กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
29 เมษายน 2565
space
space
space

กามสุขัลลิกานุโยค 
 
แทรกเสริม  

  กามสุขัลลิกานุโยค   แปลตามตัวว่า  การประกอบตนให้หมกมุ่นอยู่ในกามสุข  (กามสุข+อัลลิกะ+อนุโยค)

  กามสุข   แปลว่า ความสุขในกาม   กามคือสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสด้วยกาย) เรียกว่า วัตถุกาม อย่างหนึ่ง  อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า  กิเลสกาม หมายเอาตัวความใคร่  ความพอใจ  ความหมกมุ่น ติดพันในวัตถุกามนั้น   ดังเทวดาภาษิตในสังยุตตนิกาย   สคาถวรรค (เล่ม ๑๕ ข้อ ๑๐๓) ว่า “สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม” แปลว่า “ความกำหนัดเพราะความดำริ นั่นเอง คือ กามของคน (หาใช่สิ่งสวยงามทั้งหลายไม่)”   พระพุทธเจ้าทรงรับรองเทวดาภาษิตนี้ว่าถูกต้อง  พระองค์เองทรงทักกามว่า เกิดจากความดำริเหมือนกัน ดังพระพุทธพจน์ว่า

   “ดูก่อนเจ้ากาม   เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้ว   เจ้าเกิดจากความดำรินี่เอง  เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีก เมื่อเป็นดังนี้ เจ้าจะมีอีกไม่ได้”   (กามสูตร ขุททกนิกาย เล่ม ๒๙ ข้อ ๒) 

   ตามทรรศนะทางพระพุทธศาสนา  กามเป็นความสุขอย่างหนึ่งของสัตว์โลก  แต่ถือเป็นความสุขชั้นหยาบ และยังเจืออยู่ด้วยโทษ และให้ทุกข์มาก จึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความระมัดระวัง ไม่หมกมุ่นเกินไปในกามสุขนั้น

   “สุขโสมนัสอันใดเกิดจากกาม นั่นคือ รสอร่อยของกาม (กามอัสสาทะ) ทุกข์โทมนัสอันใดเกิดจากกาม นั่นคือโทษของกาม (กามาทีนวะ) แต่เรากล่าวว่า กามมีรสอร่อยน้อย มีโทษมาก” (พระพุทธพจน์)

   เมื่อทรงแสวงหาทางพ้นทุกข์อยู่   ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเข้มงวด มีอุปมา ๓ ข้อ ปรากฏขึ้นแก่พระองค์ มีอยู่ข้อหนึ่งว่า ไม้สด ชุ่มอยู่ด้วยยาง ซ้ำยังแช่น้ำอยู่ด้วย เมื่อนำมาสีกันเพื่อให้เกิดไฟ ย่อมไม่สำเร็จ ฉันใด บุคคลผู้ที่ยังมิได้ชักกายชักใจออกจากกามก็ ฉันนั้น ย่อมไม่อาจตรัสรู้ได้ แม้จะมีความเพียรพยายามอย่างเข้มงวดสักเท่าใดก็ตาม

   ด้วยเหตุนี้ เมื่อตรัสรู้แล้ว เมื่อทรงแสดงธรรมเป็นหนแรกแก่ปัญจวัคคีย์ จึงทรงแสดงเรื่องกามสุขัลลิกานุโยค (การหมกตัวอยู่กับกามสุข) ว่าเป็นเรื่องของชาวบ้าน (คัมโม) เป็นของปุถุชน (โปถุชชนิโก) ไม่ประเสริฐ (อนริโย) ไม่มีประโยชน์ (อนัตถสัญหิโต)

   เวลานั้น ปัญจวัคคีย์ เป็นนักบวช มุ่งความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิง จึงทรงแสดงเช่นนี้เพื่อเร้าใจให้สลัดกามสุขเสียโดยสิ้นเชิง มุ่งสู่โลกุตรธรรม

   อีกข้อหนึ่ง ที่ทรงแสดงในลำดับต่อมาคือ อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบตนให้ลำบากนานัปการ) ทรงแสดงว่า ทำให้เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐและไม่มีประโยชน์  ต่อจากนั้น ทรงแสดงทางสายกลาง คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ว่าเป็นมรรคอันประเสริฐ นำไปสู่ความดับทุกข์อย่างแท้จริง ต่อจากนั้น จึงทรงแสดงอริยสัจ ๔

   ข้อควรสังเกตว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงมรรคมีองค์ ๘ ก่อนที่จะแสดงอริยสัจ ๔  มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐของชาวพุทธ  ชาวพุทธทุกคนควรถือเอามรรคนี้เป็นทางดำเนินชีวิตของตน แม้จะยังละกามสุขไม่ได้ก็ตาม แล้วค่อยๆยกระดับชีวิตขึ้นสู่ความสุขที่อยู่เหนือกามสุข ประณีตกว่ากามสุข กล่าวคือ ฌานสุข และนิพพานสุข โดยลำดับ

 


Create Date : 29 เมษายน 2565
Last Update : 29 เมษายน 2565 9:00:24 น. 0 comments
Counter : 195 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space