กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
23 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความดี คืออะไร
 


ตอน ความดีในพุทธปรัชญา


170ความดีคืออะไร


    ในพระพุทธศาสนามีคำหลายคำที่ใช้หมายถึงความดี คือ บุญ กุศล ธัมมจริยา สมจริยา สุจริต กรณียะ (องฺ.ทุก.20/262-5/71)  ซึ่งให้ผลเหมือนกัน คือ เป็นเหตุให้บังเกิดในสุคติ โลก สวรรค์ ความดีในความหมายดังกล่าวนี้  เป็นการกล่าวในความหมายแบบรวมๆ แต่ถ้ากล่าวในความหมาเฉพาะคำๆ แล้ว คำเหล่านี้ ก็มีความหมายต่างกัน คือ

   บุญ หรือ ปุญญะ มีความหมายว่าดี และมีความหมายทั้งในเชิงสาเหตุและในเชิงผล หรือ ว่ามีทั้งดีส่วนเหตุ และดีส่วนผล บุญส่วนเหตุก็เรียกว่า ปุญญอุจจยะ บุญกรรม บุญกิริยา ซึ่งหมายถึง การทำดีหรือการกระทำที่ดี  บุญส่วนผล เรียกว่า บุญ เฉยๆ ซึ่งหมายถึงผลดี หรือ ผลบุญ เช่นในคำว่า "พฺรหฺมํ ปุญฺญํ ปสวติ = ประสบผลดี หรือ ผลบุญอันประเสริฐ (ซึ่งได้แก่การเกิดในสวรรค์) (องฺ.ทสก.24/40/80)


   กุศล มีความหมายว่าดี เหมือนกับคำว่าบุญ และใช้ได้ทั้ง ๒ ลักษณะ ดีเชิงสาเหตุและดีเชิงผล ดีเชิงสาเหตุ ก็เรียกว่า กุศลกรรม คือ การกระทำที่ดี หรือ การทำดี ดีเชิงผล ก็เรียกว่า กุศลวิบาก คือ ผลที่ดี หรือ ผลดี

   ธัมมจริยา หมายถึงการกระทำ คือ การประพฤติที่ดี หรือ การประพฤติธรรม

   สมจริยา   มักใช้ควบกับคำว่า ธัมมจริยา มีความหมาย ว่า ประพฤติระงับกิเลส ซึ่งก็คือประพฤติดี หรือ ประพฤติธรรมนั่นเอง

   สุจริต   มีความหมายว่า ประพฤติดี หรือ ประพฤติถูกต้อง

   กรณียะ   มีความหมายว่า สิ่งที่ควรทำ ซึ่งหมายถึง การประพฤติสุจริต


   แต่คำที่มีความหมายคลุมความดีทุกประเภทคือคำว่า ธรรม เช่น โลกียธรรม ความดีระดับโลก โลกุตตรธรรม ความดีระดับเหนือโลก


   คำเหล่านี้ให้นัยแก่เราว่า พระพุทธศาสนาพูดถึง "ความดี" ใน ๒ ลักษณะ คือ ความดีเชิงเหตุ กับ ความดีเชิงผล

   ความดีเชิงเหตุนั้น ก็ได้แก่ คุณธรรม และกุศลกรรม คือ การกระทำที่ดีทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้มา ซึ่งผลดีหรือผลที่ดี ความดีส่วนนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นความดีเชิงอุปกรณ์

   ส่วนความดีเชิงผลนั้น ได้แก่ วิบาก หรือ ผลดีที่เกิดจากการประพฤติธรรม หรือ การทำดีในลักษณะต่างๆ และผลดีดังกล่าวนี้ พระพุทธศาสนามักกล่าวโดยสรุปด้วยคำ ๒ คำ คือ ขั้นโลกียะ ได้แก่ บังเกิดใน สุคติ โลก สวรรค์ (องฺ.ทุก.20/262/71) และขั้นโลกุตตระ คือ ขีณาชาติ มีความหมายว่า สิ้นชาติ คือ นิพพาน

   และพุทธศาสนาแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าความดีระดับโลกียะทุกอย่างนั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลกและให้ผลเป็นการบังเกิดในสุคติ คือ โลกสวรรค์ ที่ใดที่หนึ่งเสมอ (สาสวา ปุญฺญภาคิยา อุปธิเวปกฺกา - ม.อุ.14/257/181)

   

  ตามหลักของพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นว่า ความดีทั้งความดีส่วนเหตุ และความดีส่วนผลเป็นวัตถุวิสัย คือ เป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติหรือตามสภาวะของมันเอง


   แม้ผลของความดี ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามกระบวนการของความดีส่วนเหตุ โดยไม่มีอำนาจใดๆ มาเป็นตัวบังคับหรือควบคุม กระบวนการของความดีตามหลักพระพุทธศาสนา ก็คือเหตุดีย่อมก่อให้เกิดผลดี และผลดีย่อมมาจากเหตุดี ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่ว่าเมื่อมีเหตุ ย่อมมีผลตามมา และเมื่อมีผลปรากฏ ย่อมมีสาเหตุ


    ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ตามหลักของพระพุทธศาสนา เรื่องของความดีนั้ตั้งอยู่บนฐานของความจริง ความดี มิใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าหรือคนใดคนหนึ่งกำหนดขึ้น แต่พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ทรงค้นพบหลักเรื่องความดีตามเป็นจริง แล้วจึงทรงนำมาสอนหรือเปิดเผยให้ชาวโลกได้รู้ได้เข้าใจเท่านั้น เพราะเรื่องของความดีทั้งความดีส่วนเหตุ และความดีส่วนผลนั้น จะมีใครรู้หรือไม่มีใครรู้ก็ตาม ก็คงมีอยู่และเป็นตามสภาพของมันอย่างไม่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในธัมมนิยามสูตร (องฺ.ติก.20/576/368)

   คำต่างๆ ที่ใช้หมายถึงความดีในพระพุทธศาสนานั้น ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความดีอีกด้วย กล่าวคือ

   คำว่า บุญ นอกจากจะมีความหมายว่าดี หรือ ความดี แล้ว ยังมีความหมายว่า ชำระให้บริสุทธิ์ด้วย ซึ่งหมายความว่า บุญ หรือ ความดีนั้น มีลักษณะเป็นเครื่องชำระล้างกิเลสหรือความชั่วให้หมดไปจากจิต เปลี่ยนสภาพของจิตที่สกปรกให้บริสุทธิ์สะอาด และยังมีความหมายว่า งาม (กัลยาณ) ด้วย


Create Date : 23 พฤษภาคม 2565
Last Update : 23 พฤษภาคม 2565 18:31:37 น. 0 comments
Counter : 291 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space