Group Blog
 
<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
27 กันยายน 2557
 
All Blogs
 
ชาวกาว นครรัฐน่าน


เจ้าหลวงภูคา ปฐมเจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา

 ราชวงศ์ภูคา  หรือ ราชวงศ์กาว หรือ ราชวงศ์น่าน เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครรัฐน่าน สถาปนาขึ้นโดยพญาภูคา ปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 1911 โดยมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองปัว ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองย่าง ก่อนย้ายอีกครั้งลงมายังที่ราบลุ่มน่านคือเมืองภูเพียงแช่แห้งในรัชสมัยพญาครานเมือง และย้ายมายังเมืองน่านตามลำดับ


นครรัฐน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1993 อินทแก่นท้าวกษัตริย์น่านหนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราชจึงได้แต่งตั้งท้าวผาแสงบุตรท้าวแพงเชื้อสายราชวงศ์ภูคาปกครองน่าน และเป็นเจ้านายราชวงศ์ภูคาพระองค์สุดท้าย เพราะหลังจากการสิ้นพระชนม์ของท้าวผาแสงขุนนางก็เข้ามากินเมืองแทน ดังปรากฏใน พื้นเมืองน่าน ความว่า "...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแลย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล..."

นครรัฐน่านซึ่งมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาว จึงมีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ภูคาอาจมีเชื้อสายจากชาวกาวดังกล่าวด้วย ดังปรากฏว่าตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ซึ่งเรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน"  ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 พ.ศ. 1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว

ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว


ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย


ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง (มวลสารจากพระธาตุแช่แห้งใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911


ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย (มวลสารจากพระธาตุเขาน้อยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
สมัยล้านนา


ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา


ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344

รายพระนามกษัตริย์
ลำดับ     พระนาม     พระนามอื่น     ครองราชย์     ความสัมพันธ์กับกษัตริย์

1.     เจ้าขุนฟอง         พุทธศตวรรษที่ 18     พระโอรสพญาภูคา

2.     เจ้าเก้าเถื่อน         ไม่ทราบปี     พระโอรสเจ้าขุนฟอง

3.     นางพญาแม่ท้าวคำปิน         ไม่ทราบปี     พระชายาเจ้าเก้าเถื่อน

4.     พญาผานอง         1856-1894     พระโอรสเจ้าเก้าเถื่อน

5.     ขุนใส         1894-1896     พระโอรสเจ้าผานอง

6.     พญาครานเมือง     กรานเมือง, คานเมือง     1901-1906

7.     พญาผากอง         1906-1931     โอรสพญาครานเมือง

8.     เจ้าคำตัน         1936-1941     พระโอรสเจ้าผากอง

9.     เจ้าศรีจันต๊ะ         1941-1942     พระโอรสเจ้าคำตัน
ถูกพญาแพร่ยึดอำนาจ (1942-43)

12.     เจ้าหุง         1943-1950     พระอนุชาเจ้าศรีจันต๊ะ

13.     เจ้าภูเข็ง     ปู่เข็ง     1950-1960

14.     พญางั่วฬารผาสุม         1969

15. (1)     เจ้าอินต๊ะแก่นท้าว (ครั้งที่ 1)     อินทแก่นท้าว     1976 (3 เดือน)     พระโอรสพญางั่วฬารผาสุม

16.     เจ้าแปง     เจ้าแพง     1977-1978     พระอนุชาเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว

15. (2)     เจ้าอินต๊ะแก่นท้าว (ครั้งที่ 2)     อินทแก่นท้าว     1978-1993     พระโอรสพญางั่วฬารผาสุม
ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา

17.     เจ้าผาแสง     ท้าวผาแสง     1993-2004     พระโอรสเจ้าเจ้าแปง
สิ้นสุดราชวงศ์ภูคา
0000000000

นครรัฐน่าน บ้างเรียก อาณาจักรน่าน เป็นนครรัฐอิสระ ขนาดเล็กในอดีตรัฐหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน  เดิมเรียกว่าเมืองกาว, แคว้นกาว, รัฐกาว, กาวเทศ หรือ กาวน่าน

แต่ด้วยอุปสรรคด้านภูมิศาสตร์เนื่องด้วยตั้งอยู่ในหุบเขาขนาดเล็กจึงมีการพัฒนาที่ล้าหลังกว่ารัฐอื่น ๆ ที่ตั้งในแถบลุ่มน้ำปิงและวัง ด้วยเหตุนี้น่านจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพะเยาช่วงต้นถึงปลายศตวรรษที่ 19, ล้านนาในปี พ.ศ. 1993 และพม่าในปี พ.ศ. 2103


องค์พระบรมธาตุแช่แห้ง อนุสรณ์ความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต


  • ประวัติ

นครรัฐน่านถูกสถาปนาขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18  โดยพญาผากอง เมื่อพญาผากองได้ถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเกื่อนราชบุตร เจ้าผู้ครองเมืองปัวจึงได้มาปกครองเมืองย่างแทนพระอัยกา และให้พระชายาดูแลเมืองปัว ในสมัยเจ้าเก้าเถื่อนพญางำเมืองเจ้าผู้ครองอาณาจักรพะเยา ได้ขยายอำนาจมายังอาณาจักรน่าน และเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตอาณาจักรน่านเกือบทั้งหมด อาณาจักรน่านหลุดพ้นจากอำนาจอาณาจักรพะเยา


ในสมัยพญาผานอง อาณาจักรเป็นอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 ในสมัยพญาการเมืองอาณาจักรน่านได้เติบโตมากขึ้นและสถปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพญาการเมืองพิราลัย พญาผากองจึงได้ปกครองน่าน ในช่วงนั้นน่านเกิดแห้งแล้ง พญาผากองจึงได้ย้ายมาตั้งเมืองใหม่บริเวณจังหวัดน่านในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์ล้านนา ยกทัพมารุกรานเมืองน่านและสามารถยึดเมืองน่านไว้ได้ ทำให้น่านตกเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา

  • การปกครอง

น่านมีกษัตริย์จากราชวงศ์ภูคาเป็นประมุข ปกครองตนเองแบบนครรัฐอิสระที่ถูกตั้งขึ้นด้วยเงื่อนไขท้องถิ่นที่มิใช่อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย  และเนื่องด้วยที่ตั้งของน่านเป็นชายขอบของรัฐที่เข้มแข็ง  ประวัติศาสตร์ของน่านจึงมีความพยายามรักษาสถานะความเป็น "นครรัฐ" ให้อยู่รอด


น่านเคยถูกพะเยายึดครองช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และปลายศตวรรษนั้นก็กลับเป็นนครรัฐอิสระดังเดิม แต่จากการขยายอำนาจของอาณาจักรล้านนาและอยุธยาทำให้น่านสถาปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย  แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากสุโขทัยก็ตามแต่เจ้านายในราชวงศ์กาวเองกลับแย่งชิงอำนาจกันเองทำให้รัฐขาดเสถียรภาพ จนเมื่อพันธมิตรอย่างอาณาจักรสุโขทัยสลายตัวและรวมเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 ไม่นานหลังจากนั้นน่านเองก็สลายตัวและรวมเข้ากับล้านนาในปี พ.ศ. 1992


  • ประชากร

น่านมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาวเป็นชนชาติหนึ่งโดยเอกเทศ  แต่ต้นกำเนิดของชนชาติกาวก่อนมายังเมืองปัวยังเป็นปริศนา สรัสวดี อ๋องสกุลได้ตั้งข้อสังเกตว่าพญาภูคาอาจมีความเกี่ยวข้องกับเมืองภูคาทางตอนเหนือของประเทศลาว และตั้งข้อสังเกตว่าไทกาว, ไทลาว และไทเลือง (บรรพบุรุษราชวงศ์สุโขทัย) มีความสัมพันธ์กัน แต่เธอก็กล่าวว่าเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ต้องสืบค้นต่อไป


ใน พื้นเมืองน่าน ได้กล่าวถึงพญาภูคา มีพระราชโอรสสองพระองค์คือขุนนุ่นและขุนฟอง พญาภูคาจึงให้องค์พี่ไปสร้างเมืองหลวงพระบางปกครองชาวลาว  และองค์น้องไปสร้างเมืองปัวปกครองชาวกาว โดยตำนานให้ภาพของเมืองปัวและหลวงพระบางเป็นพี่น้องกัน ลาวและกาวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันตั้งถิ่นฐานใกล้กัน


หลักฐานที่กล่าวถึงชาวกาวที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ ปรากฏความว่า "ทังมา กาว ลาว และไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฏ..ไทยชาวอูชาวของมาออก" พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด เรียกเมืองปัวซึ่งเป็นเมืองของชาวกาวว่า "เมืองกาว" หรือ "เมืองกาวเทศ" และกล่าวว่าเป็นคนไทกลุ่มหนึ่งความว่า "เมื่อนั้นชาวกาวไทยทั้งหลาย" และ "เมื่อตติยสักกราช ๗๒๗ ตัว ปีกัดใค้ สนำกุญชรชาวกาวไทยเรียกร้องกันมาแปลงโรงหลวง" ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน" ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔๕ พ.ศ. ๑๙๓๕ เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว  ในจารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ ๑ อ้างถึงปี พ.ศ. ๑๙๓๙ กษัตริย์สุโขทัยได้ขยายอาณาเขตไปยังเมืองกาว ดังความว่า "ท่านได้ปราบต์ ทั้งปกกาว" ปกหมายถึงรัฐคือรัฐกาวนั่นเอง ส่วนจารึกวัดบูรพารามด้าน 2 ซึ่งเป็นภาษาบาลี เรียกปกกาวว่า "กาวรฏฺฐํ" และกล่าวต่อว่าตั้งอยู่ทางทิศอุดรของสุโขทัย


หลังจากการสร้างเมืองน่านเป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มนิยมเรียกชื่อตามเมืองคือน่านแทนชื่อชนชาติ ผู้คนในเมืองน่านก็เรียกตัวเองว่าชาวน่านแทนชาวกาวดังปรากฏหลักฐานในพื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด  จนกล่าวได้ว่าตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คำว่า "กาว" ได้หายไปจากเมืองน่านแล้ว เหลือเพียงแต่ร่องรอยที่ปรากฏในเอกสารโบราณเท่านั้น และทุกวันนี้ชาวจังหวัดน่านเองก็ไม่รู้จักคำว่าชาวกาวแล้ว



  • ภูมิศาสตร์

น่านเป็นนครรัฐในหุบเขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านทางตอนบนขนาดเล็กเป็นตอน ๆ ในลักษณะแนวยาวทิศเหนือ-ใต้ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาผีปันน้ำทางตะวันออกและเทือกเขาหลวงพระบาง ที่ราบแบ่งได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือเป็นที่ราบขนาดเล็กต้นแม่น้ำน่านเป็นที่ตั้งของเมืองปัว และที่ราบตอนล่างอันเป็นตั้งของเมืองน่านซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่า สามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้น่านยังมีที่ราบขนาดเล็กอีกหลายแห่งกระจายตัวในหุบเขาอีกด้วย


แม่น้ำน่านขณะไหลผ่านบริเวณป่าในอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

ด้วยเหตุที่น่านถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสามารถติดต่อเมืองอื่น ๆ ได้ยาก ทำให้น่านเป็นเมืองโดดเดี่ยว  มีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่ารัฐจารีตที่รายรอบ และ พื้นเมืองน่าน ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของน่านช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่ได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยหรือล้านนาช่วงนั้นเลย โลกของผู้เขียนตำนานขีดวงไว้เพียงแถบลุ่มแม่น้ำน่านเท่านั้น อย่างไรก็ตามน่านตั้งอยู่บนและควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างล้านนาตะวันออกกับหลวงพระบางในแนวตะวันออกถึงตะวันตก  และเป็นปราการที่สำคัญของล้านนาด้วย ดังปรากฏในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช เวียดนามได้คุกคามหลวงพระบางและน่าน โดยน่านได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็งจนเวียดนามพ่ายไปในที่สุด



เส้นทางแม่น้ำ.......แม่น้ำน่านไหลจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย ผ่านมาทางอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่านและถูกกั้นด้วยเขื่อนสิริกิติ์ ที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นไหลผ่านอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอพิชัย ลงมายังอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมืองพิษณุโลก แล้วไหลผ่านอำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก รวมกับแม่น้ำยม ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา

  • เขื่อนที่สำคัญในลุ่มแม่น้ำน่าน

    เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ลำน้ำสาขา

    ลำน้ำยาว
    ลำน้ำสมุน
    ลำน้ำสา
    ลำน้ำว้า
    ลำน้ำแหง
    ลำน้ำปาด
    ลำน้ำแควน้อย
    ลำน้ำวังทอง
    ลำน้ำภาค

แม่น้ำน่าน (คำเมือง) มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลรวมกับแม่น้ำปิง กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศ


อ้างอิงจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สนใจศึกษาต่อที่นี่ครับ....

หมวด Political Blog วิเคราะห์การเมืองและสังคม


Create Date : 27 กันยายน 2557
Last Update : 27 กันยายน 2557 7:51:39 น. 14 comments
Counter : 3600 Pageviews.

 
ยาวมากครับเดี่ยวจะแว่ะมาอ่านเรื่อยๆครับ


โดย: Ujiba วันที่: 27 กันยายน 2557 เวลา:9:52:30 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Political Blog

เคยได้ยินเรื่องของรัฐน่าน แต่ไม่ลึกเท่าไหร่
มารวมกับล้านนาภายหลังด้วย

เรื่องของรัฐต่างๆที่ก่อนเข้าจะมารวมเป็นประเทศไทยได้นี่น่าสนใจ


โดย: กาบริเอล วันที่: 27 กันยายน 2557 เวลา:12:10:03 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog

วันนี้เชียงใหม่ร้อนสุด ๆ ค่ะ เฮ้อ


โดย: mariabamboo วันที่: 27 กันยายน 2557 เวลา:16:36:04 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Literature Blog ดู Blog
mariabamboo Parenting Blog ดู Blog
Calla Lily Food Blog ดู Blog
Sweet_pills Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
-------------
แวะมาทักทายก่อนเข้านอนนะครับ


โดย: puzzle man (เตยจ๋า ) วันที่: 27 กันยายน 2557 เวลา:20:48:46 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
เรียบร้อยแล้วท่านขุน


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog




โดย: หอมกร วันที่: 27 กันยายน 2557 เวลา:21:10:36 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
find me pr Music Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 27 กันยายน 2557 เวลา:22:55:33 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
เตยจ๋า Topical Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Home & Garden Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: Opey วันที่: 28 กันยายน 2557 เวลา:0:47:32 น.  

 
จังหวัดน่าน คือไปพักอยู่เดือนหนึ่ง บรรยากาศดีมากครับ



โดย: อัสติสะ วันที่: 28 กันยายน 2557 เวลา:10:53:40 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
Opey Art Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะท่านขุน


โดย: Close To Heaven วันที่: 28 กันยายน 2557 เวลา:11:01:30 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

ขอบคุณที่รวบรวมมาให้อ่านค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 กันยายน 2557 เวลา:12:35:12 น.  

 
สวัสดีค่า คุณท่านขุน ^^

น่านเป็นจังหวัดที่อยากไปมากค่ะ
เห็นพี่หนูไปเที่ยวเอามาลงบล็อค สวยๆ
วัด เมือง ภูเขา ดูสงบ น่าไปมากด้วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ


โดย: lovereason วันที่: 28 กันยายน 2557 เวลา:13:47:46 น.  

 

มาอ่านชาวกาวนครรัฐน่านยังไม่จบว่างๆมาอ่านต่อ

โหวตไว้ก่อนค่ะ

ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: พรไม้หอม วันที่: 28 กันยายน 2557 เวลา:21:15:08 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

AppleWi Beauty Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
..........................

ขอบคุณท่านขุนสำหรับประวัตินครรัฐน่านนะคะ
อยากมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดนี้ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 29 กันยายน 2557 เวลา:0:12:26 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


แวะมาอ่านประวัติศาสตร์นครรัฐน่านด้วยความสนใจ ได้ความรู้เพิ่มมากมายเลยค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 30 กันยายน 2557 เวลา:20:00:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.