กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
26 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความเอยความงาม
 
ตอน. ความงามในพุทธปรัชญา


 
   ความงามเป็นสิ่งหนึ่งที่มีมาคู่กับมนุษย์ตั้งแต่บรรพกาล แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์โดยทั่วไปก็อยู่กับความงามอย่างเงียบๆ ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร นานๆ ครั้งจึงจะมีเหตุการณ์ใหญ่โตที่เนื่องมาจากความงามเกิดขึ้น ทำให้สังคมหรือหมู่มนุษย์ปั่นป่วนกันไปพักหนึ่ง เช่น สงครามเมืองทรอย เป็นต้น

   เรื่องความงาม มิได้มีอยู่เฉพาะในชีวิตของคนทั่วไปเท่านั้น แม้ในทางศาสนาและปรัชญากมีพูดถึงเรื่องความงามไม่น้อยเหมือนกัน และดูจะมีคนอยู่ ๒ พวกที่เอาจริงเอาจังกับเรื่องความงาม นั่นคือพวกศิลปิน กับ พวกนักปรัชญา แต่ศิลปิน กับ นักปรัชญาก็มีท่าทีต่อความงามไปคนละทาง กล่าวคือ

   ศิลปินนั้น พยายามสร้างสิ่งที่มีความงาม ที่เรียกกันว่า ศิลปะ มากกว่าที่จะสนใจว่า ความงามคืออะไร ? ทำไมมันจึงงาม ? ศิลปินมีท่าทีเหมือนกับว่าเขาเป็นผู้เห็นหรือสัมผัสความงาม แล้วก็พยายามที่จะนำเอาความงามที่เขาเห็นหรือได้สัมผัสนั้นออกมาแสดงให้คนอื่นได้เห็น หรือได้สัมผัสบ้าง โดยอาศัยสีสันหรือวัสดุตามแต่ศิลปินแต่ละคนเห็นว่า สิ่งใดจะช่วยสื่อความงามตามที่เขาได้เห็นหรือได้สัมผัสนั้นออกมาให้ปรากฏได้ โดยที่บางครั้งเขาก็อาจจะอธิบายไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่าทำจึงต้องเป็นอย่างนั้น หรือว่า ทำไมจึงต้องเป็นสิ่งนั้น หากจะกล่าวสั้นๆก็คือ ศิลปินเป็นนักสร้างความงามโดยไม่สนใจที่จะอธิบายเรื่องความงาม


   ส่วนนักปรัชญานั้น เป็นนักอธิบายหรือพยายามหาความหมายเรื่องความงาม ประเด็นที่นักปรัชญาสนใจก็คือ ความงามคืออะไร ? ความงามมีจริงหรือไม่ ? ความงามมีอยู่ในลักษณะใด ? ความงามมีอยู่อย่างวัตถุวิสัย หรือ อย่างจิตวิสัย ? และสุดท้ายนักปรัชญาก็สรุปว่า ความงามเป็นคุณค่าอย่างหนึ่งของมนุษย์ นั้นก็หมายความว่าความงามเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และมีอยู่อย่างมีความสำคัญและมีคุณค่าสำหรับมนุษย์

   ในส่วนของศาสนา (ซึ่งหมายถึงศาสนาโดยทั่วไป) นั้น  ก็พูดถึงความงามเช่นกัน แต่มีท่าทีแตกต่างไปจากศิลปิน และนักปรัชญา กล่าวคือ ศาสนาพูดถึงความงาม เช่น พูดถึงเทพเจ้าแห่งความงาม เทพธิดาแห่งความงาม  มนุษย์ผู้มีความงาม เป็นต้น  โดยไม่บอกที่มา หรือเหตุผลของความงามเช่นกัน


   ในกรณีของพระพุทธศาสนา นับว่าแปลกไปจากศิลปิน ปรัชญา และศาสนาดังกล่าวมาข้างต้น เพราะในคำสอนของพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความงามไว้อย่างวิจิตรพิสดารมาก ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่จะได้ศึกษาวิเคราะห์ในที่นี้

 


Create Date : 26 พฤษภาคม 2565
Last Update : 26 พฤษภาคม 2565 7:42:42 น. 0 comments
Counter : 308 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space