กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
23 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ศีลธรรมเกิดจากจำเป็น หรือธรรมชาติของชีวิต



170ศีลธรรมเกิดจากความจำเป็น หรือ ธรรมชาติของชีวิต

   พระพุทธศาสนาแสดงลักษณะหรือธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ว่า มีความอยากหรือความต้องการขั้นพื้นฐาน อยู่ ๔ ประการ (สํ.นิ.16/243/121)

ชีวิตุกามะ   อยากมีชีวิตอยู่

อมริตุกามะ   อยากไม่ตาย หรือไม่อยากตาย

สุขกามะ  อยากมีความสุข

ทุกขปฏิกกูละ   เกลียดทุกข์หรือไม่อยากทุกข์

  ความอยาก ๔ อย่างนี้ อาจถือได้ว่า เป็นลักษณะขั้นมูลฐานของชีวิต เมื่อเป็นชีวิตขึ้นมาแล้ว ทุกชีวิตย่อมเกิดความรู้สึกในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวนี้ขึ้นมาเองตามธรรมชาติ กล่าวคือรู้จักแสวงหาความสุขให้แก่คนเองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน รู้จักหลีกหนีความทุกข์หรือไม่ต้องการความทุกข์ให้แก่ตนเอง มีการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และมีความรู้สึกกลัวตาย ไม่อยากตาย รู้จักหนีความตาย


  ในขณะเดียวกัน ลักษณะและแรงกระตุ้นที่สำคัญทั้ง ๔ ประการนี้เอง ที่ทำให้มนุษย์แสวงหาหรือมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ อมตภาพอันบรมสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดทางศีลธรรม หรือ เป็นเป้าหมายสูงสุดทางศาสนาของทุกศาสนา เพราะจะเห็นได้ว่าทุกศาสนาล้วนกล่าวถึงเป้าหมายสูงสุดในศาสนาของตนว่ามีลักษณะเป็นอมตะ และเป็นบรมสุขด้วยกันทั้งนั้น หากมองในแง่ของพระพุทธศาสนาก็อธิบายได้ว่า เป้าหมายของชีวิตทั้งระดับธรรมดาและระดับสูงล้วนสะท้อนออกมาจากธรรมชาติของชีวิตดังกล่าวนี้

  ความดีในพระพุทธศาสนา ก็คือเรื่องของศีล และธรรม หรืออาจเรียกรวมกันอย่างที่นิยมเรียกกันว่า ศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความดีของชีวิต หรือ เพื่อการการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขนั่นเอง และเรื่องของศีลธรรมนั้นก็เป็นการปฏิบัติระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเป็นสำคัญ อาจจะมีการปฏิบัติบางข้อบางประเด็นที่มีขอบเขตครอบคลุมไปถึงอมนุษย์หรือสัตว์ดิรัจฉานด้วย

  ฉะนั้น เรื่องศีลธรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นของชีวิต เพื่อตอบสนองธรรมชาติของชีวิต เพราะหลักศีลธรรมนั้นเป็นหลักปฏิบัติเพื่อเอื้ออำนวยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างเป็นปกติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ชีวิตพัฒนาตนเองจนกระทั่งสามารถบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิตด้วย การที่ชีวิตจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องมีศีลธรรมหรือปฏิบัติตามหลักศีลธรรม หากขาดศีลธรรมเสียแล้ว ชีวิตก็จะดำเนินไปอย่างไม่เป็นปกติและจะบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของชีวิตไม่ได้

  ศีลธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เรียกรวมได้ว่า ความดี โดยที่ความดีบางอย่างเป็นความดีขั้นศีล และความดีบางอย่างเป็นความดีขั้นธรรม ศีล เป็นความดีขั้นเว้นชั่วไม่ทำชั่ว ธรรม เป็นความดีขั้นละชั่วและทำดี และการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต  ไม่ว่าเป้าหมายขั้นธรรมดา หรือ เป้าหมายขั้นสูงสุดตามหลักของพระพุทธศาสนา  จะต้องมีความดีทั้งขั้นศีล และขั้นธรรมควบคู่กันไปเสมอ

  ฉะนั้น ความดีในพุทธศาสนาจึงมิใช่มีเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น แต่มีเพื่อการพัฒนาชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์นั่นเอง

 


Create Date : 23 พฤษภาคม 2565
Last Update : 23 พฤษภาคม 2565 16:55:56 น. 0 comments
Counter : 184 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space