Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง สำหรับผู้ได้รรับการบาดเจ็บที่ศีรษะ




เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง (Head Crash)

การที่ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ ในกรณีที่ศีรษะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้โดยยังต้องสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่มีต่อสมองส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้ทันที และภายใน 72 ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลัง 72 ชั่วโมงไปแล้ว

อาการที่มักพบจากการได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
1.บาดแผลที่หนังศีรษะ
2.กะโหลกศีรษะแตกร้าวหรือหรือยุบ
3.สมองกระทบกระเทือน
4.สมองซ้ำ
5.เลือดคั่งในสมอง

อาการผิดปกติที่พบได้บ่อย ที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยควรกลับไปพบแพทย์
1.ง่วงซึมมากกว่าปกติ นอนนาน ปลุกไม่ตื่น ไม่รู้ตัว หรือ หมดสติ
2.กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก
3.ชัก หรือเกร็งกระตุก
4.ชา หรือกำลังแขนขา ลดน้อยลงกว่าเดิม
5.ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน
6.ชีพจรเต้นช้ามาก
7.มีไข้สูง ปวดตุบๆ ในลูกตา
8.อาเจียนพุ่ง หรืออาเจียนรุนแรง
9.ปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยไม่ทุเลา
10.มีน้ำใส หรือน้ำใสปนเลือด ออกจากหู จมูก หรือไหลลงคอ
11.ปวดต้นคอ ขยับคอลำบาก

คำแนะนำการปฏิบัติตัวผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
1.งดออกกำลังกายทุกชนิดที่มีการกระแทก เช่น ฟุตบอล วอลลเล่ย์บอล แบดมินตัน เทนนิส เป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์หากไม่ทราบ
2.หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
3.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.งดใช้ยาทุกชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึม เช่น ยานอนหลับ ยาระงับปวดรุนแรง นอกเหนือจากแพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาใดๆ
5.ผู้ป่วยควรมีผู้ดูแล ที่สามารถสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ภายหลัง 24 ชั่วโมงแรก โดยประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยว่าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทุก 2-4 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับการอนุญาตให้ไปพักรักษาตัวที่บ้าน
6.หากมีอาการบวมบริเวณที่บาดเจ็บให้ประคบด้วยความเย็น ถ้าไม่ยุบบวม หรือ บวมมากขึ้นกว่าเดิมให้กลับมาพบแพทย์
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. เฝ้าระวังศีรษะกระแทก 72 ชั่วโมง (Head Crash). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/600
.



ที่มา FB @ Smart Consumer

https://www.facebook.com/smartconsumer4.0/photos/a.332188787193559/768123626933404/?type=3&theater


**********************************************






 


Create Date : 26 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2562 15:01:20 น. 0 comments
Counter : 4048 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณna_nyu


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]