กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
8 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ธรรมชาติของชีวิต(ต่อ)



   สัตว์ทุกประเภท มีสัญชาตญาณหรือความต้องการขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติของชีวิตเหมือนกัน สัญชาตญาณ หรือ ความต้องการตามธรรมชาติดังกล่าวมานี้ แสดงออกมาชัดเจนในสัตว์ประเภทมนุษย์ นั่นคือ

- ชีวิตุกามะ   อยากมีชีวิตอยู่

- อมริตุกามะ   อยากไม่ตายหรือไม่อยากตาย

- สุขกามะ   อยากมีความสุขหรือต้องการสุข

- ทุกขปฏิกกูละ   รังเกียจความทุกข์ หรือ ไม่ต้องการทุกข์   (เวฬุทวารสูตร สํ.ม. 19/1459/443)

   ความหมายหรือความต้องการทั้ง ๔ อย่างดังกล่าวนี้ โดยใจความก็คือ อยากมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั่นเอง

   ความอยากหรือความต้องการตามธรรมชาติดังกล่าวนี้ ไม่เพียงแต่เป็นความต้องการพื้นฐานของชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานของความสำนึกทางศีลธรรมด้วย กล่าวคือ เพราะเราเองอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย อยากมีความสุข ไม่ต้องการทุกข์ ฉะนั้น เมื่อมีใครมากระทำการอันใดที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเรา หรือก่อให้เกิดทุกข์แก่เรา เราก็ย่อมไม่ชอบใจ ฉันใด เมื่อเรากระทำการเช่นนั้นต่อคนอื่น เขาก็ย่อมไม่ชอบเหมือนกัน ฉันนั้น เพราะเขาก็มีความรักสุขเกลียดทุกข์ อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย เช่นเดียวกับเรา


  หากเรารู้จักคิด หรือ รู้จักพิจารณาในทำนองนี้ เราก็จะเห็นได้เองว่า เราไม่ควรทำชั่วทำเลวกับใครๆ ฉะนั้น เรื่องของศีลธรรมคือการไม่ทำชั่วทำเลวต่อกัน และทำแต่สิ่งที่ดีต่อกัน จึงเป็นสิ่งที่เกิดจากความต้องการตามธรรมชาติของชีวิต เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตเรียกร้องต้องการ เพื่อความเป็นอยู่ดีมีสุขของชีวิต หรือเพื่อตอบสนองธรรมชาติของชีวิตนั้นเอง


   จากสำนึกทางศีลธรรมอันเนื่องมาจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ๔ ประการดังกล่าวนี้เอง ที่ก่อให้เกิดศีลธรรมขั้นพื้นฐานขึ้นในหมู่มนุษย์ คือ การเว้นกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ ซึ่งโดยใจความก็คือ ศีล ๔ ข้อในศีล ๕ นั้นเอง และกายทุจริตกับวจีทุจริตดังกล่าวนี้ ก็คือส่วนหนึ่งของอกุศลกรรมบถ ๑๐ การละเว้นหรือความไม่ประพฤติสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นกุศลกรรมบถ ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า มนุษยธรม (มโน.ปู.13/75) ในบางพระสูตร เรียกว่า อริยธรรม หรืออารยธรรม (องฺ.ทสก.24/168/296)


    และในเวฬุทวารสูตร    พระพุทธองค์ได้แสดงถึงการเว้นชั่วที่ครบถ้วนว่า ต้องทำให้ครบทั้ง ๓ ด้าน คือ

- ตนเองก็ไม่ทำเอง

- ชักชวนคนอื่นไม่ให้ทำด้วย

- ยกย่องการไม่ทำชั่วนั้นๆด้วย  (สํ.มหา.19/1459/443)

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgqj51_yBbly5Mjb28PDOw4IIzZnjk5jZQMSlmsStfQIpONzgOfNZrjeflVfoAi-5fAwO1DQTcY3AmWOrlQxK1-mSyvUejqyL7ixTcJIJIGzEww9qPYytCcRw0DV5rAhDgoIYJoVYK3zYItUlw-nrdFyCJLBnuVJleXJNny_22-nlYYdvdMY7TMyqNmog/s320/279885873_528144348750186_4803711516535331823_n.jpg


Create Date : 08 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 พฤษภาคม 2565 10:52:57 น. 0 comments
Counter : 160 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space