Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไวรัส COVID-19 ( Corona virus 2019 ) .... นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)

ไวรัส Wuhan


ไวรัสอู่ฮั่น Wuhan virus นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)

คัดลอกภาพและข้อความจากเฟส One Slide ID   20มกราคม2563
https://www.facebook.com/oneslideid/posts/1037497843280009

จาก SARS ถึง MERS
จาก MERS ถึง Wuhan virus


สรุปคำแนะนำจากกรมควบคุมโรคเพื่อรับมือไวรัสที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

1. ผู้เดินทางที่จะเดินทางไปเมืองอู่ฮั่นหรือใกล้เคียง
a. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
b. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม หากจำเป็นให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน
c. หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์ และไม่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
d. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ

2. ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง หากมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไปเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
....
Wuhan virus เป็นเพียงชื่อเล่นของ virus ที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ซึ่งทราบแล้วว่าเป็น coronavirus (CoV) คำว่า corona แปลว่ามงกุฎในภาษาละติน คำนี้กลายเป็นชื่อไวรัสเพราะรูปร่างของมันคล้ายมงกุฎ หากมองด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscpy)

Coronavirus ถูกค้นพบตั้งแต่ยุค 1960s เป็น positive sense RNA virus มีสายพันธุ์จำนวนมาก แต่ละสายพันธุ์ก่อโรคในสัตว์ต่างชนิดกัน เราสามารถรู้ host หรือแหล่งที่มาของ coronavirus ได้จากชื่อ เช่น ถ้าเป็น coronavirus ของคนก็เรียก Human coronavirus (HCoV) Rhinolophus bat coronavirus HKU2 พบในค้างคาว (Rhinolophus sinicus หรือ Chinese horseshoe bats) เป็นต้น

มีรายงานการติดเชื้อ coronavirus ทั้งในสัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิด เช่น สุนัข แมว สุกร คน ปศุสัตว์ ไม่เว้นแม้ วาฬเบลูก้า (Beluga whale coronavirus SW1)

Coronavirus จัดอยู่ใน order Nidovirales, family Coronaviridae, subfamily Coronavirinae ซึ่งแบ่งเป็น 4 genera (genus)

1. Alphacoronavirus เช่น HCoV-229, HCoV-NL63
2. Betacoronavirus เช่น SARS-CoV, MERS-CoV, Bat coronavirus หลายชนิด, Murine coronavirus
3. Gammacoronavirus เช่น Avian coronavirus, Beluga whale coronavirus
4. Deltacoronavirus เช่น Munia coronavirus, Bulbul coronavirus

สัตว์บางชนิดสามารถติดเชื้อ coronavirus ได้มากกว่า 1 สายพันธุ์ จึงมีโอกาสสูงที่ไวรัสต่างสายพันธุ์จะบังเอิญติดเชื้อในสัตว์ตัวเดียวกัน เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม (genetic recombination) จนเกิดเป็น coronavirus สายพันธุ์ใหม่และแพร่ระบาดในที่สุด

บทความนี้เรียก coronavirus ที่ก่อโรค respiratory tract infection ทั่วไปและพบมานานแล้วว่า CAR-HCoV (community acquired respiratory HCoV) แยกจาก coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้แก่ MERS-CoV, SAR-CoV และ สายพันธุ์ล่าสุดที่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น

coronavirus มักก่ออาการคล้ายคลึงกันคือเริ่มต้นที่อาการของ respiratory tract infection เหมือนไข้หวัดและอาจรุนแรงมากขึ้นเป็น pneumonia หรือ respiratory failure ได้

CAR-HCoV เป็นไวรัสสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อโรค common cold หรือไข้หวัด สายพันธุ์ที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ HCoV-229, HCoV-HKU1และ OC43 ส่วน HCoV-NL63 มักพบในเด็ก

Coronavirus ที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยนี้ website ของ WHO เปิดเผยว่าทางการจีนรายงานการระบาดตั้งแต่ 31 ธ.ค. 2019 และพบว่าสัมพันธ์กับการเข้าไปในตลาดอาหารทะเลหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น

CNN รายงานว่านอกจากอาหารทะเลแล้ว ยังมีสัตว์อื่น ๆ หลายชนิด เช่น นก งู กระต่าย ฯลฯ ตลาดนี้ถูกสั่งปิดเมื่อ 1 ม.ค. 2020

วันที่ 7 ม.ค. 2020 ทางการจีนสามารถแยกเชื้อ coronavirus สายพันธุ์ใหม่ได้จากผู้ป่วย ขณะนี้เรียกว่า 2019-nCoV (2019 novel coronavirus) เมื่อวิเคราะห์ลำดับเบสใน RNA ของไวรัส พบว่าใกล้เคียงกับ Bat SARS like coronavirus มากที่สุด จัดอยู่ใน genus Betacoronavirus

นับแต่เริ่มการระบาดจนถึง 12 ม.ค. ทางการจีนรายงานว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 41 ราย ในเมืองอู่ฮั่น

เมื่อ 18 ม.ค. 2020 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 62 ราย

ล่าสุด 19 ม.ค. 2020 ทางการจีนรายงานว่า มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มอีก 139 ราย โดย 136 รายวินิจฉัยในเมืองอู่ฮั่น (อาการไม่รุนแรง 100 ราย, รุนแรง 33 ราย และ วิกฤต 3 ราย) 2 ราย พบในกรุงปักกิ่ง และอีก 1 รายในเมืองเซินเจิ้น มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย

ช่วงนี้คนจีนเดินทางไปทั่วประเทศเพราะใกล้ตรุษจีนแล้ว 2019 Novel coronavirus ก็อาจแพร่กระจายไปด้วย
ตามตัวเลขที่รายงานนี้ รวมผู้ป่วยในจีนเท่ากับ 201 ราย

สถาบัน MRC center for global infectious disease analysis ของมหาวิทยาลัย Imperial Collage London คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจริงอาจมากถึง 1723 ราย สำนักข่าวต่าง ๆ ติดตามเรื่องจำนวนผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดซึ่งยังรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดรวม 3 ราย

ผู้ป่วยรายแรกที่เสียชีวิตเป็นชาวจีน อายุ 61 ปี มีโรคประจำตัวหลายอย่างและเกิด severe pneumonia เสียชีวิตเมื่อ 9 ม.ค. 2020

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นรายที่สอง คือ ชายชาวจีน อายุ 69 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 แล้วอาการแย่ลงเรื่อย ๆ CNN รายงานว่าผู้ป่วยรายนี้มี myocarditis ร่วมด้วยและ CT chest พบลักษณะที่สงสัยวัณโรค เสียชีวิตเมื่อ 15 ม.ค. 2020 ที่ผ่านมา

รายที่สามยังไม่ทราบข้อมูล

ประเทศแรกที่พบผู้ป่วย 2019-nCoV นอกประเทศจีน คือประเทศไทย

ผู้ป่วยเป็นหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี เริ่มมีอาการ ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ และปวดศีรษะ เมื่อ 5 มค. 2020 เธอเดินทางมาประเทศไทยพร้อมคณะทัวร์อีก 16 คนเมื่อ 8 ม.ค. 2020 โชคดีที่เครื่องตรวจจับอุณหภูมิของสนามบินสุวรรณภูมิสามารถตรวจพบไข้ในผู้ป่วยคนนี้ และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการตรวจเพิ่มทางห้องปฏิบัติการพบ 2019-nCoV และส่งรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ผู้ป่วยอาศัยในเมืองอู่ฮั่น มีประวัติไปตลาดสดในเมื่องอู่ฮั่นเมื่อ 5 ม.ค. 2020 แต่ไม่ได้ไปตลาดอาหารทะเลหัวหนาน จึงน่าสงสัยว่าผู้ป่วยรับเชื้อจากที่ใด ขณะนี้ผู้ป่วยหายดีแล้ว ส่วนคณะทัวร์อีก 16 คนตรวจไม่พบเชื้อ

ผู้ป่วยรายที่สองในไทยเป็น หญิงชาวจีน อายุ 74 ปีเดินทางมาไทยเมื่อ 13 ม.ค. 2020 ที่ผ่านมา ผู้ป่วยคนนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยคนแรกเลย การตรวจเพิ่มเติมในผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยคนที่ 2 จำนวน 20 คน ไม่พบ 2019-nCoV

ประเทศที่สองคือ ญี่ปุ่น ผู้ป่วยมีอาการระหว่างอยู่ในเมืองอู่ฮั่น แต่ไม่ได้ไปตลาดอาหารทะเลที่คิดว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อ เขาอาจติดเชื้อจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วยคนอื่น ซึ่งทำให้สงสัยว่า 2019-nCoV อาจมี human to human transmission

#โดยสรุป Wuhan pneumonia นี้เกิดจากการติดเชื้อ Human coronavirus สายพันใหม่ขณะนี้เรียกว่า novel coronavirus (2019-nCoV) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติเดินทางไปตลาดอาหารทะเลหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น คาดว่าติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสัตว์ชนิดใดเป็นรังโรค (reservoir) ยังไม่มีการยืนยันการติดต่อจากคนสู่คน สามารถก่อโรคปอดติดเชื้อรุนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ขณะนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 200 กว่าราย

จะมีคนไทยติดเชื้อหรือไม่?

2019-nCoV นับเป็นโรคระบาดแรกที่สร้างความตระหนกแก่โลกในปี 2020 และยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป แต่นี่ยังนับว่าน่ากลัวน้อยหากเทียบกับเหตุการณ์ที่ coronavirus รุ่นพี่อย่าง SAR-coronavirus และ MERS-coronavirus เคยระบาดก่อนหน้านี้

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2002 เคยมีเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นที่กวางตุ้ง (Guangdong) ตอนใต้ของประเทศจีน เกิดการระบาดของโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุเมื่อ พ.ย. 2002 ก่อนจะระบาดไปในหลายประเทศเมื่อ มี.ค. 2003 เราเรียกโรคในขณะนั้นว่า SARS ต่อมาจึงรู้ว่าเชื้อก่อโรคคือ coronavirus เรียกสายพันธุ์นั้นว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus (SARS-CoV) ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนผ่านทาง droplet หรือ contact transmission

ในการระบาดครั้งนั้น มีผู้ติดเชื้อ 8096 รายจาก 29 ประเทศ เสียชีวิตถึง 774 ราย คิดเป็นอัตราตาย (case fatality rate)เกือบ 10% ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปีมีอัตราตายสูงถึง 50% คาดว่าเริ่มแรกนั้นคนติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ คือ masked palm civets (Paguma larvata) และ raccoon dog (Nyctereutes procyonoides) จากตลาดขายสัตว์เมืองเซินเจิ้น (Shenzhen) แต่สัตว์ทั้งสองน่าจะเป็นเพียง incidental host เพราะไม่พบ SARS-coronavirus ในสัตว์ดังกล่าวที่อยู่ในธรรมชาติหรือโรงเลี้ยง สัตว์ที่เป็น reservoir แท้จริงของ SARS-coronavirus คือ ค้างคาว

การระบาดครั้งนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจนเสียชีวิตด้วย มนุษย์นับว่ารอดจากภัยพิบัติเมื่อการระบาดสิ้นสุดลงและผู้ป่วยรายสุดท้ายถูกพบเมื่อปี 2004

ต่อมาในปี 2012 เริ่มเกิดการระบาดของ Middle East respiratory syndrome (MERS) ใน ซาอุดิอาระเบีย การตรวจเสมหะพบว่าเชื้อก่อโรคคือ betacoronavirus มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับ Bat CoVs HKU4 และ HKU5 เรียกไวรัสชนิดใหม่ว่า MERS-CoV มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนจากหลายประเทศในตะวันออกกลาง แต่ก็มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นอีกหลายประเทศ นับตั้งแต่ปี 2012 ถึง พ.ย. 2019 WHO รายงานว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 2494 ราย จาก 27 ประเทศทั่วโลก โดยจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เกิดน้อยลงเรื่อย ๆ มีผู้เสียชีวิต 858 ราย คิดเป็น 34%

MERS-CoV ก็เป็นไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนเช่นกัน ผู้ป่วยจำนวนมากในตะวันออกกลางมีประวัติสัมผัสอูฐหนอกเดียว (dromedary camel) ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยสารคัดหลั่งจากอูฐ นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกเชื้อ MERS-CoV จากอูฐเป็นการยืนยันว่าอูฐสามารถนำโรค แต่จากการวิเคราะห์ base sequence ของ MERS-CoV พบว่าคล้ายกับ Bat SARS like coronavirus มาก จึงคาดว่าค้างคาวเป็น reservoir ในธรรมชาติ ส่งผ่านเชื้อไวรัสมายังอูฐหนอกเดียว ก่อนอูฐผู้รับใช้มนุษยชาติอย่างอดทนจะนำโรคสู่คนในที่สุด

โรคระบาดร้ายแรงหลายโรคเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน หลายครั้งเกิดจากคนไปสัมผัสกับสัตว์อย่างผิดธรรมชาติ เช่น จับสัตว์ป่ามาขายหรือบริโภค รุกล้ำแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า ฯลฯ

หลายคนมองว่าเป็นการล้างแค้นมนุษย์ของธรรมชาติ เราทั้งหลายไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือไม่ และไม่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายรู้สึกเช่นไรต่อการล้มตายของมนุษย์ มันอาจโศกเศร้า หรือไม่รู้สึกนึกคิดอะไร หรืออาจจะสาแก่ใจอยู่ก็เป็นได้


*****************************************



Infographic Thailand   22ม.ค.2563
https://www.facebook.com/infographic.thailand/photos/a.451893141520663/2777389708970983/?type=3&theater
 
จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
- 12 ธ.ค. 2019 จีนพบผู้ป่วยจากไวรัสโคโรน่า
- 13 ม.ค. พบผู้ป่วยชาวจีนในไทยเป็นรายแรก
- 17 ม.ค. พบผู้ป่วยชาวจีนในไทยรายที่ 2
ซึ่งในสัปดาห์เดียวกัน ไทยก็ยังพบผู้ป่วยชาวไทยและชาวจีนอย่างละ 1 ราย
.
20 ม.ค. 2563 จีนยืนยันว่า ไวรัสสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
22 ม.ค จีนเผยยอดเสียชีวิตเพิ่มเป็น 9 ราย พบติดเชื้อเกิน 400 คน
.
และปัจุบันพบผู้ป่วยในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหรัฐอีกด้วย
.
ซึ่งองค์การอนามัยกำลังโลกเตรียมพิจารณาประกาศให้การระบาดนี้ เป็นภาวะฉุกเฉินโลก
.
ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเดินทาง หรืออยู่ในที่ๆมีคนพลุกพล่าน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆก็ขอให้ป้องกันตัวเองกันด้วยนะครับ
#InfographicThailand #NewsUpdate
.
ขอบคุณแหล่งที่มา:
https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461
https://www.thairath.co.th/


******************************************

แนวทางการประสานงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน Novel coronavirus 2019 (Patient under investigation: PUI)

https://pidst.net/A791.html?fbclid=IwAR2oS0b1ou-5oWK-TPi5rAKl4vBnXbaTnPszU3I_G9HoScAUN-7WhbiWfbI
 
 

กรณีกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1. เมื่อพบผู้ป่วยเข้านิยาม PUI ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่างๆ หรือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ ณ  สนามบิน รายงานไปยัง SAT กรมควบคุมโรค (SAT DDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ 061-6639101   


2. เมื่อ SAT DDC รับแจ้งผู้ป่วย จะดำเนินการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและประวัติเสี่ยง เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วย PUI หรือไม่ หากเข้าตามเกณฑ์ SAT DDC จะดำเนินการ ดังนี้
 

กรณีรับแจ้งจากด่านควบคุมโรค ฯ สนามบิน

     2.1. SAT DDC โทรประสานศูนย์ refer ของสถาบันบำราศนราดูร (เบอร์โทรศัพท์ 02-5903487) เพื่อให้ศูนย์ referฯ ประสานกลับไปยังด่านฯ (ด่านสวภ. 02-134-0140/ด่านดอนเมือง 02535-4211) เตรียมการส่งต่อผู้ป่วย ทั้งนี้ หลังจากด่านฯ โทรแจ้ง SAT DDC ภายใน 30 นาที หากไม่มีใคร ติดต่อกลับให้ด่าน ฯ โทรหาสถาบันบำราศนราดูรได้โดยตรง

     2.2. SAT DDC โทรแจ้ง Operation DDC (Ops) กรมควบคุมโรค เพื่อเตรียมทีม สอบสวน และให้ สป.คม.หรือ สคร.ที่เกี่ยวข้องติดตามผู้สัมผัส (High risk) หากพบว่าเป็นผู้ป่วยยืนยัน (confirmed case) ในภายหลัง

     2.3. SAT DDC ออกรหัสผู้ป่วย* (Code case) และเลขที่หนังสือนำส่งให้แก่ทีม สอบสวนโรค (Ops)

     2.4. SAT DDC โทรแจ้ง ER ของสถาบันบำราศนราดูร (เบอร์โทรศัพท์ 025903433) หลังจากทีม Ops ประสานการส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ 
 

กรณีรับแจ้งจากสถานพยาบาลต่าง ๆ หรือสสจ.

     - ดำเนินเหมือนกับกรณีของต่างจังหวัด  
 


กรณีต่างจังหวัด

1. เมื่อพบผู้ป่วยเข้านิยาม PUI ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่าง ๆ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ ณ สนามบิน (ตามแนวทางภายในจังหวัด) รายงานไปยัง SAT กรมควบคุมโรค (SAT DDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ 061-6639101   


2. เมื่อ SAT DDC รับแจ้งผู้ป่วย จะดำเนินการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและประวัติเสี่ยง เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วย PUI หรือไม่ หากเข้าตามเกณฑ์ SAT DDC จะดำเนินการ ดังนี้

     2.1 SAT DDC ออกรหัสผู้ป่วย (Code case) ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่โทรมาแจ้ง PUI ทันที

     2.2 SAT DDC โทรแจ้ง สคร. และ Ops DDC กรมควบคุมโรค 


3. เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ให้ดำเนินการ ดังนี้

     3.1 สัมภาษณ์ผู้ป่วย PUI ด้วยแบบฟอร์มสอบสวน Novel Coronavirus 1   

     3.2 ถ่ายรูปภาพถ่ายรังสีทรวงอก   

     3.3 เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจตามแนวทางการเก็บตัวอย่าง และเขียนใบนำส่ง โดยให้ระบุรหัส ผู้ป่วย (Code case) แทนการเขียนชื่อและนามสกุล

     3.4 ให้ใส่ใบนำส่งตัวอย่างมาในกล่องตัวอย่างด้วย พร้อมแบบฟอร์มสอบสวน Novel Coronavirus 1   

     3.5 ก่อนการส่งตัวอย่างต้องแจ้ง สคร.ทราบทุกครั้ง เพื่อขอเลขที่หนังสือนำส่งตัวอย่าง และส่ง แบบฟอร์ม Novel Coronavirus 1 พร้อมภาพถ่ายรังสีทรวงอก (ถ้ามี) ทาง E-mail: viralpneumoniasat@ddc.mail.go.th


4. สคร. เมื่อได้รับแจ้งผู้ป่วย PUI จาก SAT DDC ให้ติดต่อกลับไปยังเจ้าหน้าที่ผู้แจ้ง PUI เพื่อประสาน การลงพื้นที่สอบสวน เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ และการนำส่งตัวอย่าง โดยสามารถบริหารจัดการตามระบบภายใน พื้นที่   

     4.1 แจ้งเลขที่หนังสือนำส่งตัวอย่างให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดที่เป็นผู้นำส่งตัวอย่าง 

     4.2 แจ้ง SAT DDC เมื่อมีการส่งตัวอย่างออกจากพื้นที่ เพื่อให้ SAT DDC แจ้งแก่ห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูรเพื่อเตรียมการรับตัวอย่างต่อไป


5. ทีม Ops DDC เมื่อได้รับแจ้งจาก SAT DDC ให้พิจารณาดำเนินการลงพื้นที่สอบสวนโรคตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 

     5.1 เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรง ได้แก่ ปอดบวม ปอดอักเสบ 

     5.2 หาเชื้อสาเหตุไม่ได้ หรือ ให้ผลลบแก่เชื้อไวรัส Rp33 ร่วมกับผล CBC เข้าได้กับเชื้อไวรัส 

     5.3 เป็นกลุ่มผู้สัมผัส (High risk + Low risk) ของผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยัน ที่มีอาการเข้า ได้กับนิยามผู้ป่วย PUI ในช่วง 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วยยืนยันครั้งสุดท้าย 

     5.4 กรณีที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูรทุกราย  
 


หมายเหตุ
รหัสผู้ป่วย* (Code case) หรอืรหัสผู้สัมผัส (Code contact) ใช้แทนชื่อผู้ป่วย PUI หรือผู้สัมผัสที่ถูกเก็บ ตัวอย่างส่งตรวจ ลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมตัวเลข จำนวน 9-10 หลัก  


กรณีต้องการปรึกษา ติดต่อ 

เรื่อง การแจ้งผู้ป่วย PUI, ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย PUI  ติดต่อ  SAT DDC 

     ❑  เบอร์กลาง 061-663-9101

     ❑  หน.กลุ่มภารกิจฯโทร 061-549-5938 เรื่อง การสอบสวนโรค, การติดตามผู้สัมผัส, และ การส่งตัวอย่างผู้สัมผัส ติดต่อ Operations DDC 

     ❑  เบอร์กลาง 061-663-9232  เรื่อง การดูแลรักษาผู้ป่วย ติดต่อ Case Management 

     ❑  ผู้ป่วยผู้ใหญ่  นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ 064-586-5111

     ❑ ผู้ป่วยเด็ก  พญ. จุไร วงศ์สวัสดิ์  081-826-2661

 

 

ไฟล์แนบบทความ
 Download [239 kb]

**********************************************





📌อาการและวิธีป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา
https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/photos/a.348532055084/10163300085865085/









ในเวลาที่แอลกอฮอลล์เจลขาดตลาด และราคาพุ่งไปไกล มากๆ เภสัชขอนำเสนออีกทางเลือกหนึ่งตามWHO guidelines 2009 คือการใช้แอลกอฮอลล์60-80% มาถูมือค่ะ เนื่องจากแอลกอฮอลล์ในความเข้มข้นดังกล่าวสามารถฆ่าไวรัสได้ดีมากๆค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาถูที่มือหรือสเปรย์ลงบนพื้นผิวที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนละอองน้ำมูก หรือน้ำลายจากผู้ป่วย ซึ่งโคโรนาไวรัสเป็นไวรัสกลุ่มที่มีเปลือกหุ้ม (enveloped virus) ซึ่งไวต่อแอลกอฮอลล์มากๆ ตามตารางในรูปเลย วิธีถูมือด้วยแอลกอฮอลล์ก็มีมาให้แล้วค่ะ
นอกจากปิดหน้ากากอนามัยแล้ว การล้างมือบ่อยๆก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคต่างๆอีกด้วยนะคะ

อ้างอิง
WHO Guidelines on Hand Hygiene in Health Care: a Summary, 2009

#แสงทองเภสัชหาดใหญ่
#โคโรนาไวรัส
#แอลกอฮอลล์ถูมือ

https://www.facebook.com/HatyaiPharmacy/photos/a.1999990180285224/2586813884936181/?type=3&theater

แถม ...
ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79
จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76
ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105
ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

    













****************************************




เปิดราคาค่าตรวจโควิด-19 กลุ่นไหนฟรี-กลุ่มไหนต้องจ่าย

ผู้มีความเสี่ยงตามเงื่อนไข สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี ส่วนผู้ไม่มีความเสี่ยง แต่ต้องการตรวจหาเชื้อ ต้องจ่ายค่าตรวจเอง ในโรงพยาบาลที่ให้บริการ

วันนี้ (15 มี.ค.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ล่าสุดมีผู้ป่วยในไทย 82 ราย ขณะที่ ในประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าข่าย ตามเงื่อนไขดังนี้

1. มีไข้หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก

2. มีประวัติเดินทางไปหรือกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรค ติดเชื้อเชื้อไวรัสโควิด-19

3. มีประวัติใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

4. มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

5. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ขณะที่ ผู้ไม่มีความเสี่ยงเข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่มีความประสงค์ต้องการตรวจหาเชื้อ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
สำหรับรายชื่อโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และราคาสำหรับผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เช่น

- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท

- โรงพยาบาลราชวิถีผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท

- โรงพยาบาลรามาธิบดีผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาทขึ้นไป

- โรงพยาบาลพญาไท 2 ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 6,100 บาท,

- โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 8,000 บาท

- สถาบันบำราศนราดูร ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 2,500 บาท

- โรงพยาบาลพระราม 9 ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย 8,000 – 10,000 บาท

- โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล พระประแดง ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาทขึ้นไป

ดูข่าวต้นฉบับ
https://today.line.me/TH/pc/article/เปิดราคาค่าตรวจโควิด+19+กลุ่นไหนฟรี+กลุ่มไหนต้องจ่าย-Zn8KrO?utm_source=likeshare

*******************************


 



Create Date : 21 มกราคม 2563
Last Update : 15 มีนาคม 2563 19:54:59 น. 5 comments
Counter : 8357 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณโอน่าจอมซ่าส์


 
เรียนรู้ นำไปปรับใช้ให้เหมาะสม ... ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก

ไวรัส COVID-19 ( Corona virus 2019 ) .... นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-01-2020&group=4&gblog=144

หน้ากากอนามัย วิธีการใส่ที่ถูกต้อง
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=111

มา " ล้างมือ " กันเถอะ ....
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2008&group=4&gblog=60

ตระหนัก ดีกว่าตระหนก เรียนรู้และปองกันโคโรนาไวรัส 2019 เวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 23
https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/การป้องกันตนเองจาก-COVID-credit-ศูนย์โรคอุบัติใหม.pdf
https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/02/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-COVID-credit-%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1.pdf


อินโฟกราฟฟิก สำหรับประชาชน เวบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เวบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

คำแนะนำ สำหรับประชาชน เวบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/introduction.php

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
คำแนะนำสำหรับประชาชนในสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-19 (Coronavirus disease-19, COVID-19)
https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=sxpE!8!4!!639!lI7YRGNc

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หน้ากากอนามัย สำหรับประชาชนทั่วไป
https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=oty6!8!4!!643!9SUaMeVn

ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา-19 (Coronavirus disease-19, COVID-19)
https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=Kzb4!31!2!!638!ml1HZXYG



*************************************


โดย: หมอหมู วันที่: 4 มีนาคม 2563 เวลา:13:57:51 น.  

 
มูลนิธิเพอร์เฟคไลฟ์ 14มีนาคม2563
สิ่งที่สับสนในสังคมตอนนี้มี 2-3 เรื่อง

1.เรื่องหน้ากาก ตกลงจำเป็นต้องใส่ไหม
ไม่ว่าหมอจะพยายามอธิบายเท่าไหร่ " ให้ใส่เฉพาะ บุคลากรทางการแพทย์ คนป่วย และเวลาไปในที่ชุมชน แออัด ที่ยืน เบียดใกล้กัน เกิน1 เมตร) ทุกคนก็จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองรู้สึก
- เมกา ยุโรป บอกไม่ต้องใส่ ดูสิเป็นกันเพียบ !
- ถ้าเราไม่ใส่แล้วเขาไอใส่เราก็เป็นสิ

เอาเถอะ เอาที่สบายใจ แต่ข้อมูลทางการแพทย์ บอกใส่หน้ากากไม่ลดการระบาด เพราะ คีย์ คือมันไม่ได้กันเชื้อได้ 100% , จะติดก็ตอนถอดกับตอนใส่นี่แหละ
เอาแบบสิงค์โปร์ก็ดีคนละ 4 อัน เก็บไว้ ใช้ยามจำเป็น หมดแล้วหมดกันไม่ให้ขาย ตามร้านขายยา ถ้าต้องการไปขอตามโรงพยาบาล ให้เฉพาะ คนป่วย

2. เรื่องการตรวจ RT-PCR ทำไม ตรวจยากจัง ทำไมไม่ตรวจให้ ฟรี? ราคาค่าตรวจแพงจัง ?

เหตุผล ที่ไม่ควรตรวจ ให้ทุกคนคือ มันมีความไว ( sensitivity) ต่ำ พบเพียง 30%-60% ในการตรวจครั้งแรก เพราะฉะนั้น การตรวจไม่พบในครั้งแรกไม่ได้แปลว่า ไม่เป็นโรค ทุกคนควรเข้าใจในประเด็นนี้
หมายถึงผล ลบลวง ( false negative ) พบสูง ถึง 40-70% ยกตัวอย่างเช่นดาราที่ใกล้ชิด ดารา ตรวจแล้วพบว่า ผล เป็น undetected ( แบบในรูป) ไม่ได้หมายถึงคุณจะไม่เป็นโรค ยังไงคุณก็ต้อง แยกตัว 14 วัน ถ้า สัมผัส กับดาราท่านนั้น
แล้วทำไมค่าตรวจต้องแพง เพราะมันไม่ใช่ เฉพาะค่าชุดตรวจ มันรวมถึง คนที่จะเก็บ nasal swab แหย่เข้าไปในจมูก ลึก ๆ ( 2 ครั้ง) oropharyngeal แหย่เข้าไปที่ด้านหลังของคอ ( 2 ครั้ง ) ส่งตรวจ อีก 2 ที่ ( กรมวิทย์ และ อีก 1 รพ) แล้วคนที่ทำการแหย่ให้คุณเขาเสี่ยงขนาดไหน แหย่ๆ อยู่คุณไอออกมา กระจายไปทั่ว ทำอย่างไร คนที่ทำหน้า เก็บ specimen ( คนที่เอาไม้พันสำลีแหย่) ให้คุณ ต้องใส่ชุดเต็มยศขนาดไหน ต้องหวาดผวาขนาดไหน ลองคิดดู !

-ย้ำอีกครั้งตรวจ ไม่พบ ไม่ได้แปลว่าไม่เป็นแล้ว ออกไปใช้ชีวิตตามปรกติได้ ไปทำงาน ไป ออกงาน มันไม่ใช่ แบบนั้น

- ตรวจพบ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุป ต้องรอ ยืนยันจากอีกแลป หนึ่งก่อน ถึงจะแถลงแจ้งความได้ โรงพยาบาลไม่ได้ปกปิด แต่ต้องยืนยันให้แน่ชัด บาง case ต้องตรวจถึง 3 ครั้งจึงจะพบเชื้อ ไวรัส

แล้วเรามี test อื่น ที่ดีกว่านี้ไหม คำตอบคือ ยังไม่มี
แล้วใช้ CT scan ตรวจได้ ไหม อันนี้ยิ่งหนัก.ความไว( sensitivity ) สูงกว่า RT-PCR แต่ความจำเพาะต่ำ ตรวจมาเจอนี่มีหวัง panic ตื่นตระหนกทั่ว ประเทศแน่

***ตรวจไม่พบเชื้อก็ต้องเก็บตัวอยู่ ดี Social Distance และหมั่นล้างมือดีสุด ****

3. เป็นแล้วปอดจะถูกทำลายเลยไหม

ขอบอกว่าเป็น COVID-19 แล้วมีอาการรุนแรง เพียง 15% ปอด ที่ถูกทำลาย ก็คืนกลับมาได้ ( ดูจากภาพ CT) ที่เหลือชิว ๆ เป็นแล้วหาย แถมมีภูมิคุ้มกัน ด้วย และอย่ารังเกียจ คนที่เป็น COVID- 19

4.ข้อสุดท้ายคือข่าวสาร มากมายเกินไป ไม่ทราบจะเชื่อใครดี หมอพูดไม่ตรงกัน รัฐบาล ไม่ชัดเจน คือด่าไปก็เท่านั้น สุดท้ายทุกท่านต้องใช้กาลามสูตร และสติ อย่ารีบแชร์ ถ้าไม่ sure และมาคิดเอาว่าจะทำอย่างไร เราและครอบครัวคนรอบข้างจึงจะปลอดภัย และจะอยู่กันต่อไปอย่างไร ในอีก 1-2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจ ถดถอยทั่วโลกต้องยอมรับ

ในวิกฤต ต้องมีโอกาส เราโชคดีมากที่อยู่ในประเทศไทย ที่
1. มีหมอและบุคลกรทางการแพทย์เก่ง หาcase zoro เจอเป็นประเทศแรก แถม อัตราการ ระบาด ของเราก็น้อยกว่าประเทศอื่น มากๆ
2. อากาศร้อน ไวรัสกระจายช้า ( แต่เดี๋ยวเข้าหน้าฝน อาจจะมากกว่านี้)
3. มีวัฒนธรรมการไหว้ ที่ดี ตอนนี้กระจายไปทั่วโลก
ลองมาคิดถึงข้อดี ของ corona ไวรัสกัน บางทีมันอาจจะเป็นสิ่งที่โลกส่งมาพิสูจน์ คุณงามความดีของเรา เขากำลังบอกว่า หยุดบริโภค หยุดเที่ยว หยุด สังสรรค์ หยุดคลุกคลี อยู่กับตัวเอง พิจารณาใจ กายตัวเอง แล้ว มาทำความสะอาดจัดระเบียบโลกนี้กัน

สิ่งที่เราต้องมีคือ
กาลามสูตร
สติ , เมตตา , ปัญญา ขันติ และ ความอดทน
สิ่งที่เราต้องกำจัดออกไป ความกลัว หวาดระแวง โทษคนอื่น วุ่นวายสับสน เห็นแก่ตัว ความประมาท
แล้วเราจะผ่านมาไปให้ได้
https://www.facebook.com/perfectheartfoundation/posts/2827041124048406

*************************************************


โดย: หมอหมู วันที่: 15 มีนาคม 2563 เวลา:19:47:11 น.  

 
สรุปการป้องกันสำหรับประชาชน
เพื่อไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19
หลังไทย +32 รวม 114 ราย

1) งดทริป ไปต่างประเทศ เด็ดขาด

2) กรณีไปมาแล้ว กลับมาก็กักตัว 14 วัน และห่างจากคนในบ้าน 1 เมตร แยกห้องนอน สวมหน้ากาก

3) กินร้อน อาหารปรุงสุก สะอาด ไม่กินสัตว์แปลก

4) ช้อนกู แก้วกู ห้ามช้อนกลาง อย่าลืมห้ามกินน้ำแก้วเดียวกัน เหล้าสาบานห้ามเด็ดขาด

5) สวมหน้ากากอนามัย คนไม่ป่วยหน้ากากผ้าได้ แต่ถ้าคนป่วย ควรสวมหน้ากากทางการแพทย์

6) ล้างมือ บ่อยๆ พกแอลกอฮอล์เจล กรณีไปที่สาธารณะแล้วต้องจับลิฟต์ บันไดเลื่อน ห้องน้ำ

7) มีโรคประจำตัวเช่นหัวใจ โรคปอด เบาหวาน อย่าขาดยาประจำ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อัตราการตายสูงถ้าติดเชื้อ

8) ป่วย+เข้าเกณฑ์
ไข้ 37.5 ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบ ต้องมาพบแพทย์ และเล่าความจริง อย่าโกหก
ตอนเดินทางมาสวมหน้ากากอนามัยด้วย

9) งดไปแหล่งชุมชนมากๆและสถานที่ปิด ไม่ถ่ายเท เช่น สนามมวย ผับ บาร์ งานประชุม

10) กรณีเลี่ยงไม่ได้ ต้องเข้าแหล่งชุมชน ต้องยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร

ด้วยความปรารถนาดี

รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงนะ

Cr. Infectious ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/913521609078533?__tn__=-R


โดย: หมอหมู วันที่: 15 มีนาคม 2563 เวลา:19:50:52 น.  

 
สังคมไทยควรเรียนรู้ กรณีเคสศึกษารายที่ 82…
ดารานักแสดง เจ้าของค่ายมวย

เราผ่านการระบาดมาเดือนที่ 3 แล้วจะ 90 วันแล้ว

เพื่อสร้างความถูกต้องในสังคมไทย กับโรคโควิด

มีหลายประเด็น!!…ที่ต้องเข้าใจ

1) ระบบสาธารณสุขไทย ไม่มีปิดข้อมูล
แต่ต้องรอ…ยืนยันผลถึงจะรายงาน

_ กรณีรายที่ 82 ตรวจแล้วบวก แล้วโพสโซเชียล
_โดยหลักการต้องตรวจซ้ำครั้งที่ 2 เนื่องจากอาจมีผลบวกลวง
กรมควบคุมโรคไม่ได้นิ่งนอนใจ รีบตามมาแอดมิด รพ.ราชวิถี
_ส่วนเคสอื่นๆก็ยังมี ทั้งประเทศ ที่เป็นข่าวลือ เขาเล่าว่า ในไลน์ในเฟส
แต่กระทรวงสาธารณสุขยังไม่รายงาน แต่ไปโผล่ในเฟส ในไลน์
ต้องใจร่มๆ อาจเป็นแค่เคสเข้าข่าย รอผลตรวจ
ทีผ่านมา กาลเวลาพิสูจน์ให้เห็นว่า ข่าวมโน มากกว่าข่าวจริง

ผ่านมาเข้าเดือนที่ 3 ก็พิสูจน์แล้วว่ามีเคส 82 ราย ไม่ได้ปิดข้อมูล
แต่รอผล

ความลับไม่มีในโลก กระทรวงสาธารณสุขจะปิดเพื่อ??
คงมีกลุ่มคนป่วย และเสียชีวิต ไม่หลุดรอดนักเลงคีบอร์ดได้หรอก

2)ตรวจน้อย เจอน้อย???
ไม่จริง จากข้อมูลคัดกรองสนามบินไปเกือบ 30,000 เที่ยวบิน ประชาชน 3.7 ล้านมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เกือบ 247 ราย ให้ผลบวกพบเชื้อ 4 ราย
_เดินเข้ามารักษาเอกที่เอกชนเกือบ 5000 ราย ให้ผลบวก เกือบ 45 ราย
และตามคนสัมผัสใกล้ชิดกับเคสบวก 1 ราย ตามมา 40-200 ราย
มาตรวจได้พบเชื้อเกือบ 33 ราย

_ยอดรวม 82 ราย

3)คนสัมผัส เอามาตรวจ???
_เอามาแน่นอน สังเกต
3.1) รายงานตั้งแต่ ปู่ย่ากลับจากฮอกไกโด ตามพ่อแม่ ลูก 2 คน มาตรวจ จนพบว่า หลานติด
3.2)เคสบริษัท Gult ไปอิตาลี 6 คน ติด 3
3.3)แก็งค์ปาร์ตี้ 15 คน ตามมาตรวจทุกคน ล่าสุดรายที่ 76 เป็นแม่ของคนที่ติด
3.4)ยายที่ไปญี่ปุ่น เอามาติด อีก 3 คน ลูกสาว เขย และหลาน
3.5)กรณีรายที่ 82 ดารา. ในขณะนี้ ตามผู้สัมผัสมาตรวจจำนวนมาก

4) ทำไมไม่ตรวจคัดกรองไปซะทุกคน
เหตุผล
4.1 )ถ้าไม่มีอาการ ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย จะตรวจไม่พบ เพราะเราตรวจหาเชื้อ สารพันธุกรรม (PCR) ป้ายบริเวณหลังโพรงจมูก คอหอย เจ็บตัว แถม สิ้นเปลืองทรัพยากร
4.2)การตรวจไม่ใช่ง่ายๆ ไม่ใช่แค่ป้ายๆหรือ เจาะเลือดแล้วจบ
ต้อง_ คนทำต้องมีประสบการณ์ ฝึกการใส่ชุดหมี ป้องกันการติดเชื้อ
_ ใช้อุปกรณ์จำนวนมาก ชุดหมี หน้ากาก N95 ถุงมือ หน้ากากพลาสติกทับ หมวก ถ้าทำทุกคนคงไม่หลุด
ทำเสร็จต้องส่งห้องแลปตรวจด้วยวิธีพิเศษใช้เวลานาน อย่างน้อย 4-8 ชม.

ปัจจุบันกำลังผลิตชุดตรวจง่ายๆรู้ผลไว เหมือนที่ตรวจฉี่ดูการตั้งครรภ์ ใช้เวลาอีกสักระยะ

5)ก็อยากรู้ อยากตรวจ มีเงิน พร้อมจ่าย
_ถ้าทุกคนคิดแบบนี้ ประเทศชาติคงล่มจม เพราะเสียทั้งทรัพยากรคน ที่ต้องตรวจ และอุปกรณ์ ถ้าไม่เข้าเกณฑ์การตรวจ แพทย์ไม่ตรวจให้ ถ้ายังดื้อดึง ก็จำยอมเสียเงินแพง ห้ามมาบ่น แต่รู้ไว้คุณคือ ภาระชาติ

6) เป็นแล้ว ตาย ปอดถูกทำลาย น่ากลัว มีคนตายนิ หมอรับประกัน??
ข้อมูล ถึงติด เก็บข้อมูลจากจีน 95%ไม่รุนแรง ส่วนน้อยรุนแรงคือ 5% กลุ่มเสี่ยงคือ อายุมาก >80 ปี มีโรคประจำตัวเช่น หัวใจ ความดันโลหิตสูง

นี่ยังคิด 82 คน ที่เป็น ส่วนใหญ่ อาการหายเป็นปกติเป็นช่วงที่ประชาชนยังเป็นไม่มาก ทีมแพทย์ พยาบาล ดูแลเต็มที่

ลองถ้าไปป่วยในประเทศที่คนป่วยระดับหลักหมื่น อิหร่าน อิตาลี เกาหลีใต้ คงไม่มีเวลามาดราม่า ทีมหมอ พยาบาลอาจดูแลไม่ทั่วถึง อาจอาการหนักหรือแย่ได้

ขณะนี้ยังแค่ 82 ราย ยังไม่ถึง100

ต้องเรียนรู้

เจ้าหน้าที่ทำงานหนักมาก
ทั้งกายและใจ ที่ถูกบั่นทอนทุกวัน

พวกเราจะไม่ติดและไม่แพร่เชื้อ
สิ่งเดียวเลยคือ คำว่า

“รับผิดชอบสังคม”…

คือ

งดทริป
กลับมาก็กักตัว 14 วัน
กินร้อน
ช้อนกู แก้วกู
สวมหน้ากากอนามัย
ล้างมือ
มีโรคประจำตัวอย่าขาดยา
ป่วย+เข้าเกณฑ์ ต้องมาพบแพทย์ และเล่าความจริง อย่าโกหก

โควิดไม่น่ากลัวเท่ากับโคมนุษย์

🙏🏻 ให้กำลังเจ้าหน้าที่ + เชื่อใจและไว้ใจ
พวกเราทำงานมดงานเบื้องหลังหนักมากๆ
และพวกเค้าเสี่ยงติดเชื้อจากผู้ป่วยมากกว่าพวกคุณหลายเท่า

Cr infectious ง่ายนิดเดียว

https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/912768915820469?__tn__=H-R


โดย: หมอหมู วันที่: 15 มีนาคม 2563 เวลา:19:55:46 น.  

 
Sunt Srianthumrong
9 มีนาคม ·

COVID-19 จำลองสถานการณ์ประเทศไทย สำหรับแม่บ้านวางแผน:
ผมลองใช้ค่า Constant ที่ได้จากการ Matching Curve ของ Worldwide แล้วเปลี่ยนประชากรเป็นประเทศไทย โดยคิดเสียว่าคุมอะไรไม่อยู่เลยแล้วมันจะระบาดไปทั้งประเทศทั้ง 69 ล้านคนเลยแบบว่า Worst Case สุดๆนะครับ ซึ่งก็อาจจะไม่เกิดขึ้นนะครับ จะมีวิธีการสังเกตุสถานการณ์ง่ายๆว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น สถานการณ์เป็นประมาณไหนแล้วสำหรับพวกเรา เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ แม่บ้านพ่อบ้าน ที่จะคิดและเตรียมตัวนะครับ จากกราฟที่ทำมานี่อันบนเป็นตัวเลขคนติดเชื้อสะสม ส่วนอันล่างเป็นจำนวนคนติดเชื้อใหม่ ซึ่งกราฟอันล่างช่วงที่เป็นยอดระฆังคว่ำก็คือ ระบาดเละเทะอย่าได้ออกจากบ้านนะครับ ผมคิดว่าจุดสังเกตุสำคัญจากกราฟอันบนมี 4 Check Point ดังนี้ครับ

Check Point 1: ถ้าตัวเลขไหลจากปัจจุบันที่ 50 คนไปเป็น 100 คนภายในประมาณ 4 วัน ให้เริ่มเตรียมเฝ้าระวังครับ แปลว่ามันอาจจะกำลังจะเริ่มละ แต่ถ้ามันนานๆขึ้นทีละคนสองคนไม่เป็นไรนะครับ แปลว่ารัฐบาลเอาอยู่ครับ ณ จุดนี้ให้จ้องไว้เลยนะครับ แต่ยังไม่ต้อง Move อะไรมาก เวลายังมีครับ ถ้ายังไม่พบการเปลี่ยนสถานการณ์มายังจุดนี้ก็ยังเบาใจได้ครับ ตอนนี้ประเทศไทยเรายังมาไม่ถึงจุดนี้นะครับ แต่ถ้ามันมาถึงตรง Check Point 1 นี้ให้เริ่มวางแผนได้นะครับว่าจะอยู่ที่ไหน จะซื้ออะไรที่ไหน จะ Work at Home ไหม
Check Point 2: ตัวเลขไหลจาก 100 ไปเป็น 1,000 ภายใน 13 วัน อันนี้จะเป็นการยืนยันว่า "ใช่แน่ๆ" นะครับ ให้เริ่มปฏิบัติการตามแผนที่วางได้แล้วนะครับ เริ่มซื้อของที่จำเป็น เริ่มซ้อม Work at Home ได้ สำหรับผมก็จะเลี่ยงที่คนเยอะแล้วครับ เพราะมีคนติดเชื้อ 1 ใน 69,000 คน ในเมืองที่คนเยอะๆก็ไม่ไกลตัวเราแล้วครับ จากจุดนี้มีความเป็นไปได้ว่าเราจะมีเวลาอีกประมาณ 10 วัน (หรือน้อยกว่า) ก่อนที่จะเข้าจุดสำคัญมากๆครับที่ Check Point 3
Check Point 3: Lock Down ตัวเลขไหลจาก 1,000 ไปเป็น 5,000 ภายในเวลาประมาณ 10 วันหรือสั้นกว่า ซึ่งอิตาลีสั่ง Lock Down ทั้งแคว้นลอมบาดีที่แถวๆตัวเลขผู้ติดเชื้อประมาณนี้ครับ แต่เวลาจาก Check Pont 2 ไป 3 สั้นกว่า 10 วันพอสมควรครับที่นั่น ส่วนที่อู่ฮั่นทำที่ตัวเลขต่ำกว่านี้อีกครับ ผมคิดว่ารัฐบาลไทยก็น่าจะทำอะไรคล้ายๆกันในช่วงตัวเลขแถวๆนี้ครับ ณ จุดนี้อยู่บ้านอย่างเดียวครับ อะไรที่เตรียมไว้ก่อนหน้าก็ได้เอามากินมาใช้ครับ แต่ผมเชื่อนะว่า 7/11 ของเจ้าสัวน่าจะพยายามเปิดอยู่แน่นอน แต่เชื่อเถอะครับว่าเราจะไม่อยากออกจากบ้านไปไหนหรอกครับ ถามว่าจะต้องรอนานแค่ไหน ก็จากกราฟตัวเลขบอกเราว่าแถวๆอย่างน้อย 72 วันหรือกว่า 2 เดือนครึ่งครับ ช่วงนี้ระฆังสูงครับนอกบ้านมีความเสี่ยงสูงมาก ปริมาณของจำเป็นที่จะซื้อตุนแค่ไหนก็อยู่ที่ความยาวระหว่าง Check Point ที่ 3 กับที่ 4 คือ 72 วันนี่แหละครับ
Check Point 4: เมื่อทุกอย่างเริ่มดูโอเค อัตราการติดเชื้อใหม่ลดลง แต่เนื่องจากผมคิดว่าโรงพยาบาลน่าจะยังแน่นไปด้วยคนป่วยนะครับ ทางที่ดีถ้าไม่รีบเกินไป รออีกสัก 14 - 28 วันค่อยออกไปใช้ชีวิตตามปกติก็ได้ครับ ณ จุดนั้น Case จะ Close เกือบหมดแล้วครับ

รวมเวลาทั้งหมดทุกเฟสก็ราวๆ 100 + 28 วันนะครับ

ก็เป็น Guide Line คร่าวๆครับ ผมก็กำลังติดตามประมาณนี้แล้วก็วางแผนให้ตัวเองประมาณนี้เหมือนกันครับ ตอนนี้ก็ลุ้นว่าขอให้รัฐบาลและสาธารณสุขเอาอยู่ ไม่เกิดการเปลี่ยนจากจุดปัจจุบันไปสู่ Check Point 1 ที่เป็นการระบาดระดับ 3 ครับ ต้องช่วยๆกัน

ปล. ผมไม่ใช่หมอ ไม่ใช่นักระบาดวิทยานะครับ ไม่ได้น่าเชื่อถือในเชิงสาธารณสุขขนาดนั้นนะครับ คือเอาคณิตศาสตร์มาเล่าให้ฟังล้วนๆ ก็ฟังเอาหูไว้หูประกอบการตัดสินใจพอนะครับ ใช้ดุลพินิจส่วนตัวกันประกอบข้อมูลหลายๆทางดีที่สุดนะครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3903434849697206&set=a.134679909906071&type=3&theater


โดย: หมอหมู วันที่: 15 มีนาคม 2563 เวลา:19:57:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]