All Blog
"มกอช."ส่งเสริมเกษตรกรเข้าสู่GAPติดสัญลักษณ์Qใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ
ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ลงพื้นที่จังหวัดตราด ตรวจเยี่ยม แปลงทุเรียนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเกษตรแปลงใหญ่ ท่ากลุ่ม - เนินทราย แนะนำ ส่งเสริม เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐาน GAP และติดตราสัญลักษณ์ Q และระบบตามสอบย้อนกลับ QR Trace เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต


 



 
รวมถึงแนะนำให้เกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรไปวางจำหน่ายในตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ //www.DGTFarm.com เพื่อเพิ่มช่องทางและโอกาสในการจำหน่ายสินค้าเกษตร ตามนโยบายของ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกร ส่งเสริม ยกระดับสินค้าเกษตรของไทย ให้มีมาตรฐาน ผ่านการรับรอง เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP


 



 
โดยติดตราสัญลักษณ์ Q เพื่อยกระดับสินค้าเกษตร ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต และสร้างการความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภค ได้อย่างมั่นใจ ว่าได้บริโภคของดี มีคุณภาพ มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรอง และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมี นายวีระชัย บุญเกิด เกษตรกรเจ้าของแปลง ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเนินทรายอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด


 



 
จากนั้นเดินทางต่อไปเยี่ยมสมาชิก เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย อีก 2 แปลงซึ่ง เป็นแปลง สวนทุเรียนของนายเวชสิทธิ์ สุนัติ ซึ่งเข้าสู่ ระบบมาตรฐาน GAP โดย มกอช. แบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกแปลงทุเรียน 26 ไร่ และ แปลงสวนมังคุด 10 ไร่ นอกจากนี้ยังมีปลูกสวนลองกอง สวนยาง สวนปาล์มและแปลงสับปะรดด้วย และแปลงของนายประพันธ์ สุนัติ ที่มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 8 ไร่ เข้าสู่มาตรฐาน GAP แล้วเช่นกันโดย มกอช.




 



Create Date : 16 มิถุนายน 2563
Last Update : 16 มิถุนายน 2563 14:50:11 น.
Counter : 977 Pageviews.

0 comment
"สภาเกษตรฯ"จับมือซุเปอร์โพลสำรวจความคิดเห็นด้านการเกษตร
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสำรวจความคิดเห็นด้านการเกษตร” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 มิ.ย.2563 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  

โดยระบุว่า  สภาเกษตรกรเป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกจำนวนมาก มีตัวแทนตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ครอบคลุมทั้งประเทศ ความเป็นตัวแทนของเกษตรกรทำให้ต้องมีข้อมูลความเห็นจากเกษตรกรเพื่อเสนอต่อรัฐบาลตามบทบาทภารกิจ ซึ่งการทำโพลเป็นรูปแบบที่ต้องการทำมานาน



 



 
เนื่องจากเมื่อรับรู้ผลการสำรวจที่ผ่านมาหลายครั้งรู้สึกได้ว่าไม่ตรงตามความเห็นของเกษตรกร การสำรวจความคิดเห็นด้านการเกษตรหรือการจัดทำโพลของสภาเกษตรกรฯจึงจะได้ข้อมูลความเห็นจากเกษตรกรจริง ซึ่งการสำรวจความคิดเห็นจากเกษตรกรถึงปัญหาต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลมีน้ำหนัก , น่าเชื่อถือและสะท้อนปัญหา/ความเป็นจริงจากล่างสุดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บริหาร/จัดการปัญหารวมทั้งความช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด


 



 
โดยมีประเด็นและทำการประเมินให้เป็นแนวทางในการทำงานและแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้ และควรจะมีการสำรวจตามระยะเวลา เช่น การสำรวจภาวะเศรษฐกิจเกษตรกรไทยเป็นรายปี หรือตามสถานการณ์ เช่น กรณี CPTPP ,  การยกเลิกสารเคมี 3 ชนิด  ,  การเยียวยาเกษตรกรจากสถานการณ์โควิด-19 เดือนละ 5,000 บาท เป็นต้น

ทั้งนี้ การจัดอบรมบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดครั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดทำโพล สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรต่อนโยบาย กฎหมาย ข้อตกลงที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบเสนอต่อรัฐบาล โดย ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการซูเปอร์โพล สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เป็นวิทยากร ภายหลังจากการอบรมดังกล่าว สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจะนำเสนอความเห็นของเกษตรกรต่อสาธารณะ เพื่อเป็นการสื่อสารความเห็นของเกษตรกรสู่รัฐบาลตามบทบาทภารกิจของสภาเกษตรกรแห่งชาติต่อไป





 
                                                 



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 18:41:07 น.
Counter : 543 Pageviews.

0 comment
เกษตรฯตั้งอนุกก.แก้ปัญหาฝายหัวนา
นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา โดยที่ประชุมได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาจังหวัดศรีสะเกษเฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน

เพื่อให้มีตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุมทุกกลุ่มปัญหา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์พิจารณาการแก้ไขปัญหา และแต่งตั้งคณะทำงาน



 



 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาให้เร่งรัดดำเนินการจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดินที่ผ่านการรังวัดแล้ว จำนวน 520 แปลง และมอบหมายให้กรมชลประทานอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศตามแผนที่ ร.ว. 43 ก. ปี 2556 - 2557 บริเวณที่ทำการหัวนา บริเวณหนองจระเข้ ตำบลโนนสัง เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้มีการจัดทำโครงการชลประทานเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เพื่อพัฒนาอาชีพในเขตพื้นที่ฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ระยะที่ 1 อีกด้วย




 




 

 



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 16:37:50 น.
Counter : 593 Pageviews.

1 comment
"กรมวิชาการเกษตร"คว้ารางวัลระดับดีการตรวจสอบภายในภาครัฐ
กรมวิชาการเกษตร ผลงานเข้าตากรมบัญชีกลางสมัครเข้ารับการประเมินเป็นปีแรกคว้ารางวัลประกาศเกียรติคุณระดับดีด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ  ชูรางวัลตอบโจทย์วิสัยทัศน์องค์กร ซื่อสัตย์  โปร่งใส  งานวิจัยมีคุณภาพ

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562  กรมวิชาการเกษตรได้สมัครเข้ารับการประเมินรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง  ซึ่งกรมบัญชีกลางได้จัดให้มีการมอบรางวัลดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังในภาพรวมของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

ยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน มีการบริหารจัดการภายใน ด้านการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพให้ได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับ เพราะการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานในภารกิจหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สำหรับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จะประเมินหน่วยงานใน 5 มิติ คือ มิติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง มิติด้านการเบิกจ่าย มิติด้านการบัญชีภาครัฐมิติด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐและมิติด้านปลอดความรับผิดทางละเมิดโดยแบ่งออกเป็น 8 ประเภทรางวัล  

กรมวิชาการเกษตรได้สมัครเข้ารับการประเมินประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐเป็นปีแรก  ซึ่งหน่วยงานที่จะเข้ารับการประเมินรางวัลดังกล่าวจะต้องผ่านการประเมินการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน  



 



 
ต้องมีผลการประเมินเป็นไปตามมาตรฐานระดับดีหรือเป็นไปตามมาตรฐาน ต้องปฏิบัติงานตรวจสอบได้ครบถ้วนตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับการอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ   ต้องปฏิบัติงานได้ครอบคลุมงานให้ความเชื่อมั่น

(การตรวจสอบทางการเงิน การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน การตรวจสอบผลการดำเนินงานหรือผลการปฏิบัติงานการตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตรวจสอบการบริหาร) และงานให้คำปรึกษา


ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และตัดสินการมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริการจัดการด้านการเงินการคลังประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบรายชื่อหน่วยงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 20 หน่วยงาน

กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ  ระดับดี  ซึ่งเป็นรางวัลที่กรมวิชาการเกษตรภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นการสมัครเข้ารับการประเมินเป็นครั้งแรก  และรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้เป็นการตอบโจทย์วิสัยทัศน์องค์กรที่ระบุไว้ว่า เป็นองค์กรที่มีความซื่อสัตย์  โปร่งใส  งานวิจัยมีคุณภาพ





 

 



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 14:44:55 น.
Counter : 488 Pageviews.

0 comment
รับมือผลไม้ภาคใต้-ภาคทะลักตลาดสิงหาคม
นายพลเชษฐ์  ตราโช  รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ไม้ผลภาคใต้ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง และ ลำไย ของภาคเหนือ ปี 2563  ซึ่งคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ มีมติเห็นชอบผลพยากรณ์ข้อมูลไม้ผลปี 2563 ครั้งที่ 2 (ข้อมูล ณ 26 พฤษภาคม 2563)

พบว่า เนื้อที่ให้ผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด (ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง) รวม 14 จังหวัดภาคใต้ มีจำนวน 887,852 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 844,042 ไร่ (เพิ่มขึ้น 43,810 ไร่ หรือร้อยละ 5.19) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13.80 มังคุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57 ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 5.27 และลองกอง ลดลงร้อยละ 5.65



 



 
ผลผลิตรวมทั้ง 4 สินค้า คาดว่าจะมีประมาณ 844,003 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 796,751 ตัน (เพิ่มขึ้น 47,252 ตัน หรือ ร้อยละ 5.93) สำหรับการกระจายผลผลิตออกสู่ตลาด ผลผลิตของทุเรียน มังคุด และเงาะ จะออกมากในเดือนสิงหาคม และลองกองจะออกมากในเดือนกันยายน  

โดยผลผลิตรวมของทุเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.03 ส่วนไม้ผลชนิดอื่น ๆ มีผลผลิตลดลง โดยเงาะ ลดลงร้อยละ 29.52 ลองกอง ลดลงร้อยละ 27.99 และมังคุด ลดลงร้อยละ 10.30 ทั้งนี้ ผลผลิตต่อไร่ของทุเรียนคาดว่าจะเพิ่มขึ้น



 



 
เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาดี มีการเตรียมแหล่งน้ำสำรองเพื่อใช้ในการดูแลต้นทุเรียน ส่วนมังคุด เงาะ และลองกอง ผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลงเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง เกษตรกรเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอต่อการใช้ และจำเป็นต้องเก็บน้ำไว้สำหรับดูแลต้นทุเรียนซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า

สำหรับลำไยของแหล่งผลิตหลัก 8 จังหวัดภาคเหนือ คณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคเหนือ มีมติเห็นชอบผลพยากรณ์ข้อมูลลำไย ปี 2563 ครั้งที่ 3 (ข้อมูล ณ 2 มิถุนายน 2563) คาดการณ์เนื้อที่ให้ผล 854,615 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 849,710 ไร่  (เพิ่มขึ้น 4,905 ไร่ หรือร้อยละ 0.58 ของเนื้อที่ให้ผล 8 จังหวัดภาคเหนือ)



 



 
แบ่งเป็นเนื้อที่ให้ผลในฤดูช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน 637,588 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 74.61) และเนื้อที่ให้ผลนอกฤดู 217,027 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 25.39) และคาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดรวม 635,394 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ให้ผลผลิต 620,379 ตัน (เพิ่มขึ้น 15,015 ตัน หรือร้อยละ 2.42) แบ่งเป็นผลผลิตในฤดู 386,065 ตัน (ร้อยละ 60.76) และผลผลิตนอกฤดู 249,329 ตัน (ร้อยละ 39.24)

โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 35.41 ของผลผลิตทั้งปี ด้านผลผลิตต่อไร่ของลำไย เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสม โดยในช่วงที่ลำไยติดดอก มีความหนาวเย็นพอเหมาะ ส่งผลให้ลำไยในปีนี้ออกดอกและติดผลมากกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ สศก. จะได้ติดตามสถานการณ์การผลิตและปริมาณการผลิตไม้ผล ภายใต้คณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับกระทรวง กรม และจังหวัดได้นำไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมมาตรการนโยบายต่อไป





 




 



Create Date : 15 มิถุนายน 2563
Last Update : 15 มิถุนายน 2563 14:23:52 น.
Counter : 962 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments