กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
27 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความงามคืออะไร



170ความงามคืออะไร


  จากพระพุทธพจน์และอรรถกถาเกี่ยวกับความงามเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดในตอนต้น แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนากล่าวถึงความงามใน ๒ มิติ คือ ความงามในมิติทางธรรม และความงามในมิติทางโลก โดยที่ความงามใน ๒ มิติ นี้ มีความหมายและวัตถุประสงค์แตกต่างกัน

   ความงามในมิติทางธรรม ตามพระพุทธพจน์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือว่า "ความงาม" เป็นลักษณะสำคัญของธรรม หรือความจริง  แต่คำว่า  "งาม"  ในความหมายทางธรรมนั้น    ต่างจากความหมายในทางโลก หรือที่ชาวโลกเข้าใจกัน  กล่าวคือ "ความงาม" ของธรรมนั้น  ไม่ใช่ลักษณะทางอารมณ์หรือความรู้สึก เช่น สวย - ไม่สวย  แต่หมายถึงลักษณะทาง "คุณค่า"  คือ อนุเคราะห์  ประโยชน์  เกื้อกูล  สุข  ที่ธรรมให้แก่มนุษย์ คุณค่าทั้ง ๔ ลักษณะนี้ บางครั้งพระพุทธองค์ก็ตรัสด้วยคำว่า  "ประโยชน์"  คำเดียว  ดังพระพุทธพจน์ในอภัยราชกุมารสูตร   ใจความว่า "วาจาที่จริง  มีประโยชน์  เป็นที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจของคน  ทรงรู้เวลาที่จะตรัส" (ม.ม.13/94/91)  ซึ่งมีความหมายว่า  สิ่งที่ทรงสอนนั้นทรงเน้นที่จริงและมีประโยชน์ โดยไม่ทรงถือเอาความรู้สึกของคน คือ ความชอบ หรือไม่ชอบ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้วย และคำว่า "ประโยชน์ในพระพุทธศาสนา ก็หมายถึง ประโยชน์ ๓ คือ

- ทิฏฐธมฺมิกตฺถ  ประโยชน์ปัจจุบัน ได้แก่ ประโยชน์ทางวัตถุ

- สมฺปรายิกตฺถ  ประโยชน์ภายภาคหน้า ได้แก่ ประโยชน์ทางจิตใจ หรือ ศีลธรรมคุณธรรม และ

- ปรมฺตถ   ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลสจนถึงนิพพาน

   ความหมายโดยรวมของคำว่า  "ประโยชน์"  ในพระพุทธศาสนา ก็คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ของชีวิตที่เรียกว่า วิมุตติ นับแต่การหลุดพ้นจากทุกข์ของชีวิตขั้นหยาบๆ ไปจนถึงหลุดพ้นจากทุกข์ของชีวิตขั้นละเอียด คือ กิเลส ฉะนั้น ในบางครั้ง พระพุทธองค์จึงตรัสถึงลักษณะเชิงคุณค่าของพระพุทธศาสนาหรือธรรม แบบรวบยอดว่า  "ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส" (องฺ.อฏฺฐก. 23/109/205)  "รส"  จึงเป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้หมายถึงลักษณะเชิงคุณค่าในพระพุทธศาสนา และมีความหมายในลักษณะเดียวกันกับคำว่า "กัลยาณะ" ที่แปลว่า ความงาม

  สรุปได้ว่า คำที่พระพุทธศาสนาใช้บ่งบอกถึงลักษณะเชิงคุณค่าของธรรม หรือ ความจริงในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า  "ความงาม"  (กัลยาณะ) นั้น คือ คำว่า อนุกัมปะ (อนุเคราะห์) อัตถะ (ประโยชน์) หิตะ (เกื้อกูล) สุขะ (ความสุข) วิมุตติ (ความหลุดพ้น) รสะ (รส) และคำว่า "รส" นั้น บางครั้งก็ใช้อย่างครบชุดหรือทุกระดับของธรรมในพระพุทธศาสนา คือ อัตถรส ธัมมรส วิมุตติรส (องฺ.เอก.20/205/48)  โดยอัตถรส  หมายถึงผลของการปฏิบัติธรรม  ธัมมรส  หมายถึงมรรค หรือ วิธีการปฏิบัติธรรม   วิมุตติรส   หมายถึงผลขั้นสูงสุดหรือรวบยอด

- แผนภูมิแสดงให้เห็นความเกี่ยวโยงของคำเชิงคุณค่า

อนุกัมปะ
อัตถะ
หิตะ
สุขะ
= อัตถะ - วิมุตติ - รสะ - กัลยาณะ
 


Create Date : 27 พฤษภาคม 2565
Last Update : 30 พฤษภาคม 2565 7:14:18 น. 0 comments
Counter : 257 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space