กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
27 เมษายน 2565
space
space
space

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร(จบ)




   ในอีกพระสูตรหนึ่ง ได้ทรงแสดงไว้ว่า สภาวะที่เรียกว่า ธรรมฐิติ   ธรรมนิยาม นั้นก็คือ ขบวนการของอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง (สํ.นิ.16/61/30)

   สภาวะที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท ก็คือ กระบวนการของธรรมชาติที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น และอิงอาศัยกันดับไป โดยใจความก็คือ สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกันและกันทั้งในการเกิดขึ้น และในการดับหรือสลายไป พระพุทธองค์ได้ทรงสรุปกระบวนการดังกล่าวนี้ ลงเป็นหลักการสั้นๆว่า


เพราะสิ่งนี้มี    สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น    สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เพราะสิ่งนี้ไม่มี    สิ่งนี้จึงไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ    สิ่งนี้จึงดับ   (สํ.นิ.16/64/33)

   หลักการดังกล่าวนี้เอง   ที่ทรงเรียกว่า "อิทัปปัจจยตา"   ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท

   เพื่อให้เห็นตัวอย่างของกระบวนการอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท ชัดเจน พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงกระบวนการของชีวิตมนุษย์ให้เห็นเป็นตัวอย่าง คือ

มีชรามรณะ   ก็เพราะมีชาติ

มีชาติ          ก็เพราะมีภพ

มีภพ           ก็เพราะมีอุปาทาน

มีอุปาทาน    ก็เพราะมีตัณหา

มีตัณหา       ก็เพราะมีเวทนา

มีเวทนา       ก็เพราะมีผัสสะ

มีผัสสะ         ก็เพราะมีสฬายตนะ

มีสฬายตนะ    ก็เพราะมีนามรูป

มีนามรูป        ก็เพราะวิญญาณ

มีวิญญาณ     ก็เพราะมีสังขาร

มีสังขาร        ก็เพราะมีอวิชชา

   นี้เป็นกระบวนการเกิดขึ้นของชีวิต   กระบวนการดับของชีวิต ก็ตรงกันข้าม คือ ชรามรณะดับ ก็เพราะชาติดับ ชาติดับ ก็เพราะภพดับ ฯลฯ (ม.มู.12/447/480)

   และกระบวนการของชีวิตมนุษย์นั้น   กล่าวโดยสรุปก็คือกระบวนการเกิดและดับของทุกข์นั่นเอง  กระบวนการนี้  เป็นสิ่งจริงแท้  ไม่คลาดเคลื่อนไม่เป็นอย่างอื่น เป็นมูลเหตุอันแน่นอนในธาตุนั้น (ตถตา อวิตถตา อนญฺญถตา อิทปฺปจฺจยตา) (สํ.นิ.16/61/31)

   ผู้เห็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวแล้ว   ย่อมไม่สงสัยเกี่ยวกับที่สุดส่วนอดีต ที่สุดส่วนอนาคต และปัจจุบันที่เป็นอยู่


   การตรัสรู้ดังกล่าวนี้   มีลักษณะเป็นสากล คือ เป็นลักษณะของผู้รู้จริงทั้งปวงไม่ว่าผู้รู้จริงนั้นจะเป็นใคร ทั้งในอดีตในอนาคต และในปัจจุบัน ย่อมรู้ตรงกัน และรู้เรื่องเดียวกัน คือ อริยสัจสี่ (สํ.มหา.19/1704/543) และเรื่องอริยสัจสี่ โดยใจความก็คือกระบวนการของเหตุและผล กล่าวคือ

ทุกข์ (ผล) มี ก็เพราะมีสมุทัย (เหตุ)
นิโรธ (ผล) มี ก็เพราะมีมรรค (เหตุ)
หรือ
ทุกข์มี ก็เพราะมีตัณหา (สมุทัย)
ทุกข์ดับ (นิโรธ) ก็เพราะตัณหาดับ (ละได้ด้วยมรรค)

  ฉะนั้น   หลักการของอริยสัจสี่  ก็คือกระบวนการของอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง อริยสัจสี่ จึงเป็นรูปย่อของปฏิจจสมุปบาท   เนื้อหาของอริยสัจสี่  ก็เป็นเรื่องเดียวกับปฏิจจสมุปบาท คือ แสดงถึงกระบวนการเกิดของทุกข์  ซึ่งเรียกว่า  ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด (สมุทัยวาร) และกระบวนการดับของทุกข์ ซึ่งเรียกว่าปฏิจจสมุปบาทสายดับ (นิโรธวาร) โดยสรุป กระบวนการดังกล่าว ลงได้เป็นหลักการย่อ ๆ คือ

ทุกข์มี   เพราะมีสมุทัย
นิโรธมี   เพราะมีมรรค

  การตรัสรู้มีลักษณะเป็นสากลดังกล่าวแล้ว  พระพุทธองค์จึงตรัสว่า  พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้เรื่องเดียวกัน และตรัสรู้ด้วยวิธีการเดียวกัน คือ การปฏิบัติตามมรรค ๘ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ฉะนั้น พระองค์จึงเปรียบเทียบการตรัสรู้ของพระองค์ว่าเหมือนการเดินไปตามหนทางเก่าที่พระพุทธเจ้าในอดีตได้เดินมาแล้ว และเมื่อพระองค์เดินไปตามทางนั้น   จึงได้เห็นกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทว่า ชรามรณะ   เกิดขึ้นได้อย่างไร   เหมือนเห็นซากเมืองโบราณที่เรียงรายไปตามทางสายเก่านั้น ฉะนั้น (นครสูตร - สํ.นิ.16/253/128)

   ข้อควรเข้าใจไว้ในตอนนี้  ก็คือ อริยสัจสี่ ก็ดี ปฏิจจสมุปาบาท ก็ดี  ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น เป็นความจริงที่มีอยู่แล้ว  (คือ เป็นธาตุประเภทธรรมธาตุ) และ มีอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม อิทัปปัจจยตา นั่นเอง


  ในโรหิตัสสสูตรพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

  ก็ถ้าหากเราไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว  ก็จะไม่กล่าวถึงการทำที่สุดทุกข์ ก็แต่ว่าเราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก  การดับของโลก  และทางให้ถึงความดับโลกในเรือนร่าง มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา และมีใจครองนี้ (สํ.สคา.15/298/89)

  ใจความของพุทธพจน์นี้ ก็คือ พระองค์ทรงบรรลุถึงที่สุดโลก คือ รู้จบโลก อันได้แก่ร่างกายอันมีสัญญาและใจครองนี้ จึงได้ชื่อว่าถึงที่สุดทุกข์ หรือพ้นทุกข์

   และในอัสสาทสูตรที่หนึ่งได้ตรัสแสดงให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า

   เรายังไม่รู้ยิ่ง ซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ  โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้เพียงใด  เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ... เพียงนั้น (สํ.ขนฺธ.17/60/35)


   ใจความของพุทธพจน์ใน ๒ พระสูตรนี้ก็คือ พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ความจริงของขันธ์ ๕ หรือ ความจริงของชีวิตนั่นเอง และขันธ์ ๕หรือชีวิตนั่นเองคือเนื้อหาของอริยสัจสี่  ดังที่ทรงสรุปไว้ว่า  โดยสังเขป   อุปาทานขันธ์ ๕ คือ ทุกข์  (สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา - วิ.มหา.4/14/19)

   ความจริง หรือสิ่งที่มี   ที่พระพุทธเจ้าทรงรู้หรือทรงค้นพบนั้น  นอกจากอริยสัจสี่ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณะ แล้วยังทรงพบเห็นความจริงอีกมากมาย  ทรงสรุปไว้เป็นประเภท หรือเรื่องสำคัญๆ ๑๐ ประเภท คือ

๑.ฐานาฐานญาณ   รู้ว่าอะไรเป็นไปได้อะไรเป็นไปไม่ได้

๒.วิปากญาณ   รู้ว่ากรรมอะไรมีผลอย่างไร

๓.ปฏิปทาญาณ   รู้แนวปฏิบัติที่จะนำไปสู่ภพภูมิต่างๆ

๔.นานธาตุญาณ   รู้ว่าในจักรวาลนี้มีธาตุต่างๆมากมาย

๕.นานาธิมุตติกญาณ    รู้แนวโน้มของจิตใจมนุษย์ว่ามีมากมายหลายอย่าง

๖.อินทรียปริโยปริยัติญาณ   รู้ความบกพร่องสมบูรณ์ทางสติปัญญาของคน

๗.วุฏฐานญาณ    รู้วิธีปฏิบัติเพื่อออกจากกิเลส

๘.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ   รู้ระลึกชาติในอดีตของตนเอง

๙.จุตูปปาตญาณ   รู้การเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลาย

๑๐.อาสวักขยญาณ   รู้ความหมดจดกิเลสของตน  (องฺ.ทสก.24/21/34)

   ความรู้ทั้ง ๑๐ อย่างนี้ กล่าวโดยสรุปก็มี ๓ ลักษณะ คือ

- สิ่งที่มีก็รู้ว่ามี  สิ่งที่ไม่มีก็รู้ว่าไม่มี
- สิ่งที่เลวก็รู้ว่าเลว  สิ่งที่ดีก็รู้ว่าดี
- สิ่งที่ยังมียิ่งกว่า  ก็รู้ว่ายังมีที่ยิ่งกว่า  สิ่งที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีอะไรยิ่งกว่า (องฺ.ทสก.24/22/39)

  บรรดาสิ่งทั้งหลายที่ทรงรู้นั้น  ก็สรุปได้เป็น ๓ ลักษณะ คือ

- บางสิ่งเป็นสิ่งควรรู้   ก็ทรงรู้แล้ว  (ญาตยฺยํ ญาสฺสติ)
- บางสิ่งเป็นสิ่งที่ควรเห็น  ก็ทรงเห็นแล้ว  (ทฏฺฐยฺยํ ทุกฺขติ)
- บางสิ่งเป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง  ก็ทรงทำให้แจ้งแล้ว  (สจฺฉิกตยฺยํ สจฺฉิ)

   และทรงสรุปว่า บรรดาความรู้ หรือญาณทั้งหลายนั้น ยถาภูตญาณ คือ ความรู้ตามจริง ถือว่ายอดเยี่ยม (องฺ.ทสก.24/22/39)

   สรุปได้ว่า   หากกล่าวในภาพรวมหรือในความหมายที่ครอบคลุม  พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงที่มีอยู่แล้ว   ดังทรงแสดงไว้ในธรรมนิยามสูตร   หากกล่าวในภาพเล็ก หรือในความหมายที่เป็นความมุ่งหมายเฉพาะ   พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ เพราะการรู้ความจริง คือ อริยสัจสี่อันเป็นความจริงของชีวิตเท่านั้นที่ทำให้ตรัสรู้ คือ ถึงภาวะรู้แจ้งรู้จริงพร้อมกับความสิ้นไปของกิเลสทั้งปวง ดังทรงแสดงไว้ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


(อ่านหัวข้อนี้เข้าใจ  จะแลเห็นชีวิตปฏิจจสมุปบาทไตรลักษณ์อริยสัจจ์  แล้วจะเห็นเหตุผลว่า ปฏิบัติกรรมฐานเพื่ออะไร เดินจงกรมเพื่ออะไร 11 แล้วก็เห็นด้วยว่า ใครพูดถึงอะไรยังไงถึงไหน 107


Create Date : 27 เมษายน 2565
Last Update : 29 เมษายน 2565 14:27:19 น. 0 comments
Counter : 268 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space