กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
16 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความคลาดเคลื่อนของความรู้



170ความคลาดเคลื่อนของความรู้


   พระพุทธศาสนาแสดงว่า ความคลาดเคลื่อนของความรู้เกิดจากสาเหตุ ๓ ประการ คือ

- กำหนดผิดหรือจำผิด เรียกว่า สัญญาวิปัลลาส

- คิดผิดหรือจิตผิดปกติ เรียกว่า จิตตวิปัลลาส

- เข้าใจผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปัลลาส

   และความคลาดเคลื่อนที่สำคัญอันเนื่องมาจากสาเหตุทั้ง ๓ ประการดังกล่าว ก็คือ


จำ > สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง. สิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข. สิ่งที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นอัตตา. สิ่งที่ไม่งาม ว่างาม.

คิด > อนิจจัง ว่านิจจัง. ทุกข์ ว่าสุข. อนัตตา ว่าอัตตา. อสุภะ ว่าสุภะ


เข้าใจ > อนิจจัง ว่านิจจัง. ทุกข์ ว่าสุข. อนัตตา ว่าอัตตา. อสุภะ ว่าสุภะ. (องฺ.จตุกฺ.21/49/66)

  น่าสังเกตว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงความวิปัลลาสในความจริงว่าไม่จริง ฉะนั้น ความคลาดเคลื่อนของความรู้ดังกล่าวแล้ว ไม่เกี่ยวกับความจริง - ความไม่จริง ใช่หรือไม่ ? อันที่จริง พระพุทธศาสนาไม่เพียงแค่แสดงว่า คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเท่านั้น  แต่ได้แสดงให้ชัดเจนลงไปในรายละเอียดด้วยว่า  มีความจริงอะไรบ้างที่คนทั่วไปมักจำ คิด และเข้าใจคลาดเคลื่อน


  ในเรื่องความคลาดเคลื่อนของความรู้นั้น หากพิจารณาก็จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับความจำ และการคิด ซึ่งเป็นเรื่องความรู้ระดับประสบการณ์ และระดับเหตุผลเป็นส่วนใหญ่ เพราะเรื่องของสัญญานั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการของการรับรู้ทางประสาททางกาย (คือผัสสะ ก่อให้เกิดเวทนา ก่อให้เกิดสัญญา) ส่วนเรื่องของทิฏฐิหรือความเข้าใจนั้น เป็นเรื่องของการคิด หรือ การใช้เหตุผลในลักษณะต่างๆ


  ฉะนั้น เรื่องวิปัลลาสดังกล่าวนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า ความรู้ระดับประสบการณ์หรือความรู้ทางผัสสะ และความรู้ระดับเหตุผล หรือ ความรู้จากการคิดนั้น มีโอกาสผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนจากความจริงอยู่มาก และความคลาดเคลื่อนบางอย่าง ก็อาจมาจากกระบวนการรับรู้ของประสาทสัมผัสทางกาย บางอย่างก็อาจมาจากการคิด หรือ การใช้เหตุผล แต่บางอย่าง ก็อาจมาจากตัวจิตเอง ที่เรียกว่า จิตตวิปัลลาส


  ความรู้ที่ไม่มีความคลาดเคลื่อนก็คือ ความรู้ระดับญาณ หรือ เกิดจากญาณ อันเป็นผลของจิตที่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เท่านั้น (สมาหิเต จิตฺเต ปริสุทฺเธ ปริโยทาเต อนงฺคเณ วิคตูปกฺกิเลเส - ม.ม.13/506/460)   ฉะนั้น   สาเหตุอันละเอียดอ่อนของความคลาดเคลื่อนของความรู้ก็คือ ความไม่บริสุทธิ์ของจิต หรือ ความมีกิเลส นั่นเอง


  แต่พระพุทธศาสนาก็แสดงว่า แม้ความรู้ระดับญาณบางระดับ คือ ญาณของผู้ที่ยังมีกิเลส ก็ยังอาจผิดพลาดได้ แต่ความผิดพลาดระดับนี้จะเกิดขึ้นก็เฉพาะในเรื่องที่ละเอียดอ่อน หรือ เรื่องเกี่ยวกับสภาวธรรมขั้นสูงเท่านั้น เช่น เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องกรรม อัพยากตปัญหา เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ปัญญาญาณระดับสูงเท่านั้น จึงจะรู้ได้ และปัญญาระดับสูงก็คือญาณที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนั่นเอง ฉะนั้น ญาณจึงมี ๒ ระดับ คือ ญาณที่ยังมีกิเลส (สาสวะ) กับ ญาณที่ปราศจากกิเลส (อนาสวะ) ที่เรียกว่า โลกียอภิญญา กับ โลกุตรอภิญญา


  ตัวอย่างเช่น บางคนระลึกชาติได้บางส่วน ก็เลยทำให้เห็นว่ามีอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวร บางคนก็เห็นไปว่า มีพระเจ้าผู้สร้างที่เที่ยงแท้ บางคนก็เห็นไปว่า สัตว์บางพวกเที่ยง บางพวกไม่เที่ยง เป็นต้น ดังคนที่ได้เจโตสมาธิระลึกชาติได้ หรือคนที่เกิดเป็นพรหมชั้นสูงบางคน เป็นต้น (ที.สี.9/27-34/16)

 


Create Date : 16 พฤษภาคม 2565
Last Update : 16 พฤษภาคม 2565 7:20:39 น. 0 comments
Counter : 280 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space