กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
13 พฤษภาคม 2565
space
space
space

กระบวนการคิดของคน(ต่อ)



   พระมหากัจจายนะ   ได้อธิบายถึงขั้นตอนของกระบวนการคิด หรือ กระบวนการรับรู้ของจิตให้ละเอียดออกไปอีกว่า เมื่อตา กับ รูป ประจวบกันก็เกิดความรู้สึกทางตา (จักขุวิญญาณ) กระบวนการของทั้ง ๓ สิ่งนี้  (ตา+รูป = จักขุวิญญาณ) เรียกว่า  ผัสสะๆ ก่อให้เกิดเวทนา รู้สึก (เวทนา)  สิ่งใดก็จำสิ่งนั้น  (สัญญา)  จำสิ่งใดก็นึกคิด  (วิตักกะ)  สิ่งนั้น  นึกคิดสิ่งใดก็อ้อยอิ่งอยู่ กับ สิ่งนั้น  (ปปัญจะ)  อ้อยอิ่งอยู่กับสิ่งใด  ก็ตอกย้ำความจำในสิ่งนั้น  ซึ่งเป็นเรื่องอดีตบ้าง เรื่องอนาคตบ้าง เรื่องปัจจุบันบ้าง ให้แน่นหนายิ่งขึ้น (ปปัญจสัญญา) (มธุปิณฑิกสูตร ม.มู.12/248/226)

รูป + จักขุ + จักขุวิญญาณ
--------------------
        V
      ผัสสะ
        V
       เวทนา
        V
       สัญญา
         V
       วิตักกะ
         V
       ปปัญจ
         V
    ปปัญจสัญญา
         V
------------------
V       V        V
อดีต  อนาคต ปัจจุบัน


   จากกระบวนการคิดของจิตดังกล่าว  แสดงให้เห็นถึงขั้นตอน หรือลำดับของการคิด หรือ การทำงานของจิตว่าดำเนินไปอย่างไร กล่าวคือ เมื่อมีผัสสะหรือข้อมูลทางประสาทสัมผัสทางกายมากระทบจิต (ผัสสะ+มนะ) จิตก็เกิดการรับรู้ เช่น เกิดการเห็น เป็นต้น จิตก็ทำการรู้ต่อไปในลักษณะเป็นการรู้แบบแยกแยะ เช่น ดี เลว หอม เหม็น (เวทนา) จากนั้น จิตก็จะจำ หรือ บันทึกความรู้อันนั้นไว้ (สัญญา) เรื่องราวที่ถูกบันทึกหรือจำไว้นั้นก็จะถูกนำมาคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเสมอตามความพอใจของจิต หรือ ตามสภาพการณ์ที่มากระตุ้นเตือน (วิตักกะ - ปปัญจะ ซึ่งเป็นขั้นของสังขาร) เรื่องราวที่ถูกคิดซ้ำๆนั้น ก็จะถูกบันทึกซ้ำลงไปอีก ทำให้จำได้แม่นยำหรือจำได้นานยิ่งขึ้น และเรื่องที่จิตนำมาคิดซ้ำนั้น (วิตักกะ - ปปัญจะ) ก็มีทั้งเรื่องที่ผ่านไปแล้ว เรื่องที่กำลังเป็นอยู่ และเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น


   กระบวนการคิดดังกล่าวนี้ คือกระบวนการรับรู้ หรือกระบวนความรู้ ขั้นพื้นฐานของคนทั่วไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันของกระบวนการทางกาย กับ กระบวนการทางจิตของมนุษย์ อันเป็นรากฐานของการรับรู้หรือรู้จักโลกภายนอกของมนุษย์

   กระบวนการคิด หรือ การรับรู้ของจิตดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ความคิดเป็นผลของการกระทบ หรือสัมผัสระหว่างวัตถุภายนอก ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า อายตนะภายนอก กับ ประสาทสัมผัส ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า อายตนะภายใน  อันเป็นอวัยวะ หรือองคาพยพของหน่วยชีวิต หรือวัตถุที่มีชีวิต (ไม่ใช่สักแต่ว่าวัตถุไร้ชีวิตกระทบกับวัตถุไร้ชีวิตเท่านั้น) และความคิดขั้นเริ่มแรก ก็คือ ความคิด หรือ ความรู้สึก ที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า ผัสสะ นั่นเอง ซึ่งดูคล้ายกับสิ่งที่ลัทธิประจักษ์นิยมเรียกว่า idea หรือ simple idea จากความคิดเริ่มแรก หรือ ผัสสะนี้ จึงก่อให้เกิดความคิดที่ซับซ้อนในลักษณะต่างๆ อันเป็นผลจากการคิดของจิตตามมา คือ ความคิดแบบแยกแยะ ที่เรียกว่า เวทนา. ความคิดแบบกำหนดชนิดหรือที่พูดกันว่าจำได้ เรียกว่า สัญญา ความคิดแบบปรุงแต่งผสมผสาน เป็นเหตุให้เกิดความคิดแปลกๆใหม่ๆ ต่างไปจากความคิดเริ่มแรก เรียกว่า สังขาร ซึ่งความคิดในลักษณะต่างๆ เหล่านี้ ดูคล้ายกับความคิดเชิงซ้อน (complex idea) ของลัทธิประจักษ์นิยม (แต่ขอให้เข้าใจไว้ก่อนว่า คำสอนของพระศาสนากับความคิดของประจักษ์นิยมนั้นไม่เหมือนกัน)

 


Create Date : 13 พฤษภาคม 2565
Last Update : 13 พฤษภาคม 2565 12:21:50 น. 0 comments
Counter : 194 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space