Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
15 มกราคม 2557
 
All Blogs
 
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส



พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขณะมีพระขนมายุ 20 พรรษา
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Louis XVI de France; หลุยส์แซซเดอฟร็องส์) (5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ จนกระทั่ง ค.ศ. 1791 ทรงสูญเสียราชบัลลังก์แห่งนาวาร์และครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ในที่สุดในปี ค.ศ. 1792 ทรงถูกโค้นราชบัลลังก์และสำเร็จโทษในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1765 ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระอัยกาเจ้า (พระเจ้าหลุยส์ที่ 15) ในปี ค.ศ. 1774

ช่วงต้นรัชกาลได้รับการบันทึกไว้ว่าทรงพยายามที่จะปฏิรูปฝรั่งเศสอันเป็นผลมาของแนวคิดจากยุคเรืองปัญญา ซึ่งรวมถึงความพยายามในการล้มเลิกระบบมาเนอร์, ระบบตายย์ (ฝรั่งเศส: Taille; การจัดเก็บภาษีที่ดินคำนวณจากขนาดที่ดินที่ถือครอง), และสนับสนุนขันติธรรมไปในแนวทางที่ออกห่างจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ขุนนางฝรั่งเศสตอบสนองต่อการปฏิรูปนี้ในแนวทางที่เป็นปรปักษ์และประสบความสำเร็จในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ความไม่พอใจในหมู่สามัญชนเพิ่มมากขึ้น พระเจ้าหลุยส์ยังทรงเข้าไปพัวพันกับสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาด้วยการประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ฝรั่งเศสมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากจนนำไปสู่การมีหนีสินล้นพ้น

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการคลังที่ตามมามีส่วนทำให้ความนิยมใน การปกครองระบบโบราณ เสื่อมลง ความไม่พอใจในหมู่ประชาชนชั้นกลางและล่างของฝรั่งเศสส่งผลให้การต่อต้านอภิสิทธิ์ชนและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพิ่มมากขึ้น ที่ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อ็องตัวแน็ต ทรงถูกมองว่าเป็นตัวแทนของระบอบการปกครองนี้ ในปี ค.ศ. 1789 คุกบาสตีย์ถูกทลายลงระหว่างการก่อจลาจลในปารีส และการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ได้เริ่มต้นขึ้น ก่อให้เกิดสถาบันทางนิติบัญญัติแห่งชาติ การปฏิวัติยังสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเพียงระบอบในนามในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16

แม้ว่าจะมีการสนับสนุนรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ความใฝ่พระราชหฤทัยที่จะทำให้การปฏิวัติเลือนหายไปด้วยการแทรกแซงทางการทหารจากชาติมหาอำนาจในยุโรปก็ประสบความล้มเหลว ตามมาด้วยเหตุการณ์ความพยายามเสด็จหนีออกจากฝรั่งเศสซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจองค์กษัตริย์เป็นวงกว้างทั่วฝรั่งเศส ต่อมาพระราชอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ถูกโค้นลงอย่างเป็นทางการจากเหตุการณ์สิบสิงหาคมที่มีการบุกทำลายพระราชวังตุยเลอรีส์ พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ถูกจองจำในป้อมปราการแห่งหนึ่ง จนเมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ขึ้น พระองค์ถูกกล่าวหาว่าทรยศต่อประเทศชาติโดยสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ต่อมาพบว่ามีความผิดจริงและทรงถูกตัดสินให้สำเร็จโทษด้วยการปลงพระชนม์ ทรงถูกเรียกขานในแบบ ซีโตเยน (สามัญชน) ว่า หลุยส์ กาเปต์ ซึ่งนามสกุลนี้มีที่มาจากการที่พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์กาเปเซียง ทรงถูกบั่นพระเศียรด้วยเครื่องกิโยตีนในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793

พระบรมนามาภิไธย     หลุยส์-โอกุสต์
ราชวงศ์     ราชวงศ์บูร์บง
รัชกาลก่อนหน้า     พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
รัชกาลถัดไป     พฤตินัย: พระเจ้าหลุยส์ที่ 17
นิตินัย: ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ     5 กันยายน ค.ศ. 1754
พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต     21 มกราคม ค.ศ. 1793
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พระราชบิดา     หลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดา     มาเรีย โจเซฟาแห่งแซกโซนี
พระมเหสี     มารี อองตัวเนต
โอรส/ธิดา     4 พระองค์

ทรงพระเยาว์

หลุยส์โอกุสต์เดอฟร็องส์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งดยุกแห่งแบร์รีตั้งแต่แรกประสูติ มีประสูติกาล ณ พระราชวังแวร์ซาย ทรงเป็นโอรสองค์ที่สามจากทั้งหมดเจ็ดพระองค์ของหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสกับพระราชินีมารี เลสซ์ไซน์สกา พระราชมารดามีพระนามว่า เจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟาแห่งแซกโซนี ซึ่งเป็นพระนัดดาในพระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์ เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งแซกโซนีและพระมหากษัตริย์โปแลนด์

เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ทรงเผชิญกับความยากลำบากในวัยเยาว์ เนื่องจากว่ากันว่าพระบิดาและพระมารดาของพระองค์ทรงทอดทิ้งและให้ความสำคัญกับพระเชษฐา เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ ซึ่งมีพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถมากกว่า แต่ต่อมาก็สิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ. 1761 ด้วยพระชนมายุ 9 พรรษา เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์มีพระพลานามัยแข็งแรงแต่ทรงขี้อายมาก มีพระปรีชาในด้านการเรียนและทรงแตกฉานในภาษาละติน, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ นอกจากนี้ยังทรงใช้ภาษาอิตาลีและภาษาอังกฤษได้อย่างเชี่ยวชาญ โปรดกิจกรรมที่ใช้พละกำลังเช่นการล่าสัตว์กับพระอัยกา หรือการหยอกเล่นกับพระอนุชา เจ้าชายหลุยส์สตานิสลาส์ เคาท์แห่งโพรว็องส์ และเจ้าชายชาร์ลส์-ฟีลีปป์ เคาท์แห่งอาร์ตัวส์ นอกจากนี้ยังทรงได้รับแรงสนับสนุนในงานอดิเรกส่วนพระองค์อื่นๆ เช่น การประกอบนาฬิกา ซึ่งถูกมองว่าเป็นประโยชน์กับผู้เยาว์

จากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาด้วยวัณโรคในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1765 เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 11 พรรษา ก็ได้เฉลิมพระยศใหม่ขึ้นเป็นโดแฟ็ง พระมารดาของพระองค์ผู้ทรงไม่เคยฟื้นจากความอาดูรในการสูญเสียพระสวามีก็ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1767 ด้วยวัณโรคเช่นเดียวกัน[2] การศึกษาอย่างเข็มงวดในแบบอนุรักษนิยมจากดยุกแห่งโวกียงซึ่งมีฐานะเป็น ข้าหลวงแห่งราชโอรสราชธิดาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Gouverneur des Enfants de France; กูแวร์เนอเดส์อ็องฟ็องต์สเดอฟร็องส์) ตั้งแต่ ค.ศ. 1760 จนกระทั่งทรงอภิเษกสมรสในปี ค.ศ. 1770 ไม่ได้ช่วยเตรียมพระองค์ในการขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ต่อจากพระอัยกาในปี ค.ศ. 1774 เลย การศึกษาที่ทรงได้รับเป็นการผสมปนเปกันของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะศาสนา, จริยธรรม และมนุษยศาสตร์ ทั้งนี้พระอาจารย์อาจจะมีส่วนในการปลุกปั้นพระองค์ให้ทรงกลายมาเป็นกษัตริย์ผู้ไร้ซึ่งความหนักแน่นเฉียบขาดอีกด้วย เช่นที่ อับเบ แบร์ตีแยร์ พระอาจารย์ของพระองค์ชี้แนะว่าความขลาดกลัวคือคุณค่าในตัวกษัตริย์ผู้แข็งแกร่ง หรือที่อับเบ โซลดีนี ผู้รับฟังคำสารภาพบาป ได้ชี้แนะไว้ว่าอย่าทรงปล่อยให้ผู้คนอ่านพระราชหฤทัยของพระองค์ได้
ชีวิตส่วนพระองค์
ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1770 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ทรงอภิเษกกับอาร์คดัชเชสพระชนมายุ 14 พรรษาจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กพระนามว่า มาเรีย แอนโทเนีย (รู้จักกันดีในชื่อฝรั่งเศสของพระองค์ว่า มารี อ็องตัวแน็ต) พระญาติชั้นที่สองและพระราชธิดาองค์เล็กสุดในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา พระชายาผู้น่าเกรงขาม

การอภิเษกสมรสในครั้งนี้ต้องเผชิญกับการต่อต้านบางส่วนจากสาธารณชนชาวฝรั่งเศส จากที่การเป็นพันธมิตรกับออสเตรียได้นำพาฝรั่งเศสเข้าสู่ความหายนะในสงครามเจ็ดปี ทำให้ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่สหราชอาณาจักรทั้งในแผ่นดินยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยในช่วงของการอภิเษกสมรสครั้งนี้ ประชาชนชาวฝรั่งเศสมองสัมพันธไมตรีกับออสเตรียด้วยความชิงชัง และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตก็ทรงถูกมองว่าเป็นสตรีชาวต่างชาติผู้ไม่เป็นที่พึงประสงค์ สำหรับคู่รักราชนิกุลผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว การอภิเษกครั้งนี้เริ่มแรกดูชื่นมื่นแต่ห่างเหิน - ความเขินอายของเจ้าชายหลุยส์โอกุสต์หมายความว่าพระองค์จะทรงล้มเหลวในการรวมกันของสองราชวงศ์ครั้งนี้ สร้างความทุกข์ใจให้แก่พระชายาอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือความกังวลว่าจะทรงถูกบงการโดยพระชายาเพื่อประสงค์บางอย่างของพระบรมวงศ์ฮับส์บูร์ก ก็ยิ่งกดดันให้ทรงวางพระองค์เย็นชาต่อพระชายาในที่สาธารณะมากขึ้นไปอีก  อย่างไรก็ตามเมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านไป ทั้งสองพระองค์ก็ทรงใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้น จนมีรายงานว่าในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1773 สายสัมพันธ์ได้แนบแน่นจนผสานทั้งสองพระองค์เข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังไม่ปรากฏอย่างชัดจริงจนกระทั่งปี ค.ศ. 1777

อย่างไรก็ดี ทั้งสองพระองค์ทรงล้มเหลวที่จะมีรัชทายาทร่วมกันเป็นเวลาหลายปีนับจากนี้ สร้างความกดดันเพิ่มขึ้นให้แก่การอภิเษกสมรส ในขณะที่สถานการณ์ได้เลวร้ายลงไปอีกเมื่อจุลสารสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร ลีเบลล์ (ฝรั่งเศส: libelles) ได้เสียดสีล้อเลียนทั้งคู่โดยการตั้งคำถามว่า "กษัตริย์จะทรงทำได้ไหม? กษัตริย์จะทรงทำได้ไหม"

ในช่วงเวลานั้นมีการถกเถียงถึงสาเหตุของความล้มเหลวในช่วงต้นของการมีองค์รัชทายาท และก็ยังทรงเป็นเช่นนั้นไป หนึ่งในข้อเสนอแนะก็คือเจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ต้องทรงทุกข์ทรมานจากความเสื่อมสมรรถภาพทางสรีรวิทยา ส่วนมากคาดเดากันว่าเกิดจากพระอาการหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิดในวัยพระเยาว์ (อังกฤษ: phimosis) ซึ่งคำเสนอแนะนี้ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1772 โดยเหล่าแพทย์หลวง ด้านเหล่านักประวัติศาสตร์ยึดมั่นต่อมุมมองนี้ว่าทรงได้เข้ารับการสุหนัต (วิธีการรักษาทั่วไปของอาการหนังหุ้มปลายไม่เปิด) เพื่อบรรเทาพระอาการหลังจากเป็นเวลาผ่านไปเจ็ดปีหลังการอภิเษกสมรส แพทย์หลวงประจำพระองค์ไม่เห็นชอบกับการผ่าตัดมากนัก - การผ่าตัดมีความละเอียดอ่อน, มีความชอกช้ำ และง่ายซึ่งการ "สร้างความเสียหายร้ายแรง" ต่อบุรุษวัยฉกรรจ์ ข้อถกเถียงเรื่องพระอาการข้างต้นและผลที่ตามมาจากการผ่าตัดส่วนมากสามารถพบเห็นได้ในงานเขียนของสเตฟาน ชไวจ์ นักเขียนชาวออสเตรีย


อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับในหมู่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ส่วนมากว่าพระองค์มิทรงเคยเข้ารับการผ่าตัด ตัวอย่างเช่นในช่วงปลาย ค.ศ. 1777 ราชทูตปรัสเซียนามว่า บารอน โกลต์ซ รายงานว่าพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสทรงปฏิเสธรับการผ่าตัดอย่างแน่นอน ข้อเท็จจริงก็คือเจ้าชายถูกประกาศว่ามีพระสมรรถภาพสมบูรณ์อย่างเยี่ยมยอดต่อการมีเพศสัมพันธ์ ยืนยันโดยจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และในช่วงที่ทรงถูกกล่าวอ้างถึงการเข้ารับการผ่าตัด พระองค์เสด็จออกไปล่าสัตว์แทบจะทุกวันตามคำบันทึกส่วนพระองค์ ซึ่งหมายความว่าการทรงเข้ารับการผ่าตัดไม่มีโอกาสที่จะเป็นไปได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็ไม่น่าจะทรงสามารถเสด็จออกไปล่าสัตว์ในช่วงสองสามสัปดาห์หลังจากการผ่าตัดนั้น ทั้งนี้ประเด็นถกเถียงถึงความสมบูรณ์ทางสรีระส่วนพระองค์ถูกนำไปประกอบกับปัจจัยอื่นแล้ว ซึ่งก็ยังคงเป็นที่โต้แย้งและถกเถียงมาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงระยะต่อมา แม้ว่าจะประสบกับความยากลำบากมาก่อนหน้านี้ แต่ในท้ายที่สุดทั้งสองพระองค์ก็ทรงมีรัชทายาทสืบเชื้อพระวงศ์รวมสี่พระองค์ ได้แก่

    >>เจ้าหญิงมารี เตเรส ชาร์ลอตต์ (19 ธันวาคม ค.ศ. 1778 – 19 ตุลาคม ค.ศ. 1851)
   >> เจ้าชายหลุยส์ โจเซฟ ซาวีแยร์ ฟร็องซัวส์, โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (22 ตุลาคม ค.ศ. 1781 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1789)
    >>เจ้าชายหลุยส์ ชาร์ลส์ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ผู้ทรงเป็นกษัตริย์แต่เพียงในนาม) (27 มีนาคม ค.ศ. 1785 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1795)
   >> เจ้าหญิงโซฟี เฮเลน เบียทริกซ์, สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ (9 กรกฎาคม ค.ศ. 1786 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1787)

คาร์ล ชอว์ เขียนในหนังสือ Royal Babylon: The Alarming History of European Royalty ของเขาว่า "ว่ากันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เป็นที่จดจำจากการเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์แรกที่ทรงริเริ่มการใช้มีดและส้อม อีกทั้งการที่ทรงสรงน้ำและสีพระทนต์น้อยครั้ง" ท้ายที่สุดราชทูตอิตาลีประจำราชสำนักฝรั่งเศสผู้นี้เขียนไว้ตอนท้ายประมาณพระราชกิจวัตรขององค์กษัตริย์ไว้ดั่งกับ "ความสนพระราชหฤทัยในสุขอนามัยส่วนพระองค์อันแปลกประหลาด"

ขึ้นครองราชย์

ช่วงการปฏิวัติ


พระเจ้าหลุยส์ตอนการปกครองนั้นในช่วงการปฏิวัติพระเจ้าหลุยส์พร้อมพระโอรสและพระธิดาต้องทรงหลบหนีไปพระราชวังตุยเลอรีส์ชั่วคราว และจุดเป็นอีกอย่างพระเจ้าหลุยส์สั่ง เนคเกอร์ช่วย เขาเป็นคนโปรดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระเจ้าหลุยส์ถูกแนะนำจากพระชายาให้ขอความช่วยเหลือจากออสเตรียและปรัสเซียโดยถูกจับได้ที่ วาแรน์และถูกนำตัวกลับปารีส



หลุยส์แห่งฝรั่งเศส
โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย
สถาปนา     ค.ศ. 1350
ล้มเลิก     2 สิงหาคม ค.ศ. 1830
องค์แรก     ชาร์ลแห่งฝรั่งเศส
องค์สุดท้าย     หลุยส์แห่งฝรั่งเศส
คู่สมรส     โดฟีเนแห่งฝรั่งเศส

โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Dauphin de France) หรือ โดแฟ็งแห่งเวียนัว (ฝรั่งเศส: Dauphin de Viennois) คืออิสริยยศที่มีไว้สำหรับทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ผู้ซึ่งจะขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ในประวัติศาสตร์มีผู้ดำรงอิสริยยศนี้ในช่วงปี ค.ศ. 1350 - 1791 และช่วงปี ค.ศ. 1824 - 1830 คำว่า โดแฟ็ง แปลตรงตัวจากภาษาฝรั่งเศสได้ว่า ปลาโลมา ซึ่งอ้างอิงถึงสัตว์ในตราอาร์มประจำอิสริยยศนี้




ตราอาร์ม
ประวัติศาสตร์

กีกที่ 8 เคานต์แห่งเวียนัว ผู้มีสัญลักษณ์ปลาโลมาอยู่บนตราอาร์มประจำตัวจึงได้รับชื่อเล่นว่า เลอโดแฟ็ง ต่อมายศ โดแฟ็งแห่งเวียนัว จึงสืบทอดมายังทายาทในตระกูลของเจ้าชายแห่งอีฟว์โต จนกระทั่งปี ค.ศ. 1349 เมื่อเอิงแบร์ที่ 2 ขายที่ดินซึ่งเป็นแคว้นในระบบมาเนอร์ที่เรียกว่า แคว้นโดฟีเน ให้แก่พระเจ้าฟิลิปที่ 6 ในเงื่อนไขที่ว่ารัชทายาทแห่งฝรั่งเศสจะเป็นผู้สืบทอดอิสริยยศ เลอโดแฟ็ง ต่อไป ส่วนมเหสีของรัชทายาทจะได้อิสริยยศ ลาโดฟีน

เจ้าชายฝรั่งเศสพระองค์แรกที่ทรงถูกเรียกขานว่า "เลอโดแฟ็ง" คือพระเจ้าชาร์ลที่ 5 ซึ่งยศนี้ประมาณเทียบเท่าได้กับยศ "เจ้าชายแห่งเวลส์" ของอังกฤษ, "ดยุกแห่งบรากันซา" ของโปรตุเกส หรือ "เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส" ของสเปน ซึ่งพระยศเต็มของโดแฟ็งมีนามว่า "โดยพระคุณแห่งพระเจ้า, โดแฟ็งแห่งเวียนัว, เคานต์แห่งวาล็องตีนัวและดียัว" (ฝรั่งเศส: par la grâce de Dieu, dauphin de Viennois, comte de Valentinois et de Diois; ปาร์ลากรัสเดอดีเยอ, โดแฟ็งเดอเวียนัว, กงต์เดอวาล็องตีนัวเอเดอดียัว) ส่วนตราอาร์มประจำตำแหน่งจะเป็นการรวมเอาสัญลักษณ์ปลาโลมา (โดฟีเน) กับสัญลักษณ์ดอกลิลลี (เฟลอร์เดอลี) เข้าด้วยกัน และในบางกรณีอาจจะรวมเอาสัญลักษณ์ของตราอาร์มอื่นเข้าไว้ด้วย เช่น โดแฟ็งฟรานซิส (ค.ศ. 1518 - 1536) ซึ่งเป็นพระโอรสในพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 ทรงปกครองแคว้นเบรอตาญ ขณะทรงพระยศโดแฟ็งจึงมีเอารวมเอาสัญลักษณ์ของแคว้นดังกล่าวมาประดับไว้ในตราอาร์มประจำอิสริยยศโดแฟ็งด้วย หรือในกรณีของพระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 ผู้ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์จากการเสกสมรสกับพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ จึงได้มีการนำเอาสัญลักษณ์ตราอาร์มของราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้ามารวมในตราอาร์มของโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส

แต่เดิมแล้วผู้ทรงพระยศโดแฟ็งมีภาระรับผิดชอบปกครองแคว้นโดฟีเน ซึ่งตามกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระจักรพรรดิทรงพระราชทานอำนาจให้แก่รัชทายาทฝรั่งเศสปกครอง แต่ทรงกำหนดห้ามมิให้รวมเข้ากับฝรั่งเศส เพราะแคว้นโดฟีเนเคยบอบช้ำจากระบอบอนาธิปไตยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 - 15 เนื่องจากในขณะนั้นโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสถูกมองว่าไร้ซึ่งอำนาจและเป็นเพียงแค่ตำแหน่งเล็ก ๆ


ในช่วงที่เจ้าชายหลุยส์ พระโอรสในพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ทรงดำรงพระยศโดแฟ็ง หลุยส์ทรงท้าท้ายพระบิดาด้วยการพำนักอยู่ในแคว้นโดฟีเนนานกว่าที่พระบิดาทรงอนุญาต และยังทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวการเมืองในทางที่เป็นประโยชน์ต่อโดฟีเนมากกว่าต่อฝรั่งเศส เช่น การเสกสมรสกับชาร์ล็อตต์แห่งซาวอยเพื่อต่อต้านพระประสงค์ของพระบิดา ซึ่งซาวอยถือว่าเป็นพันธมิตรของโดฟีเนและเจ้าชายหลุยส์มีพระประสงค์ในการกระชับความสัมพันธ์ในการที่จะกำจัดกลุ่มกบฏและกองโจรให้หมดไปจากแคว้นของพระองค์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1456 เจ้าชายหลุยส์ทรงถูกบังคับให้เสด็จออกจากแคว้นโดยกองทหารของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 ทำให้ทั้งแคว้นตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย แต่ต่อมาเมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส พระองค์จึงทรงผนวกเอาโดฟีเนรวมเข้ามาอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์

พระอิสริยยศโดแฟ็งจะถูกพระราชทานโดยอัตโนมัติแก่ทายาทผู้มีสิทธิ์โดยตรงในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสลำดับถัดไป ซึ่งลำดับดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลำดับการประสูติ, ลำดับการสืบราชสมบัติของพระราชบิดา-พระราชมารดา หรือการสิ้นพระชนม์ลงของโดแฟ็งพระองค์ก่อนหน้า โดยการพระราชทานยศโดยอัตโนมัตินี้ไม่เหมือนกับการพระราชทานยศเจ้าชายแห่งเวลส์ของอังกฤษ ที่ซึ่งพระมหากษัตริย์อังกฤษจะพระราชทานให้ในรูปของการปูนบำเหน็จอยู่เสมอ ไม่ใช่การได้รับพระยศโดยอัตโนมัติหลังทรงประสูติ

พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสจะดำรงบรรดาศักดิ์ในชั้น ราชโอรสแห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Fils de France; ฟิสเดอฟร็องส์) ในขณะที่พระนัดดาสายพระโอรสของกษัตริย์จะดำรงบรรดาศักดิ์ในชั้น ราชนัดดาแห่งฝรั่งเศส ส่วนพระโอรส-ธิดาและพระนัดดาในโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสจะทรงบรรดาศักดิ์ในชั้นที่สูงกว่า ซึ่งจะทรงได้รับการปรณนิบัติเทียบเท่าพระราชโอรส-ธิดาและพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสตามลำดับ เช่น พระโอรสของโดแฟ็งซึ่งเป็นพระราชนัดดาในองค์กษัตริย์ (พระมหากษัตริย์เป็นพระบิดาของโดแฟ็ง โดแฟ็งเป็นพระบิดาของพระโอรสพระองค์นั้น) จะทรงบรรดาศักดิ์เป็นราชโอรสแห่งฝรั่งเศสเทียบเท่าบรรดาพระปิตุลา (ลุง, อา) พระมาตุจฉา (ป้า, น้า) แม้ในความเป็นจริงแล้วจะต้องทรงบรรดาศักดิ์เพียงแค่พระราชนัดดาก็ตาม ส่วนพระนัดดาของโดแฟ็ง (พระราชปนัดดาในพระมหากษัตริย์) ก็จะทรงบรรดาศักดิ์เป็นราชนัดดาแห่งฝรั่งเศส แม้ในความเป็นจริงแล้วจะต้องทรงบรรดาศักดิ์เพียงแค่พระราชปนัดดาเท่านั้น ในขณะที่พระราชปนัดดาในพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ จะทรงบรรดาศักดิ์เป็นเพียง เจ้าชายสืบสายพระโลหิต (ฝรั่งเศส: Prince du sang; แพร็งส์ดูว์ซ็อง)


อิสริยยศโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสถูกยกเลิกโดยรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ซึ่งนิยามฝรั่งเศสให้เป็นประเทศราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ และภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ได้นิยามให้รัชทายาทผู้สืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศส (ในขณะนั้นคือ โดแฟ็งหลุยส์-ชาร์ล) เปลี่ยนพระยศไปเป็น ราชกุมาร (ฝรั่งเศส: Prince royale; แพร็งส์รัวยาล) ส่่วนเจ้าชายสืบสายพระโลหิตถูกเปลี่ยนพระยศไปเป็น เจ้าชายฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Prince français; แพร็งส์ฟร็องแซ) การเปลี่ยนแปลงถูกประกาศรับรองโดยสภานิติบัญญัติและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1791 ต่อมาเมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงขึ้น และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จขึ้นครองราชย์ พระยศโดแฟ็งก็ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง อย่างไรก็ดีในช่วงรัชสมัยดังกล่าวกลับไม่มีผู้ได้ดำรงพระยศโดแฟ็งไปจนกระทั่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จสวรรคต ต่อมาด้วยการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งก็คือ พระเจ้าชาร์ลที่ 10 พระโอรสของพระเจ้าชาร์ลนามว่า หลุยส์-อ็องตวน ดยุกแห่งอ็องกูแลม ผู้เป็นรัชทายาทโดยตรง จึงได้ทรงพระยศโดแฟ็งโดยอัตโนมัติ


ต่อมาเมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงสละราชสมบัติและพระโอรสของพระองค์ก็ทรงปฏิเสธที่จะขึ้นครองราชย์ ทำให้ราชวงศ์บูร์บงพ้นจากการปกครองฝรั่งเศส ตำแหน่งนี้ก็ถูกล้มเลิกไปอีกครั้ง (รัชทายาทของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์ต่อมา ทรงบรรดาศักดิ์เป็น "ราชกุมาร") ในภายหลังพระยศโดแฟ็งยังถูกใช้โดยเชื้อพระวงศ์บูร์บงในสเปนในฐานะผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สเปนสายสืบสิทธิโดยนิติธรรมอีกด้วย




พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส

เจ้าชาย หลุยส์-ชาร์ล แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Louis-Charles de France) หรือที่กลุ่มกษัตริย์นิยมในฝรั่งเศสนับถือเป็น พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Louis XVII de France) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งนาวาร์ (ฝรั่งเศส: Louis IV de Navarre) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์บูร์บง ประสูติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2328 ณ เมืองแวร์ซายส์ โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี มารี อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย เมื่อแรกประสูตินั้น พระองค์มีพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งนอร์มังดี ต่อมาจึงได้ทรงดำรงพระยศเป็นโดแฟ็งแห่งเวียนนัวส์ (Dauphin de Viennois) ซึ่งเป็นตำแหน่งของรัชทายาทฝรั่งเศส และ "ปรินซ์รอแยลออฟฟรานซ์" (Prince Royal of France) ในปี พ.ศ. 2332 และ พ.ศ. 2334 ตามลำดับ

พระองค์ได้ทรงรับสืบทอดพระอิสริยยศ "กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์" เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หลังจากที่พระราชบิดาทรงถูกคณะปฏิวัติสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียรในวันนั้น ซึ่งพระองค์เองก็ทรงถูกคณะปฏิวัติคุมขังตราบจนเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2338 โดยที่ไม่มีโอกาสจะได้ขึ้นครองราชสมบัติเยี่ยงกษัตริย์พระองค์อื่นแต่อย่างใด สิริรวมพระชนมายุได้ 10 พรรษาโดยโรควัณโรค แต่หลักฐานก็ยังไม่แน่ชัดเพราะว่า บางคน เล่ากันว่าพระองค์ได้มีสหายคนสนิทได้ลักลอบพาตัวพระองค์ออกนอกประเทศและไม่เปิดเผยนามที่แท้จริงของพระองค์โดยสมัยนั้นมีถึง 30 คนที่ปลอมตนเองว่าเป็นพระองค์




พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส

พระอิสริยยศ     กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
ราชวงศ์     ราชวงศ์บูร์บง
ระยะครองราชย์     21 มกราคม พ.ศ. 2336 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2338
รัชกาลก่อนหน้า     พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
รัชกาลถัดไป     จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ     27 มีนาคม พ.ศ. 2328
สวรรคต     8 มิถุนายน พ.ศ. 2338
พระราชบิดา     พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดา พระนางมารี มารี อ็องตัวแน็ต

................
อ่านรายละเอียด...



Create Date : 15 มกราคม 2557
Last Update : 15 มกราคม 2557 7:22:28 น. 1 comments
Counter : 5642 Pageviews.

 
โหวตไม่ถูกหนะท่านขุน จะให้โหวตอะไร


โดย: หอมกร วันที่: 21 มกราคม 2557 เวลา:9:24:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.