กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
23 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ธรรมชาติของความดี(ต่อ)


   จากลักษณะของความดี   ดังที่มีแสดงไว้ในพระสูตรต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น อาจสรุปได้เป็น ๒ ลักษณะ

   (๑) ลักษณะของความดีกลุ่มแรก เป็นลักษณะเชิงจิตวิสัย คือ เป็นสิ่งที่รู้สึกได้ด้วยความสำนึกทางศีลธรรมของผู้ดีเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะที่ว่า

๑.ตนเองติเตียนตนเองไม่ได้

๒.ผู้รู้สรรเสริญ

๓.ชื่อเสียงที่ดีฟุ้งขจรไป (คนทั่วไปสรรเสริญ)

๔.ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน (อตปนิยะ)

๕.มีสุขเป็นกำไร (สุขทรยะ)

๖.ให้ผลเป็นสุข (สุขวิปากะ)

๗.ไม่เบียดเบียนตนเอง

๘.ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

  (๒) ลักษณะของความดีกลุ่มที่สอง เป็นลักษณะเชิงวัตถุวิสัย คือ เป็นลักษณะที่แสดงถึงธรรมชาติ หรือ สภาวะของความดีที่เป็นไปโดยตัวมันเอง ได้แก่

๑.เป็นสิ่งที่ดี (สาธุ)

๒.เป็นสิ่งประเสริฐ (อริยะ)

๓.เป็นกุศล (กุสละ)

๔.เป็นสิ่งมีประโยชน์ (อัตถะ)

๕.เป็นสิ่งถูกต้อง (ธัมมะ)

๖.เป็นสิ่งไม่มีอาสวะ (อนาสวะ)

๗.เป็นสิ่งไม่มีโทษ (อนวัชชะ)

๘.ความชั่วลดลงความดีเพิ่มขึ้น (อกุสลปริหายะ กุสลาภิวัฒนะ)

๙.ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส (อปจยคามินี)

๑๐.เป็นไปเพื่อดับกรรม (กัมมนิโรธะ)

๑๑.ไม่เป็นไปเพื่อก่อกรรม (น กัมมสมุทัย)

๑๒.ไม่ก่อเวรก่อภัย (อพยาปัชฌะ)

๑๓.ทำให้ไม่หลงตาย (อสัมมุฬหะ)

๑๔.ให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (สัคคสุคติ)


   จากลักษณะของความดีดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือว่าความดีนั้นอาจพิจารณาหรือมองได้ในหลายลักษณะ กล่าวคือ

   ถ้ามองจากด้านของตัวบุคคลหรือผู้กระทำ ความดีก็มีลักษณะที่จะพึงรู้ได้ใน ๘ ลักษณะ ซึ่งถ้ากล่าวโดยสรุป ก็คือ รู้ได้จากความสำนึกของผู้ทำเอง หรือรู้ได้จากปฏิกิริยาของผู้ที่เกี่ยวข้อง

   ถ้ามองที่ตัวการกระทำ ความดีหรือการกระทำที่ดีก็มีลักษณะหลายประการที่เราจะพึงรู้หรือเห็นได้ เช่น เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ไม่มีโทษ เป็นต้น

   ถ้ามองในแง่ของการปฏิบัติ หรือผลที่ตามมาจากการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ ถ้าสิ่งนั้น เป็นความดีหรือเป็นสิ่งที่ดี ก็ย่อมจะมีผลที่ดีปรากฏให้เรารู้เห็นได้หลายลักษณะ เช่น ไม่ก่อความเดือดร้อน มีผลเป็นความสุข เป็นต้น

 


Create Date : 23 พฤษภาคม 2565
Last Update : 23 พฤษภาคม 2565 19:56:45 น. 0 comments
Counter : 207 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space