Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
8 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
รายชื่อการรัฐประหารในประเทศไทย

รัฐประหาร หรือ การรัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état กูเดตา) หมายถึงการล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่ง โดยประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายในเวลาที่กำหนด ลักษณะนี้ก็เรียกได้ว่า เป็นการก่อรัฐประหาร โดยในวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จะถือว่าการรัฐประหาร มิใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ

นิยาม

คำว่า coup d'état มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหากแยกพิจารณาจากการสนธิคำ จะแปลตรงตัวได้ว่า การล้มล้างอย่างเฉียบพลัน (coup = blow of) ต่อรัฐ (d'état = on state) โดยในพจนานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britannica Concise Encyclopedia) นิยามว่าเป็นการยุบเลิกรัฐโดยฉับพลัน (stroke of state) การเข้ามาเถลิงอำนาจโดยเฉียบพลัน มักจะเกิดด้วยความรุนแรง การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มก่อการ (a group of conspirators) มักจะเกิดกับประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง หรือมีในระดับต่ำ ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การรัฐประหารมักไม่ประสบความสำเร็จ

ส่วนพจนานุกรมศัพท์ทางการทหารของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Companion to Military History) อธิบายว่า เป็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หรือคณะปกครองด้วยกำลัง โดยมักเกิดจากกองทัพ พจนานุกรมศัพท์ทางทหารอเมริกันของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of the US Military) นิยามว่า เป็นการเข้ามาเถลิงอำนาจในรัฐบาล อย่างรวดเร็วรุนแรง และผิดกฎหมาย พจนานุกรมศัพท์ทางการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) กล่าวว่า เป็นการยุบเลิกรัฐบาลอย่างกะทันหัน ด้วยกำลังที่ผิดกฎหมาย มักกระทำการโดยกองทัพ หรือส่วนหนึ่งของกองทัพ โดยมักจะเกิดขึ้น ท่ามกลางความไม่เห็นชอบของประชาชน หรือไม่ก็มักเป็นปัญหากับประชาชนบางส่วน ซึ่งส่วนมากเป็นชนชั้นกลาง หรือไม่ก็ด้วยความร่วมมือของพรรคการเมือง หรือกลุ่มทางการเมือง

โดยสรุป การรัฐประหารหมายถึง การเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองรัฐ (head of state) หรือรัฐบาล (government) โดยเฉียบพลันด้วยกำลัง ความรุนแรง และผิดกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบอบการปกครอง (regime)


รัฐประหารในประเทศไทย

คณะรัฐประหารของไทยที่ก่อการสำเร็จ มักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้น เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงครั้งเดียว จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แต่ความเห็นอีกด้านหนึ่งกล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างการปฏิวัติกับการรัฐประหาร เนื่องจากมีการใช้กำลังทหาร ในการควบคุมบังคับ เพื่อระงับอำนาจของรัฐบาล ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ ล้วนแต่มาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น  ส่วนทหารเรือเคยพยายามก่อรัฐประหารมาแล้ว ในกรณีกบฏวังหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2492 และกบฏแมนฮัตตัน เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่กระทำการไม่สำเร็จ แล้วหลังจากนั้น ทหารเรือก็เสียอำนาจในการเมืองไทยไป


รายชื่อการรัฐประหารในประเทศไทย

    >รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
    >รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
   > รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
    >รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
    >รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
    >รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
    >รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
    >รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
   > รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
   > รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
    >รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
    >รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง

รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476

เหตุการณ์ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

เหตุสืบเนื่องจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ฉบับที่เรียกว่า "สมุดปกเหลือง" ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ บ้างถึงกับกล่าวว่าถ้านายปรีดีไม่ลอกมาจากสตาลิน สตาลินก็ต้องลอกมาจากนายปรีดี ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ ซึ่งพระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้นำพระยาฤทธิอัคเนย์ และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ทหารเสืออีก 2 คน สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ ซึ่งคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ แต่ในส่วนของบรรดานายทหารคณะราษฎรส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุนนายปรีดีอยู่

โดยความตอนหนึ่งในคำแถลงการณ์ปิดสภาฯของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ความว่า


    ...ในคณะรัฐมนตรี ณ บัดนี้ เกิดการแตกแยกเป็น ๒ พวก มีความเห็นแตกต่างกัน ความเห็นข้างน้อยนั้นปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจไปในทางอันมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้นเป็นการตรงกันข้ามแก่ขนบประเพณีชาวสยาม และ เป็นที่เห็นได้โดยแน่นอนทีเดียวว่านโยบายเช่นนั้น จักนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นมหันตภัยแก่ความมั่นคงของประเทศ...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลานี้เล่า ก็ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ สภานี้มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ จนกว่าจะมีสภาใหม่โดยราษฎรเลือกตั้งสมาชิกขึ้นมา สภาประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวเช่นนี้ หาควรที่ไม่จะเพียรวางนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเก่าอันมีใช้อยู่ประดุจการพลิกแผ่นดิน ส่วนสภาในเวลานี้จะอ้างว่าไม่ได้ทำ หรือยังไม่ได้ทำกฎหมายอันมีลักษณะไปในทางนั้นก็จริงอยู่ แต่เป็นที่เห็นได้โดยชัดเจนแจ่มแจ้งว่าสมาชิกเป็นจำนวนมากคน มีความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น และมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐมนตรีอันมีจำนวนข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี...



สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ โดย พระยาทรงสุรเดชจึงขู่ฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีโดยการใช้กำลัีงทหารพร้อมอาวุธปืนและลูกระเบิดตรวจค้นสมาชิกสภาฯ ก่อนจะเข้าที่ประชุม ดังที่วิเทศกรณีย์บันทึกไว้ว่า


    ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 09.35 น. นั้น พระยาทรงสุรเดชได้นำเอาทหาร 1 กองร้อยพร้อมสรรพด้วยอาวุธและนัยว่าได้เอาลูกระเบิดมือติดตัวมาด้วย ทหาร 1 กองร้อยดังกล่าวนี้ได้ยืนอยู่ที่เชิงบันไดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำการตรวจค้นอาวุธที่บรรดาสมาชิกพกติดตัวมา ถ้าใครพกปืนติดตัวมาก็เก็บเอาไว้เสียทันที การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกเป็นส่วนมาก

และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ รัฐประหารเงียบ พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาวเวียดนามที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์สยามก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลสงคราม เป็นต้น

เหตุความขัดแย้งขึ้นยังคงดำเนินต่อมา นำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ จนทำให้เกิดเหตุรัฐประหารอีกครั้งด้วยกำลังทหารในอีก 69 วันต่อมา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน  ซึ่งคณะนายทหารคณะราษฎรได้รัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เรียกตัวนายปรีดีกลับมา และเนรเทศพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไปปีนังแทนด้วยรถไฟ และถึงแก่กรรมที่นั่นในที่สุด สำหรับพระยาทรงสุรเดช นี่เป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งที่นำไปสู่การกล่าวหาในเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดชต่อไป

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา


รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน เวลา 18.00 น. ที่ท่าเรือบีไอ  และถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม


จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า


    ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ



เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้


รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เกิดขึ้นในคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ, น.อ.กาจ กาจสงคราม, พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์, พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พ.อ.ถนอม กิตติขจร, พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

สาเหตุของการรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์ ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียมแจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร ทว่าความปรากฏภายหลังว่าเป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" เป็นต้น

ในขณะนั้นมีข่าวลือและความเป็นไปได้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า อาจเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น สำหรับตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ แล้ว เมื่อนักข่าวซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ตอบว่า "ก็นอนรอการปฏิวัติอยู่แล้ว" เพราะมั่นใจในศักยภาพของรัฐบาลตัวเอง ว่ามีผู้บัญชาการทหารบก (พล.ต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส) ให้การสนับสนุนอยู่


การรัฐประหารครั้งนี้ เดิมทีกำหนดให้เกิดขึ้นในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน แต่ทว่า พล.ต.อ.อดุล ผู้บัญชาการทหารบก ทราบเสียก่อน จึงมีคำสั่งเรียกให้นายทหารทุกชั้นเข้ามารายงานตัว คณะผู้ก่อการจึงเลื่อนกำหนดเดิมให้เร็วขึ้นหนึ่งวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน เมื่อกองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล และรถถังอีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปประตูทำเนียบท่าช้างวังหลวงเพื่อควบคุมตัว นายปรีดี พนมยงค์ แต่นายปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัวนายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภรรยาและลูก ๆ เท่านั้น

เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้แถลงต่อสื่อมวลชนด้วยสภาพน้ำตานองหน้า ว่าทำไปเพราะความจำเป็น จนได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษเจ้าน้ำตา" หรือ "บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล" และเรียกกลุ่มของตนเองว่า "คณะทหารแห่งชาติ" รวมทั้งได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยุติบทบาททางการเมืองไปแล้วในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งชาติ ซึ่งสาเหตุของการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้ปรากฏอยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 หรือที่เรียกกันว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม" ที่ถูกนำออกมาใช้หลังจากนั้น ว่า

    "บัดนี้ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตการณ์ ประชาชนพลเมือง

    ได้รับความลำบาก เดือดร้อน เพราะขาดอาหาร เครื่องนุ่งห่ม

    และขาดแคลนสิ่งอื่น ๆ นานัปการ เครื่องบริโภคอุปโภคทุกอย่าง

    มีราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความ

    เสื่อมทรามในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อน…ผู้บริหารราชการ

    แผ่นดินและสภาไม่อาจดำเนินการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้กลับสู่ภาวะ

    ดังเดิมได้…เป็นการผิดหวังของประชาชนทั้งประเทศ…ถ้า

    จะคงปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ก็จะนำซึ่งความหายนะแก่

    ประเทศชาติ…




จากนั้นคณะทหารแห่งชาติ จึงให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สัญญาว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน ซึ่งคณะทหารแห่งชาติได้ตั้งสภาขึ้นมา ใช้ชื่อว่า "คณะรัฐมนตรีสภา" และจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นรัฐบาลพลเรือน แต่ทว่า ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน ก็ได้ทำการบีบบังคับให้นายควงลาออก และแต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

ผลจากการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เป็นการรัฐประหารที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน มีการวิเคราะห์ว่า รัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ แม้จะได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งมา ก็ไม่มีอำนาจและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะนายทหาร ซึ่งหลังจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่งก่อตั้งมาก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็มีความแตกแยกกันเองภายในพรรค สืบเนื่องจากการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลจอมพล ป. ของสมาชิกพรรคบางคน ทำให้สมาชิกพรรคหลายคนได้ลาออก เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลขาธิการพรรค, นายเลียง ไชยกาล, นายสุวิชช พันธเศรษฐ, นายโชติ คุ้มพันธ์ เป็นต้น ถือเป็นความแตกแยกกันของพรรคเป็นครั้งแรก


และที่สำคัญที่สุดการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ซึ่งหลังจากนั้น นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศไม่อาจกลับมาประเทศไทยได้อีกเลย ตราบจนสิ้นชีวิต แม้จะมีความพยายามกลับมาทำกบฏวังหลวงในปี พ.ศ. 2492 ก็ไม่สำเร็จ และต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ด้วย ซึ่งต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เลิกเล่นการเมืองไปแล้วได้หวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึง 9 ปี ด้วยกัน โดยมีกรณีที่สำคัญ คือ การฟ้องและประหารชีวิตผู้ต้องหาจากคดีสวรรคต

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491

รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นการทำรัฐประหารโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 กล่าวคือเป็นกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ที่พ้นตำแหน่งไปภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง


โดยที่ภายหลังจากกลุ่มนายทหารนำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 แล้วได้แต่งตั้งให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)


ต่อมาในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ สามารถชนะการเลือกตั้งได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะ หัวหน้าพรรคได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า ผู้มีอำนาจที่แท้จริงก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งชาติ ที่ทางคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ และให้การสนับสนุนนั่นเอง และมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการรัฐประหารซ้อน เพราะทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ได้มีความพยายามของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะมิให้นายควง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงขนาดได้เข้าเฝ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี เพื่อมิให้แต่งตั้งนายควง แต่ทางพระองค์เจ้าธานีนิวัตฯ ได้ตอบว่า ปล่อยให้เป็นกระบวนการของสภาฯ อีกทั้งคณะรัฐบาลของนายควง ก็ได้มีความขัดแย้งกับคณะรัฐประหาร ในเรื่องของการแต่งตั้ง พ.ต.ท.เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ หนึ่งในสมาชิกคณะรัฐประหารเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ทาง พล.ท.ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วย เนื่องจากคณะรัฐประหารหลังการรัฐประหารใหม่ ๆ ได้ประกาศว่าจะไม่แทรกแซงการทำงานของรัฐบาล ซึ่งในเรื่องทั้งหมดนี้ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองหัวหน้าคณะรัฐประหารได้ออกมาประกาศว่า ไม่เป็นความจริง และคณะรัฐประหารมิได้มีความต้องการที่จะทำการรัฐประหารอีกครั้ง


หลังจากการเลือกตั้งไม่นาน ได้มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะประชาธิปไตย" ประกอบด้วยนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง นำโดย พล.ท.พระยาเทพหัสดิน รวมทั้ง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยส่วนหนึ่ง เช่น นายเลื่อน พงษ์โสภณ, นายฟอง สิทธิธรรม, นายเลียง ไชยกาล ได้รวมตัวกันสนับสนุน จอมพล ป. ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยเขียนลงไปในป้ายประกาศว่าจะขอ "สนับสนุนจอมพล ป.ตลอดกาล" ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนไหวรวมตัวกันที่สนามหลวงและสวนลุมพินี พร้อมกับได้ล่ารายชื่อบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้สนับสนุน จอมพล ป.

จากนั้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งตรงกับวันจักรี อันเป็นวันหยุดราชการ กลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน ประกอบด้วย พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, พล.ต.สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ, พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืนเข้าพบ นายควง อภัยวงศ์ ที่บ้านพักในซอยตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ อ้างเหตุเรียกร้องให้นายควงจ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับจากเชียงตุง หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจากกระทรวงการคลัง จำนวน 9 ล้านบาท แต่นายควงไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างนายควงกับทหารกลุ่มนี้มาอยู่ก่อนแล้ว ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่าจะเกิดการรัฐประหาร และที่สุดขอให้นายควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง โดยอ้างว่าคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น เห็นว่ารัฐบาลนายควงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของชาติที่ตกต่ำลงได้ โดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นมาก


เมื่อนายทหารกลุ่มนี้กลับไปแล้ว ในเวลาเที่ยง นายควงได้ส่งนายทหารคนสนิทเข้าพบนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นแกนนำในการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่วังสวนกุหลาบ อันเป็นฐานบัญชาการ เพื่อขอคำยืนยันในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่พบ ต่อมาในเวลา 14.00 น. พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหารได้เดินทางมาพบนายควงด้วยตัวเองถึงบ้านพัก และยืนยันถึงความต้องการของคณะนายทหาร นายควงพยายามติดต่อกับ ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อขอความคุ้มครองแต่ไม่เป็นผล นายควงได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่บ้านพักเพื่อขอทราบท่าที แม้นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงมหาดไทย ยืนยันว่า จะเป็นผู้สั่งการให้ตำรวจทำการจับกุมคณะนายทหารกลุ่มนี้เสียในฐานะเป็นกบฏ แต่ก็ในที่ประชุมไม่เห็นด้วย ด้วยเกรงว่าจะเป็นเหตุให้เกิดการนองเลือด อีกทั้งม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการคลัง ได้ยืนยันว่า รัฐบาลมิอาจลดค่าครองชีพให้ต่ำลงมาทันใจคณะรัฐประหารจริง


ที่สุดในเวลา 16.00 น. ที่ประชุมได้ร่างใบกราบบังคมทูลลาออกของนายควงเสร็จ และมีมติให้ นายควงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 และปลายเดือนเมษายน ปีเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ เป็นการเริ่มต้นครองอำนาจของ จอมพล ป. ครั้งใหม่ที่ยาวนานถึงเกือบ 10 ปี

เนื่องจากรัฐประหารครั้งนี้ กระทำเป็นการภายในใช้นายทหารเพียงไม่กี่คน โดยไม่มีการเคลื่ยนย้ายกำลังพลใด ๆ ทำให้ได้ชื่อว่า "รัฐประหารเงียบ" ซึ่งสื่อมวลชนในขณะนั้นเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "การจี้นายกรัฐมนตรี"

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 หรือ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งที่เกิดในประเทศไทย แต่เป็นรัฐประหารครั้งแรกที่เรียกได้ว่า เป็นการ รัฐประหารตัวเอง (ยึดอำนาจตัวเอง)

เหตุเนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น ไม่เอื้อให้เกิดอำนาจ คือให้ผู้ที่เป็น สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้

การยึดอำนาจกระทำโดยไม่ใช้การเคลื่อนกำลังใด ๆ เพียงแต่มีความเคลื่อนไหวโดยมีตำรวจและทหาร รวมทั้งรถถังเฝ้าประจำการในจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 29 พฤศจิกายน ก็ได้มีการประกาศผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ว่า บัดนี้คณะนายทหารส่วนใหญ่จากคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 อาทิ เช่น พลเอกผิน ชุณหะวัณ, พลอากาศเอกฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี, พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น ได้กระทำการยึดอำนาจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อผดุงไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศชาติ จากภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังคุกคามอย่างรุนแรง โดยเรียกตัวเองว่า "คณะบริหารประเทศชั่วคราว" และได้ความร่วมมือจากทั้ง 3 กองทัพ และตำรวจ ซึ่งมีคำปรารภในการรัฐประหารครั้งนี้ว่า

   " เนื่องจากสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันตกอยู่ในความคับขันทั่วไป

    ภัยแห่งคอมมิวนิสต์ได้ถูกคุกคามเข้ามาอย่างรุนแรง ในคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน

    นี้ก็ยังดี ในรัฐสภาก็ดี มีอิทธิพลของคอมมิวนิสต์เข้าแทรกซึมอยู่เป็นมาก

    แม้ว่ารัฐบาลจะทำความพยายามสักเพียงใด ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหา

    เรื่องคอมมิวนิสต์ได้ ทั้งไม่สามารถปราบการทุจริตที่เรียกว่า คอร์รับชั่น

    ดังที่มุ่งหมายว่าจะปราบนั้นด้วย ความเสื่อมโทรมมีมากขึ้น จนเป็นทีวิตก

    กันทั่วไปว่า ประเทศชาติจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสถานการณ์

    การเมืองอย่างนี้

    จึงคณะทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ ผู้ก่อการ

    เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490

    พร้อมด้วยประชาชนผู้รักชาติ มุ่งความมั่นคงดำรงอยู่แห่งชาติ ศาสนา

    พระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์ และระบอบรัฐธรรมนูญ ได้พร้อมกัน

    เป็นเอกฉันท์ กระทำการเพื่อนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ให้เป็นความ

    รุ่งเรืองสถาพรแก่ประเทศชาติสืบไป

จากนั้นคณะบริหารประเทศชั่วคราวได้สั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 หันกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกมาใช้แทน ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ เช่น ไม่ร่วมเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2495 เป็นต้น

อนึ่ง การรัฐประหารครั้งนี้ได้เกิดขึ้นก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ จะเสด็จนิวัติพระนครเพียง 2 วันเท่านั้น โดยที่คณะบริหารประเทศชั่วคราว ได้ขอให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงพระนามในประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตฯ มิได้ทรงลง โดยทรงให้เหตุผลว่า ควรจะยกให้เป็นพระราชวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม ในวันต่อมา ก็ได้มีประกาศว่า คณะรัฐมนตรีชั่วคราว ถืออำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดิน ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นการก่อรัฐประหารในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้แถลงเมื่อวันที่ 21 กันยายน ถึงสาเหตุในการยึดอำนาจและให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายถึงบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต


ภายหลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก ใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด


รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่า การก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

...............
สนใจคลิกอ่านรายละเอียต่อ..

Smileyหมวดบล็อก"วิ เ ค ร า ะ ห์ ก า ร เ มื อ ง แ ล ะ ก า ร ป ก ค ร อ ง


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2557 21:39:52 น. 24 comments
Counter : 1312 Pageviews.

 
มาเจิมค่ะ
พรุ่งนี้จะมาส่งกำลังใจ วันนี้โควต้าหมดแล้วค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:21:42:17 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
โหวตให้ท่านขุนจ้า


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: หอมกร วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:22:27:59 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 7 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: หอมกร วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:22:29:46 น.  

 
แวะมาเยี่ยมในวันหยุด...สวัสดีครับ

โหวต และไลค์ส่งกำลังใจไปให้ท่านขุนด้วยครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: **mp5** วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:9:55:17 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 8 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: **mp5** วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:9:56:51 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 7 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: หอมกร วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:21:28:14 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
......................

ขอบคุณท่านขุนฯมากค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:22:39:21 น.  

 
สวัสดีค่าคุณท่านขุน แวะมาแปะหัวใจให้นะคะ ว้าวคุณขุณรามเป็นคนชอบเขียนใช้มั๊ยนี่ อิอิ แซวเล่นะคะ

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

แปะแล้วค่ะ

อ่านบล๊อกคุณขุณรามแล้ว นึกถึงคำนี้จังค่ะ "ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง!"


โดย: Rainy7Days วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:23:36:37 น.  

 
อีกไม่นาน โปรดฟังอีกครั้ง
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:23:55:20 น.  

 


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sweet_pills Travel Blog ดู Blog
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog



โดย: ALDI วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:1:47:11 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

แวะมาส่งกำลังใจให้ท่านขุนค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:2:06:10 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ
มาแปะหัวใจให้นะคะ
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:8:31:13 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 2 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

ขอบคุณหัวใจจากแดนไกล
และข้อมูลน่าสนใจ


โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:11:49:12 น.  

 
ขอบคุณสำหรับหัวใจค่ะ

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 1 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: ฝากเธอ วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:19:45:31 น.  

 
ขอบคุณครับ ท่านขุน
โหวต ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:23:40:42 น.  

 
บอกรักด้วย โหวตด้วยค่ะท่านขุน

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 4 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
ญามี่ Literature Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: jamaica วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:20:00:09 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ


 เศษเสี้ยวPhoto Blogดู Blog
moresawDharma Blogดู BlogPrettyNovemberFood Blogดู Blog
ขุนเพชรขุนรามPolitical Blogดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ




โดย: pantawan วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:23:25:15 น.  

 
มาแปะหัวใจและโหวตให้ด้วยเลยค่ะ
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
anigia Parenting Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:13:17:16 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog

ไปอ่านบล็อค มารี อังตัวเน็ทของท่านขุนมาด้วย แต่คอมเมนต์ไม่ได้ อิอิ

ท่านขุนสบายดีนะคะ ทางนี้หนาวมาก ๆ เลยค่ะ


โดย: Lilac Girl วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:3:12:10 น.  

 
แปะหัวใจให้ท่านขุนฯ ค่ะ
สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะคะ

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 2 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: ALDI วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:5:12:38 น.  

 
สวัสดีวันมาฆบูชาและสุขสันต์วันแห่งความรักครับ


โดย: **mp5** วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:20:53:04 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

สุขสันต์วันวาเลนไทน์และวันมาฆบูชาค่าท่านขุน
แวะมาส่งหัวใจและความคิดถึงค่า ขอให้มีความสุขมากๆ นะคะ

อยากแปะติ๊กเกอร์จังเลย อิๆ
หลับฝันดีนะคะ



โดย: ประกายพรึก วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:21:53:45 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ


โดย: ฝ น ต ก เ พ ร า ะ ก บ มั น ร้ อ ง (Opey ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:3:30:41 น.  

 
คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ ขุนเพชรขุนราม เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 9 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


โดย: หอมกร วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:19:28:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.