Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 

แม่-ลูกหลังคลอด แพ้ฮอร์โมน



อาการผื่นแพ้ฮอร์โมนของทั้งคุณแม่และลูกน้อยหลังคลอดเป็นอาการที่พบได้
เนื่องจากฮอร์โมนต่างๆในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะอาการนี้จะหายไปได้เอง
เมื่อร่างกายปรับสภาพกับระดับฮอร์โมนที่ลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอดได้แล้ว

อาการแพ้ฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์
เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมากขึ้น รวมถึงมากขึ้น รวมถึงมีฮอร์โมนใหม่อีกตัวหนึ่งที่สร้างจากรกคือ ฮอร์โมน HCG
ซึ่งระดับฮอร์โมนต่างๆที่เปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก
สำหรับคุณแม่บางคนฮอร์โมนไม่ได้ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องเท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ ผื่นแดงหรือ
มีผื่นขึ้นคล้ายสิวเกิดขึ้นตามร่างกายได้ โดยคุณแม่บางคนอาจจะมีอาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์
แต่คุณแม่บางคนกลับมีผื่นแพ้ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด เนื่องจากเมื่อคลอดลูกแล้ว
ระดับฮอร์โมนที่เคยสูงระหว่างตั้งครรภ์จะลดระดับลงอย่างรวดเร็ว

การที่คุณแม่แต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน เพราะอาการต่างๆเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายของแต่ละคนตอบสนอง
ต่อระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงต่างกัน ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะไม่มีอาการใดเลยคุณแม่
บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องมาก หรือมีหลายอาการเกิดขึ้น เช่น มีผื่นแพ้ มีสิวฝ้า
หรือบางคนระดับฮอร์โมนมีผลต่อระดับความดันโลหิตด้วย

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการผื่นแพ้เพราะฮอร์โมน คุณหมอมักรักษาตามอาการ
แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ยาแก้แพ้ใดๆเพราะยาอาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้ และคุณแม่ควรดูแลผิวไม่ให้อักเสบ
ติดเชื้อ พยายามอย่าถูหรือเกา และไม่ควรซื้อยาแก้แพ้มากินหรือทาเองอย่างเด็ดขาด
เพราะยาอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ และอาการผื่นแพ้นี้มักจะหายไปหลังคลอดลูก


แม่มีผื่นแพ้ฮอร์โมนเข้าใกล้ลูกได้ไหม
ส่วนคุณแม่บางคนอาจมีอาการผื่นแพ้ฮอร์โมนหลังคลอด หากมีอาการคุณหมออาจพิจารณาให้ยากินแก้แพ้ที่มัก
จะมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งหากคุณแม่ตัดสินใจกินยาแก้แพ้ คุณแม่จะไม่สามารถให้นมลูกได้เพราะ
สเตียรอยด์จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและอาจ ทำให้ลูกได้รับยาผ่านทางน้ำนม

หากไม่รักษาด้วยกิน ก็อาจรักษาด้วยยาทาแก้แพ้ซึ่งมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่นกัน ถ้าคุณแม่ทายาแก้แพ้ก็ต้อง
ระวังไม่ให้ผิวที่ทายาสัมผัสกับผิวลูก เพราะผิวทารกอ่อนบางมาก หากสัมผัสยาที่มีสเตียรอยด์
คุณแม่สามารถดุแลและให้นมลูกได้ตามปกติ

อาการผื่นแพ้ฮอร์โมนนี้จะหายไปได้เองภายในประมาณ 2 – 4 สัปดาห์หลังคลอด
เมื่อร่างกายปรับตัวกับระดับฮอร์โมนได้แล้ว ผื่นนั้นก็จะหายไปเอง
และพบว่าคุณแม่ที่เคยมีอาการผื่นแพ้ฮอร์โมน อาจจะมีหรือไม่มีอาการนี้อีกในการตั้งครรภ์ลูกคนต่อไปได้


ลูกน้อยเป็นผื่นแพ้ฮอร์โมน
ทารกหลังคลอดก็อาจเกิดอาการผื่นแพ้ฮอร์โมนได้เช่นกัน มักพบเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาจเพราะเพศหญิงมี
ลักษณะของฮอร์โมนคล้ายคุณแม่มากกว่าเพศชาย จึงทำให้เกิดให้เกิดอาการแพ้ฮอร์โมนได้น้อยกว่า
อาการแพ้นี้เกิดจากตอนที่อยู่ในครรภ์ ทารกได้รับฮอร์โมนต่างๆจากคุณแม่อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว
ฮอร์โมนที่เคยได้รับลดระดับลงอย่างรวดเร็ว ทารกบางคนตอบสนองต่อการลดระดับของฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว
โดยมีอาการผื่นแพ้ขึ้นมา ซึ่งผื่นนี้อาจเป็นผื่นแดง ผดผื่น หรือตุ่มแดงคล้ายสิวก็ได้

เช่นเดียวกับคุณแม่ ทารกแต่ละคนมีการตอบสนองต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายต่างกัน
ทำให้ทารกบางคนหลังคลอดมีมูกหรือเลือดออกมาจากช่องคลอด คล้ายมีประจำเดือน
เนื่องจากทารกตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิงที่ได้รับจากคุณแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั่นเองค่ะ
ทารกเพศชายบางคนอาจมีเต้านมโต ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้จะหายไปภายใน 2 – 4 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 3 เดือน
หลังคลอด เมื่อระดับฮอร์โมนที่มีผลกระทบกับตัวเด็กที่เคยได้รับจากครั้งที่อยู่ในครรภ์หมดไป


ดูแลลูกน้อยที่มีผื่นแพ้ฮอร์โมน
เมื่อพบว่าลูกน้อยแรกเกิดมีอาการผื่นแพ้ ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตให้แน่ใจว่าผื่นแพ้นั้นเกิดจากสาเหตุใด
เนื่องจากอาการผื่นแพ้ในเด็กนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น แพ้นมวัว หรือที่พบมากก็คือ
แพ้สิ่งแวดล้อมภายนอกอื่นๆไม่ว่าจะเป็นแพ้น้ำยาอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม หรือแพ้น้ำยาปรับผ้านุ่ม

หากพบว่ามีอาการแพ้จากสิ่งแวดล้อมต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เด็กแพ้
แต่หากไมแน่ใจว่าอาการแพ้เกิดจากอะไร ควรพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์

เมื่อแน่ใจแล้วว่าลูกเป็นผื่นแพ้หรือตุ่มสิวเพราะแพ้ฮอร์โมน ถ้าผิวของลูกไม่มีอาการติดเชื้อเป็นหนองลูกยังดื่มนม
เล่นได้ตามปกติ ไม่มีอาการร้องกวน คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ตามปกติ แต่มีข้อควรระวังคือ

รักษาความสะอาดเครื่องใช้ของลูกให้ดี เลือกเสื้อผ้าที่อ่อนนุ่มโปรงบาง เพื่อป้องกันการอับชื้น
สามารถอาบน้ำให้ลูกได้ตามปกติ แต่ไม่ควรใช้น้ำที่อุ่นมากเกินไป
เพราะจะทำให้ผิวเด็กแห้ง อาจทำให้ผื่นแพ้ระคายเคืองได้

อย่าสะกิด ถู หรือเกาผื่นแพ้ หรือแกะตุ่มสิวของลูก ผิวหนังอาจอักเสบติดเชื้อได้

อย่าทายาที่เชื่อว่าทาผิวแก้อาการต่างๆ เช่น ผงพิเศษ หรือคาลาไมด์
เพราะยาพวกนี้ไม่ได้รักษาอาการ เพียงทำให้ผิวเย็นเพื่อลดอาการคัน แต่ก็ทำให้ผิวแห้งด้วย
ซึ่งอาจทำให้ผิวของลูกอักเสบ และเด็กบางคนอาจแพ้สารที่อยู่ในยาเหล่านี้

หากลูกมีอาการผื่นแพ้มาก หรือคันมากจนมีอาการไม่สบายตัวร้องกวน ควรพาไปพบคุณหมอ
คุณหมอ อาจพิจารณาให้ยาทาแก้แพ้ ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อ่อนๆเพื่อบรรเทาอาการได้ และต้องระวัง
ผิวหนังติดเชื้อ หากมีอาการอักเสบ มีหนองควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาว่าการอักเสบติดเชื้อโรคชนิดใด


ไม่กังวลและไม่เครียด
คุณแม่ที่ต้องเผชิญสภาวะเช่นนี้ อาจมีอาการเครียด ซึ่งอาจมีผลกระทบอื่นๆตามมา เช่น ไม่มีน้ำนม
หรืออาการซึมเศร้า ยิ่งหากลูกหรือตัวคุณแม่เองมีอาการผื่นแพ้มาก ยิ่งเกิดความกังวล
แนะนำว่าให้พยายามทำใจให้สบาย หางานอดิเรกที่ทำแล้วสบายใจ และคิดอยู่เสมอว่า
อาการนี้จะหายได้เองในเวลาไม่ช้า และไม่มีอะไรต้องกังวลเลยค่ะ เพราะคุณหมอคอนเฟิร์มมาว่า
นี่ไม่ใช่อาการของโรคร้ายแรงอะไรเลยแค่ดูแลรักษาร่างกายตามอาการก็จะหายได้ เองในเวลาไม่นาน

ที่มา นิตยสาร Modernmom




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2552
0 comments
Last Update : 24 พฤษภาคม 2552 13:42:04 น.
Counter : 3180 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.