กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
28 เมษายน 2565
space
space
space

พระพุทธเจ้าสอนอะไร



170พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?

   พระสูตรที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรเป็นครั้งแรก ก็คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (สํ.ม.19/1664/528) อันเป็นปฐมเทศนานั่นเอง ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน สิ่งที่พระพุทธองค์แสดงไว้ในพระสูตรนี้ ก็คือ

   ๑.ทรงชี้ให้เห็นว่า บรรดาลัทธิวิธีที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปในอินเดียยุคนั้น ซึ่งมีมากมาย สรุปได้เป็น ๒ กลุ่ม หรือ ๒ แนวทาง คือ

- กามสุขัลลิกานุโยค    การปฏิบัติที่พัวพันอยู่กับกามสุข

- อัตตกิลมถานุโยค    การปฏิบัติที่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก

  ลัทธิวิธีทั้ง ๒ นี้ เป็นวิธีการที่ผิด โดยทรงชี้ให้เห็นว่า วิธีแรกนั้นเป็นของต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน ของคนมีกิเลสหนา ไม่ประเสริฐ และไร้ประโยชน์

  ส่วนวิธีที่ ๒ นั้น เป็นการทำตนให้ลำบากเปล่า ไม่ประเสริฐ และไร้ประโยชน์

   ๒.ทรงประกาศวิธีการใหม่ที่ค้นพบด้วยตนเอง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๘ ประการ ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ซึ่งสรุปลงในหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ

- สีลสิกขา      (อธิสีลสิกขา,ศีล)
- จิตตสิกขา     (อธิจิตตสิกขา, สมาธิ)
- ปัญญาสิกขา  (อธิปัญญาสิกขา,ปัญญา)  (ม.มู.12/508/549)

  มัชฌิมาปฏิปทา เป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดจักษุ ญาณ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพาน เป็นที่สุด

   ๓.ทรงแสดงว่า  การปฏิบัติตามแนวทางของมัชฌิมาปฏิปทา ทำให้พระองค์รู้อริยสัจสี่ อันเป็นสิ่งที่พระองค์ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากใครมาก่อน   ความจริงที่รู้ที่เรียกว่า  อริยสัจนั้น ก็คือ

- ทุกข์
- เหตุให้เกิดทุกข์
- ความดับทุกข์
- วิธีการที่นำไปสู่ความดับทุกข์

   สาระสำคัญของอริยสัจทั้งสี่ข้อ ก็คือ เรื่องทุกข์ และเรื่องทุกข์ทั้งหมดนั้น โดยสรุปก็คือ อุปาทานขันธ์ หรือชีวิต  ฉะนั้น  เรื่องอริยสัจสี่ ก็คือ เรื่องความจริงของชีวิตนั่นเอง

  ๔. การรู้อริยสัจสี่นั้น คือ การเกิดจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลกะขึ้นในความจริงเหล่านั้น ใน ๓ ลักษณะ คือ

    ๑) รู้สภาวะหรือตัวความจริงแต่ละอย่างว่า คือ อะไร เรียกว่า สัจจญาณ

    ๒) รู้หน้าที่ คือ รู้ว่าจะต้องปฏิบัติต่อความจริงแต่ละอย่างนั้นอย่างไร เรียกว่า กิจจญาณ

    ๓) รู้เชิงประเมินหรือตรวจสอบ คือ รู้ว่าสิ่งควรรู้และควรทำใน ๒ ข้อแรกนั้น ได้กระทำเรียบร้อยแล้วหรือยัง เรียกว่า กตญาณ


233ลักษณะของสัจจญาณ  คือ
รู้ว่า
- ทุกข์คือ ชาติชรามรณะ = ชีวิต
- เหตุให้เกิดทุกข์คือ ตัณหา
- ความดับทุกข์ คือ ตัณหาดับไม่เหลือ
- วิธีการที่นำไปสู่ความดับทุกข์คือ มรรค มีองค์ ๘


231ลักษณะของกิจจญาณ คือ
รู้ว่า
- ทุกข์ เป็นสิ่งควรรู้
- ตัณหา เป็นสิ่งควรละ
- นิโรธ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง
- มรรค เป็นสิ่งควรทำให้สมบูรณ์

231ลักษณะของกตญาณ คือ
รู้ว่า
- ทุกข์ รู้แล้ว
- ตัณหา ละแล้ว
- นิโรธ ทำให้แจ้งแล้ว
- มรรค ทำให้สมบูรณ์แล้ว

  และญาณทั้ง ๓ นี้ รวมเรียกว่า ยถาภูตญาณ (ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ)

  ๕.หลังจากเกิดญาณทั้ง ๓ แล้ว พระพุทธองค์จึงทรงประกาศตนว่า ได้ตรัสรู้แล้ว (อภิสมฺพุทฺโธ) สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น กล่าวโดยสรุป ก็คือ

๑.หลักความจริง คือ อริยสัจสี่
๒.หลักความรู้ คือ ญาณ ๓
๓.หลักปฏิบัติ คือ มัชฌิมาปฏิปทา
๔.เป้าหมายของการปฏิบัติ คือ ปัญญา (จักษุ ญาณ อภิญญา สัมโพธะ) และนิพพาน


   ในอภยราชกุมารสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ชัดเจนว่า ทรงสอนอะไรและไม่ทรงสอนอะไร เพราะเหตุไร โดยทรงแจกแจงไว้ ดังนี้

๑.สิ่งไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคน ไม่ทรงสอน

๒.สิ่งจริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคน ไม่ทรงสอน

๓.สิ่งจริง แท้ มีประโยชน์ แม้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคน ทรงรู้จักเวลาสอน

๔.สิ่งไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ แม้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคน ไม่ทรงสอน

๕.สิ่งจริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ แม้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคน ไม่ทรงสอน

๖.สิ่งจริง แท้ มีประโยชน์ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคน ทรงรู้จักเวลาสอน

   จากเนื้อความในพระสูตรนี้ สรุปได้ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือ

- จริง
- มีประโยชน์
- เหมาะสมแก่กาละเทศะ

  ส่วนคนจะพอใจหรือไม่พอใจนั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และจากเนื้อความในพระสูตรนี้ ยังให้นัยแก่เราอีกประการหนึ่ง คือ สิ่งที่จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องมีประโยชน์เสมอไป ความจริงบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ กล่าวคืออีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ความจริงกับความมีประโยชน์เป็นคนละอย่างกัน

  ในทำนองเดียวกัน ความพอใจ กับ ความจริงก็เป็นคนละเรื่องกัน และความพอใจ กับ ความมีประโยชน์ก็เป็นคนละเรื่องกัน

  ส่วนสิ่งที่ไม่จริงนั้น พระพุทธเจ้าทรงชี้ลงไปประเด็นเดียว คือ ไม่มีประโยชน์

231ไม่จริง - ไม่มีประโยชน์
    คนไม่ชอบ - คนชอบ  ไม่สอน

231จริง ไม่มีประโยชน์
   คนไม่ชอบ - คนชอบ  ไม่สอน

231จริง   มีประโยชน์
   คนไม่ชอบ - คนชอบ รู้เวลาสอน

   ในจูฬมาลุงโกยวาทสูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงเรื่องที่พระองค์ทรงสอนและไม่ทรงสอนเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ และเรื่องที่ทรงพยากรณ์

   เรื่องที่ไม่พยากรณ์ คือ ไม่ทรงสอนได้แก่ เรื่อง

231เรื่องโลก
-โลกเที่ยง
-โลกไม่เที่ยง
-โลกมีที่สุด
-โลกไม่มีที่สุด

231เรื่องอัตตา
-ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
-ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน

231เรื่องตายเกิด-ตายสูญ
-สัตว์ตายแล้ว คงมีอยู่
-สัตว์ตายแล้ว ไม่มีอยู่
-สัตว์ตายแล้ว มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
-สัตว์ตายแล้ว มีอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่

   เรื่องเหล่านี้ รวมเรียกว่า อัพยากตปัญหา คือ ปัญหาที่ไม่พยากรณ์ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์  ไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์  ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน วิราคะ นิโรธ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพาน

   เรื่องที่ทรงพยากรณ์ คือ ทรงสอนได้แก่ เรื่องอริยสัจสี่ เพราะเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน

   ทั้งนี้  เพราะทรงมองชีวิตว่าเป็นเสมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ จะมัวโอ้เอ้อยู่กับเรื่องอื่นๆ ที่ไร้สาระไม่ได้   ควรจะต้องรีบหาทางถอนลูกศรอาบยาพิษนั้นออกให้เร็วที่สุด และวิธีที่จะถอนลูกศรดังกล่าวนั้นได้ ก็คือ วิธีการแบบอริยสัจสี่นั่นเอง (ม.ม.13/150-2/147)

   ตามเนื้อความในพระสูตรนี้   เรื่องที่พระพุทธศาสนา หรือพระพุทธเจ้าสอน ก็คือ หลักการเพื่อถอนทุกข์หรือแก้ทุกข์ของชีวิตเท่านั้น

  ฉะนั้น ในอลคัททูปมสูตร พระพุทธองค์ จึงตรัสสรุปไว้ว่า เรื่องที่พระองค์สอนนั้น มีเรื่องเดียว คือ เรื่องทุกข์ และความดับทุกข์เท่านั้น (ทุกฺขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกฺขสฺส จ นิโรธํ)

   และในพระสูตรเดียวกันนี้ ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมที่ทรงสอนนั้น เปรียบเหมือนแพอาศัยข้ามฟาก เมื่อข้ามฟากได้แล้วก็ไม่ต้องแบกเอาแพไปด้วย ควรจอดไว้ในน้ำหรือยกวางไว้บนบกแล้วก็เดินทางต่อไปโดยไม่มีกังวลใดๆ ซึ่งมีความหมายว่า ธรรม คือ อุปกรณ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายของชีวิต เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว เราจึงไม่ควรแบกเอาอุปกรณ์เหล่านั้นไว้อีก เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงสอนว่า ผู้บรรลุเป้าหมายสูงสุดแล้ว ย่อมไม่ยึดติดสิ่งใดทั้งที่เป็นธรรม และอธรรม

   และได้ทรงแนะนำไว้ด้วยว่า  ผู้ที่ศึกษาธรรม  เพื่อให้ได้ประโยชน์จากธรรม  ต้องพิจารณาไตร่ตรองเนื้อหาหรือความหมายของธรรมด้วยปัญญา  มิฉะนั้น  ก็จะไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการศึกษาธรรม (ม.ม.13/279-286/268)

   ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างต้น   พระพุทธองค์จึงตรัสเปรียบเทียบสิ่งที่ทรงรู้ กับ สิ่งที่ทรงสอนว่า สิ่งที่รู้นั้นเปรียบเสมือนใบไม้ทั้งป่า ส่วนสิ่งที่สอนเปรียบเสมือนใบไม้ ๒-๓ ใบ ในกำมือ ทั้งนี้ เพราะเลือกสอนเฉพาะสิ่งที่จริง และมีประโยชน์เท่านั้น ความจริงมีมากมายที่ทรงรู้แต่ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่นำมาสอน (สีสปาสูตร - สํ.ม.19/1712/548)
 


Create Date : 28 เมษายน 2565
Last Update : 29 เมษายน 2565 7:13:32 น. 0 comments
Counter : 232 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space