"นมโรงเรียน"ป่วนไม่รับซื้อน้ำนม-ไม่มีการผลิต ส่งมิลค์บอร์ดพิจารณาโทษ
นายพิเชษฐ์ นายพิเชษฐ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ เปิดเผยว่าจากกรณีที่ สหกรณ์โคนมชะอำ-ห้วยทราย จำกัด มีหนังสือที่ สค.062/2563 ลงวันที่ 14 พ.ค. แจ้งว่า สหกรณ์ได้ทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) การซื้อขายน้ำนมโค ปี 2562/2563 กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี (วษ.เพชรบุรี) ปริมาณน้ำนม 4 ตัน/วัน วัตถุประสงค์เพื่อนมโรงเรียน ซึ่งตลอดระยะเวลา 7 เดือน ที่ผ่านมา (ตุลาคม 2562-เมษายน 2563) ยังไม่มีการผลิต
ตามประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและขั้นตอนการจัดทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) การซื้อขายน้ำนมโคปี 2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10(1) (2) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 จึงได้ออกประกาศ ภายใต้หลักการและแนวคิด 4 ข้อ ได้แก่ 1. หลักความถูกต้อง ผู้ที่ปฎิบัติตามเกณฑ์ เงื่อนไขต้องได้รับประโยชน์ และผู้ที่ไม่ปฎิบัติตามต้องได้รับบทลงโทษ
2.หลักความเป็นธรรม ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ ต้องร่วมรับผิดชอบปริมาณน้ำนมโคของเกษตรกรตามนสัดส่วนสิทิประโยชน์ที่ตนได้รับ 3. หลักความมั่นคง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและได้ขึ้นทะเบียนกับทางราชการต้องได้รับการดูแลให้มีแหล่งจำหน่ายน้ำนมโค และ 4.หลักความรับผิดชอบ มีความวางใจ และเคารพในสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
แต่หากกรณีผู้ซื้อหรือผู้ขาย ไม่ปฎิบัติตามบันทึกข้อตกลงตามเอ็มโอยู เช่น ไม่รับซื้อหรือไม่ขายน้ำนมโค ให้คู่ค้าตามข้อตกลงโดยเจตนา ต้องยินยอมให้มิลค์บอร์ดพิจารณาตัดสิทธิต่างๆ ที่ควรจะได้รับแก่ผู้ซื้อหรือผู้ขายที่กระทำการดังกล่าวและหรือเบี้ยปรับ หรือบทลงโทษอื่นๆ ตามที่ มิลค์บอร์ด กำหนด และคำวินิจฉัยชี้ขาดมิลค์บอร์ดให้ถือเป็นที่สุด
นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบ ไม่ใช่เป็นบทบาทของคณะอนุกรรมการบริหารนมทั้งระบบที่จะลงโทษ เพียงแต่มอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมปศุสัตว์ไปช่วยเหลือสหกรณ์โคนมชะอำ-ห้วยทราย จำกัด เพื่อบรรเทาผลกระทบ จากการที่ วษ.เพชรบุรี ไม่ปฎิบัตตามเอ็มโอยู ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มิลค์บอร์ดกำหนด จะต้องถูกลงโทษ ก็แล้วแต่มิลค์บอร์ดจะมีมติอย่างไร ต้องตามผลมติประชุมมิลค์บอร์ด คาดว่าจะมีประชุมในเร็วๆนี้