กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
28 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความงามกับความจริง และความดีงาม




170ความงาม กับ ความจริง และความดีงาม


  คุณภาพหรือคุณสมบัติของความจริงเชิงวัตถุวิสัยนั้นเองที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะของความจริงที่เรียกว่า ความงามของธรรม ความงามของธรรมก็คือคุณค่าในด้านต่างๆ และในระดับต่างๆ ที่ธรรมให้แก่ชีวิต มีผลทำให้ชีวิตมีกิเลสและทุกข์น้อยลง จนถึงหมดกิเลส และหมดทุกข์โดยสิ้นเชิง ภาวะลดลงจนถึงหมดสิ้นของกิเลสและทุกข์นั้น เรียกว่า "ความดี" ของชีวิต ซึ่งเป็นเป้าหมายของธรรมในพระพุทธศาสนา


   สรุปได้ว่า ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา ความจริงคือรากฐานของความงามและความดีของชีวิต ความจริง ความงาม และความดีเป็นสิ่งเดียวกัน และเกี่ยวโยงกันแบบแยกกันไม่ได้ กล่าวคือ

227ความจริงเป็นที่มาหรือฐานของความดีและความงาม

227ความดีเป็นเนื้อหาหรือคุณค่าของความจริง

227ความงามเป็นลักษณะหรือปรากฏการณ์ของความจริง

  คนที่มีธรรมหรือความจริงอยู่ในตัว ย่อมมีลักษณะคืองาม และผลได้จากการมีธรรมในตัวไม่ว่าธรรมระดับใด คือ ภาวะลดลงของกิเลส และทุกข์ในชีวิต หากมีธรรมสมบูรณ์ กิเลสและทุกข์ก็ลดลง จนหมดสิ้นในที่สุด ซึ่งถือว่า เป็นความดีสูงสุดของชีวิต

  ธรรมหรือความจริงมีอยู่ในคนใด คนนั้น ก็เป็นคนดีและคนงาม คนดีมีอยู่ในที่ใด ที่นั้น ก็พลอยงามไปด้วย พระพุทธศาสนาแสดงให้เห็นว่า คุณภาพหรือคุณสมบัติของธรรม ไม่เพียงแต่ทำให้คนมีความงามเท่านั้น แต่ยังทำให้ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมกลายเป็นสิ่งที่งามไปด้วย

  ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา  ความงามในมิติทางธรรม  มิได้หมายถึงความสวยงามเชิงอารมณ์หรือเชิงความรู้สึกนึกคิด   แต่หมายถึงภาวะลดลงของกิเลสและความทุกข์จนถึงภาวะสิ้นกิเลสสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า วิมุตติรส ซึ่งเป็นภาวะเชิงวัตถุวิสัย แต่ผู้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนั้น ย่อมปรากฏต่อสายตาของคนทั่วไปว่า เป็นผู้งามทั้งกาย วาจา และใจ

  ส่วนความงามในมิติทางโลก ได้แก่ ความงามที่ชาวโลกพูดถึงหรือเข้าใจกันทั่วไป จากพระพุทธพจน์และอรรถาธิบายต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาก็กล่าวถึงความงามในทางโลก ทั้งความงามของคนและความงามของธรรมชาติไว้ไม่น้อยเช่นกัน อันเป็นการยืนยันว่า พระพุทธศาสนามิได้มองข้ามความงามทางโลก และยอมรับความงามทางโลกด้วย เช่น

- กล่าวถึงความงามของคน และความงามของผิวพรรณ (สุวณฺณตา)

- ความงามของทรวดทรง   (สุสณฺฐานํ)

- ความงามของรูปร่าง (สุรูปตา) (ขุ.ขุ.25/9/12)

- กล่าวถึงความงามของสตรี  (อภิรูปา. อภิรูปตา.รูปโสภา)

- กล่าวถึงความงามของสตรี ๕ อย่าง (ปญฺจกลฺยาณี - ขุ.ธ.อ.1/401)


   แต่การกล่าวถึงความงามต่างๆ เหล่านี้   พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นการกล่าวไปตามภาษาโลกโดยไม่ทรงยึดถือไปตามโลก เพราะพระองค์ไม่ทรงขัดแย้งกับโลก  ดังพระพุทธพจน์ในโปฏฐปาทสูตรว่า

   "ดูก่อนจิตตะ  คำเหล่านี้  เป็นโลกสมัญญา (ชื่อตามโลก) โลกนิรุตติ (ภาษาชาวโลก) โลกโวหาร (โวหารของชาวโลก) โลกบัญญัติ (บัญญัติของชาวโลก) ที่ตถาคตใช้เรียก แต่ไม่ยึดถือ" (ที.สี.9/312/248) และในทีฆนขสูตรว่า "ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร ชาวโลกเขาพูดอย่างไร ก็พูดไปอย่างนั้น แต่ไม่ยึดถือ" (ม.ม.13/273/268)

   
   ข้อที่พึงพิจารณาในประเด็นนี้ก็คือ ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา ดังกล่าวข้างต้น ความงามในทางโลกมีจริงหรือไม่ ? หรือว่า ความงามในทางโลก เป็นจิตวิสัย หรือ วัตถุวิสัย ?
 




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 28 พฤษภาคม 2565 19:16:02 น.
Counter : 275 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space