กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
17 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความรู้ที่ประสงค์ในพุทธศาสนา



170ความรู้ที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา


   ความรู้แบ่งได้เป็น ๒ ระดับกว้างๆ คือ ความรู้ระดับโลกียะ และความรู้ระดับโลกุตตระ (อภิ.35/796/420) ความรู้ระดับโลกียะ หมายถึง  ความรู้ทุกประเภท  ตั้งแต่ความรู้ขั้นธรรมดาสามัญไปจนถึงความรู้ระดับญาณ หรือ การหยั่งรู้ที่ยังไม่ถึงขั้นทำให้เป็นพระอริยะ หรือ ยังไม่ถึงขั้นทำให้บรรลุอริยมรรค อริยผล   ส่วนความรู้ระดับโลกุตตระนั้น หมายถึง ความรู้ที่ทำให้เป็นพระอริยะ หรือ ทำให้บรรลุอริยมรรค อริยผล ดังคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม กล่าวไว้ว่า

   ตีสุ ภูมึสุ กุสลาพฺยกเต ปญฺญา โลกิยา ปญฺญา จตูสุ มคฺเคสุ จตูสุ ผเลสุ ปญฺญา โลกุตฺตรา ปญฺญา (อภิ.วิ.35/803/434)


  ใจความว่า ปัญญาที่เป็นกุศล และอัพยากฤตในภูมิ ๓ เป็นโลกียปัญญา ส่วนปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ เป็นโลกุตตรปัญญา


   พระพุทธศาสนาถือว่า ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตก็คือ ความรู้ที่ช่วยปกป้องตนเองให้ปลอดภัยจากหายนะด้านต่างๆ ของชีวิต หรือ ความรู้ที่ช่วยให้เอาตัวรอดจากทุกข์ภัยต่างๆ ได้ กล่าวสั้นๆ ก็คือความรู้ที่ทำให้มนุษย์ช่วยตนเองได้นั่นเอง ความรู้ประเภทนี้พระพุทธศาสนา เรียกว่า นิปกปัญญา หรือ เนปักกปัญญา ซึ่งความหมายว่า ปัญญารักษาตน หรือ รู้รักษาตัวรอด (ขุ.ม.29/921/587; อภิ.วิ.35/599/328 ; 35/1107/572)


   ฉะนั้น ความรู้ที่ควรมี หรือ ควรแสวงหาตามหลักของพระพุทธศาสนา ก็คือปัญญาประเภทนี้ เพราะเป็นปัญญาที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์เสมอไป ความรู้บางอย่างเท่านั้นที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์ และความรู้ที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์ ก็คือ ความรู้ประเภทนิปกปัญญา หรือ เนปักกปัรญญา ดังกล่าวแล้ว


   ในเรื่องของความรู้ที่ควรรู้ หรือความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตนั้น พระพุทธศาสนาแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ

- อายโกศล   ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ดี ที่ควรทำ
 
- อปายโกศล   ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ชั่ว ที่ควรละ

- อุปายโกศล   ความรู้ความฉลาดที่จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดี และรอดพ้นจากสิ่งที่ชั่ว (ที.ปา.11/228/231)


  ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ มีความหมายคลุมทั้งความรู้ระดับโลกียะ และระดับโลกุตตระ เพราะความรู้ทุกอย่างหรือทุกระดับ จะสำเร็จประโยชน์หรือมีผลทางปฏิบัติได้ เราจะต้องรู้ทั้งเนื้อหา และวิธีการอย่างถูกต้อง เพราะถ้าเรารู้แต่เนื้อหา แต่ไม่รู้วิธีใช้หรือวิธีทำ ก็คงจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้
 


Create Date : 17 พฤษภาคม 2565
Last Update : 17 พฤษภาคม 2565 13:12:50 น. 0 comments
Counter : 140 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space