HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
20 ธันวาคม 2553

องค์ประกอบของค่าจ้างค่าตอบแทน (ตอนที่1)

ในการบริหารค่าจ้างหรือค่าตอบแทนของพนักงานนั้น ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของค่าจ้างแต่ละตัวอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่เพียงเงินเดือนเท่านั้น จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของค่าจ้างในภาพรวมด้วย หรือที่เราเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Pay mix นั่นเอง

โดยทั่วไปองค์ประกอบของค่าจ้างนั้นจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ก็คือ

- เงินเดือนมูลฐาน
- เงินคงที่อื่นๆ
- ค่าตอบแทนจูงใจตามผลงาน

ค่าตอบแทนใน 3 ส่วนนี้เป็นค่าตอบแทนที่องค์กรทั่วๆ ไปจัดให้กับพนักงาน โดยที่เงินเดือนมูลฐานนั้นเป็นถือว่าเป็นค่าจ้างหลัก โดยมีสัดส่วนเยอะที่สุดในบรรดาค่าจ้างทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมา ในบางบริษัทก็จะจัดให้มี เงินคงที่อื่นๆ ที่เพิ่มเติมมาให้นอกจากเงินเดือนมูลฐาน อาทิ ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ ค่าครองชีพ ค่าระดับงาน ฯลฯ เงินคงที่เหล่านี้ีมีขึ้นเพื่อที่จะทำให้งานในแต่ละตำแหน่ง หรือแต่ละระดับมีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของค่าจ้าง

บางบริษัทก็ใช้เงินคงที่อื่นๆ เหล่านี้ในการทำให้เงินเดือนพนักงานน้อยลงเล็กน้อย เพื่อทำให้ค่าล่วงเวลา การขึ้นเงินเดือน หรือ โบนัสที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานนั้นมีจำนวนที่น้อยลง เพราะเงินคงที่ต่างๆ เหล่านี้จะไม่ได้ถูกนำเข้ามาคิดคำนวณ เงินคงที่อื่นๆ เหล่านี้ จะมีการให้ที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นสัญชาติญี่ปุ่น จะมีการจัดเงินคงที่เหล่านี้ให้มากมาย แต่เงินเดือนจะน้อยหน่อย ตรงกันข้ามกับบริษัททางตะวันตก แทบจะไม่มีเงินคงที่ือ่ื่นๆ เหล่านี้เลย จะมีเพียงเงินเดือน และค่าตอบแทนจูงใจในรูปแบบต่างๆ เท่านั้น โดยเน้นไปที่การบริหารที่ง่าย และเข้าใจง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

ส่วนที่ 3 ก็คือเงินค่าตอบแทนจูงใจตามผลงาน ในส่วนนี้ก็จัดให้เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือจูงใจให้พนักงานสร้างผลงานให้กับบริษัท โดยทั่วไปก็จะประกอบไปด้วย ค่าขึ้นเงินเดือนตามผลงาน และโบนัสตามผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้พนักงานมีแรงจูงใจในการสร้างผลงานที่ดีให้กับบริษัท

เงินทั้ง 3 ส่วนนี้ จะมีสัดส่วนที่ไม่เท่ากันในแต่ละธุรกิจ การจัดส่วนผสมของ Pay mix ที่ดีนั้น จะต้องพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน อาทิ

- ลักษณะของตำแหน่งงาน ถ้างานนั้นๆ สามารถเน้นไปที่การสร้างผลงานได้โดยใช้ตัวกระตุ้น เช่น ถ้าสร้างผลงานมาก ก็น่าจะได้เงินมากขึ้น งานลักษณะนี้จะเน้นไปที่ เงินจูงใจตามผลงานมากกว่า เงินเดือน ตำแหน่งงานที่ชัดเจนมากสำหรับส่วนผสมค่าจ้างแบบนี้ก็คือ เหล่าบรรดาพนักงานขายทั้งหลาย ซึ่งได้รับ commission เป็นค่าจ้างที่กระตุ้นให้สร้างผลงานมากกว่าเงินเดือนเพียงอย่างเดียว

- พิจารณาจากกลุ่มธุุรกิจเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ว่าบริษัทเหล่านี้มีการจัดส่วนผสมของค่าจ้างอย่างไร ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งก็มีหลายๆ บริษัทที่ปรึกษาที่รับทำการสำรวจค่าจ้าง เราก็จะสามารถมองเห็นวิธีการบริหารค่าจ้างของบริษัทในธุรกิจเดียวกันได้ เพื่อที่จะได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้มาออกแบบการจ่ายค่าจ้างของบริษัทตนเองได้ เพื่อให้สามารถดึงดูดและรักษาพนักงานได้

นอกจากค่าจ้างใน 3 รูปแบบข้างต้นแล้วยังมีรูปแบบค่าจ้างแบบอื่นๆ อีก ซึ่งจะเขียนให้อ่านกันในวันต่อๆ ไปนะครับ องค์ประกอบของค่าจ้าง 3 รูปแบบข้างต้นนั้นถือเป็นองค์ประกอบปกติที่บริษัทส่วนใหญ่จัดให้กับพนักงานของตนเองครับ

จริงๆ ยังมีอีกหลายตัวครับ ไม่ว่าเรื่องของ ค่าตอบแทนความยากลำบาก ค่าตอบแทนจูงใจแบบระยะยาว ค่าตอบแทนสำหรับผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ ในวันพรุ่งนี้จะเขียนให้อ่านเพ่ิมเติมครับผม




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2553
2 comments
Last Update : 20 ธันวาคม 2553 6:00:29 น.
Counter : 1566 Pageviews.

 

H.E.L.L.O.H.E.L.L.O.!.!.!. สวัสดีตอนเช้าๆคร๊าบบบ ~

 

โดย: MaFiaVza 20 ธันวาคม 2553 6:30:54 น.  

 

น่าสนใจดีค่ะ ไว้มาอ่านอีกนะคะ ...

 

โดย: yourstarlight 20 ธันวาคม 2553 9:14:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]