All Blog
"มนัญญา"ขับเคลื่อนกัญชง-กัญชาจากแปลงวิจัยสู่ครัวเรือน
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์  รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ให้นโยบายกับกรมวิชาการเกษตร(กวก.)ไปหารือกับคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)กระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงและกัญชา ภายหลังที่กฎกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าภายในเดือนก.พ. 2564 จะได้แนวปฏิบัติออกมาเพื่อให้ประชาชนที่สนใจจะปลูกรับทราบภายใต้การกำกับของอย.และมีกรมวิชาการเกษตรเป็นพี่เลี้ยงทางด้านวิชาการ

แนวปฏิบัติดังกล่าวจะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การขออนุญาตปลูก การตรวจแปลง การตรวจสารยาในเมล็ด ไปจนถึงการจับคู่รับซื้อผลผลิตทั้งหมด จนถึงกระบวนการแปรรูป  เนื่องจากเป็นพืชควบคุม ทั้งนี้จะส่งผลให้ประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะปลูกสามารถที่จะยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตได้ที่คณะกรรมการระดับจังหวัด เพราะรัฐบาลต้องการให้นโยบายที่ออกมาสร้างอานิสงค์ทั้งการสร้างงานและการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ภายใต้กำกับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”รมช.เกษตรฯกล่าว

ทั้งนี้แนวปฏิบัติประกอบด้วย  1.การนำเข้าเมล็ดพันธุ์และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรจะเร่งดำเนินการประกาศให้เมล็ดพันธุ์กัญชาและกัญชงเป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุมตามพรบ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 โดยในระหว่างรอประกาศ จะใช้ระเบียบและกฎเกณฑ์ของอย.ไปพรางก่อน เมื่อมีประกาศแล้ว ให้สองหน่วยงานบูรณาการในการรับรองใบอนุญาต 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. การขออนุญาตปลูกเป็นของอย. ซึ่งจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัด พิจารณาและรวบรวมรายชื่อผู้ปลูกและหลักฐานการยื่นให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดและหน่วยงานในกระทรวงเกษตรดูแล  ตั้งแต่การเตรียมแปลง ตามเก็บเกี่ยว และส่งผลการตรวจประเมินความสามารถของผู้ปลูกให้อย. และกระทรวงเกษตรฯจะร่วมตรวจสอบการนำเข้าการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่าย การควบคุมการผลิตต้นกล้าและคุณภาพต้นกล้าเพื่อให้ได้คุณภาพตรงตามสายพันธุ์ 
 
3.การทดสอบคุณภาพของกัญชาและกัญชง ผู้ปลูกและผู้ซื้อสามารถใช้อุปกรณ์ตรวจเบื้องต้นได้เอง และกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้เอกชนตั้งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของสารสกัดจากกัญชาและกัญชง เพื่อให้การบริการประชาชนทั่วถึง 
 
4.การซื้อ-ขายกัญชาและกัญชง จะเป็นการซื้อ-ขายโดยตรงหรือระบบcontract farming ระหว่างผู้ซื้อและผู้ปลูก  รวมถึงการจัดตั้งตลาดกลางกัญชา ตลาดกลางกัญชง เป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายที่มีกำหนดมาตรฐานสินค้า การกำหนดราคากลาง และการซื้อขายที่เป็นธรรมโดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ภายหลังแนวปฏิบัติได้รับการเห็นชอบแล้วทั้งสองหน่วยงานจะมีการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายของรมช.เกษตรฯ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบตลอดห่วงโซการผลิต ในขณะที่กรมวิชาการเกษตรเองปัจจุบันได้เร่งงานวิจัยพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศของไทย 
 
โดยจะมีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ในระยะต่อไป  ขณะที่งานการรับรองพันธุ์ ตามพรบ.พันธุ์พืช  พ.ศ. 2518   ปัจจุบันกรมได้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว 1 พันธุ์คือ กัญชาพันธุ์อิสระ 01 เมื่อต้นเดือนก.พ.2564 ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านั้นกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขโครงการปลูกกัญชา 6ต้น โนนมาลัยโมเดล  ที่บ้านโคกนาค ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์  โดยให้คำปรึกษาด้านการขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง  การปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้เป็นต้นแบบการปลูกกัญชาในระดับครัวเรือนและพร้อมสนับสนุนหากสธ.จะขยายการดำเนินการไปทั่วประเทศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปัจจุบันกรมได้มีแผนการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาและกัญชง โดยการรวบรวมและศึกษาขยายพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้าต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยดำเนินการที่กรุงเทพฯเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ดี  และที่ศูนย์เชียงรายเป็นการทดลองปลูกในสภาพโรงเรือน การทดสอบสายพันธุ์คุณภาพเพื่อใช้ทางการแพทย์ การศึกษาการจำแนกกัญชาเพื่อรองรับการคุ้มครองพันธุ์พืช การวิจัยยีนและการแสดงออกของยีน  
 
ได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม ที่วิสาหกิจชุมชนเพ-ลา เพลินและวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพรไทยโนนมาลัย จ.บุรีรัมย์


 
 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2564 19:42:02 น.
Counter : 496 Pageviews.

0 comment
"กรมส่งเสริมการเกษตร"เดินหน้าผลิตพืชผักสวนครัวช่วยเกษตรช่วงฤดูแล้ง
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการช่วยเหลือดูแลและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตร และทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยกรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรหากเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ 
 
จึงได้วางแผนในการผลิตพันธุ์พืชพันธุ์ดีสำรองไว้สนับสนุน บรรเทาผลกระทบดังกล่าว รวมทั้งเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมส่งเสริมการเกษตร โดยกองขยายพันธุ์พืชจึงได้จัดทำ “โครงการผลิตพืชพันธุ์ดีเพื่อสำรองในกรณีช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย และใช้ในภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร” ขึ้น 
 
พร้อมมอบหมายให้ศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 10 แห่ง ดำเนินการผลิตพืชพันธุ์ดี มีคุณภาพให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชวางแผนการผลิตร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มีเป้าหมายการผลิตสำรองจำนวน 4,410,000 ต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นายวิชัย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการกองขยายพันธุ์พืช กล่าวว่า ศูนย์ขยายพันธุ์พืชของกรมส่งเสริมการเกษตร มีจำนวน 10 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ตรัง นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ พิษณุโลก มหาสารคาม ลำพูน สุพรรณบุรี และจังหวัดอุดรธานี มีหน้าที่ในการผลิตพืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต 
 
ทั้งนี้คือ การขยายพันธุ์พืชพันธุ์ดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ท่อนพันธุ์ ต้นพันธุ์ และเมล็ดพันธุ์ ซึ่งตามโครงการผลิตพืชพันธุ์ดีเพื่อสำรองในกรณีช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย และใช้ในภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรนั้น เป็นการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะกล้าในถาด และดูแลบำรุงรักษาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้ได้ต้นพืชที่แข็งแรง 
 
พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถนำไปเพาะปลูกได้ง่ายและได้รับผลผลิตเร็วขึ้น  ซึ่งขณะนี้ศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศได้ดำเนินการจัดส่งต้นพันธุ์พืชผักสวนครัว จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กะเพรา โหระพา แมงลัก พริก และมะเขือ จำนวนกว่า 2,205,000 ต้น ให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดในเขตรับผิดชอบ เพื่อนำส่งมอบให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แล้ว 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หากเกษตรกรท่านใดมีความสนใจประสงค์ขอรับการสนับสนุนสามารถติดต่อสอบถามได้ ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ ในวันและเวลาราชการ #พืชพันธุ์ดีต้องที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืช
 

 

 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2564 19:02:58 น.
Counter : 520 Pageviews.

0 comment
"เกษตรฯ"เร่งยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่เชื่อมโยงตลาด
นายอำพันธ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือการดำเนินโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงการตลาด ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงาน 6 หน่วยงาน 
 
ทั้งนี้ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมการข้าว กรมหม่อนไหม และการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีแปลงใหญ่ที่มีความพร้อมและแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการผ่านระบบ CO-Farm แล้ว จำนวน 1,538 แปลง และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนฯ แล้ว จำนวน 376 แปลง

โดยที่ประชุมได้สั่งการให้หน่วยงานเร่งดำเนินการในส่วนต่าง ๆ ได้แก่ 1) ให้หน่วยงานตรวจสอบความซ้ำซ้อนกิจกรรมของกลุ่มแปลงใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ และรายงานให้ฝ่ายเลขาฯ (กรมส่งเสริมการเกษตร) ทราบภายในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2) มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับโครงการในประเด็นคำถามที่พบบ่อย เพื่อให้ทุกกรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่อย่างถูกต้องในทิศทางเดียวกัน และ 3) มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนทีมงานในระดับจังหวัด/อำเภอ พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างการรับรู้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดจัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการฯ ผ่าน VDO Conference ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ที่จะถึงนี้ โดยได้ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาคเข้ารับฟังการประชุมดังกล่าวอย่างพร้อมเพียงเพื่อการรับรู้ในทิศทางเดียวกัน


 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2564 17:32:42 น.
Counter : 383 Pageviews.

0 comment
“ฟรุ้ทบอร์ด”เดินหน้ากลยุทธ์“สั่งซื้อล่วงหน้า”จับมือไปรษณีย์ขนส่งทั่วไทย
“เฉลิมชัย”ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การตลาดแนวใหม่มอบ “ฟรุ้ทบอร์ด” เดินหน้ากลยุทธ์ระบบ “สั่งซื้อล่วงหน้า”(Pre-Order) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ระดมทีมอีคอมเมิร์ซกระทรวงเกษตรฯผนึก “พาณิชย์” จับมือไปรษณีย์ไทย1,300 สาขาช่วยขายผลไม้พร้อมขนส่งทั่วไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าโครงการ “สั่งซื้อผลไม้ล่วงหน้า(Pre-order)” ว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) ได้มอบนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” เป็นนโยบายหลักในการเพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลาย 
 
ทั้งในรูปแบบตลาดออนไลน์ ตลาดออฟไลน์ โมเดิร์นเทรด (Modern Trade) รถโมบาย ตลาดสด ตลาดชุมชน คาราวานสินค้า เกษตรพันธะสัญญา และเคาน์เตอร์  เทรด จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจและการค้า โดยร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้โมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย” 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เพื่อพัฒนาการตลาดของผลไม้และแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ออกมาในเวลาพร้อมกันดังนั้นเพื่อให้เกิดมิติใหม่ของการแก้ไขปัญหานี้ ฟรุ้ทบอร์ดจึงมีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการอีคอมเมิร์ซของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์นำกลยุทธ์การตลาดแนวใหม่
 
ตามนโยบายของประธานฟรุ้ทบอร์ดมาใช้ในการทำงานเชิงรุกภายใต้ระบบ “สั่งซื้อล่วงหน้า” (Pre-order) โดยขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดระบบโครงสร้างการตลาดแบบครบวงจรจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ถึงผู้บริโภค บนแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วยบริการโลจิสติกส์และการจ่ายเงินออนไลน์ (E-payment) 
 
โดยร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นและทุกภาคีภาคส่วนนอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำปฏิทินผลไม้ เพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังผู้บริโภคล่วงหน้าว่าจะมีผลไม้ออกมาในช่วงเวลาใดบ้างของปี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฟรุ้ทบอร์ดได้เห็นชอบโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2564  งบประมาณ 492 ล้านบาท และมอบหมายกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์นำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบแล้วเพื่อสนับสนุนแผนงาน

ทั้งนี้ คือ(1) การกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตและการเชื่อมโยงการจำหน่ายช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก (2) การเพิ่มช่องการจำหน่าย (3) การรวบรวมรับซื้อผลผลิตเพื่อส่งออก (4) การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริโภคผลไม้” 
 
เป็นมาตรการบริหารจัดการผลไม้ในฤดูกาลผลิตปีนี้โดยเน้นการทำงานเชิงรุกล่วงหน้าซึ่งเป็นการปรับกลยุทธ์การทำงานต่อเนื่องจากฤดูกาลผลิตปีที่แล้วเพื่อรับมือกับผลกระทบจากโควิด19ระลอกใหม่และรับมือกับผลผลิตผลไม้ที่เพิ่มขึ้นในปีนี้กว่า24%จากรายงานการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการ E- commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การบริหารจัดการระบบห่วงโซ่ผลไม้ (Supply Chain) ตั้งแต่การคัดเลือกสวนผลไม้ที่มีคุณภาพเข้าร่วมโครงการ การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ช่องทางการสั่งซื้อล่วงหน้าแบบ pre-order ระบบการขายที่สะดวก มีการทำโปรโมชั่นที่โดนใจ 
 
โดยประชาสัมพันธ์ไปยังผู้บริโภคอย่างทั่วถึง ตลอดจนระบบการตรวจสอบย้อนกลับและการรับประกันคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคซึ่งถือเป็นระบบนิเวศน์ผลไม้ไทย (Thai Fruit eco-system ) 
 
ทำให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์สามารถมีช่องทางในจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์แปรรูปล่วงหน้าส่งถึงผู้บริโภคโดยตรง ผ่านช่องทาง Online Platform และผู้บริโภคมีช่องทางในการเข้าถึงผลไม้คุณภาพดีตามฤดูกาลจากสวนผลไม้ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายและการชำระเงินที่สะดวกสบาย น่าเชื่อถือ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นับเป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะช่วยระบายผลไม้ในช่วงที่ผลผลิตออกมาล้นตลาด ยิ่งกว่านั้นผู้บริโภคเองก็จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้คือได้บริโภคผลไม้ที่มีคุณภาพรวมทั้งเกษตรกรชาวสวนผลไม้จะสามารถทราบได้ล่วงหน้าว่ามีความต้องการผลไม้อะไรบ้างในราคาเท่าไหร่ และในช่วงเวลาใด หวังว่าการริเริ่มดำเนินการระบบสั่งซื้อผลไม้ล่วงหน้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในครั้งนี้จะเป็นอีกกลไกในการเพิ่มโอกาสการขายให้กับชาวสวนผลไม้และสหกรณ์ผลไม้

นายพีระ อุดมกิจสกุล ซีอีโอ.บริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทไปรษณีย์ไทย กล่าวว่า บริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นมีความยินดีที่ได้มีส่วนในความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ.ภายใต้การบริหารจัดการของฟรุ้ทบอร์ดและพร้อมบริการขนส่งผลไม้โดยคิดค่าบริการในอัตราพิเศษตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.นี้และบริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นยังมีสาขาทั่วประเทศถึง 1,300 แห่งที่พร้อมเป็นจุดบริการและช่วยส่งเสริมการขายผลไม้อีกด้วย
 
 

 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2564 15:11:30 น.
Counter : 612 Pageviews.

0 comment
โรคใบด่างมันสำปะหลังยังระบาดหนัก
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามสถานการณ์การระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านสระเพลง ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นายอำพันธ์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบว่ายังคงมีการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาได้สำรวจพื้นที่การระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลังของจังหวัดนครราชสีมาโดย พบการระบาด มากกว่าจำนวน 1.56 แสนไร่ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยเฉพาะ กรมส่งเสริมเร่งรัดดำเนินการหามาตรการการควบคุมการระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่เป็นการเร่งด่วนตอกจากนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังดำเนินการขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อไป ด้วย
 
 
 
 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2564 14:33:34 น.
Counter : 488 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments