กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
21 พฤษภาคม 2565
space
space
space

อสสาร หรือนามธาตุ คืออะไร(ต่อ)

ยากซับซ้อน 110


  ส่วนวิญญาณธาตุ หรือจิตนั้นเป็นพลังฝ่ายอสสารหรือพลังจิต มีลักษณะเป็นพลังรู้  ซึ่งมี ๔ ลักษณะย่อยด้วยกัน ซึ่งอาจเขียนเป็นภาพ ดังนี้

วิญญาณธาตุ=พลังรู้
                    450
                   จิต
                    450
     พลังรู้สึก = เวทนา
     พลังรู้จำ = สัญญา
     พลังรู้คิด = สังขาร
     พลังรู้ชัด = วิญญาณ

   การรับรู้เรื่องราวต่างๆของจิต  ซึ่งทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า การรู้อารมณ์ของจิต นั้น ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นทางผ่าน (อภิ.แปล.77/253 ; 77/165-6)  ขบวนการรับรู้ของจิตนั้นซับซ้อนแต่รวดเร็วมาก กล่าวคือ จิตต้องใช้เวลารับ หรือพิจารณาสิ่งที่จะรู้ หรือสิ่งที่มากระทบประสาทสัมผัสนั้นถึง ๗ ขั้นตอน  แต่ละขั้นตอนทำหน้าที่ต่างๆ กันดังนี้

1.รำพันถึงอารมณ์ = อาวัชชนะ

2.เห็นหรือฟังเป็นต้น = วิญญาณ

3.รับอารมณ์ = สัปปฏิจฉันนะ

4.พิจารณาอารมณ์ = สันตีรณะ

5.กำหนดอารมณ์ = โวฏฐัพพนะ

6.เสพอารมณ์ = ชวนะ

7.รู้รสของอารมณ์ = ตทาลัมพนะ (วิภาวินี.165)



   และในการรับรู้อารมณ์ หรือ รับรู้สิ่งที่มาสู่การรับรู้ของจิตแต่ละเรื่องนั้น   จิตต้องใช้เวลาในการรับรู้ถึง ๑๗ ขณะ ในกรณีที่เป็นการรับรู้ตามปกติธรรมดา  เรียงลำดับให้เห็นขั้นตอน ได้ดังนี้


ขณะจิตที่ 1 ภวังค์

ขณะจิตที่ 2 ภวังคจลนะ

ขณะจิตที่ 3 ภวังคุปัจเฉทะ (3 ขณะนี้ขั้นตื่นตัว)

ขณะจิตที่ 4 อาวัชชนะ = ควานอารมณ์

ขณะจิตที่ 5 ปัญจวิญญาณ = สัมผัสอารมณ์

ขณะจิตที่ 6 สัมปฏิจฉันทะ = รับหรือจับอารมณ์

ขณะจิตที่ 7 สันตีรณะ = พิจารณาอารมณ์

ขณะจิตที่ 8 โวฏฐัพพนะ = กำหนดอารมณ์

ขณะจิตที่ 9 ชวนะ

ขณะจิตที่ 10 ชวนะ

ขณะจิตที่ 11 ชวนะ

ขณะจิตที่ 12 ชวนะ

ขณะจิตที่ 13 ชวนะ

ขณะจิตที่ 14 ชวนะ

ขณะจิตที่ 15 ชวนะ  (ชวนะ 7 ขณะ 9 -15 จิตเสพหรือเคี้ยวอารมณ์)

ขณะจิตที่ 16 ตทาลัมพนะ

ขณะจิตที่ 17 ตทาลัมพนะ  (16-17 จิตรู้รสอารมณ์แล้วตกภวังค์)  (วิภาวินี.142)

   หมายความว่า ในการรับรู้อารมณ์ของจิต เช่น การเห็นภาพ การได้ยินเสียง เป็นต้น จิตจะต้องจดจ่ออยู่กับภาพที่ตามอง หรือ เสียงที่หูฟัง นั้น นานพอที่จิตจะรับและพิจารณาสิ่งที่ตามอง หรือ หูฟังนั้นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งกินเวลาไม่น้อยกว่า ๑๗ ขณะจิต จึงจะเกิดการเห็นภาพนั้น หรือ ได้ยินเสียงนั้นได้ชัดเจนว่าอะไร เป็นอะไร ซึ่งเป็นการรับรู้ในขั้นที่เรียกว่า มโนวิญญาณ


Create Date : 21 พฤษภาคม 2565
Last Update : 21 พฤษภาคม 2565 19:09:47 น. 0 comments
Counter : 145 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space