Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
19 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
“​พระ​พุทธ​รูป​” ​ที่​เป็น​ตัว​อย่าง​พระ​พุทธ​รูป​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นาย​ุค​ปลาย​มี​พระ​นาม​ว่า​ “​พระ

“​พระ​พุทธ​รูป​” ​ที่​เป็น​ตัว​อย่าง​พระ​พุทธ​รูป​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นาย​ุค​ปลาย​มี​พระ​นาม​ว่า​ “​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​” ​และ​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​ที่​อยู่​ใน​สมัย​ของ​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” (​กษัตริย์​แห่ง​ราช​วงศ์​มัง​ราย​ที่​ครอง​อาณา​จักร​ล้าน​นา​

(​ต่อ​จาก​ฉบับ​วัน​เสาร์​ที่​แล้ว​) “​พระ​พุทธ​รูป​” ​ที่​เป็น​ตัว​อย่าง​พระ​พุทธ​รูป​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นาย​ุค​ปลาย​มี​พระ​นาม​ว่า​ “​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​” ​และ​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​ที่​อยู่​ใน​สมัย​ของ​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” (​กษัตริย์​แห่ง​ราช​วงศ์​มัง​ราย​ที่​ครอง​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ต่อ​จาก​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​) ​หรือ​อีก​พระ​นาม​คือ​ “​พระ​เจ้า​ศิ​ริ​ธรรม​จักรพรรดิ​ราช​” ​และ​ “​พระ​เจ้า​ดิลก​ปนัดดา​ธ​ิ​ราช​” ​โดย​ประวัติ​ของ​พระ​พุทธ​รูป​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​องค์​นี้​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” ​โปรด​เกล้า​ฯ ​ให้​สร้าง​ขึ้น​เมื่อ​วัน​พฤหัสบดี​ ​เดือน​ ๘ ​ขึ้น​ ๑๑ ​ค่ำ​ ​ปี​ชวด​ ฉอ​ศก​ ​จุลศักราช​ ๘๖๖ ​ตรง​กับ​พุทธ​ศักราช​ ๒๐๔๗ ​เมื่อ​หล่อ​เสร็จ​แล้ว​ช่าง​ได้​ทำ​การ​ตก​แต่ง​องค์​พระ​ให้​มี​ความ​สวย​งาม​ ​แต่​เนื่อง​จาก​องค์​พระ​มี​ขนาด​ใหญ่​จึง​ใช้​วิธี​หล่อ​แยก​ชิ้น​เป็น​ ๘ ​ชิ้น​ ​อีก​ทั้ง​มีน​้ำ​หนัก​มาก​จึง​ไม่​สามารถ​อัญเชิญ​เข้า​เมือง​เชียง​ใหม่​ (​นพ​บุรี​ศรี​นคร​พิง​ค์​เชียง​ใหม่​) ​ได้​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” ​จึง​โปรด​เกล้า​ฯ ​ให้​สร้าง​พระ​วิหาร​เป็น​ที่​ประดิษฐาน​ยัง​บริเวณ​ใกล้​กับ​สถาน​ที่​หล่อ​และ​ตก​แต่ง​องค์​พระ​ซึ่ง​อยู่​ใกล้​กับ​พระ​อาราม​ ​วัด​บุ​ป​ผา​ราม​ ​หรือ​ ​วัด​สวน​ดอก​ ​ใน​ปัจจุบัน​และ​โปรด​เกล้า​ฯ ​ให้​จัด​พระ​ราช​พิธี​สมโภช​อย่าง​ยิ่ง​ใหญ่​ ​ครั้น​ถึง​ ​วัน​พุธ​ ​เดือน​ ๕ ​ขึ้น​ ๔ ​ค่ำ​ ​ปี​มะเส็ง​ ​เอกศก​ ​จุลศักราช​ ๘๗๐ ​ตรง​กับ​ ​พุทธ​ศักราช​ ๒๐๕๒ ​จึง​ได้​อัญเชิญ​พระ​พุทธ​รูป​  “​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​” ​ประดิษฐาน​เป็น​พระ​พุทธ​ปฏิมา​ประธาน​ใน​ ​พระ​อุโบสถ​วัด​สวน​ดอก​ ​ตราบ​ปัจจุบัน​

​อนึ่ง​เนื่อง​จาก​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​องค์​นี้​มี​ขนาด​หน้า​ตัก​กว้าง​ ๓ ​เมตร​ ​สูง​ ๕.๗๐ ​เมตร​ ​องค์​พระ​มีน​้ำ​หนัก​ประมาณ​ ๑๓ ​ตัน​ ​แต่​ประชา​ชน​ชาว​ล้าน​นา​ใน​สมัย​นั้น​เชื่อ​กัน​ว่า​มีน​้ำ​หนัก​ ๙ ​ตัน​ ​จึง​เรียก​ขาน​พระ​พุทธ​รูป​องค์​นี้​ว่า​  “​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​” ​ซึ่ง​ท่าน​ ​รอง​ศาสตราจารย์​ ​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ ​ได้​ให้​ความ​เห็น​เกี่ยว​กับ​ศิลปะ​ของ​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​ซึ่ง​เป็น​ศิลปะ​ผสม​ใน​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นา​ไว้​ดัง​นี้​ “​พระ​พุทธ​รูป​สำคัญ​ที่​น่า​จะ​ใช้​เป็น​ตัว​แทน​ของ​พระ​พุทธ​รูป​ที่​สร้าง​ขึ้น​ ​ใน​สมัย​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​คือ​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​ใน​วิหาร​พระ​เจ้า​เก้า​ตื้อ​วัด​สวน​ดอก​เมือง​เชียง​ใหม่​ ​ซึ่ง​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​โปรด​เกล้า​ฯ ​ให้​สร้าง​ขึ้น​ใน​ปี​ พ.ศ. ๒๐๔๗ ​และ​แล้ว​เสร็จ​ใน​ปี​ พ.ศ. ๒๐๕๓ (​พระ​รัต​น​ปัญญา​เถระ​ ​ชิน​กาล​ ​มาลี​ปกรณ์​ ​หน้า​ ๑๓๖) ​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​สำริด​ล้าน​นาที​่​อยู่​ใน​สภาพ​สมบูรณ์​และ​มี​ขนาด​ใหญ่​มาก​ ​ส่วน​ลักษณะ​สำคัญ​เป็น​พระ​พุทธ​รูป​ใน​กลุ่ม​ที่​มี​อิทธิ​พล​พระ​พุทธ​รูป​หมวด​ใหญ่​ ​ใน​ศิลปะ​สุ​โข​ทัย​ประทับ​นั่ง​ขัด​สมาธิ​ราบ​บน​ฐาน​หน้า​กระดาน​เกลี้ยง​ ​พระ​พักตร์​รูป​ไข่​ ​พระ​รัศมี​เป็น​เปลว​ ​สังฆาฏิ​เป็น​แผ่น​ใหญ่​ยาว​ลง​มา​จรด​พระ​นาภี​ ​เป็น​ลักษณะ​ของ​อิทธิ​พลอย​ุ​ธ​ยา​แล้ว​ (​สันติ​ ​เล็ก​สุขุม​ ​ศิลปะ​ภาค​เหนือ​ : ​หริ​ภุญช​ัย-​ล้าน​นา​ ​หน้า​ ๒๑๙) ​ดัง​ที่​กล่าว​แล้ว​ว่า​ใน​ช่วง​กลาง​พระ​พุทธ​ศต​วรรษ​ที่​ ๒๑ ​นี้​ถือ​เป็น​ยุค​ที่​มี​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​เป็น​อย่าง​มาก​ ​และ​ส่วน​ใหญ่​นิยม​บอก​ศักราช​ไว้​ที่​ฐาน​ ​งาน​ส่วน​หนึ่ง​ได้​พบ​ว่า​มี​การ​สร้าง​ ​แพร่​หลาย​ไป​ยัง​หัว​เมือง​ต่าง​ ๆ ​ใน​ล้าน​นาถ​้า​มี​การ​ศึกษา​อย่าง​ละเอียด​ ​จะ​พบ​ว่า​พระ​พุทธ​รูป​ใน​แต่​ละ​เมือง​นั้น​จะ​มี​ลักษณะ​ร่วม​กัน​อยู่​ ​แต่​เป็น​เพราะ​ใน​แต่​ละ​ท้อง​ถิ่น​จะ​มี​ลักษณะ​เฉพาะ​ของ​ตัว​เอง​เกิด​ขึ้น​เช่น​ใน​กลุ่ม​สกุล​ช่าง​ ​เมือง​เชียง​ราย​ ​เชียง​แสน​ ​เชียง​ของ​ ​เมือง​แพร่​ ​เมือง​น่าน​ ​เมือง​ฝาง​ ​และ​เมือง​ลำ​ปาง​ ​เป็นต้น​” (​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ ​ศิลปะ​เมือง​เชียง​แสน​ ​หน้า​ ๑๘๑)

​จะ​เห็น​ได้​ว่า​ใน​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นาน​อก​จาก​รับ​เอา​อิทธิ​พล​ศิลปะ​ ​จาก​อาณา​จักร​เพื่อน​บ้าน​ ​อย่าง​เช่น​ ​สุ​โข​ทัย ​และ​ ​อยุธยา​ ​แล้ว​ยัง​มี​วิวัฒนาการ​ของ​ศิลปะ​แบบ​ผสม​ผสาน​เหล่า​นั้น​มา​เป็น​ศิลปะ​รูป​แบบ​ใหม่​และ​ได้​รับ​ความ​ ​นิยม​กระจัด​กระจาย​ไป​ใน​วง​กว้าง​ตาม​หัว​เมือง​ต่าง​ ๆ ​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาก​ระ​ทั่ง​เกิด​เป็น​ลักษณะ​ของ​การ​สร้าง​สรรค์​งาน​ศิลปะ​ ​ที่​ถือ​เป็น​ช่วง​ปลาย​ของ​ยุค​ทอง​ล้าน​นา​

​ใน​หนังสือ​ศิลปะ​เมือง​เชียง​แสน​ “​วิเคราะห์​งาน​ศิลปกรรม​ร่วม​กับ​หลัก​ฐาน​ทาง​โบราณ​คดี​และ​เอกสาร​ทาง​ประวัติศาสตร์​” ​อัน​เป็น​ผลง​า​นก​าร​ค้น​คว้า​วิจัย​ของ​ ​อาจารย์​ศักดิ์​ชัย​ ​ได้​กล่าว​ถึง​ ​พระ​พุทธ​รูป​หิน​ทราย​ ​สกุล​ช่าง​ ​พะ​เยา​ ​ที่​แปลก​แตก​ต่าง​ไป​จาก​หัว​เมือง​อื่น​ ๆ ​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​ที่​มี​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ด้วย​การ​หล่อ​ด้วย​โลหะ​สำริด​ ​แต่​ที่​เมือง​พะ​เยา​กลับ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ด้วย​หิน​ทราย​ซึ่ง​จาก​การ​ค้น​คว้า​วิจัย​ของ​ ​อาจารย์​ศักดิ์​ชัย​ ​ก็​มี​การ​ยอม​รับ​ว่า​สามารถ​จัด​กลุ่ม​พระ​พุทธ​รูป​ ​ที่​สร้าง​จาก​หิน​ทราย​ใน​เมือง​พะ​เยา​เป็น​อีก​สกุล​ช่าง​หนึ่ง​ใน​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​นอก​จาก​มี​อายุ​รุ่น​ราว​คราว​เดียว​กัน​แล้ว​ ​ยัง​มี​ความ​ร่วม​สมัย​กับ​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นาด​ัง​นี้​ “​ที่​เมือง​พะ​เยา​ได้​พบ​งาน​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ที่​มี​ลักษณะ​เฉพาะ​คือ​ ​สร้าง​ด้วย​หิน​ทราย​จึง​สามารถ​จัด​เป็น​อีก​สกุล​ช่าง​หนึ่ง​ใน​ล้าน​นา​ ​โดย​เฉพาะ​กลุ่ม​ที่​พบ​มาก​ที่​สุด​และ​แสดง​ให้​เห็น​ถึง​พัฒนา​การ​ ​อัน​เป็น​เอกลักษณ์​เฉพาะ​ของ​สกุล​ช่าง​พะ​เยา​อยู่​ใน​ช่วง​พุทธ​ศต​วรรษ​ที่​ ๒๑ ​ร่วม​สมัย​กับ​ยุค​ทอง​ของ​ล้าน​นา​” (​ศักดิ์​ชัย​ ​สาย​สิงห์​ ​ศิลปะ​เมือง​เชียง​แสน​ ​หน้า​ ๑๘๓)

​ดัง​นั้น​ใน​อดีต​เมือง​พะ​เยา​ก็​มี​ประวัติ​ความ​เป็น​มา​อัน​ยาว​นาน​ ​มี​การ​สร้าง​บ้าน​เมือง​เป็น​ของ​ตัว​เอง​และ​มี​เอกราช​โดย​สมบูรณ์​มี​ราช​วงศ์​กษัตริย์​ ​สืบ​ราช​สันติ​วงศ์​เฉก​เช่น​อาณา​จักร​อื่น​ ๆ ​โดย​ใน​อดีต​เมือง​พะ​เยา​มี​ชื่อ​เรียก​เฉพาะ​ว่า​ ​เมือง​ภู​กาม​ยาว​ ​หรือ​ ​เมือง​พ​ยาว​ ​และ​ใน​สมัย​อาณา​จักร​สุ​โข​ทัย​รุ่ง​เรือง​เมือง​พะ​เยา​ก็​มี​กษัตริย์​ ​ผู้​ทรง​พระ​ปรีชา​สามารถ​หลาย​พระ​องค์​ที่​มี​ชื่อ​เสียง​เป็น​ที่​รู้​จัก​กัน​ดี​คือ​ “​พ่อ​ขุน​งำ​เมือง​” ​ซึ่ง​เป็น​พระ​สหาย​กับ​ “​พ่อ​ขุน​เม็ง​ราย​มหาราช​” ​และ​ “​พ่อ​ขุน​ราม​คำแหง​มหาราช​” ​ดัง​นั้น​เมือง​พะ​เยา​จึง​มี​ความ​เข้ม​แข็ง​และ​มี​วัฒนธรรม​ ​รวม​ทั้ง​ศิลปะ​เป็น​ของ​ตัว​เอง​ ​จึง​สามารถ​สร้าง​สรรค์​งาน​ศิลปะ​โดย​เฉพาะ​ศิลปะ​พระ​พุทธ​รูป​ ​เป็น​เอกลักษณ์​ของ​ตัว​เอง​โดย​รับ​อิทธิ​พล​ศิลปะ​มา​จาก​เมือง​อื่น​ ๆ ​ด้วย​เช่น​กัน​

ใน​สมัย​ ​กรุง​ศรี​อยุธยา​ ​เป็น​อาณา​จักร​ยิ่ง​ใหญ่​เทียบ​ได้​กับ​ ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​ดัง​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​ว่า​อาณา​จักร​ล้าน​นาม​ี “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​ทรง​มี​พระ​บรม​   ​เดช​า​นุ​ภาพ​ยิ่ง​ใหญ่​ ​อาณา​จักร​กรุง​ศรี​อยุธยา​ก็​มี​ “​สมเด็จ​พระ​บรม​ไตร​โลกนาถ​” ​ก็​มี​พระ​บรม​เดช​า​นุ​ภาพ​มิ​ได้​ยิ่ง​หย่อน​ไป​กว่า​กัน​ ​เนื่อง​จาก​ทั้ง​สอง​พระ​องค์​มี​การ​สู้​รบ​ต่อ​กัน​อยู่​เสมอ​ ๆ ​โดย​หลัง​จาก​ “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​เสด็จ​ขึ้น​ครอง​เมือง​ ​นพ​บุรี​ศรี​นคร​พิง​ค์​เชียง​ใหม่​ (​เมือง​เชียง​ใหม่​ใน​ปัจจุบัน​) ​ใน​ปี​ พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๒๕ ​ได้​แผ่​พระ​ราช​อำนาจ​ลง​มาท​าง​ตอน​ใต้​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาท​รง​ยก​ทัพ​เข้า​ยึด​เมือง​สอง​แคว​ (​พิษณุโลก​) ​เมือง​เชลียง​ (​สวร​รค​โลก​) ​เมือง​สุ​โข​ทัย ​ไป​จน​ถึง​เมือง​กำแพง​เพชร​ ​ให้​อยู่​ภาย​ใต้​พระ​ราช​อำนาจ​ของ​พระ​องค์​สำเร็จ​ซึ่ง​ใน​ยุค​นี้​ ​เมือง​พะ​เยา​ได้​เสื่อม​อำนาจ​ลง​เนื่อง​จาก​กษัตริย์​อ่อน​แอ​ ​ดัง​นั้น​ใน​ปี​ พ.ศ. ๑๙๙๔-๒๐๓๐ “​พระ​ยาย​ุ​พิศ​เจียง​” ​ซึ่ง​เป็น​เจ้า​เมือง​สอง​แคว​ที่​ยอม​สวามิ​ภั​กด​ิ์​ต่อ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ได้​เสด็จ​มา​ครอง​เมือง​พะ​เยา​โปรด​ให้​สร้าง​เจดีย์​ ​วัด​พระ​ยา​ร่วง​ ​หรือ​ปัจจุบัน​เรียก​ว่า​    “​วัด​บุญ​นาค​” ​และ​โปรด​ให้​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ “​พระ​พุทธ​บุญ​นาค​” ​ซึ่ง​ปัจจุบัน​ประดิษฐาน​อยู่​ ณ ​พิพิธภัณฑสถาน​แห่ง​ชาติ​พระ​นคร​ ​ที่​ “​พระ​บาท​สมเด็จ​พระ​ปก​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​” ​รัช​กาล​ที่​ ๗ ​โปรด​ให้​รับ​การ​ทูล​เกล้า​ฯ ​ถวาย​จาก​บรรดา​เจ้า​นาย​ฝ่าย​เหนือ​เมื่อ​ครั้ง​เสด็จ​พระ​ราช​ดำเนิน​ทรง​เยี่ยม​เยียน​ราษฎร​ใน​มณฑล​พายัพ​เมื่อ​ปี​ พ.ศ. ๒๔๖๙ ​และ​ต่อม​า​ทรง​พระ​กรุณา​โปรด​เกล้า​ฯ ​พระ​ราช​ทาน​ให้​เป็น​สมบัติ​ของ​พิพิธภัณฑสถาน​แห่ง​ชาติ​พระ​นคร​ ​และ​ได้​พระ​ราช​ทาน​ถวาย​พระ​นาม​ใหม่​ว่า​ “​หลวง​พ่อ​นาค​”

​นอก​จาก​นี้​พระ​ยาย​ุ​พิศ​เจียง​ยัง​ได้​โปรด​ให้​สร้าง​ ​พระ​วิหาร​วัด​ป่า​แดง​ ​และ​พระ​พุทธ​รูป​ ​หลวง​พ่อ​ดอน​ชัย​ ​อีก​ทั้ง​ให้​อัญเชิญ​ ​พระ​พุทธ​ปฏิมา​แก่น​จันทร์​แดง​ ​จาก​ ​วัด​ปทุม​มาร​าม (​วัด​หนอง​บัว​) ​ประดิษฐาน​ ณ ​วัด​ป่า​แดง​ ​แต่​ต่อม​า ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ทรง​พระ​กรุณา​โปรด​เกล้า​ฯ ​ให้​อัญเชิญ​พระ​พุทธ​ปฏิมา​แก่น​จันทร์​แดง​ไป​ประดิษฐาน​ ณ ​วัด​อโศก​า​ราม​ ​หรือ​ ​วัด​ป่า​แดง​หลวง​ ​แห่ง​เมือง​ ​นพ​บุรี​ศรี​นคร​พิง​ค์​เชียง​ใหม่​ ​ตาม​ที่​ได้​กล่าว​ราย​ละเอียด​ไว้​แล้ว​ใน​ตอน​ต้น​ ​และ​ไม่​แต่​เท่า​นั้น​พระ​ยาย​ุ​พิศ​เจียง​ยัง​ได้​นำ​ช่าง​ปั้น​ถ้วย​ชาม​ ​และ​เครื่อง​สังค​โลก​อัน​เป็น​ศิลปะ​ของ​อาณา​จักร​สุ​โข​ทัย​ไป​เผย​แพร่​การ​ปั้น​ถ้วย​ชาม​และ​เครื่อง​สังค​โลก​ ​ยัง​เมือง​พะ​เยา​อีก​ด้วย​จึง​เห็น​ได้​ว่า​ใน​สมัย​พระ​ยาย​ุ​พิศ​เจียง​ ​เมือง​พะ​เยา​หรือ​เมือง​ภู​กาม​ยาว​หรือ​เมือง​พ​ยาว​ ​ก็​ร่วม​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาม​า​โดย​ตลอด​เช่น​กัน​

​ต่อม​า​ใน​ปี​ พ.ศ. ๒๐๓๔ ​หลัง​จาก​ “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​เสด็จ​สวรรคต​ “​พระ​เจ้า​ยอด​เชียง​ราย​” (​พระ​โอรส​ของ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​) ​ก็​เสด็จ​ขึ้น​ครอง​ราชย์​สืบ​ต่อ​เช่น​กัน​กับ​ ​เมือง​พะ​เยา​ ​ก็​มี​การ​เปลี่ยน​ผู้​ครอง​นคร​เป็น​ “​พระ​ยา​เมือง​ยี่​” ​และ​ใน​ปี​ พ.ศ. ๒๐๓๙ ​ได้​ปรากฏ​เหตุ​สำคัญ​ขึ้น​อีก​เรื่อง​คือ​มี​ตาย​าย​สอง​ผัว​เมีย​มี​จิต​ศรัทธา​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ “​พระ​เจ้า​ตน​หลวง​” ​ขึ้น​ทาง​ทิศ​เหนือ​ของ​เมือง​กว๊าน​พะ​เยา​ซึ่ง​ปัจจุบัน​ประดิษฐาน​อยู่​ที่​ ​วัด​ศรี​โคม​คำ​ ​จังหวัด​พะ​เยา​ ​แต่​ระหว่าง​เริ่ม​สร้าง​พระ​เจ้า​ตน​หลวง​ได้​เพียง​ ๕ ​วัน​ “​พระ​ยา​เมือง​ยี่​” ​ก็​ถึง​แก่​พิราลัย​เช่น​กัน​กับ​ “​พระ​เจ้า​ยอด​เชียง​ราย​” ​ก็​เสด็จ​สวรรคต​ทั้ง​ที่​ทรง​ครอง​ราชย์​ได้​เพียง​ ๕ ​ปี​เท่า​นั้น​จาก​นั้น​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” ​พระ​โอรส​ “​พระ​เจ้า​ยอด​เชียง​ราย​” ​เสด็จ​ขึ้น​ครอง​ราชย์​สืบ​ต่อ​และ​ทรง​ประกอบ​พระ​ราช​พิธี​ถวาย​พระ​เพลิง​พระ​บรม​ศพ​ “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​สมเด็จ​พระ​ป​รม​ั​ยก​า​ธ​ิ​ราช​ (​สมเด็จ​ปู่​) ​และ​ “​พระ​เจ้า​ยอด​เชียง​ราย​” ​พระ​ราช​บิดา​ ณ ​พระ​เมรุ​มาศ​ ​ภาย​ใน​บริเวณ​วัด​โพธ​า​ราม​มหา​วิหาร​แล้ว​โปรด​ให้​สร้าง​พระ​สถูป​สำหรับ​บรรจุ​พระ​บรม​อัฐิ​และ​พระ​บรม​ราช​สร​ี​ราง​คา​ร​ของ​ “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​ไว้​ที่​ ​วัด​โพธ​า​ราม​มหา​วิหาร​ ​หรือ​ ​วัด​เจ็ด​ยอด​ ​ดัง​ปรากฏ​มาตรา​บ​ปัจจุบัน​

​ทาง​ด้าน​เมือง​พะ​เยา​ “​พระ​ยา​หัว​เ​คี่​ยน” ​ได้​ครอง​เมือง​สืบ​ต่อ​ระหว่าง​นี้​ใน​ปี​ พ.ศ. ๒๐๖๗ ​ได้​ดำเนิน​การ​สร้าง​ “​พระ​เจ้า​ตน​หลวง​” ​สำเร็จ​บริบูรณ์​รวม​ระยะ​เวลา​การก​่อ​สร้าง​นาน​ถึง​ ๓๓ ​ปี​ ​ส่วน​การ​สร้าง​พระ​พุทธ​รูป​ของ​เมือง​พะ​เยา​ใน​ยุค​เริ่ม​แรก​ ​ก็​มี​การ​รับ​เอา​อิทธิ​พล​จาก​อาณา​จักร​เพื่อน​บ้าน​อย่าง​ ​สุ​โข​ทัย ​ผสม​ผสาน​กับ​ศิลปะ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​และ​ใน​ยุค​ต่อ​ ๆ ​มาก​็​รับ​เอา​อิทธิ​พล​จาก​อาณา​จักร​อยุธยา​มา​ผสม​ผสาน​ด้วย​ ​เนื่อง​จาก​ต่อม​า​อาณา​จักร​อยุธยา​มี​ความ​เข้ม​แข็ง​ขึ้น​เป็น​ลำดับ​ ​จน​สามารถ​ต่อ​กรก​ั​บอ​าณา​จักร​ล้าน​นาด​ัง​ที่​กล่าว​มา​แล้ว​ ​ดัง​นั้น​การ​สร้าง​สรรค์​ศิลปะ​พระ​พุทธ​รูป​ของ​เมือง​พะ​เยา​ ​ที่​มี​วิวัฒนาการ​ที่​เด่น​ชัด​ก็​อยู่​ใน​สมัย​ของ​พระ​ยาย​ุ​พิศ​เจียง​เท่า​นั้น​ (​อ่าน​ต่อ​ฉบับ​หน้า​).


'​ศิลปะ​เชียง​แสน​' (​ล้าน​นา​)​

“​พระ​พุทธ​รูป​ล้าน​นา​ระยะ​หลัง​” (​ตั้ง​แต่​ พ.ศ. ๒๐๖๗-๒๑๐๑) ​และ​ (​ตั้ง​แต่​ พ.ศ. ๒๑๐๑)

​หลัง​จาก​ “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​เสด็จ​สวรรคต​ ​เมื่อ​ปี​ พ.ศ. ๒๐๓๐ “​พระ​เจ้า​ยอด​เชียง​ราย​” ​ซึ่ง​เป็น​พระ​ราช​นัดดา​ (​หลาน​) ​ก็​ได้​เสด็จ​ขึ้น​ครอง​ราชย์​สืบ​แทน​แต่​ก็​เป็น​การ​ครอง​ราชย์​เพียง​ระยะ​สั้น​ ๆ ​เท่า​นั้น​คือ​เมื่อ​ถึง​ พ.ศ. ๒๐๓๘ ​เหล่า​เสนา​อำมาตย์​และ​ขุน​นาง​ได้​ทำ​การ​ “​ปลด​” ​ออก​จาก​การ​เป็น​กษัตริย์​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาด​้วย​ข้อ​อ้าง​ที่​กล่าว​หาว​่า “​พระ​เจ้า​ยอด​เชียง​ราย​” ​มิ​ได้​สร้าง​ความ​เจริญ​ให้​กับ​อาณา​ ​จักร​ล้าน​นา​พร้อม​กับ​ทำ​การ​สถาปนา​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” ​พระ​โอรส​ขึ้น​ครอง​ราชย์​สืบ​แทน​ซึ่ง​ต่อม​า “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” ​ก็​ทรง​สร้าง​ความ​เจริญ​รุ่ง​เรือง​ให้​กับ​อาณา​จักร​ล้าน​นาถ​ึง​ขีด​สุด​ ​เนื่อง​จาก​พระ​องค์​ทรง​ครอง​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ตั้ง​แต่​ พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๔ ​รวม​ระยะ​เวลา​แห่ง​การ​ครอง​ราชย์​ที่​เมือง​นพ​บุรี​ศรี​นคร​พิง​ค์ (​เชียง​ใหม่​) ​นาน​ถึง​ ๒๖ ​ปี​ ​โดย​ที่​ชาว​ล้าน​นา​เอง​ต่าง​ยอม​รับ​และ​ยก​ย่อง​ว่า​ใน​รัช​สมัย​ของ​ “​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​” ​นี้​ได้​สร้าง​ความ​เจริญ​ให้​กับ​อาณา​จักร​ ​ล้าน​นา​เป็น​อย่าง​ยิ่ง​แต่​ก็​บาง​แห่ง​ยอม​รับ​และ​ยก​ย่อง​     “​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​” ​ว่า​เป็น​กษัตริย์​ที่​สร้าง​ความ​เจริญ​จน​ถือ​เป็น​ยุค​ทอง​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาก​็​ตาม​ ​แต่​ผู้​คน​ส่วน​ใหญ่​จะ​แย้ง​ว่า​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​อยู่​ใน​ยุค​แห่ง​การ​บุก​เบิก​ด้วย​การก​่​อร​่าง​สร้าง​ฐาน​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ให้​มั่น​คง​แข็ง​แรง​ ​จาก​นั้น​ใน​รัช​สมัย​ของ​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​ก็​คือ​ยุค​แห่ง​การ​ต่อย​อด​ให้​เจริญ​ยิ่ง​ขึ้น​  ​เนื่อง​จาก​การ​สร้าง​สรรค์​งาน​ทาง​ด้าน​ศิลปกรรม​มี​ ​ความ​เจริญ​อย่าง​ถึง​ขีด​สุด​นั่น​เอง​

​และ​แม้ว​่า​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​ ​จะ​มี​การ​ทำ​ศึก​สงคราม​กับ​ ​อาณา​จักร​อยุธยา​ ​อยู่​หลาย​ครั้ง​หลาย​หน​และ​ต่าง​ก็​ผลัด​กัน​แพ้​ผลัด​กัน​ชนะ​โดย​ ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​ ​ได้​ทำ​การ​ยก​ทัพ​ไป​ตี​เอา​ ​เมือง​สุ​โข​ทัย ​รวม​ทั้ง​ ​เมือง​เชลียง​ ​และ​ ​เมือง​กำแพง​เพชร​ ​ใน​ช่วง​ปี​ พ.ศ. ๒๐๕๐ ​แต่​ต่อม​า​อีก​    ๘ ​ปี​ (พ.ศ. ๒๐๕๘) ​อาณา​จักร​อยุธยา​ ​ก็​ก่อ​เกิด​พระ​มหา​กษัตริย์​ที่​ทรง​เข้ม​แข็ง​และ​มี​พระ​นาม​ว่า​ “​สมเด็จ​พระราม​า​ธ​ิ​บดี​ที่​ ๒” ​ได้​ทรง​ยก​กอง​ทัพ​ไป​ตี​ ​เมือง​   ​เขลา​งค์​นคร​ (​ลำ​ปาง​) ​อัน​เป็น​หัว​เมือง​สำคัญ​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นา​แต่​ไม่​สามารถ​ยึด​ครอง​ได้​ ​เนื่อง​จาก​พระ​เจ้า​เมือง​แก้ว​ได้​ส่ง​กำลัง​จาก​เมือง​นพ​บุรี​ศรี​นคร​พิง​ค์​เชียง​ใหม่​ ​มา​ช่วย​ประกอบ​กับ​ระยะ​ทาง​จาก​อาณา​ ​จักร​อยุธยา​ไป​ยัง​ ​เมือง​เขลา​งค์​นคร​ ​และ​ ​เมือง​สุ​โข​ทัย ​กำแพง​เพชร​ ​พิษณุโลก​ ​ซึ่ง​เป็น​หัว​เมือง​สำคัญ​ของ​อาณา​จักร​ล้าน​นาก​็​เป็น​ระยะ​ทาง​ที่​ห่าง​ไกล​กัน​มาก​ ​ย่อม​เสีย​เปรียบ​ต่อ​การ​ส่ง​กำลัง​หนุน​ ​ไป​ช่วย​สู้​รบ​ ​ใน​ที่​สุด​ทั้ง​สอง​อาณา​จักร​จึง​ทำ​สัญญา​มี​พระ​ราช​ ​ไมตรี​ต่อ​กัน​เฉก​เช่น​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​สมเด็จ​พระ​บรม​ไตร​โลกนาถ​ ​และ​ ​พระ​เจ้า​ติ​โลก​ราช​ ​ก็​ทรง​มี​การ​ทำ​สัญญา​มี​พระ​ราช​ไมตรี​ต่อ​กัน​มา​แล้ว​


ที่มา นสพ เดลินิวส์



Create Date : 19 พฤษภาคม 2555
Last Update : 19 พฤษภาคม 2555 6:37:37 น. 0 comments
Counter : 2115 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.