กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
24 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ธรรมชาติของความดี(จบ)


   จากลักษณะหรือธรรมชาติของความดีดังกล่าวมานี้ ได้ให้นัยในเรื่องของความดีแก่เราอีกบางประการ กล่าวคือ

   (๑) เรื่องความดี  (ซึ่งรวมถึงเรื่องความชั่วด้วย) เป็นเรื่องของความสำนึกตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนในฐานะที่เป็นคนย่อมมีความสำนึก ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความรู้ขั้นมูลฐานประเภทสชาติปัญญาติดตัวมาไม่มากก็น้อยด้วยกัน  มนุษย์ทุกคนจึงมีความสำนึกชั่วดีอยู่ในชีวิตจิตใจอยู่ด้วยกันไม่มากก็น้อย   ฉะนั้น   เมื่อทำดี  หรือทำชั่วทุกคนจึงรู้สึกได้ด้วยตนเองว่าตนทำดีหรือทำชั่ว  ดังที่ท่านเรียกว่า  เมื่อทำดีก็จะไม่เกิดความรู้สึกติเตียนตนเอง  แต่กลับรู้สึกภาคภูมิใจหรืออิ่มใจว่าตนทำดี แต่ถ้าทำชั่ว  จะรู้สึกตำหนิตนเองอยู่ในใจ  ความรู้สึกดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ปกปิดตนเองไม่ได้ แม้คนอื่นจะไม่รู้แต่ตนเองย่อมรู้เสมอว่าตนเองทำอะไร  ด้วยเหตุนี้  พระพุทธศาสนาจึงสอนว่า ไม่มีที่ลับสำหรับผู้ทำชั่ว


  (๒) ที่กล่าวว่า ผู้รู้ใครครวญแล้ว ย่อมสรรเสริญนั้น ก็ให้นัยแก่เราว่า คนดีหรือคนที่มีความดีหรือคุณธรรมอยู่ในตัว ย่อมรู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติของคนดีหรือคนมีคุณธรรมอีกเช่นกัน

  (๓) จากลักษณะเชิงวัตถุวิสัยของความดีให้นัยแก่เราว่า เรื่องความดี หรือศีลธรรมในพุทธศาสนานั้นมีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องความมีประโยชน์ ความถูกต้องความไม่มีโทษ และความลดละกิเลสด้วย และที่นับว่าสำคัญ ก็คือ พุทธศาสนาถือว่าเรื่องของศีลธรรมนั้นเป็นอริยธรรม หรือ อารยธรรม คือ ธรรมที่ทำให้คนเป็นอริยชน หรือ อารยชน คนประเสริฐ คนเจริญ

  (๔) จากลักษณะการให้ผลของความดี แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาถือว่า เรื่องของความดี (รวมทั้งเรื่องของความชั่วด้วย) นั้น เป็นสิ่งที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ หรือ วงจรของกิเลส กรรม วิบาก ซึ่งเป็นวงจรของชีวิต  ฉะนั้น  ผลของความดีคือศีลธรรม ซึ่งเป็นความดีระดับโลกียธรรมจึงทำให้ชีวิตวนเวียนอยู่ใน ๒ ภพ หรือ ๓ ภูมิ ที่เรียกว่า สุคติภูมิ คือ โลก และสวรรค์ และทุคติภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน ที่พระพุทธศาสนารวมเรียกว่า วัฏฏสงสาร คือ การไหลวนของกระแสชีวิต

  (๕) ประการสุดท้าย ก็คือ พระพุทธศาสนาถือว่า ความสุขนั้นเป็นเพียง "กำไร" คือ ผลพลอยได้ หรือผลดีส่วนเกิน ของการทำดีเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเป้าหมายหลักของการทำดีในพุทธศาสนามิใช่มุ่งความสุข แต่มุ่ง "ชำระความชั่ว" หรือ "ล้างกิเลส" อันเป็นความหมายโดยตรงของคำว่า บุญและกุศล และการชำระล้างกิเลสนั้น ก็เพื่อตัดรากเหง้าของปัญหาหรือทุกข์ของชีวิต ฉะนั้น การพูดถึงความสุขว่าเป็นของความดีหรือความดีให้ผลเป็นความสุข จึงเป็นเพียงการพูดให้เข้าใจง่ายตามภาษาของชาวโลกเท่านั้น มิใช่เป็นการแสดงถึงเป้าหมายของการทำดีในพระพุทธศาสนา


 


Create Date : 24 พฤษภาคม 2565
Last Update : 24 พฤษภาคม 2565 7:23:44 น. 1 comments
Counter : 382 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**


 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:9:52:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space