HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
28 ธันวาคม 2553

ขึ้นเงินเดือนกันแบบไหนดีกว่ากัน

ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาผมได้รับคำถามแบบเดียวกันจากผู้อ่านหลายท่าน ที่ได้อ่านบทความเรื่องของวิธีการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน ที่ผมได้เคยเขียนไว้ในบทความเก่าๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะแยกออกเป็นสองวิธีก็คือ

- ขึ้นเป็น%ของเงินเดือนพนักงาน
- ขึ้นเป็น % ของค่ากลางของโครงสร้างเงินเดือนในระดับงานที่พนักงานคนนั้นดำรงอยู่

คำถามก็คือ แบบไหนที่ถูกใช้เยอะกว่ากัน และแบบไหนดีกว่ากัน

เป็นถามที่ตอบยากมากเลยครับ ผมก็เลยอยากจะตอบดังนี้นะครับ โดยปกติแล้วระบบในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทนั้น จะเป็นระบบที่แต่ละบริษัทออกแบบออกมาไม่เหมือนกันเลย และไม่สามารถที่จะเลียนแบบกันได้ ดังนั้น ผมกลัวว่าถ้าตอบไปแล้วว่าแบบไหนที่คนนิยม แล้วท่านผู้อ่านก็เอากลับไปใช้จริงตามวิธีที่เป็นที่นิยม ผลเสียก็อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ ก็เลยไม่ค่อยกล้าฟันธงเท่าไรครับ เอาเป็นว่าอย่าเลียนแบบวิธีการก็เป็นพอ เมื่อได้ทราบแล้วว่าระบบไหนใช้เยอะ และระบบไหนดีกว่ากันแล้ว ก็ลองพิจารณาความเหมาะสมของบริษัทท่านเองอีกครั้งก่อนที่จะนำเอาระบบใหม่เข้ามาใช้ในบริษัทนะครับ

วิธีการขึ้นเงินเดือนที่เป็นที่นิยมมากและบริษัทส่วนใหญ่ใช้กันมากก็คือ การขึ้นเงินเดือนเป็น % ของเงินเดือนพนักงานแต่ละคนครับ ก็คือ พนักงานคนไหนได้เงินเดือนเท่าไร ก็จะเอาเงินเดือนพนักงานคูณด้วย % การขึ้นเงินเดือน ออกมาเป็นเงินที่จะขึ้นให้กับพนักงาน

แต่วิธีการขึ้นเงินเดือนเป็น % ของค่ากลางโครงสร้างเงินเดือนนั้น เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับบริษัทที่มีการออกแบบโครงสร้างเงินเดือน เนื่องจากจะทำให้การบริหารโครงสร้างเงินเดือนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ พนักงานจะมีเงินเดือนที่ตันช้าลง เพราะเราใช้ค่ากลางเป็นเงินเดือนฐานในการขึ้น (ถ้าสงสัยลองค้นบทความเก่าๆ เรื่องวิธีการขึ้นเงินเดือนนะครับ)

จากคำถามที่ว่าแบบไหนดีกว่ากันนั้น คำตอบคือไม่มีแบบไหนดีกว่ากันครับ มีแต่แบบไหนที่เหมาะกับบริษัทเรามากกว่ากัน จากประสบการณ์ของผมในการออกแบบระบบบริหารเงินเดือนให้กับบริษัทต่างๆ นั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นโรงงานระดับกลางๆ มีพนักงานที่ไม่ค่อยใช้ความรู้ลึกมากนัก พนักงานกลุ่มนี้จะไม่ค่อยมองตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์ครับ แต่จะมองตัวเลขเป็นค่าเงินบาทเลยครับ ว่าเขาได้ขึ้นเงินเดือนกันกี่บาท เมื่อเทียบกับเพื่อนแล้วเพื่อนได้กันกี่บาท ดังนั้นระบบที่เหมาะกับการขึ้นเงินเดือนเป็นจำนวนเงินบาทเลยก็คือ ระบบการขึ้นเงินเดือนที่ค่ากลางของโครงสร้างเงินเดือนนั่นเอง เพราะถ้าพนักงานอยู่ในระดับงานเดียวกัน ไม่ว่าเงินเดือนจะต่างกันสักเท่าไร แต่ถ้าผลงานออกมาได้เท่ากัน ก็จะขึ้นเงินเดือนเท่ากัน ก็เลยทำให้ HR อธิบายให้กับพนักงานกลุ่มนี้ได้ง่ายกว่า และพนักงานเองก็ยอมรับได้ง่ายกว่าด้วย

แต่ถ้าองค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีพนักงานที่ทำงานในเชิงวิชาชีพ มีความเข้าใจเรื่องของเปอร์เซ็นต์เป็นอย่างดี การขึ้นเงินเดือนแบบเป็น% ของเงินเดือนพนักงานก็อาจจะดีกว่าก็ได้ เพราะเขาเข้าใจมาแบบนั้นอยู่แล้ว กล่าวคือ การขึ้น 10% ย่อมจะมากกว่า 8% (เลข 10 มากกว่า เลข8) เพียงแต่เงินเดือนของพนักงานที่ต่างกันจะทำให้เงินขึ้นต่างกันออกไป ถ้าพนักงานรับได้ก็จบครับ เขารับได้หรือไม่ ถ้าเงินเดือนตัวเองน้อยกว่า แต่ขึ้น 10% คำนวณเป็นเงินแล้วได้เงินน้อยกว่า คนที่เงินเดือนมากกว่า แต่ขึ้น 8% ถ้ารับได้ก็จบ เพราะ 10% นั้นมากกว่า 8% ครับ ต้องมองกันเป็นเปอร์เซ็นต์ครับ อย่าคิดเป็นเงินแล้วมาเทียบกัน

อย่างที่ได้บอกไป คนงานไทยส่วนใหญ่มองไม่ออกหรอกครับ เรื่องของเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น HR จะต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่า คนของเรานั้นมีวัฒนธรรมแบบใด มองตัวเลขแบบตัวเงินเลย หรือมองเป็น % และเข้าใจได้ในข้อจำกัดที่จะเกิดขึ้น แล้วค่อยเลือกระบบการขึ้นเงินเดือนที่เหมาะสม จะดีกว่านะครับ เพราะการเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์พนักงานนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากครับ จะต้องวางแผน และคำนวณให้ดีเสียก่อนครับ แล้วปัญหาจะเกิดน้อยครับ




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 28 ธันวาคม 2553 7:15:30 น.
Counter : 1635 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]