ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา 1. การฝึกอบรม หรือการเจริญพัฒนา มี ๒ อย่าง คือ ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจและเจริญปัญญา (นิยมเขียน กรรมฐาน) คือ ๑. สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการทำจิตใจให้สงบ, วิธีฝึกอบรมเจริญจิตใจ ๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการให้เกิดความรู้แจ้ง, วิธีฝึกอบรมเจริญปัญญา กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ สิ่งที่นิยมใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔
สรุปก็เป็นวิธีฝึกจิตเจริญปัญญา นั่นเอง สมถะ (สมาธิ) วิธีฝึกอบรมจิต วิปัสสนาวิธีเจริญปัญญา ก็ไตรสิกขาแหละ อธิศีลสิกขา (ฝ่ายศีล) อธิจิตตสิกขา (ฝ่ายจิต) อธิปัญญาสิกขา (ฝ่ายปัญญา) กลวิธีฝึกคนสามด้าน
Create Date : 10 มิถุนายน 2567 |
Last Update : 17 มีนาคม 2568 14:05:31 น. |
|
0 comments
|
Counter : 247 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|