All Blog
เกษตรกรต้นแบบทำกินบนที่ดินได้รับจากรัฐอย่างมีคุณภาพ
นายอาชว์ชัยชาญ  เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ด้วยกรมส่งเสริมการเกษตรมีภารกิจในการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรในทุกพื้นที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรของตนเองได้อย่างยั่งยืน

โดยในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรในพื้นที่ที่มีเงื่อนไขพิเศษ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการส่งเสริมความรู้ให้แก่เกษตรกรซึ่งได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินจากภาครัฐมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันมีแปลงเรียนรู้และเกษตรกรต้นแบบเกิดขึ้นทุกภูมิภาค ซึ่งเกษตรกรต้นแบบสามารถทำการเกษตรบนที่ดินทำกินที่ได้รับการจัดสรรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการส่งเสริมให้เพาะปลูกพืชแบบผสมผสาน

ทั้งนี้เช่นพืชผักสวนครัว ตลอดจนไม้ยืนต้น สามารถดำรงชีพด้วยผลผลิตของตนเอง ช่วยลดรายจ่ายที่จะต้องซื้อหาอาหารเพื่อมาบริโภค ซึ่งส่วนที่เหลือยังสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มเติมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่าเหลือรับประทานก็นำไปจำหน่าย ทั้งนี้ เกษตรกรต้นแบบที่มีอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยเหล่านี้สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินรุ่นต่อ ๆ ไป

ในส่วนของภาคตะวันออก นางประภาภรณ์ พื้นผา เกษตรกร ต.นาจำปา อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการประกอบอาชีพรับจ้าง รายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีพ เมื่อได้เข้าร่วมโครงการจึงมีความตั้งใจที่จะทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงครอบครัว แม้มีปัญหาอุปสรรคเรื่องดินแข็ง และขาดน้ำในช่วงแรกก็ไม่เคยย่อท้อ เพราะมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเข้าไปให้คำแนะนำในการเพาะปลูกและวิธีกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ


 



 
ปัจจุบันเกษตรกรมีรายได้ใช้จ่ายเพียงพอในการดำรงชีวิต มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหารเนื่องจากปลูกผักและเลี้ยงปลาไว้รับประทานในครอบครัว และยังมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้มีความรู้ในการปลูกผักหวานป่า และทำเกษตรผสมผสานเป็นอย่างดี จนได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรให้เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานแก่เกษตรกรรุ่นต่อมา

สำหรับภาคกลาง นายสุ่ม คุณทวงศ์ เกษตรกรผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน ต.ระกำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ก่อนเข้าร่วมโครงการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป หากวันใดไม่มีงานก็ขาดรายได้ ประกอบกับอายุที่มากขึ้นทำให้ทำงานรับจ้างได้ไม่เต็มที่ เมื่อได้เข้าร่วมโครงการจึงเริ่มหันมาทำการเกษตรแบบจริงจัง โดยเน้นปลูกพืชผสมผสานและพืชผักสวนครัว

โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เข้าไปให้คำแนะนำในการทำเกษตรอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความขยัน มุมานะในการทำการเกษตรแม้แต่ในพื้นที่ที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือศักยภาพต่ำ ปัจจุบันเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีวิต เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในเรื่องอาหาร สามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรไว้รับประทานเอง และจำหน่ายแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านใกล้เคียง

รวมทั้งมีความรู้ในการทำเกษตรผสมผสาน และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างดี จนได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรให้เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานแก่เกษตรกรรายอื่นอย่างต่อเนื่อง



 



 
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตร สร้างเกษตรกรต้นแบบรวม 30 ราย โดยมีแปลงที่ดินทำกินต้นแบบแล้วใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี อุทัยธานี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ และพัทลุง

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรวางแผนพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้เกษตรกรที่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน ตอบสนองนโยบายของรัฐในการสร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดินของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ





 






 



Create Date : 10 เมษายน 2563
Last Update : 10 เมษายน 2563 15:32:37 น.
Counter : 909 Pageviews.

0 comment
ผุดแคมเปญ“ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด”สู้โควิด
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกภาคส่วนจากการปิดเมืองหรือการยกเลิกกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก การค้าระหว่างประเทศ การขนส่ง

รวมทั้งสินค้าเกษตร ซึ่งบางสินค้าจะมีผลผลิตออกมากในช่วงวิกฤตนี้และไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะตลาดเกาหลี ญี่ปุ่น ยุโรป ซึ่งต้องส่งทางเครื่องบินและขณะนี้ไม่มีเที่ยวบินไปยังประเทศเหล่านี้ ตลาดในประเทศชะลอตัวเนื่องจากผู้บริโภคเดินตลาดน้อยลง และเน้นการซื้อสินค้าที่จำเป็นมากกว่า

ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ ซึ่งสินค้าไม่สามารถเก็บรักษาได้ในระยะเวลานาน เช่น มะม่วง มังคุด องุ่น ลิ้นจี่ ลำไย พืชผัก ไม้ดอกต่าง ๆ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องรีบจำหน่ายผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคก่อนสินค้าเกษตรจะเสียหาย กระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์
 
โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสริเริ่มจัดทำโครงการสนับสนุนสินค้าเกษตรไทยสู้ภัย COVID-19 เพื่อรณรงค์ส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยและช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนในช่วงสถานการณ์ COVID – 19 ภายใต้แนวคิด (Campaign) “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด”

 


 
โดยให้ส่วนราชการ บริษัท ห้าง/ร้าน และประชาชนช่วยกันอุดหนุนซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพดีไปมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ทหาร เทศกิจ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ต้องเสียสละเวลาในการดูแลประชาชนในพื้นที่

เบื้องต้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้ระดมทุนส่งมอบผลผลิตมะม่วงคุณภาพดีจากเกษตรแปลงใหญ่ส่งไปยัง 4 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลทรวงอก โรงพยาบาลบำราศนราดูร โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

หรือจะมอบเป็นของขวัญของฝากคนที่รักและห่วงใยแก่ครอบครัวที่ต้องอยู่ห่างไกลกัน ให้ได้บริโภคสินค้าเกษตรสด ใหม่ และมีคุณภาพในช่วงนี้ รูปแบบการดำเนินงานเบื้องต้นจะเชิญชวนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ บริษัท ห้าง/ร้าน และประชาชน ร่วมสั่งซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพจากเกษตรกร และนำไปมอบให้กับผู้มีภารกิจหน้าที่ในการป้องกัน รักษาสุขภาพของประชาชนเพื่อต่อสู้ภัย COVID – 19


 


 
ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยกรมส่งเสริมการเกษตรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบสินค้านั้น ๆ จะประสานอำนวยความสะดวกการสั่งซื้อสินค้าจากเกษตรกรให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะสั่งซื้อสินค้าดังกล่าว

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าสู้ภัย COVID-19 ทั้ง 4 โครงการย่อย ได้แก่ 1) โครงการประสานใจเกษตรกรไทยสู่พี่น้องชาวจีนสู้วิกฤต COVID-19 เป้าหมาย ทุเรียน 20 ตัน มังคุด 20 ตัน

2) โครงการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ภายในประเทศ Eat Thai First เป้าหมาย 111,000 ตัน 3) โครงการสินค้าเกษตรไทยปลอดภัยจาก COVID-19 เป้าหมาย รับรอง GAP 70,000 แปลง รับรอง GMP 180 โรง และ 4) โครงการหาตลาดใหม่สินค้าเกษตรเพิ่มเติม ได้แก่ จีน UAE ตุรกี และเครือรัฐออสเตรเลียนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมสนับสนุนในทุกโครงการ โดยเฉพาะโครงการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ภายในประเทศ Eat Thai First


 


 
ขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานกับตลาดไทและ Home pro เรียบร้อยแล้ว มีเป้าหมายการจำหน่ายสินค้าทั้ง 2 แห่ง รวม 1,200 ตัน โดยตลาดไทยินดีให้ใช้พื้นที่ในช่วงฤดูกาลผลิต

นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้รับความร่วมมือจากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการส่งเสริมเกษตรกรให้จำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ โดยคัดเลือกเกษตรกรและเกษตรกรแปลงใหญ่ลงทะเบียนกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อกระจายสินค้าสู่ตลาดปลายทาง เป้าหมาย 2,000 ตัน

ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ค่าขนส่งสินค้าเกษตรเฉพาะผักและผลไม้สด กิโลกรัมละ 8 บาท ภายใต้เงื่อนไขเกษตรกรต้องสมัครเป็นสมาชิกจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบ Thailandpostmart.com และเมื่อสมัครต้องใส่โค้ด : กรมส่งเสริมการเกษตร และต้องได้รับการอนุมัติให้ขายออนไลน์บน Platform Thailandpostmart.com

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังได้เตรียมเปิดเว็บไซต์ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านระบบออนไลน์ภายใต้ชื่อ “ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com” ซึ่งจะมีหมวดหมู่สินค้าจากทั่วประเทศให้เลือกช้อป 9 หมวดหมู่ ได้แก่ ผัก, ผลไม้, ไม้ดอกไม้ประดับ, ข้าวและธัญพืช, อาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม, สมุนไพรและเครื่องสำอาง, ผ้าและเครื่องแต่งกาย, หัตถกรรมและสิ่งประดิษฐ์ และอื่น ๆ โดยจะเริ่มเปิดตัวทดสอบระบบในวันที่ 10 เมษายน 2563 นี้




 





 



Create Date : 08 เมษายน 2563
Last Update : 8 เมษายน 2563 21:32:59 น.
Counter : 599 Pageviews.

0 comment
"กรมส่งเสริมการเกษตร"ฝ่าวิกฤติพิชิตโควิด
กรมส่งเสริมการเกษตร ปรับแผนงาน 4 ด้าน เน้นปฏิบัติงานออนไลน์มากขึ้น มั่นใจบริการเกษตรกรต่อเนื่อง ย้ำเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตนเคร่งครัด รักษาความสะอาดสำนักงานสม่ำเสมอ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้วางมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีการปรับแผนการทำงานทั้ง 4 ด้าน

ได้แก่ 1) ด้านบริการเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนให้เกษตรกรปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชัน Farmbook พร้อมเปิดช่องทางให้เกษตรกรขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ค ไลน์ และโทรศัพท์ ของสำนักงานในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ค ยูทูป เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้จากที่บ้านได้

2) ด้านการจัดระบบภารกิจงานส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานทั้งระดับกรมและหน่วยงานภูมิภาค ปรับระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตร T&V System สู่การดำเนินงานบนระบบออนไลน์ เช่น การประชุมทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Video Conference) เพื่อลดการพบปะโดยตรง รวมทั้งเลื่อนการจัดอบรมและสัมมนา หรือปรับเป็นการดำเนินการ


 


 
ในรูปแบบออนไลน์แทน ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรมั่นใจว่าจะสามารถให้บริการเกษตรกรและประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ยังช่วยเพิ่มช่องทางออนไลน์ในการกระจายผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรในช่วงสถานการณ์ COVID-19

โดยเปิดพื้นที่ออนไลน์ เช่น นำเสนอข้อมูลแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพดี ผ่านทางเฟซบุ๊ค “ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร” เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค และยังเป็นการช่วยลดผลกระทบให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

สำหรับด้านที่ 3 ด้านบุคลากร กรมส่งเสริมการเกษตรได้สร้างการรับรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของเจ้าหน้าที่ เช่น รณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และดูแลสุขภาพตนเอง จัดให้มีมาตรการปฏิบัติราชการที่บ้าน (DOAE Work from Home) และเหลื่อมเวลาในการเข้าทำงาน วางระบบให้บุคลากรพัฒนาตนเองผ่านการเรียนออนไลน์ (E-learning)

รวมทั้งงดเดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นกรณีจำเป็นอย่างยิ่งจะพิจารณาเป็นรายกรณีและให้ปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังตามมาตรการในการควบคุมโรคของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และ 4) ด้านอาคารสถานที่ กรมส่งเสริมการเกษตร


 



 
กำหนดให้เจ้าหน้าที่ปรับระยะห่างระหว่างโต๊ะทำงานอย่างน้อย 1 เมตร มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้ออาคารและยานพาหนะอย่างสม่ำเสมอ โดยเพิ่มความตระหนักให้กับพนักงานทำความสะอาดดูแลความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางของสำนักงาน

รวมทั้งสิ่งของที่ใช้งานบ่อยครั้งและบริเวณที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น ที่จับประตู ห้องน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือแอลกอฮอล์ที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ตลอดจนกำหนดทางเข้า-ออกทางเดียว วัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าอาคาร และจัดวางเจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์กระจายในพื้นที่ส่วนกลางของสำนักงานอย่างทั่วถึง

รวมทั้งกำหนดให้มีการลงทะเบียนและจัดพื้นที่เฉพาะสำหรับผู้มาติดต่อราชการทุกอาคารสำนักงานด้วย ทั้งนี้หน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรทุกแห่งมีความพร้อมให้บริการแก่ประชาชน แต่อาจจะแตกต่างกันไปตามมาตรการของแต่ละจังหวัด จึงขอให้เกษตรกรที่ต้องการติดต่อราชการ โทรศัพท์เข้าไปสอบถามที่สำนักงานก่อนล่วงหน้า จะทำให้เกิดความสะดวกในการรับบริการมากขึ้น



 



 



Create Date : 07 เมษายน 2563
Last Update : 7 เมษายน 2563 22:08:35 น.
Counter : 831 Pageviews.

0 comment
มาเลเซียเลื่อนเปิดด่านปาดังฯ

กยท. แจ้งมาเลเซียเลื่อนเปิดด่านส่งออกปาดังเบซาร์ เป็น 7 เมษายน 

นายขจรจักษณ์ นวลพรมสกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กระทรวงต่างประเทศ มาเลเซีย ทำหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยชี้แจงว่า การเปิดบริการด่านระหว่าง 2 ประเทศ (มาเลเซียและไทย) คือ  ด้านเปอริสและด้านปาดังส์เบซาร์ จ.สงขลา  จะเปิดดำเนินการได้ ในวันที่ 7 เมษายน  2563 นี้ ซึ่งเป็นการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

 


 

“เชื่อว่าเมื่อประเทศไทยสามารถส่งสินค้าข้ามด่านชายแดนมาเลเซียทั้งด่านสะเดา และด่านปาดังเบซาร์ จะทำให้สถานการณ์ในการส่งออกยางพาราดีขึ้น และผู้ประกอบการที่รับซื้อยางจะกลับมาซื้อยางจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มมากขึ้นด้วย”



 
 


 









 



Create Date : 06 เมษายน 2563
Last Update : 6 เมษายน 2563 15:36:43 น.
Counter : 626 Pageviews.

0 comment
ครัวจังหวัดเกษตรอินทรีย์ ฝ่าวิกฤตโควิด-19
นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน แปลงเรียนรู้ "พืชผักอินทรีย์ วิถีอุทัย" ณ ตำบลเกาะเทโพ อ.เมืองจังหวัดอุทัยธานี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า แปลงเรียนรู้ พืชผักอินทรีย์ วิถีอุทัย มีการดำเนินการมาได้1เดือนกว่า ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ในส่วนพืชระยะสั้น สามารถเก็บเกี่ยวบริโภคและจำหน่ายได้


 




 
ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายหน่วยงานของรัฐ อาทิ กรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุนในส่วนของการควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยใช้แมลงหางหนีบ และ ไส้เดือนฝอย นอกจากนี้ยังได้บูรณาการร่วมมือกับกระทรวงต่างๆกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้าใจแหล่งเรียนรู้ให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และการสนับสนุนได้ง่าย  

"เป็นที่ทราบดีว่า สถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ได้สร้างความกังวลใจให้กับทั้งเกษตรกร และประชาชน ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่นิ่งนอนใจ พร้อมที่จะบูรณาการแผน ในส่วนของการกระจายสินค้าให้เพียงพอในแต่ละจังหวัด และต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ การจัดตั้ง "ครัวจังหวัด" 



 

 

จึงเป็นแผนที่พร้อมจะดำเนินการต่อไป เพื่อประโยชน์ของประชาชนและผู้บริโภค เนื่องจากมองว่าสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดดังกล่าว อาจส่งผลกระทบระยะยาว การปิดเมือง หรือปิดประเทศ ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถรับสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการบริโภคอาหารสำเร็จรูป ในระยะเวลาที่ติดต่อกัน จะส่งผลต่อสุขภาพและอนามัยซึ่งจะเป็นปัญหาให้กับประชาชนล้มป่วย สุขภาพไม่แข็งแรง"รมช.กล่าว

นอกจากนี้ผลผลิตจากแปลงเรียนรู้ พืชผักอินทรีย์ วิถีอุทัย ได้นำมอบให้กับวัดท่าซุง (จันทาราม)  เพื่อแจกจ่ายและประกอบอาหาร แก่พระสงฆ์และประชาชนต่อไป 




 







 



Create Date : 04 เมษายน 2563
Last Update : 4 เมษายน 2563 20:17:21 น.
Counter : 690 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments