



 
กิจกรรมนี้ กยท. ได้รับความร่วมมือและบูรณาการร่วมกันกับ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย กยท. มอบผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราหรือร่มกันฝนจากยางพารา จำนวน 2,000 ชุด ติดตั้งในสวนยางพาราสาธิต ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัตสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง

เป็นพื้นที่สวนยางพารา จำนวน 30 ไร่ เพื่อเป็นจุดต้นแบบเรียนรู้ของเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง และประชาชนทั่วไป ในการสร้างแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางต่อไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ประสบปัญหาในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิต



 



 
“ผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้จากกการทำสวนยางพาราได้ เนื่องจากเพิ่มวันกรีดได้อย่างน้อยเฉลี่ย 30 วัน/ปี และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัมยางแห้ง/ไร่/วัน หรือ 60 กิโลกรัมยางแห้ง/ไร่/ปี”

นายณกรณ์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราหรือร่มกันฝนจากยางพารา 1 ชุด ใช้ยางธรรมชาติ ประมาณ 0.5 กิโลกรัม จึงเป็นอีกทางหนึ่งการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนายางพารา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศให้เพิ่มขึ้นด้วย




 



Create Date : 20 มิถุนายน 2563
Last Update : 20 มิถุนายน 2563 16:40:55 น.
Counter : 938 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments