กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
15 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความรู้และที่มาของความรู้(จบ)


    ในคัมภีร์อภิธรรม พระพุทธศาสนาจำแนกความรู้ออกเป็นประเภทต่างๆ มากมาย แต่ในพระสูตรกล่าวถึงความรู้ที่เป็นหลักใหญ่หรือครอบคลุมความรู้ทุกประเภทไว้ใน ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑.ธัมมญาณ    รู้สภาวธรรม หรือรู้ธรรมชาติ  ตามสภาพที่เป็นจริง

๒.อันวยญาณ   รู้จักอนุมาน คือ สามารถรู้สืบสาวไปหาอดีต และรู้คืบหน้าไปหาอนาคตได้อย่างถูกต้อง

๓.ปจิเฉทญาณ หรือปริยญาณ    รู้จักขอบเขต หรือประเภทของธรรมชาติ

๔.สมมติญาณ    รู้จักสมมติตามที่ชาวโลกเขาใช้กัน   (ที.ปา.11/239/239)


  อีกนัยหนึ่ง รู้จักอริยสัจสี่ ซึ่งโดยความหมายแล้ว ก็คือ

- รู้จักสภาวธรรม  พร้อมทั้งสาเหตุของการเกิดขึ้นของสภาวธรรมนั้นๆ  (ทุกข์ - สมุทัย)

- รู้จักการดับของสภาวธรรม พร้อมทั้งสาเหตุของการดับ (นิโรธ-มรรค)  (ที.ปา.11/239/239)


   หรือ กล่าวอย่างย่อที่สุดก็คือ   รู้จักการเกิด (สมุทยะ) และการดับ (อัตถังคมะ) ของรูปและนาม (สํ.ข.17/27/18)  ซึ่งหากจะกล่าวโดยใจความแล้ว ก็คือ รู้จักกระบวนการของธรรมชาติอย่างครบวงจร

 
   มีข้อน่าสังเกต คือ ความรู้ประเภทอันวยญาณ นั้น ต่างจากความรู้ประเภทตักกะ ซึ่งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาได้แสดงการคิดแบบตักกะไว้ ๔ ประเภท คือ

   ๑.อนุสสติกะ  ได้แก่   คิดเดาเอาจากเรื่องราวที่ได้ยิน เป็นการตีความนอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้รับ เช่น ฟังเรื่องอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าเคยเป็นพระเวสสันดร ก็เดาเอาว่าต้องมีอัตตาของพระเวสสันดรมาเป็นพระพุทธเจ้า

   ๒.ชาติสสระ คือ คนที่ระลึกอดีตชาติได้ ๒-๓ ชาติแล้ว เดาเอาว่าต้องมีอัตตาจากชาติก่อนมาสู่ชาตินี้

   ๓.ลาภี คือ นึกเอาเท่าที่นึกได้ เช่น เมื่อเห็นว่าปัจจุบันตนมีความสุข ก็นึกเอาว่าในอดีตและอนาคตตนก็คงเป็นอย่างนี้เหมือนกัน (ถือเอาสิ่งที่ตนได้เป็นเกณฑ์)

  ๔.สุทธตักกิกะ คือ นึกเดาเอาเฉยๆ โดยไม่มีเหตุ หรือ ข้อมูลใดๆ  (สุมังคล. แปล. 11/246)

   ส่วนความรู้แบบอันวยญาณ นั้น มีลักษณะเป็นการอนุมานเอาจากข้อเท็จจริง หรือ ความเป็นจริงในปัจจุบัน ไปหาความจริงอันเดียวกันในอดีตหรือในอนาคต หรือ แม้ในปัจจุบันด้วยกันเอง ซึ่งความจริงดังกล่าวนั้นมักเป็นเรื่องของสภาวธรรม เช่น ความจริงเกี่ยวกับภาวะของผู้รู้ (พุทธะ) ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ อันเป็นภาวะที่เป็นสากล
 


Create Date : 15 พฤษภาคม 2565
Last Update : 15 พฤษภาคม 2565 7:32:55 น. 0 comments
Counter : 233 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space